เครื่องราง ของขลัง พระเครื่อง ถือเป็นหนึ่งในสิ่งของที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนจำนวนไม่น้อยเช่นเดียวกับการขอพรหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจตามความเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมเสริมโชค วาสนาและเป็นพลังบวกในการดำเนินชีวิต ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำมีส่วนให้คนจำนวนไม่น้อยหันมาบูชาเครื่องรางของขลัง ดูดวง วัตถุมงคล เพื่อหวังให้เกิดความสำเร็จ ทำให้เกิดช่องว่างให้มิจฉาชีพใช้เป็นกลในการหลอกลวง นอกจากนั้นยังมีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ยิ่งสร้างสับสนความงมงายให้กับสังคมได้ง่ายขึ้น มีการโฆษณาหรือชักชวน โดยใช้ข้อความที่ยากแก่การพิสูจน์
มีการอวดอ้างสรรพคุณเชิงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ทำให้ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยหลงเชื่อและได้รับความเสียหาย
เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับผู้บริโภค สคบ. จึงออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา เรื่อง แนวทางการใช้ข้อความโฆษณาที่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอันยากแก่การพิสูจน์และแนวทางการพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงเกี่ยวกับข้อความโฆษณา พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อเป็นการป้องกันหรือระงับยับยั้งไม่ให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบหรืออาจเกิดอันตรายกับผู้บริโภค ที่เกิดจากการใช้สินค้าหรือบริการจากการโฆษณาขายเครื่องราง ของขลัง เพราะมีกลุ่มบุคคลใช้ความเชื่อทางด้านศาสนามาแสวงหาผลประโยชน์ ได้ทำการโฆษณาสรรพคุณพระบูชาและวัตถุมงคล โดยอ้างแหล่งที่มาของวัสดุที่นำมาสร้างพระบูชาวัตถุมงคลและเทวรูปต่างๆ ตลอดถึงอ้างอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงหลักธรรมคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา ทำให้ประชาชนเกิดความหลงผิด การโฆษณาเหล่านี้ มักใช้ข้อความที่ยากต่อการพิสูจน์ อวดอ้างสรรพคุณที่เกินจริง เช่น เสริมโชคลาภบารมีหรือทำให้หายจากการเจ็บปวด ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและได้รับความเสียหายหรืออันตรายและเสียเงินไปจำนวนไม่น้อย
ทั้งนี้ หากประกอบธุรกิจหรือผู้ใดทำการโฆษณาที่มีลักษณะอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงหรือข้อความที่ยากแก่การพิสูจน์ จะมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 47 หากผู้บริโภค พบการโฆษณาที่เอาเปรียบหรือไม่เป็นธรรมสามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนได้ที่ สคบ. สายด่วน 1166 หรือแอปพลิเคชั่น OCPB Connect หรือระบบร้องทุกข์ออนไลน์
เครื่องราง ของขลัง กับการโฆษณาเกินความจริง
มีการอวดอ้างสรรพคุณเชิงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ทำให้ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยหลงเชื่อและได้รับความเสียหาย
เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดกับผู้บริโภค สคบ. จึงออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา เรื่อง แนวทางการใช้ข้อความโฆษณาที่มีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอันยากแก่การพิสูจน์และแนวทางการพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงเกี่ยวกับข้อความโฆษณา พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อเป็นการป้องกันหรือระงับยับยั้งไม่ให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบหรืออาจเกิดอันตรายกับผู้บริโภค ที่เกิดจากการใช้สินค้าหรือบริการจากการโฆษณาขายเครื่องราง ของขลัง เพราะมีกลุ่มบุคคลใช้ความเชื่อทางด้านศาสนามาแสวงหาผลประโยชน์ ได้ทำการโฆษณาสรรพคุณพระบูชาและวัตถุมงคล โดยอ้างแหล่งที่มาของวัสดุที่นำมาสร้างพระบูชาวัตถุมงคลและเทวรูปต่างๆ ตลอดถึงอ้างอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงหลักธรรมคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา ทำให้ประชาชนเกิดความหลงผิด การโฆษณาเหล่านี้ มักใช้ข้อความที่ยากต่อการพิสูจน์ อวดอ้างสรรพคุณที่เกินจริง เช่น เสริมโชคลาภบารมีหรือทำให้หายจากการเจ็บปวด ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อและได้รับความเสียหายหรืออันตรายและเสียเงินไปจำนวนไม่น้อย
ทั้งนี้ หากประกอบธุรกิจหรือผู้ใดทำการโฆษณาที่มีลักษณะอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงหรือข้อความที่ยากแก่การพิสูจน์ จะมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 47 หากผู้บริโภค พบการโฆษณาที่เอาเปรียบหรือไม่เป็นธรรมสามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนได้ที่ สคบ. สายด่วน 1166 หรือแอปพลิเคชั่น OCPB Connect หรือระบบร้องทุกข์ออนไลน์