อาการสงสัยติดเชื้อ ไวรัสโรต้า ที่ ต้องระวัง

โรต้าไวรัส (ROTAVIRUS) ทำให้เกิดอาการท้องเสียฉับพลันและติดต่อกันได้ง่ายมากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
แต่หลายคนยังสงสัยว่า ท้องเสียแบบใดเสี่ยงเป็นโรต้าไวรัสและหนักแค่ไหนถึงต้องมาพบแพทย์ exclaim

วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้   " อาการสงสัยติดเชื้อ ไวรัสโรต้า ที่ ต้องระวัง"
 


โรต้าไวรัส question  เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหารและลำไส้
ผู้ป่วยจะมีอาการ ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ปริมาณมาก มักมีอาการอาเจียน มีไข้และปวดท้องร่วมด้วย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคท้องเสียในเด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่ มีอายุน้อยกว่า 2 ปีจะมีอาการรุนแรง
ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง และต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในบางรายอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ส่วนในผู้ใหญ่ก็สามารถติด เชื้อ Rotavirus นี้ได้เช่นเดียวกัน แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าในเด็กเล็ก
มีเพียงบางรายเท่านั้นที่มี อาการรุนแรงมาก
 
Rotavirus เชื้อเจริญเติบโตได้ดีและทนต่อสภาพแวดล้อมได้นานในที่แห้งและเย็น จึงพบมาก ขึ้นในฤดูหนาว 
และพบในสถานที่ที่มีคนอาศัยอยู่รวมกันมาก ๆ เช่น โรงเรียน สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ทำให้เกิดการระบาดได้

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโรต้า มีการแพร่ระบาดผ่านการปนเปื้อนเชื้อในอาหาร น้ำดื่ม การสัมผัส เข้าทางปาก
จากนั้นเชื้อจะ ไปเจริญอยู่ที่ผนังลำไส้ ก่อให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุผนังลำไส้
ทำให้ไม่สามารถ ดูดซึมน้ำหรือสารอาหารได้ เกิดเป็นอาการท้องเสียฉับพลัน
และสามารถแพร่ กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้ทางอุจจาระ หรือที่เรียกว่า fecal-oral  route  
หากผู้ป่วยมีอาการอุจจาระร่วงแล้วล้างมือไม่สะอาด มีเชื้อปนเปื้อนที่มือ
มาหยิบจับสิ่งของหรืออาหาร ผู้ที่หยิบจับสิ่งของหรืออาหารต่อจากผู้ป่วยก็มี โอกาสรับเชื้อผ่านเข้าทางปากได้  ทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้น



ideaอาการของโรค idea
หลังได้รับเชื้อไวรัสโรต้า 1 – 3 วัน จะมีอาการ  คลื่นไส้อาเจียน มีไข้ (ไข้อาจสูงถึง 39 องศาเซลเซียส)
บางรายอาจเกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจ คือ น้ำมูกไหล ไอ คอแดง ร่วมด้วย
ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ อาจมากถึง 10 – 20 ครั้งต่อวัน
ส่วนใหญ่อาการจะหายไปภายใน 3 – 5 วัน ส่วนน้อยจะมีอาการท้องเสียยืดเยื้อเรื้อรังนาน 9 วันถึง 3 สัปดาห์ได้ 
หากอาการท้องเสียเกิดขึ้นเป็นเวลานานหรือมีอาการรุนแรงจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ที่สำคัญ
ซึ่งจะขาดได้ในปริมาณที่มากกว่าการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ อีกหลายชนิด เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

ทราบได้อย่างไรว่าอาการท้องเสียเกิดจากไวรัสโรต้า exclaim
แพทย์วินิจฉัยโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า ได้จากประวัติอาการของเด็กและฤดูกาลที่เป็น
พบได้ทั้งปีแต่มักเป็นช่วงหน้าหนาว เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม
ร่วมกับการตรวจพบเชื้อไวรัสโรต้าในอุจจาระ (Rotavirus Ag in Stool = positive)

หากติดเชื้อแล้วควรได้รับการรักษา 
เนื่องจากไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยตรง การรักษาเป็นการรักษาตามอาการ  ถ้าอาการไม่รุนแรงก็สามารถรับประทานยาที่บ้านได้ 
โดยดื่มน้ำเกลือแร่ชดเชยส่วนที่สูญเสียไปจากการถ่ายอุจจาระและอาเจียนรับประทานยาแก้อาเจียนถ้ามีอาเจียนบ่อย

หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยด่วน
มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปากแห้ง ตาโหล ซึมลง ตัวเย็นหรือมีไข้สูง (อุณหภูมิมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส)
ชัก หายใจหอบเหนื่อย ปัสสาวะออกน้อย สีเข้มหรือไม่ปัสสาวะเลยเกิน 6 ชั่วโมง อาเจียนมากไม่สามารถรับประทานได้



ideaเนื่องจากไวรัสโรต้าติดต่อกันทางสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือทางอ้อมผ่านมือ สิ่งของ และอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก
การส่งเสริมให้มีสุขอนามัยที่ดี หมั่นล้างมือด้วยสบู่ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม
ทำความสะอาดของเล่น หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ในการรับประทานอาหารร่วมกัน
หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัดที่มีการเล่นร่วมกันในช่วงที่มีการระบาดของโรค อาจช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อได้
นอกจากนี้การกินนมแม่ อาจช่วยลดความรุนแรงของโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าได้  
เนื่องจากปริมาณเชื้อเพียงเล็กน้อยก็สามารถก่อโรคได้ อีกทั้งเชื้อมีความคงทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ยาวนาน จึงเป็นการยากที่จะป้องกัน 

สิ่งสำคัญในการปกป้องลูกน้อยอีกวิธี คือ การพาลูกมารับการหยอดวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้า 
ซึ่งถือเป็นวิธีป้องกันโรคที่ดีที่สุดในปัจจุบัน 
โดยการหยอดวัคซีนโรต้าสามารถป้องกันได้ร้อยละ 70-90 ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้เร็วเท่าไร 
ก็ยิ่งเป็นการเสริมเกราะป้องกันให้เด็กห่างไกลจากโรคร้ายนี้เร็วขึ้น
วัคซีนโรต้า สามารถให้โดยการหยอดทางปาก โดยทารกควรได้รับวัคซีน 2 หรือ 3 ครั้ง ขึ้นกับยี่ห้อของวัคซีนที่ได้รับ 
ทั้งนี้วัคซีนโดสแรกควรได้รับก่อนอายุ 15 สัปดาห์ และวัคซีนโดสสุดท้ายควรได้รับก่อนอายุ 8 เดือน
หากเป็นวัคซีนชนิดหยอด 2 ครั้ง ควรได้รับที่อายุ 2 เดือน และ 4 เดือน
หากเป็นวัคซีนชนิดหยอด 3 ครั้ง ควรได้รับที่อายุ 2 เดือน, 4 เดือน, และ 6 เดือน

ความรู้เพิ่มเติมค่ะ
https://www.thonburihospital.com/package/pk_vaccines-for-babies/
https://www.youtube.com/watch?v=VTLnUlnyfXQ

lovelovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่