JJNY : สงครามอิสราเอล-ฮามาสกระทบโลกร้อน│วัยรุ่นหญิงอิหร่านเสียชีวิตแล้ว│จับตาผู้นำการเมืองรุ่นใหม่│สมาคมคอนโดฯจี้รัฐบาล

สงครามอิสราเอล-ฮามาสส่งผลกระทบลามไปถึงปัญหาโลกร้อน
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/209097
 
 
สงครามอิสราเอล-ฮามาสส่งผลกระทบมากกว่าที่คิด เพราะอาจจะลามไปกระทบถึงการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศด้วย
 
แม้ว่าในเวลานี้ หลายประเทศทั่วโลกจะพยายามแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แต่ก็มีวิกฤตต่าง ๆ ที่แทรกแซงเข้ามา จนทำให้ความพยายามดังกล่าวชะงักงันหรือช้าลง
 
อย่างในเวลานี้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง สงครามในอิสราเอล นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการทำให้โลกใบนี้เกิดการแบ่งแยกเป็นสองฝั่ง ยังทำให้น้ำมันแพงขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อ และที่ไม่น่าเชื่อก็คือ มันยังส่งผลกระทบไปถึงปัญหาโลกร้อนด้วย

เนื่องจากว่า การสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสเกิดขึ้นในภูมิภาคที่อุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ดังนั้นบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันจึงพยายามจะเก็บน้ำมันเอาไว้ แทนการส่งขาย และสงครามก็ยังเป็นสาเหตุทีทำให้น้ำมันแพงขึ้นอีกด้วย

อีกทั้งปัญหาที่เกิดขึ้น ยังส่งผลกระทบต่อการเจรจาว่าด้วยสภาพอากาศ ซึ่งตามกำหนดการเดิมจะจัดขึ้นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ยุ่งยากและวุ่นวายขึ้นไปอีก
 
รายงานระบุว่า อีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า สถานการณ์จะยิ่งเลวร้าย ถ้าหากว่าความขัดแย้งขยายวงกว้างไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง
 
ประธานกลุ่ม International Crisis Group บริษัทด้านการวิจัย เปิดเผยว่า นี่ถือเป็นบททดสอบ ว่าประเทศต่างๆจะสามารถกันเรื่องสภาพอากาศ ออกจากวิกฤตตอนนี้ได้หรือไม่
 
ด้านบรรดาผู้นำของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็กำลังเผชิญกับความท้าทาย พวกเขาต้องรับผิดชอบในการเชิญประเทศต่างๆเข้าร่วมการเจรจาว่าด้วยสภาพอากาศ ซึ่งคาดว่า จะมีการหยิบยกปัญหาของปาเลสไตน์ขึ้นในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติขึ้นมาหารือด้วย
 
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ว่า สงครามอิสราเอล ส่งผลกระทบในหลายด้าน ที่เห็นได้ชัดสุดก็คือเรื่องเศรษฐกิจ เพราะนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด 19 มาจนถึงสงครามยูเครน เศรษฐกิจของประเทต่างๆทั่วโลกย่ำแย่อยู่แล้ว หลายประเทศเผชิญปัญหาหนี้สิน อาหารมีราคาแพง และน้ำมันเชื้อเพลิงก็ขึ้นราคา ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้มีฐานะยากจนในหลายประเทศ ทำให้สถานการณ์ปากท้องของพวกเขาเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก
 
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเรื่องเงินเฟ้อที่หลายประเทศเผชิญคล้ายๆกัน ส่งผลทำให้ธนาคารกลางของหลายประเทศต้องออกมาตรการต่างๆออกมา เช่น การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
 
อย่างในสหรัฐฯ รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน วิตกกังวลเรื่องปัญหาน้ำมันมากที่สุด และสถานการณ์ก็อาจจะซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีก ถ้าหากว่าสงครามอิสราเอล-ฮามาส ขยายวงกว้างไปจนถึงอิหร่าน หรือประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียง
 
แม้แต่การระงับการผลิตน้ำมันชั่วคราวก็ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในสหรัฐฯได้ และนั่นอาจทำให้ประธานาธิบดีไบเดน เสียคะแนนเสียง ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้า
 
