ทำยังไงดีคะ มีเพื่อนร่วมงานทำตัวมีปัญหาใส่แล้วแก้ตัวว่าเป็นเพราะโรคซึมเศร้า

สวัสดีค่ะ พอดีมึเรื่องอยากปรึกษาชาวพันทิปค่ะ ตอนนี้ทำงานอยู่ ร้านอาหารแห่งหนึ่งค่ะ แล้วมีเพื่อนร่วมงานคนนึง ที่เขาทำงานมานานมากๆแล้ว แต่รู้สึกว่าการทำงานของเขา มันไม่ดีขึ้นเลยในแต่ละวัน มีแต่แย่ลงๆเรื่อยๆ จนเจ้าของร้านประชุม แล้วตักเตือน บอกให้พัฒนาหลายรอบแล้ว แต่พอเขาโดนว่าจากเจ้าของร้านแบะเพื่อนร่วมงาน เขาจะชอบแอบอ้างว่าเขาเป็นโรคซึมเศร้า อ่ะ แรกๆ เราพอเข้าใจเลยพยายามไม่พากันพูดอะไรที่กระทบจิตใจเขา แต่ตักเตือนดีๆหลายรอบมากๆแล้ว แต่เขาก็ยังทำงานพลาดเหมือนเดิม แล้วพลาดตลอด เจ้าของร้านสงสารแบะเห็นใจมากค่ะ เลยไม่ไล่ออก แล้วพอมาเป็นช่วงนี้ เขาทำพลาดหนักมาก จนเพื่อนร่วมงานมีการมีปากเสียงกัน แต่เขาก็ให้อารมณ์แบบ ฉันป่วยเป็นซึมเศร้านะ ทำแบบนี้กับฉันเลยหรอ ซึ่งไม่มีใครอยากว่าอะไรเขาเลย แต่เขาทำงานได้ไม่ดี เลยต้องมีการติติงกันเกิดขึ้น แต่พอเป็นเขาที่จะด่าคนอื่น เขาจะบอกว่า เขามองตามมุมมองบลาๆของเขา มีเพื่อนร่วมงานเรา เคยติติงเขาเรื่องงานที่เขาทำพลาดแล้วมันส่งผลกระทบถึงคนอื่น คือเป็นการตักเตือนดีๆเลยค่ะ ไม่มีปากเสียง แต่เขากลับเอาไปบอกเจ้าของร้านว่า เพื่อนเรา ว่าเขาแบบไม่มีเหตุผล ว่าเกินเหตุ จนเพื่อนเราถูกตำหนิ เพื่อนเรากดดันมากค่ะ พอเวลาใครทำอะไรแล้วเขาไม่พอใจเขาก็ชอบทำหน้าทำตาใส่เหมือนแบบหน้าบึ้งตึงถามไรก็ไม่คุยด้วย พอมีคนไปถามว่าเป็นอะไรรึป่าว เขาก็บอกว่าไม่ได้เป็นไรนะ เรื่องบางเรื่องที่เป็นเรื่องแบบตัวเองผิดก็หยิบมาเป็นประเด็น เช่น เพื่อนร่วมงานบอกว่าให้รีบทำงานเร็วๆก็คือโกรธเขาเป็นฟืนเป็นไฟเหมือนจะปล่อยผ่านเรื่องนี้ไม่ได้ทั้งที่ตัวเองก็เป็นเหมือนที่เขาว่ามา มาบอกว่าเขาว่าตัวเองเกินไปให้พูดดีๆ เจ้าของร้านก็มารู้ทีหลังค่ะว่าเขาเป็นคนแบบนี้ เขาเลยลองบอกให้คุยๆกันเองก่อน แต่ตอนนี้คิดไม่ออกนอกจากคำด่าแล้วค่ะ ต้องควรทำยังไงคะให้เซฟทุกฝ่าย เพราะก็ไม่อยากให้มีปัญหาให้มากกว่านี้ค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เผื่อช่วยเป็นแนวทางครับ

1.เข้าใจสาเหตุของความผิดพลาด
สิ่งแรกที่ควรทำคือพยายามเข้าใจสาเหตุของความผิดพลาดว่าเกิดจากอะไร เป็นไปได้ว่าความผิดพลาดเกิดจากปัญหาสุขภาพจิตจริง ๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า หรืออาจเกิดจากปัญหาอื่น ๆ เช่น ปัญหาด้านความรู้ความสามารถ ปัญหาด้านกระบวนการทำงาน หรือปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน
หากสามารถระบุสาเหตุของความผิดพลาดได้ จะช่วยให้สามารถหาแนวทางแก้ไขได้ตรงจุดมากขึ้น

2.พูดคุยอย่างตรงไปตรงมา
เมื่อเข้าใจสาเหตุของความผิดพลาดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่ตามมา โดยควรทำด้วยความระมัดระวังและเข้าใจถึงความรู้สึก
หากยอมรับว่ามีปัญหาสุขภาพจิตจริง ๆ ควรแนะนำให้ไปพบแพทย์หรือจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม

3.ให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุน
หากมีปัญหาสุขภาพจิตจริง ๆ การให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากนายจ้างและเพื่อนร่วมงาน จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานสามารถฟื้นฟูสภาพจิตใจและกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความช่วยเหลือและการสนับสนุนที่เราสามารถทำได้ เช่น การมอบหมายงานที่ไม่หนักเกินไป การมอบหมายงานให้เพื่อนร่วมงานช่วยดูแล การให้คำปรึกษาและกำลังใจซึ่งกันและกัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่