วิมานมายา โดย ศักดิ์สิทธิ์ ตอนที่ 215 ตามหาคนเขียนบทของจักรวาลและบางเรื่องที่ผมค้นพบโดยบังเอิญ(วันนี้เรื่องเยอะอีกแล้ว)


เอาเรื่องที่บังเอิญก่อนนะครับ (วันนี้เรื่องเยอะจริงๆ)
เพื่อนผมคนหนึ่งตอนนี้อยู่ที่บอสตัน
แล้วส่งรูปตรงตรอกเก่าๆที่คนไทยมักลือกันว่าเหมือน
ตรอกบ้านของแฮรี่ พอตเตอร์มากมาให้

ผมก็ลองถอดจิตไป ปรากฏว่าไปไม่ถึง
วิทยายุทธยังไม่ถึงขั้น
แต่มันยังไม่ข้ามจักรวาลเลยนะ
แล้วที่ถอดจิตข้ามจักรวาลได้มันหมายความว่าอย่างไร

มันก็มีได้ 3 สมมติฐาน
1. มีคนช่วย
2. มันเป็นมิติซ้อนที่ซ้อนทับอยู่ใกล้ๆ
3. มันเป็นภาพหลอนที่ไม่มีอยู่จริง

เอ หรือผมจะเห็นภาพหลอนแบบ
จอห์น แนช ในหนัง A Beautiful Mind
ผมเดินไปที่ห้องของโจ้กับเบิ้ม เอ ก็ยังอยู่กันดี
ผมไปหาแมน เอ ก็ยังอยู่นะ
ผมไปดูพงษ์ในวิลล่าวริศรา ก็ยังอยู่ครับ
พอผมมานั่งที่ห้อง ทุกคนเลยมาหาผมที่ห้อง
และพูดพร้อมกันว่า "มีอะไรเหรอ"
ผมตอบไปว่า "พวกนายไปรอที่ห้องกันก่อน
เดี๋ยวจะบอกให้รู้"
ทุกคนก็ปฏิบัติตามแต่โดยดี 
เห็นทีว่าเรื่องที่ผมสงสัยนี้คงต้องพักไว้ก่อน
คงต้องมาตามหาคนเขียนบทกันต่อ

คงเริ่มตั้งแต่ดีเอ็นเอผม
ผมมาจากไหน เอาง่ายๆก็คือจาก sperm พ่อและไข่ของแม่ผสมกัน
พอได้ไซโกต ก็น่าจะเริ่มได้ดีเอ็นเอที่เป็นของตัวเองแล้ว
เพราะมันเป็นแม่แบบในการสร้างผม
เรื่องกายภาพมันไม่ยุ่งยาก
ที่น่าสนใจคือ conscious ของผมเกิดขึ้นตอนไหน
หรืออาจเป็นได้ว่าถ้าจับคู่ผิดระหว่างดีเอ็นเอ
กับ mind and consciousness ทุกอย่างมันต้องเปลี่ยนหมด
เช่น ถ้าอยากให้ผมอยู่ถึงอายุ 32 หมายถึงตัว  mind and consciousness
ดีเอ็นเอก็ต้องสอดคล้องกับสิ่งนี้
ไม่ใช่ให้ mind and consciousness ของผม
ไปอยู่ในร่างกายที่ต้องตายตอนอายุ 20

สมัยนี้มีการตรวจดีเอ็นเอกันได้ อาจรู้อะไรได้อีกเยอะ
เช่น ตรวจวิเคราะห์สุขภาพด้วย DNA Test Circle Premium ที่ N Health (เอ็นเฮลท์)
การตรวจวิเคราะห์สุขภาพด้วย DNA Test Circle Premium มีรายการดังนี้
ประเภทที่ 1 : Diet การตอบสนองต่ออาหาร ดูว่าอาหารชนิดใด 
กระตุ้นให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาหรืออาการต่างๆ 
รวมถึงกลุ่มอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
ความไวต่อแอลกอฮอล์ (Alcohol Sensitivity)
ความไวต่อคาเฟอีน (Caffeine Sensitivity)
ความไวต่อยาขยายหลอดลม (Theophylline Sensitivity)
ความไวต่อไขมัน (Fat Sensitivity)
ความไวต่อคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate Sensitivity)
ความไวต่อเกลือ (Salt Sensitivity)
ความไวต่อกลูเตน (Coeliac Predisposition)
การแพ้แล็กโตส (Lactose Intolerance)
ความไวต่อเครื่องเทศ (Spice Sensitivity)
ความไวต่อรสชาติ (Taste Sensitivity)
อาหารหวาน (Sweet Tooth)
ภาวะน้ำหนักตัวกลับมาเพิ่ม (Weight Regain)

