วันที่ 26 ตุลาคม 2566
“ธี่หยด” ภาพยนตร์ไทยที่กำลังเป็นกระแส คำนี้แปลว่าอะไร มีที่มาจากไหน เป็นการบริกรรมคาถาหมายถึงคำว่า “โอม” ในภาษามอญจริงหรือไม่
เรียกได้ว่าเป็นกระแสอย่างต่อเนื่องสำหรับภาพยนตร์ไทย ล่าสุดอีกเรื่องที่ประเดิมจอเข้าฉายวันแรก 26 ตุลาคม 2566 นั่นคือ “ธี่หยด” จากฝีมือกำกับของ “คุ้ย-ทวีวัฒน์ วันทา” นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ, เดนิส เจลีลชา, มิ้ม รัตนวดี ดำเนินการสร้างโดย ช่อง 3 และ M STUDIO (เอ็ม สตูดิโอ)
ตำนานกระทู้หลอนพันทิป
จุดเริ่มต้นของ ธี่หยด มาจากกระทู้สุดหลอนในตำนานของ “พันทิป” เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เจ้าของเรื่องคือ “กิตติศักดิ์ กิตติวิรยานนท์” ซึ่งได้รับฟังเรื่องราวดังกล่าวมาจากคุณแม่ของตนอีกทีหนึ่ง จากนั้น ธี่หยด ถูกนำไปตีพิมพ์เป็นนวนิยายที่สร้างจากเหตุการณ์จริง ในชื่อ “ธี่หยด…แว่วเสียงครวญคลั่ง” โดยแพรวสำนักพิมพ์ เมื่อปี 2560 ซึ่งเขียนโดย กิตติศักดิ์ ที่ใช้นามปากกาว่า “กฤตานนท์”
จนกระทั่งกลับมาเป็นกระเเสอีกครั้งเมื่อรายการ “THE GHOST RADIO” นำเรื่องธี่หยดมานำเสนอในวันที่ 22 กรกฎาคม 2566 ซึ่ง กิตติศักดิ์ เจ้าของกระทู้เป็นผู้มาเล่าเรื่องราวด้วยตนเอง
เรื่อง ธี่หยด เกิดขึ้นราวปี 2515 หรือเมื่อ 50 ปีที่เเล้ว ในหมู่บ้านห่างไกลของจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อมีเด็กสาวในหมู่บ้านเสียชีวิตลงอย่างปริศนา และข่าวเด็กสาวที่เสียชีวิตอย่างน่าสะพรึงก็แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว
จากนั้นเรื่องเหนือธรรมชาติก็เกิดกับครอบครัวหนึ่ง “แย้ม” ซึ่งเป็นน้องสาวในบ้านเริ่มมีอาการแปลก ๆ หลังจากเจอหญิงชุดดำลึกลับ ระหว่างกลับจากโรงเรียน อาการของแย้มทรุดลงเรื่อย ๆ พร้อมท่าทีประหลาดอย่างหาคำตอบไม่ได้
เหตุการณ์แปลกประหลาดปนสยองขวัญที่เกิดขึ้นคือเสียงปริศนา ฟังคล้ายบทสวดมนต์ หรือคำพูดไม่เป็นภาษา ดังว่า “ธี่หยด… ธี่หยด…” แว่วมาในยามราตรี
ธี่หยด แปลว่าอะไร มาจากไหน
แน่นอนว่า ธี่หยด ไม่ใช่คำที่คุ้นหูเท่าไรนัก หลายคนจึงเกิดความสงสัยว่าแปลว่าอะไรกันแน่ ซึ่ง กิตติศักดิ์ เจ้าของกระทู้ ได้อธิบายความหมายไว้ในรายการ The Ghost Radio ว่า โดยส่วนตัวแล้วตนไม่ทราบความหมายที่แน่ชัด เเต่เมื่อเรื่องราวถูกเขียนเป็นหนังสือ ก็มีกูรูท่านหนึ่งพบว่ามีคำที่ใกล้เคียงกับ ธี่หยด โดยเป็นคำมอญโบราณ ออกเสียงว่า “เตี๊ยหยด” เป็นเหมือนการบริกรรมคาถา อาจหมายถึงคำว่า “โอม”
อย่างไรก็ตาม แม่ของกิตติศักดิ์ก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าเสียงดังกล่าวนั้นคืออะไร และเรื่องนี้ก็เกิดขึ้นมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว การถอดเสียงออกมาแล้วสะกดว่าธี่หยดจะมีความผิดเพี้ยนก็ไม่แปลกนัก
