การวัดสายตาที่ดี นอกจากผู้ตรวจวัดสายตาต้องมีความชำนาญและเชี่ยวชาญในการวัดสายตาแแล้ว ถ้ามีเครื่องมือที่ทันสมัยด้วยจะช่วยให้การวัดสายตาของเรา ออกมามีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้นด้วยค่ะ
ขั้นตอนวิธีการวัดสายตาที่แม่นยำ มีดังนี้
1. วัดค่าสายตาเบื้องต้นด้วยเครื่อง Auto Refraction
ก่อนหน้าที่จะตรวจวัดสายตาอย่างละเอียดจะต้องได้รับการวัดสายตาเบื้องต้นด้วยเครื่อง Auto Refraction ก่อนค่ะ เพื่อให้ได้ทราบถึงค่าสายตาเบื้องต้นว่ามีค่าสายตาสั้น ยาว หรือเอียง
ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้นจากเมื่อก่อน การวัดเครื่อง Auto Refraction เมื่อก่อนต้องใช้การปรับโยกเครื่องตรวจด้วยมือ แต่สมัยใหม่นี้วัดเครื่อง Auto Refraction ด้วยการสัมผัสที่หน้าจอ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะปรับหาจุดกลางตาเองอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้การวัดแม่นยำมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่มีโอกาสวัดผิดพลาดได้ จากการโยกเครื่องด้วยมือของผู้ตรวจที่ไม่แม่นยำ
2. วัดสายตาอย่างละเอียดด้วยเครื่อง Phoropter
เป็นการวัดสายตาอ่านตัวเลขด้วยเครื่อง Phoropter แบบดิจิตอล โดยลูกค้าจะได้เปรียบเทียบเลนส์ว่าเลนส์ไหน เห็นชัดและสบายตากว่ากันค่ะ เพื่อให้ได้ค่าสายตาที่เรามองแล้วเห็นชัดและสบายตาจากความต้องการของลูกค้า
เครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้น จะเปลี่ยนเลนส์ได้ไวมากขึ้น โดยที่ลูกค้ายังจำภาพก่อนหน้านี้ได้อยู่ ทำให้ลูกค้าเปรียบเทียบความชัดของเลนส์ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น จากสมัยก่อนที่เปลี่ยนเลนศ์โดยการสลับเลนส์ไปมาจากการเสียบเลนส์เข้า - ออก ในการเปลี่ยนเลนศ์เสียบเข้า-ออก ทำให้ลูกค้าลืมภาพความคมชัดแรกได้ ก่อนที่จะเปรียบเทียบความชัดจะส่งผลให้ ความแม่นยำในการวัดลดลง และทำให้การตรวจช้าลงด้วยค่ะ
ขั้นตอนการวัดขั้นตอนนี้ ทำให้ได้ค่าสายตาจากการมองของลูกค้าจริงๆ ไม่ได้มาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงอย่างเดียวค่ะ
3. ทดลองใส่ค่าสายตา
หลังจากได้ค่าสายตาจากเครื่อง Phoropter เรียบร้อยแล้ว ผู้ตรวจจะนำค่าสายตาที่ได้มาใส่เลนส์ทดลอง เพื่อให้ลูกค้าได้ลองใส่ค่าสายตานี้ ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ลองเดินทางเรียบ เดินขึ้นลงบันได ดูมือถือ ดูคอมพิวเตอร์ ดูโทรทัศน์ เป็นต้น
การทดลองเลนส์เป็นการจำลองเหตุการณ์ให้ลูกค้าดูว่า ถ้าใส่ค่าสายตาที่ได้นี้ทำกิจกรรมต่างๆ สามารถใส่ใช้งานได้จริงๆ รึเปล่า เป็นการคอนเฟิร์มค่าสายตาให้ลูกค้าได้อีกด้วยค่ะ
เลนส์ทดลองสมัยใหม่นี้ เป็นเลนส์แว่นจริงๆ ตามค่าสายตาต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นความคมชัด และมุมมองที่ได้ออกมา เหมือนกับเลนส์แว่นที่จะตัดไปจริงๆ เลยค่ะ
4. วัดพารามิเตอร์ด้วยเครื่อง 3D Parameter
การวัดค่าพารามิเตอร์เป็นการตั้งจุดโฟกัสของแว่นให้ตรงกับตาผู้สวมใส่ เพื่อให้แว่นที่ได้ใส่แล้วภาพคมชัด สบายตา และปรับตัวง่ายค่ะ
โดยการวัดค่าพารามิเตอร์ เป็นการวัดค่าต่างๆ บนแว่นในขณะที่ลูกค้าสวมใส่แว่นที่เลือกไว้ เพื่อให้ได้ค่าต่างๆ ออกมา เช่น
