ปัจจุบัน ตัวผมเองนั้น อายุ 42 มีฐานะมนุษย์เงินเดือน เริ่มวางแผนเก็บเงินเกษียณมาหลายปีแล้ว
ทุกๆ สิ้นเดือน ผมมักมานั่งตรวจสอบดูสินทรัพย์ และเงินในบัญชีว่า มีมูลค่ารวมกันเหลือเท่าไร และเงินที่ออมทุกเดือนนั้นคาดว่าจะเติบโตไปเป็นเท่าไร ในอนาคต
ข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนตค 66 สินทรัพย์ทั้งหมดที่ตัวเองมี ประกอบไปด้วย
-มูลค่าหุ้น 3,700,000 บาท
-กองทุน RMF 1,693,000 บาท
-เงินสดในบัญชี 463,000 บาท
รวมเป็นสินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 5,856,000 บาท
ปัจจุบัน ผมมีเงินที่สามารถออมได้ต่อเดือนประมาณเดือนละ 50,000 บาท (โดยแบ่งเป็นซื้อหุ้นเอง และซื้อ RMF เพื่อลดหย่อนภาษี)
ทีนี้ เราต้องมากำหนดสมมุติฐาน เราจะทำงานไปอีก 13 ปี หรือจนถึงอายุ 55 จะเกษียณ
ทำให้มูลค่าเงินออมที่คาดหวังในอนาคต จึงถูกแบ่งออกเป็น 3 กรณี
1. กรณีที่ทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ปีละ 4% (ลงทุนสินทรัพย์ที่เสี่ยงค่อนข้างน้อย)
กรณีนี้จะมีเงินประมาณ 20 ล้านบาท
2. กรณีที่ทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ปีละ 6% (ลงทุนสินทรัพย์ที่เสี่ยงขึ้นมาหน่อย)
กรณีนี้จะมีเงินประมาณ 25 ล้านบาท
3. กรณีที่ทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ปีละ 8% (ลงทุนสินทรัพย์ที่เสี่ยงมาก เช่น หุ้น ซึ่งอาจต้องเน้นลงทุนในหุ้นต่างประเทศ)
กรณีนี้จะมีเงินประมาณ 30 ล้านบาท
ก็ต้องบอกว่า ที่เขียนมาเป็นสิ่งที่ตัวเองนั้นพยายามตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน เพื่อดูความคืบหน้าว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ ตอนนี้เป็นอย่างไร
แต่นอนว่า มันมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้เป้าหมายนี้ไม่เป็นไปตามนี้ เช่น ถูกไล่ออกจากงานก่อนกำหนด หรือ ผลตอบแทนที่คาดหวังไม่เป็นไปตามนี้ (อาจมากกว่า หรือน้อยกว่า)
แต่อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า เรื่องนี้ก็คงคล้ายๆ กับการเดินทางที่มีแผนที่เพราะอย่างน้อยๆ มันก็พอช่วยให้เรามองเห็นเป้าหมายในวันนี้ ซึ่งสำหรับผมมันดีกว่า การที่เราออกเดินทางโดยที่ไม่รู้ว่าเป้าหมายเราอยู่ตรงไหนนั่นเอง
มีเงินเก็บประมาณ 5 ล้านกว่าๆ ถ้าทำงานอีก 13 ปี จะมีเงินเก็บเท่าไร?
ทุกๆ สิ้นเดือน ผมมักมานั่งตรวจสอบดูสินทรัพย์ และเงินในบัญชีว่า มีมูลค่ารวมกันเหลือเท่าไร และเงินที่ออมทุกเดือนนั้นคาดว่าจะเติบโตไปเป็นเท่าไร ในอนาคต
ข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนตค 66 สินทรัพย์ทั้งหมดที่ตัวเองมี ประกอบไปด้วย
-มูลค่าหุ้น 3,700,000 บาท
-กองทุน RMF 1,693,000 บาท
-เงินสดในบัญชี 463,000 บาท
รวมเป็นสินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 5,856,000 บาท
ปัจจุบัน ผมมีเงินที่สามารถออมได้ต่อเดือนประมาณเดือนละ 50,000 บาท (โดยแบ่งเป็นซื้อหุ้นเอง และซื้อ RMF เพื่อลดหย่อนภาษี)
ทีนี้ เราต้องมากำหนดสมมุติฐาน เราจะทำงานไปอีก 13 ปี หรือจนถึงอายุ 55 จะเกษียณ
ทำให้มูลค่าเงินออมที่คาดหวังในอนาคต จึงถูกแบ่งออกเป็น 3 กรณี
1. กรณีที่ทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ปีละ 4% (ลงทุนสินทรัพย์ที่เสี่ยงค่อนข้างน้อย)
กรณีนี้จะมีเงินประมาณ 20 ล้านบาท
2. กรณีที่ทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ปีละ 6% (ลงทุนสินทรัพย์ที่เสี่ยงขึ้นมาหน่อย)
กรณีนี้จะมีเงินประมาณ 25 ล้านบาท
3. กรณีที่ทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ปีละ 8% (ลงทุนสินทรัพย์ที่เสี่ยงมาก เช่น หุ้น ซึ่งอาจต้องเน้นลงทุนในหุ้นต่างประเทศ)
กรณีนี้จะมีเงินประมาณ 30 ล้านบาท
ก็ต้องบอกว่า ที่เขียนมาเป็นสิ่งที่ตัวเองนั้นพยายามตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน เพื่อดูความคืบหน้าว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้ ตอนนี้เป็นอย่างไร
แต่นอนว่า มันมีหลายปัจจัยที่อาจทำให้เป้าหมายนี้ไม่เป็นไปตามนี้ เช่น ถูกไล่ออกจากงานก่อนกำหนด หรือ ผลตอบแทนที่คาดหวังไม่เป็นไปตามนี้ (อาจมากกว่า หรือน้อยกว่า)
แต่อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า เรื่องนี้ก็คงคล้ายๆ กับการเดินทางที่มีแผนที่เพราะอย่างน้อยๆ มันก็พอช่วยให้เรามองเห็นเป้าหมายในวันนี้ ซึ่งสำหรับผมมันดีกว่า การที่เราออกเดินทางโดยที่ไม่รู้ว่าเป้าหมายเราอยู่ตรงไหนนั่นเอง