“ศิลปวัฒนธรรม” ได้สอบถามไปยัง “ดร.องค์ บรรจุน” อาจารย์ประจำคณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมอญ ว่า “ธี่หยดมาจาก เตี๊ยะหยด ในภาษามอญที่แปลว่า โอม ใช่หรือไม่”
ดร.องค์ ระบุว่า ไม่เคยได้ยิน ที่มาของคำไม่ชัด เพราะคนแวดล้อมในเหตุการณ์ก็ไม่รู้ แค่เล่าจากความทรงจำเมื่อ 50 ปีที่แล้ว จากนั้นคนที่ฟังรายการผีนี้แล้วช่วยตีความ ลากเข้าความให้ภายหลัง ซึ่งเสียง โอม แบบฮินดู มอญออกเสียงว่า “อูม” ถ้าจะให้ผมช่วยหาคำศัพท์มอญอะไรสักคำที่ใกล้เคียง ธี่หยด เท่าที่มีคลังศัพท์ก็คือ “แตะ โหยด” ซึ่งแปลว่า ยัก (เอว) “เท่าที่เกิดมา จากความรู้เท่าที่มี ตอบได้ว่าไม่ใช่ภาษามอญครับ” ดร.องค์ กล่าว
ศิลปวัฒนธรรมยังระบุอีกว่า ดังนั้น ธี่หยด จึงไม่ใช่ภาษามอญตามที่มีการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์ คงจะเป็นการลากเข้าความให้คำนี้เป็นภาษามอญ เพราะจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ติดกับประเทศเมียนมา ซึ่งชายแดนด้านนั้นก็มีการติดต่อกับชาวมอญมานานนับร้อย ๆ ปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.prachachat.net/d-life/news-1423671
ธี่หยด ชื่อภาพยนตร์ไทยที่กำลังเป็นกระแส แปลว่าอะไร มาจากไหน
วันที่ 26 ตุลาคม 2566
“ธี่หยด” ภาพยนตร์ไทยที่กำลังเป็นกระแส คำนี้แปลว่าอะไร มีที่มาจากไหน เป็นการบริกรรมคาถาหมายถึงคำว่า “โอม” ในภาษามอญจริงหรือไม่
เรียกได้ว่าเป็นกระแสอย่างต่อเนื่องสำหรับภาพยนตร์ไทย ล่าสุดอีกเรื่องที่ประเดิมจอเข้าฉายวันแรก 26 ตุลาคม 2566 นั่นคือ “ธี่หยด” จากฝีมือกำกับของ “คุ้ย-ทวีวัฒน์ วันทา” นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ, เดนิส เจลีลชา, มิ้ม รัตนวดี ดำเนินการสร้างโดย ช่อง 3 และ M STUDIO (เอ็ม สตูดิโอ)
ตำนานกระทู้หลอนพันทิป
จุดเริ่มต้นของ ธี่หยด มาจากกระทู้สุดหลอนในตำนานของ “พันทิป” เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เจ้าของเรื่องคือ “กิตติศักดิ์ กิตติวิรยานนท์” ซึ่งได้รับฟังเรื่องราวดังกล่าวมาจากคุณแม่ของตนอีกทีหนึ่ง จากนั้น ธี่หยด ถูกนำไปตีพิมพ์เป็นนวนิยายที่สร้างจากเหตุการณ์จริง ในชื่อ “ธี่หยด…แว่วเสียงครวญคลั่ง” โดยแพรวสำนักพิมพ์ เมื่อปี 2560 ซึ่งเขียนโดย กิตติศักดิ์ ที่ใช้นามปากกาว่า “กฤตานนท์”
จนกระทั่งกลับมาเป็นกระเเสอีกครั้งเมื่อรายการ “THE GHOST RADIO” นำเรื่องธี่หยดมานำเสนอในวันที่ 22 กรกฎาคม 2566 ซึ่ง กิตติศักดิ์ เจ้าของกระทู้เป็นผู้มาเล่าเรื่องราวด้วยตนเอง