ประเภทที่ 2 : Nutrition ดูความต้องการสารอาหาร 
ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ได้แก่
สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)
แคลเซียม (Calcium)
กรดโฟลิก (Folic Acid)
ไอโอดีน (Iodine)
โลหะ (Iron)
แมกนีเซียม (Magnesium)
โอเมก้า 3 (Omega-3: ALA, DHA, DPA, EPA)
ฟอสฟอรัส (Phosphorus)
ซีลีเนียม (Selenium)
วิตามินเอ อี บี2 บี12 บี6 ซี และดี (Vitamin A, E, B2, B12, B6, C, D)
สังกะสี (Zinc)

ประเภทที่ 3 : Sport & Fitness ดูสมรรถนะ ความทนทาน 
ความแข็งแกร่ง ต่อการออกกำลังกายของร่างกาย ได้แก่
ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเอ็นร้อยหวาย (Risk of Achilles Tendon Injury)
การไหลเวียนของโลหิต (Blood Flow)
องค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition)
ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Endurance Capacity)
ความต้านทานต่อความล้า (Fatigue Resistance)
อัตราการเต้นของหัวใจต่อการออกกำลังกาย (Heart Rate Response to Exercise)
ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ (Injury Risk)
การลดลงของระดับแลคเตท (Lactate Clearance)
การสร้างแลคเตท (Lactate Production)
ความเสี่ยงต่อเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าฉีกขาด (Risk of Anterior Cruciate Ligament Rupture)
ตะคริว (Exercise Associated Muscle Cramps)
ประสิทธิภาพในการใช้ออกซิเจน (Oxygen Efficiency)
สมรรถภาพการใช้พลังงาน (Power Capacity)
ประสิทธิภาพในการฟื้นฟูร่างกาย (Recovery Efficiency)
ความแข็งแรงของร่างกาย (Strength Profile)
น้ำที่สูญเสียออกจากร่างกาย (Water Loss)

ประเภทที่ 4 : Well-Being การดูแลสุขภาพองค์รวม ได้แก่
การควบคุมความอยากอาหาร (Appetite Control)
ความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density)
การตอบสนองต่อการอักเสบ (Inflammatory Response)
อายุขัย (Life Longevity)
ระบบเผาผลาญ (Metabolic Response)
แนวโน้มการถูกยุงกัด (Tendency for Mosquito Bites)
ความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกหักล้า (Stress Fracture Risk)

ประเภทที่ 5 : Stress & Sleep ความเครียดและการนอนหลับ 
ให้ข้อมูลเรื่องคุณภาพการนอน ได้แก่
ความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnoea Risk)
ภาวะหลับลึก (Sleep Depth)
ระยะเวลาในการนอนหลับ (Sleep Duration)
การเคลื่อนไหวร่างกายขณะหลับ (Sleep Movement)
คุณภาพการนอนหลับ (Sleep Quality)
นาฬิกาชีวิต (Sleep Time-Chronotype)
ภาวะอ้วนที่เกิดจากความเครียด (Stress-Induced Obesity)
ความอดทนต่อสภาวะความเครียด (Stress Tolerance)