- ค่าระยะห่างของตาทั้ง 2 ข้าง
- ค่าความเทของแว่น
- ค่าความโค้งแว่น
- ค่าระยะห่างของแว่นกับตาผู้สวมใส่
แล้วนำค่าเหล่านี้ส่งไปให้ที่บริษัทเลนส์เพื่อคำนวณและผลิตเลนส์ออกมาเป็นเลนส์เฉพาะตัวของคนคนนั้นค่ะ ให้ใส่แว่นได้สบายตาขึ้น ปรับตัวง่าย และหาโฟกัสได้ง่ายขึ้น
เครื่องวัดค่าพารามิเตอร์สมัยใหม่นี้จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วัดแบบ 3 มิติ ออกมา แทนการวัดด้วยมือของผู้ตรวจในสมัยก่อน ให้ได้ค่าออกมาอย่างแม่นยำมากขึ้นค่ะ
5. ทดลองเลนส์ทดลองชนิดต่างๆ เพิ่ม
นอกจากมีเลนส์ทดลองตามค่าสายตาแล้ว ก็ยังมีเลนส์ทดลองชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น เลนส์เฉพาะทาง และเลนส์โปรเกรสซีฟ เพื่อให้ลูกค้าได้ลองใส่ดูมุมมองภาพดูว่า ถ้าจะตัดแว่นเป็นเลนส์ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่เลนส์สายตาสั้น ยาว เอียง ธรรมดา เราใส่แว่นชนิดอื่นได้หรือไม่ ? ถ้ามีเลนส์ทดลองชนิดอื่นๆ ด้วย จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้ามากๆ ค่ะ เพื่อลูกค้าจะได้ลองใส่ใช้งานดูก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อค่ะ
สมัยใหม่มานี้ มีเลนส์ทดลอง เป็นเลนส์เฉพาะทาง และเลนส์โปรเกรสซีฟให้ลูกคาได้ทดลอง ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเนื่องจากเลนส์โปรเกรสซีฟและเลนส์เฉพาะทางมีราคาที่สูงขึ้นกว่าเลนส์ธรรมดทั่วๆ ไปค่ะ
ขั้นตอนวิธีการทั้งหมดนี้ ทางร้านแว่นควรมีขั้นตอนที่ครบทุกขั้นตอน เพื่อให้แว่นที่ตัดออกมามีคุณภาพ ให้ลูกค้าใส่แว่นใช้งานได้จริงๆ ใส่ทำงานได้สบายตา เหมาะกับลูกค้าค่ะ
การวัดสายตาที่ดี ควรมีขั้นตอนอะไรบ้าง?
ขั้นตอนวิธีการวัดสายตาที่แม่นยำ มีดังนี้
1. วัดค่าสายตาเบื้องต้นด้วยเครื่อง Auto Refraction
ก่อนหน้าที่จะตรวจวัดสายตาอย่างละเอียดจะต้องได้รับการวัดสายตาเบื้องต้นด้วยเครื่อง Auto Refraction ก่อนค่ะ เพื่อให้ได้ทราบถึงค่าสายตาเบื้องต้นว่ามีค่าสายตาสั้น ยาว หรือเอียง
ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้นจากเมื่อก่อน การวัดเครื่อง Auto Refraction เมื่อก่อนต้องใช้การปรับโยกเครื่องตรวจด้วยมือ แต่สมัยใหม่นี้วัดเครื่อง Auto Refraction ด้วยการสัมผัสที่หน้าจอ เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะปรับหาจุดกลางตาเองอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้การวัดแม่นยำมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่มีโอกาสวัดผิดพลาดได้ จากการโยกเครื่องด้วยมือของผู้ตรวจที่ไม่แม่นยำ
2. วัดสายตาอย่างละเอียดด้วยเครื่อง Phoropter
เป็นการวัดสายตาอ่านตัวเลขด้วยเครื่อง Phoropter แบบดิจิตอล โดยลูกค้าจะได้เปรียบเทียบเลนส์ว่าเลนส์ไหน เห็นชัดและสบายตากว่ากันค่ะ เพื่อให้ได้ค่าสายตาที่เรามองแล้วเห็นชัดและสบายตาจากความต้องการของลูกค้า
เครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้น จะเปลี่ยนเลนส์ได้ไวมากขึ้น โดยที่ลูกค้ายังจำภาพก่อนหน้านี้ได้อยู่ ทำให้ลูกค้าเปรียบเทียบความชัดของเลนส์ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น จากสมัยก่อนที่เปลี่ยนเลนศ์โดยการสลับเลนส์ไปมาจากการเสียบเลนส์เข้า - ออก ในการเปลี่ยนเลนศ์เสียบเข้า-ออก ทำให้ลูกค้าลืมภาพความคมชัดแรกได้ ก่อนที่จะเปรียบเทียบความชัดจะส่งผลให้ ความแม่นยำในการวัดลดลง และทำให้การตรวจช้าลงด้วยค่ะ
ขั้นตอนการวัดขั้นตอนนี้ ทำให้ได้ค่าสายตาจากการมองของลูกค้าจริงๆ ไม่ได้มาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงอย่างเดียวค่ะ
3. ทดลองใส่ค่าสายตา
หลังจากได้ค่าสายตาจากเครื่อง Phoropter เรียบร้อยแล้ว ผู้ตรวจจะนำค่าสายตาที่ได้มาใส่เลนส์ทดลอง เพื่อให้ลูกค้าได้ลองใส่ค่าสายตานี้ ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ลองเดินทางเรียบ เดินขึ้นลงบันได ดูมือถือ ดูคอมพิวเตอร์ ดูโทรทัศน์ เป็นต้น
การทดลองเลนส์เป็นการจำลองเหตุการณ์ให้ลูกค้าดูว่า ถ้าใส่ค่าสายตาที่ได้นี้ทำกิจกรรมต่างๆ สามารถใส่ใช้งานได้จริงๆ รึเปล่า เป็นการคอนเฟิร์มค่าสายตาให้ลูกค้าได้อีกด้วยค่ะ
เลนส์ทดลองสมัยใหม่นี้ เป็นเลนส์แว่นจริงๆ ตามค่าสายตาต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นความคมชัด และมุมมองที่ได้ออกมา เหมือนกับเลนส์แว่นที่จะตัดไปจริงๆ เลยค่ะ
4. วัดพารามิเตอร์ด้วยเครื่อง 3D Parameter
การวัดค่าพารามิเตอร์เป็นการตั้งจุดโฟกัสของแว่นให้ตรงกับตาผู้สวมใส่ เพื่อให้แว่นที่ได้ใส่แล้วภาพคมชัด สบายตา และปรับตัวง่ายค่ะ
โดยการวัดค่าพารามิเตอร์ เป็นการวัดค่าต่างๆ บนแว่นในขณะที่ลูกค้าสวมใส่แว่นที่เลือกไว้ เพื่อให้ได้ค่าต่างๆ ออกมา เช่น
- ค่าระยะห่างของตาทั้ง 2 ข้าง
- ค่าความเทของแว่น
- ค่าความโค้งแว่น
- ค่าระยะห่างของแว่นกับตาผู้สวมใส่
แล้วนำค่าเหล่านี้ส่งไปให้ที่บริษัทเลนส์เพื่อคำนวณและผลิตเลนส์ออกมาเป็นเลนส์เฉพาะตัวของคนคนนั้นค่ะ ให้ใส่แว่นได้สบายตาขึ้น ปรับตัวง่าย และหาโฟกัสได้ง่ายขึ้น
เครื่องวัดค่าพารามิเตอร์สมัยใหม่นี้จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วัดแบบ 3 มิติ ออกมา แทนการวัดด้วยมือของผู้ตรวจในสมัยก่อน ให้ได้ค่าออกมาอย่างแม่นยำมากขึ้นค่ะ
5. ทดลองเลนส์ทดลองชนิดต่างๆ เพิ่ม
นอกจากมีเลนส์ทดลองตามค่าสายตาแล้ว ก็ยังมีเลนส์ทดลองชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น เลนส์เฉพาะทาง และเลนส์โปรเกรสซีฟ เพื่อให้ลูกค้าได้ลองใส่ดูมุมมองภาพดูว่า ถ้าจะตัดแว่นเป็นเลนส์ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่เลนส์สายตาสั้น ยาว เอียง ธรรมดา เราใส่แว่นชนิดอื่นได้หรือไม่ ? ถ้ามีเลนส์ทดลองชนิดอื่นๆ ด้วย จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้ามากๆ ค่ะ เพื่อลูกค้าจะได้ลองใส่ใช้งานดูก่อน ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อค่ะ
สมัยใหม่มานี้ มีเลนส์ทดลอง เป็นเลนส์เฉพาะทาง และเลนส์โปรเกรสซีฟให้ลูกคาได้ทดลอง ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเนื่องจากเลนส์โปรเกรสซีฟและเลนส์เฉพาะทางมีราคาที่สูงขึ้นกว่าเลนส์ธรรมดทั่วๆ ไปค่ะ
ขั้นตอนวิธีการทั้งหมดนี้ ทางร้านแว่นควรมีขั้นตอนที่ครบทุกขั้นตอน เพื่อให้แว่นที่ตัดออกมามีคุณภาพ ให้ลูกค้าใส่แว่นใช้งานได้จริงๆ ใส่ทำงานได้สบายตา เหมาะกับลูกค้าค่ะ