เรื่อง ธี่หยด เกิดขึ้นราวปี 2515 หรือเมื่อ 50 ปีที่เเล้ว ในหมู่บ้านห่างไกลของจังหวัดกาญจนบุรี เมื่อมีเด็กสาวในหมู่บ้านเสียชีวิตลงอย่างปริศนา และข่าวเด็กสาวที่เสียชีวิตอย่างน่าสะพรึงก็แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว
จากนั้นเรื่องเหนือธรรมชาติก็เกิดกับครอบครัวหนึ่ง “แย้ม” ซึ่งเป็นน้องสาวในบ้านเริ่มมีอาการแปลก ๆ หลังจากเจอหญิงชุดดำลึกลับ ระหว่างกลับจากโรงเรียน อาการของแย้มทรุดลงเรื่อย ๆ พร้อมท่าทีประหลาดอย่างหาคำตอบไม่ได้
เหตุการณ์แปลกประหลาดปนสยองขวัญที่เกิดขึ้นคือเสียงปริศนา ฟังคล้ายบทสวดมนต์ หรือคำพูดไม่เป็นภาษา ดังว่า “ธี่หยด… ธี่หยด…” แว่วมาในยามราตรี
ธี่หยด แปลว่าอะไร มาจากไหน
แน่นอนว่า ธี่หยด ไม่ใช่คำที่คุ้นหูเท่าไรนัก หลายคนจึงเกิดความสงสัยว่าแปลว่าอะไรกันแน่ ซึ่ง กิตติศักดิ์ เจ้าของกระทู้ ได้อธิบายความหมายไว้ในรายการ The Ghost Radio ว่า โดยส่วนตัวแล้วตนไม่ทราบความหมายที่แน่ชัด เเต่เมื่อเรื่องราวถูกเขียนเป็นหนังสือ ก็มีกูรูท่านหนึ่งพบว่ามีคำที่ใกล้เคียงกับ ธี่หยด โดยเป็นคำมอญโบราณ ออกเสียงว่า “เตี๊ยหยด” เป็นเหมือนการบริกรรมคาถา อาจหมายถึงคำว่า “โอม”
อย่างไรก็ตาม แม่ของกิตติศักดิ์ก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าเสียงดังกล่าวนั้นคืออะไร และเรื่องนี้ก็เกิดขึ้นมานานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว การถอดเสียงออกมาแล้วสะกดว่าธี่หยดจะมีความผิดเพี้ยนก็ไม่แปลกนัก
“ศิลปวัฒนธรรม” ได้สอบถามไปยัง “ดร.องค์ บรรจุน” อาจารย์ประจำคณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมอญ ว่า “ธี่หยดมาจาก เตี๊ยะหยด ในภาษามอญที่แปลว่า โอม ใช่หรือไม่”
ดร.องค์ ระบุว่า ไม่เคยได้ยิน ที่มาของคำไม่ชัด เพราะคนแวดล้อมในเหตุการณ์ก็ไม่รู้ แค่เล่าจากความทรงจำเมื่อ 50 ปีที่แล้ว จากนั้นคนที่ฟังรายการผีนี้แล้วช่วยตีความ ลากเข้าความให้ภายหลัง ซึ่งเสียง โอม แบบฮินดู มอญออกเสียงว่า “อูม” ถ้าจะให้ผมช่วยหาคำศัพท์มอญอะไรสักคำที่ใกล้เคียง ธี่หยด เท่าที่มีคลังศัพท์ก็คือ “แตะ โหยด” ซึ่งแปลว่า ยัก (เอว) “เท่าที่เกิดมา จากความรู้เท่าที่มี ตอบได้ว่าไม่ใช่ภาษามอญครับ” ดร.องค์ กล่าว
ศิลปวัฒนธรรมยังระบุอีกว่า ดังนั้น ธี่หยด จึงไม่ใช่ภาษามอญตามที่มีการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์ คงจะเป็นการลากเข้าความให้คำนี้เป็นภาษามอญ เพราะจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ติดกับประเทศเมียนมา ซึ่งชายแดนด้านนั้นก็มีการติดต่อกับชาวมอญมานานนับร้อย ๆ ปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/d-life/news-1423671