จริง ๆ แล้วในประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ บรรดาประเทศร่ำรวยเคยให้คำมั่นว่าจะส่งมอบงบประมาณ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯภายในปี 2020 เพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีรายได้น้อย แก้ปัญหาความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ และยกระดับการใช้พลังงานหมุนเวียนแทน แต่นับจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่ได้มีการส่งมอบแต่อย่างใด
 
อย่างไรก็ตาม งบประมาณก้อนยักษ์ดังกล่าว ก็อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะช่วยรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสภายในศตวรรษนี้ เพราะสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศคาดการณ์ว่า อาจต้องใช้งบประมาณสูงถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี จากปี 2023 จนถึงปี 2030 เพื่อทุ่มกับการลงทุนด้านพลังงาน
 
ด้านเจสัน บอร์ดอฟฟ์ หัวหน้าศูนย์นโยบายพลังงานโลก แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียมองว่า การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน ไม่ใช่มีประโยชน์เพียงแค่ช่วยลดโลกร้อนเท่านั้น แต่มันยังช่วยรับรองความมั่นคงทางพลังงานอีกด้วย โดยเวลานี้ที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในอิสราเอล ก็ยิ่งเป็นตัวย้ำเตือนว่าเราควรจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดให้เร็วขึ้น เพราะไม่ใช่แค่มันจะช่วยเรื่องปัญหาสภาพอากาศ แต่ยังช่วยเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานอีกด้วย
  

  
วัยรุ่นหญิงอิหร่านเสียชีวิตแล้ว หลังถูกตำรวจทำร้ายฐานไม่สวมฮิญาบ
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/209098

วัยรุ่นหญิงชาวอิหร่าน วัย 16 ปี ที่อยู่ในอาการโคม่าและสมองตาย จากการถูกตำรวจศีลธรรมทำร้าย ฐานไม่สวมฮิญาบ เสียชีวิตแล้ว
 
สำนักข่าวอิหร่าน รายงานว่า “อาร์มิตา เกราวานด์” วัยรุ่นหญิง อายุ 16 ปี เสียชีวิตแล้ว เมื่อวานนี้ หลังจากอยู่ในสภาพโคม่ามาสักระยะหนึ่ง นับตั้งแต่เผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจศีลธรรม ฐานละเมิดกฎหมายการสวมฮิญาบ หรือผ้าคลุมศีรษะ ที่สถานีรถไฟใต้ดินในกรุงเตะราน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา
 
คลิปวิดีโอจากกล้องวงจรปิดที่เผยแพร่ออกมาในวันเกิดเหตุ แสดงให้เห็นว่าเกราวานด์ อยู่ในสภาพหมดสติและถูกหามออกมาวางไว้บนชานชลาของสถานีรถไฟใต้ดิน
 
และมีรายงานว่า วัยรุ่นหญิงรายนี้ถูกตำรวจศีลธรรมทำร้ายจนบาดเจ็บ ก่อนจะถูกประกาศว่า สมองตาย เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ทั้งนี้ การเสียชีวิตของเกราวานด์ ยิ่งเป็นการย้ำถึงกรณีของ “มาห์ซา อามินี” หญิงสาวชาวอิหร่าน วัย 22 ที่เสียชีวิตขณะอยู่ในการควบคุมตัวของตำรวจศีลธรรม เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ก่อให้เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลอิหร่านครั้งใหญ่สุดในรอบหลายปี
  

  
จับตาผู้นำการเมืองรุ่นใหม่ “ไหม-ไอติม-อิ๊งค์” กับอนาคตการเมืองไทยหรือเป้าการทำลายล้าง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4256195

อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ สนทนาในรายการ The Politics ถึงการเลือกตั้งครั้งหน้าหลังจากที่พรรคเพื่อไทยมีการปรับเปลี่ยนหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรค เชื่อว่า พรรคก้าวไกลจะถูกรุมและวิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถูกจับตาว่าจะเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ อาทิ ศิริกัญญา ตันสกุล พริษฐ์ วัชรสินธุ เชื่อว่ากลไกทำลายล้างพรรคก้าวไกลคงทำงานอย่างต่อเนื่อง ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่