ในละคร พรหมลิขิต อีพี 3 หรือออกอากาศเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ฉากหนึ่งที่เรียกรอยยิ้มจากผู้ชมไปเมื่อน้อย คือฉากที่ “พุดตาน” รับบทโดย “เบลล่า ราณี” พูดคุยกับ “ยายกุย” รับบทโดย “รัดเกล้า อามระดิษ” เจ้าของสวนผัก สังกัดออกญาวิสูตรสาคร ผู้เชื่อว่าพุดตานเป็นเทวดา จึงให้ที่อยู่อาศัยและดูแลเป็นอย่างดี โดยจังหวะหนึ่ง “ยายกุย” ถาม “พุดตาน” ว่ามาจากที่ใด จึงพูดวาจาแปลกหูนัก
“พุดตาน” ตอบว่า “ข้ามาจากกรุงเทพฯเจ้าค่ะ”
ก่อนจะพูดชื่อเต็มว่า “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”
ทำเอา “ยายกุย” “แม่กลิ่น” และบ่าวไพร่ถึงกับอ้าปากค้าง ก่อนที่ “ยายกุย” จะเอ่ยปากชมในความสามารถด้านการจดจำและความเฉลียวฉลาดของ “พุดตาน” จนแซวว่า “ท่องจำชื่อเต็มกรุงเทพฯได้แม่นขนาดนี้ สมแล้วที่เป็นลูกเทวดา”
“ยายกุย” ยังบอกด้วยว่า ชื่อกรุงเทพฯคล้ายเมืองหลวงอาณาจักรอยุธยา นั่นก็คือ “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา”
สำหรับประวัติความเป็นมาชื่อเมือง “กรุงเทพฯ” นั้น แม้ “กรุงเทพฯ” จะเป็นเมืองหลวง แต่ก็มีวันสถาปนานั่นคือ 21 เมษายน พ.ศ.2325
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาราชธานีใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมการฉลองพระนครเสร็จแล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา”
ต่อมา ในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้พระนามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา”
ครั้นในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า “บวร” เป็น “อมร” เปลี่ยนคำว่า “มหินทอยุธยา” เป็น “มหินทรายุธยา” โดยใช้วิธีสนธิศัพท์ เปลี่ยนการสะกดคำว่า “สินท์” เป็น “สินทร์” พร้อมเติมสร้อยนามต่อ
ทำให้ กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก นั่นก็คือ “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”
สำหรับความหมายของชื่อเต็ม กรุงเทพฯ มีดังนี้
กรุงเทพมหานคร : พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร
อมรรัตนโกสินทร์ : เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต
มหินทรายุธยา : เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะ
มหาดิลกภพ : มีความงามอันมั่งคงและเจริญยิ่ง
นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ : เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการน่ารื่นรมย์ยิ่ง
อุดมราชนิเวศมหาสถาน : มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย
อมรพิมานอวตารสถิต : เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา
สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ : ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้
ขอบคุณ นิตยสารสารคดี มกราคม 2540 และ ข่าวสด
https://www.matichon.co.th/entertainment/news_4253400
ถอดความหมาย ชื่อเต็ม ‘กรุงเทพฯ’ ที่ ‘พุดตาน’ ท่องใน #พรหมลิขิต จนได้ฉายาลูกเทวดา
ในละคร พรหมลิขิต อีพี 3 หรือออกอากาศเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ฉากหนึ่งที่เรียกรอยยิ้มจากผู้ชมไปเมื่อน้อย คือฉากที่ “พุดตาน” รับบทโดย “เบลล่า ราณี” พูดคุยกับ “ยายกุย” รับบทโดย “รัดเกล้า อามระดิษ” เจ้าของสวนผัก สังกัดออกญาวิสูตรสาคร ผู้เชื่อว่าพุดตานเป็นเทวดา จึงให้ที่อยู่อาศัยและดูแลเป็นอย่างดี โดยจังหวะหนึ่ง “ยายกุย” ถาม “พุดตาน” ว่ามาจากที่ใด จึงพูดวาจาแปลกหูนัก
“พุดตาน” ตอบว่า “ข้ามาจากกรุงเทพฯเจ้าค่ะ”
ก่อนจะพูดชื่อเต็มว่า “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”
ทำเอา “ยายกุย” “แม่กลิ่น” และบ่าวไพร่ถึงกับอ้าปากค้าง ก่อนที่ “ยายกุย” จะเอ่ยปากชมในความสามารถด้านการจดจำและความเฉลียวฉลาดของ “พุดตาน” จนแซวว่า “ท่องจำชื่อเต็มกรุงเทพฯได้แม่นขนาดนี้ สมแล้วที่เป็นลูกเทวดา”
“ยายกุย” ยังบอกด้วยว่า ชื่อกรุงเทพฯคล้ายเมืองหลวงอาณาจักรอยุธยา นั่นก็คือ “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา”
สำหรับประวัติความเป็นมาชื่อเมือง “กรุงเทพฯ” นั้น แม้ “กรุงเทพฯ” จะเป็นเมืองหลวง แต่ก็มีวันสถาปนานั่นคือ 21 เมษายน พ.ศ.2325
เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนาราชธานีใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมการฉลองพระนครเสร็จแล้วจึงพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา”
ต่อมา ในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้พระนามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา”
ครั้นในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า “บวร” เป็น “อมร” เปลี่ยนคำว่า “มหินทอยุธยา” เป็น “มหินทรายุธยา” โดยใช้วิธีสนธิศัพท์ เปลี่ยนการสะกดคำว่า “สินท์” เป็น “สินทร์” พร้อมเติมสร้อยนามต่อ
ทำให้ กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก นั่นก็คือ “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”
สำหรับความหมายของชื่อเต็ม กรุงเทพฯ มีดังนี้
กรุงเทพมหานคร : พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร
อมรรัตนโกสินทร์ : เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต
มหินทรายุธยา : เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะ
มหาดิลกภพ : มีความงามอันมั่งคงและเจริญยิ่ง
นพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ : เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการน่ารื่นรมย์ยิ่ง
อุดมราชนิเวศมหาสถาน : มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย
อมรพิมานอวตารสถิต : เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา
สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ : ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้
ขอบคุณ นิตยสารสารคดี มกราคม 2540 และ ข่าวสด
https://www.matichon.co.th/entertainment/news_4253400