ประเภทที่ 6 : Skin สุขภาพผิว ช่วยเป็นแนวทางในการดูแลและบำรุงผิวพรรณ ได้แก่
อายุผิว (Skin Age)
การเกิดสิว (Acne Risk)
กระบวนการไกลเคชั่น (Glycation Risk)
ภาวะความไม่สมดุลของการเกิดอนุมูลอิสระ (Oxidative Stress Risk)
การเกิดเซลลูไลท์ (Cellulite Formation)
ความเสี่ยงต่อการเกิดริ้วรอย (Wrinkle Formation Risk)
รอยแตกลาย (Stretch Marks)
การเกิดแผลเป็นคีลอยด์ (Keloid Scars Risk)
แนวโน้มต่อการฟกช้ำง่าย (Skin Bruising Tendency)
ผิวสูญเสียน้ำ (Skin Hydration Ability)
ผิวกระจ่างใส (Skin Lightening Ability)
การเกิดผิวแก่จากแสงแดด (Skin Photoaging Risk)
การเกิดจุดด่างดำบนใบหน้าหรือร่างกาย (Hyperpigmentation Risk)
ผิวไหม้จากแสงแดด (Sunburn Risk)

ประเภทที่ 7 : Ancestry วิเคราะห์เชื้อสายบรรพบุรุษ

ประเภทที่ 8 : Physical Traits บอกความน่าจะเป็นของรูปลักษณ์ 
เช่น สีผม สีตา หรือรูปร่าง ได้แก่
เส้นขนบนใบหน้าและร่างกาย (Facial & Body Hair)
กลิ่นตัว (Body Odour-Bromhidrosis)
ติ่งหู (Ear Protrusion)
ลักษณะขี้หู (Earwax Type)
สีตา (Eye Colour)
สีผม (Hair Colour)
ความไวต่อความเจ็บปวด (Pain Sensitivity)
อาการจามจากแสงแดด (Photic Sneeze Reflex)
ความไวต่อการได้กลิ่น (Smell Sensitivity)
แนวโน้มของภาวะหลั่งเหงื่อมาก (Sweat-Hyperhidrosis Tendency)
ความผอม (Persistent Thinness)
รอบเอว (Waist Circumference)

ประเภทที่ 9 : Gender Traits ลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเพศ 
บอกระดับฮอร์โมนเพศทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ได้แก่
ขนาดหน้าอก (Breast Size)
ระดับฮอร์โมนเพศหญิง (Female Sex Hormone Levels)
ระดับฮอร์โมนเพศชาย (Male Sex Hormone Levels)
การชอบความท้าทาย (Thrill-Seeking)

ประเภทที่ 10 : Behavioural Traits ลักษณะทางพฤติกรรม 
เน้นบอกเรื่องการเสพติด ได้แก่
การติดแอลกอฮอล์ (Alcohol Addiction)
การช่วยเหลือคนอื่น (Altruism)
เสพติดอาหาร (Food Addiction)
หมกมุ่นกับการทำความสะอาด (Obsessions With Washing, Cleaning)
เสพติดการสูบบุหรี่ (Smoking Addiction)

ประเภทที่ 11 : Personality Traits 
ช่วยให้เห็นบุคลิกภาพจากพันธุกรรม ได้แก่
ความเข้าอกเข้าใจ (Agreeableness)
ความพิถีพิถัน (Conscientiousness)
ความสนในต่อสิ่งภายนอก (Extraversion)
ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ (Neuroticism)
ความเปิดกว้าง (Openness)

ประเภทที่ 12 : Success Traits ความสามารถเฉพาะบุคคล ได้แก่
ความฉลาดทางสติปัญญา (Intelligence Quotient: IQ)
ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ)
ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา (Entrepreneurship Tendency: AQ)
ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
ระดับการศึกษา (Educational Attainment)
ความสามารถในการประมวลผล (Information Processing Power)
ความสามารถทางด้านภาษา (Language Ability)
ทักษะด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical Skills)
ทักษะด้านความจำ (Memory Skills)

ประเภทที่ 13 : Music & Dance ความสามารถด้านดนตรีและการเต้น 
ดูว่าอยู่ในระดับปกติหรือมีพรสวรรค์

ประเภทที่ 14 : Pollution ความไวต่อมลภาวะ 
ช่วยให้หลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการสัมผัสมลภาวะชนิดนั้นๆ ได้แก่
ความไวต่อการแพ้ฝุ่น (Dust Allergy Sensitivity)
ความไวต่อสารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide Sensitivity)
ความไวต่อมลพิษจากยานพาหนะ (Automobile Pollution Sensitivity)
ความไวต่อมลพิษจากสิ่งแวดล้อม (Environmental Pollution Sensitivity)
ความไวต่อมลพิษจากควันมือสอง (Second-Hand Smoke Sensitivity)

ประเภทที่ 15 : Precision Medicine การตอบสนองต่อยาเพื่อวางแผนการรักษา ได้แก่
การตอบสนองต่อการแพ้ยา
ชนิดและปริมาณของยาที่เหมาะสมในการรักษา

ประเภทที่ 16 : Early Detection พยากรณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่
ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง (34 Cancer Type)
ภาวะสมองเสื่อมและสุขภาพสมอง (Dementia & Brain Health)

ประเภทที่ 17 : Protect Your Family การวางแผนครอบครัว
การตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดไปยังบุตร 
เพื่อวางแผนก่อนมีบุตร (Family Planning)

ประเภทที่ 18 : Health & Disease การดูแลสุขภาพและการเจ็บป่วย
ความเสี่ยงสุขภาพทั่วไป (Common Health Risk / Disease Risk)

อันนี้ผมนำมาจาก https://hdmall.co.th/health-checkup/health-analysis-with-dna-test-circle-premium-n-health?hdAd=1&gad_source=1&gclid=CjwKCAjwkY2qBhBDEiwAoQXK5XZIjLDnC8hkLi5fDBRPMUKBHToZFqEK9nLz7KjOd135abXa4VrLrxoCuvYQAvD_BwE

ผมเองเห็นว่ามันเป็นการวิเคราะห์จากเรื่องกายภาพทั้งหมด
มนุษย์ยังมี mind and consciousness ที่ลึกล้ำกว่า
คนเขียนบทจะต้องจับคู่ระหว่าง ดีเอ็นเอ และ mind and consciousness ให้ถูกต้อง
ไม่งั้นบรรลัยแน่ ผมเชื่อเช่นนั้นนะ
ดังนั้นคนเขียนบทหรือคนจับคู่ ดีเอ็นเอ และ mind and consciousness
ให้กับมนุษย์แต่ละคนก็ควรจะมีเพราะนั่นคือการผลิตนักแสดงที่ต้อง
เหมาะกับบท

เมื่อมีนักแสดงก็ต้องมาฉาก ฉากใหญ่ๆในระดับจักรวาลนี้ใครสร้าง
มันเริ่มมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นตั้งแต่
ศาสตราจารย์ลอรา เมอร์ซีนี-ฮัฟตัน จากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาในชาเพลฮิลล์ 
และ ฮารัลด์ ไพฟเฟอร์ จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ได้พิสูจน์ว่า หลุมดำไม่มีจริง
ถ้าเป็นเช่นนั้น ภาวะเอกฐานและขอบฟ้าเหตุการณ์ ล้วนไม่เคยเกิดขึ้นจริง
ความเชื่อเรื่องบิกแบงก็จะมีปัญหาตามมา

ขยายความก็คือ
เป็นเวลาหลายสิบปีแล้วที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า
หลุมดำเกิดขึ้นเมื่อดาวฤกษ์มวลสูงยุบลง
จากแรงโน้มถ่วงของตัวเองจนหดลงไปจนเป็นจุดเล็ก ๆ
ที่เรียกว่าภาวะเอกฐาน
และเกิดเขตแดนล้อมรอบภาวะเอกฐานที่เป็นพรมแดนที่
หากวัตถุใดข้ามพ้นพรมแดนนี้ไปแล้ว ก็จะต้องตกลงสูงหลุมดำอย่างแน่นอน
ไม่มีโอกาสวกออกมาข้างนอกได้อีก เขตแดนนี้เรียกว่า ขอบฟ้าเหตุการณ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่