สงครามอิสราเอล-ฮามาส สร้างความกังวลต่อตลาดในมุมมองที่สถานการณ์อาจลุกลามบานปลาย กลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ในตะวันออกกลาง (Regional war) เนื่องจากการเข้ามาเกี่ยวข้องของหลายประเทศมากขึ้น ทั้งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิหร่าน และเลบานอน เป็นต้น รวมถึงองค์การสหประชาชาติที่ยื่นมือเข้ามาในประเด็นนี้
ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ดำเนินมาอย่างยาวนาน แต่สงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาสในครั้งนี้ เป็นความรุนแรงครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี และมีแนวโน้มตึงเครียดเข้าใกล้จุดแตกหัก สร้างความกังวลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก แม้อิสราเอลจะไม่ได้เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก
แต่แน่นอนว่าการขนส่งน้ำมัน มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการจำกัดเส้นทางขนส่งผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งขนส่งน้ำมันคิดเป็น 15% ของอุปทานโลก รวมทั้งการทำสงคราม จะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
หากสงครามระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ยกระดับกลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ในตะวันออกกลางจริง กำลังการผลิตน้ำมันของโอเปกในตะวันออกกลาง รวมราว 28 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 28% ของความต้องการใช้ทั่วโลก มีแนวโน้มได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
รวมทั้งการผลิตน้ำมันของอิหร่านที่ 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ที่ถูกแบนไปก่อนหน้านี้ และมีความหวังว่าจะกลับมาผลิตน้ำมันได้ จากความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับสหรัฐฯ หลังการแลกตัวนักโทษ แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวกลับกลายเป็นแย่ลงอีกครั้ง หลังอิหร่านมีท่าทีปกป้องการโจมตีต่อฉนวนกาซ่า
หลังจากการเปิดฉากโจมตีอิสราเอลจากฮามาสในวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งกว่า 7.5% แตะระดับ 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หากสถานการณ์สงครามรุนแรงขึ้นและกระทบต่อการผลิตน้ำมัน มีโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบจะพุ่งแตะระดับ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ดังเช่นช่วงแรกของการเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน
หากราคาน้ำมันพุ่งสูงเช่นนั้นจริง จะส่งแรงกดดันมหาศาลต่อเงินเฟ้อทั่วโลก ให้มีโอกาสซ้ำรอยพุ่งแตะ 2 หลักอีกครั้ง รวมถึงกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินทั่วโลก
ที่อาจต้องกลับลำมาขึ้นดอกเบี้ยต่ออีกครั้ง เพื่อพร้อมรับมือกับภาวะ “Stagflation” ที่อาจเกิดขึ้นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.prachachat.net/finance/news-1422045
สงครามครั้งใหญ่ตะวันออกกลาง? ความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อรอบใหม่
สงครามอิสราเอล-ฮามาส สร้างความกังวลต่อตลาดในมุมมองที่สถานการณ์อาจลุกลามบานปลาย กลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ในตะวันออกกลาง (Regional war) เนื่องจากการเข้ามาเกี่ยวข้องของหลายประเทศมากขึ้น ทั้งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิหร่าน และเลบานอน เป็นต้น รวมถึงองค์การสหประชาชาติที่ยื่นมือเข้ามาในประเด็นนี้
ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ดำเนินมาอย่างยาวนาน แต่สงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาสในครั้งนี้ เป็นความรุนแรงครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี และมีแนวโน้มตึงเครียดเข้าใกล้จุดแตกหัก สร้างความกังวลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก แม้อิสราเอลจะไม่ได้เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก
แต่แน่นอนว่าการขนส่งน้ำมัน มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการจำกัดเส้นทางขนส่งผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งขนส่งน้ำมันคิดเป็น 15% ของอุปทานโลก รวมทั้งการทำสงคราม จะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
หากสงครามระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ยกระดับกลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ในตะวันออกกลางจริง กำลังการผลิตน้ำมันของโอเปกในตะวันออกกลาง รวมราว 28 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 28% ของความต้องการใช้ทั่วโลก มีแนวโน้มได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
รวมทั้งการผลิตน้ำมันของอิหร่านที่ 3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ที่ถูกแบนไปก่อนหน้านี้ และมีความหวังว่าจะกลับมาผลิตน้ำมันได้ จากความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับสหรัฐฯ หลังการแลกตัวนักโทษ แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าวกลับกลายเป็นแย่ลงอีกครั้ง หลังอิหร่านมีท่าทีปกป้องการโจมตีต่อฉนวนกาซ่า
หลังจากการเปิดฉากโจมตีอิสราเอลจากฮามาสในวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งกว่า 7.5% แตะระดับ 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หากสถานการณ์สงครามรุนแรงขึ้นและกระทบต่อการผลิตน้ำมัน มีโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบจะพุ่งแตะระดับ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ดังเช่นช่วงแรกของการเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน
หากราคาน้ำมันพุ่งสูงเช่นนั้นจริง จะส่งแรงกดดันมหาศาลต่อเงินเฟ้อทั่วโลก ให้มีโอกาสซ้ำรอยพุ่งแตะ 2 หลักอีกครั้ง รวมถึงกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินทั่วโลก
ที่อาจต้องกลับลำมาขึ้นดอกเบี้ยต่ออีกครั้ง เพื่อพร้อมรับมือกับภาวะ “Stagflation” ที่อาจเกิดขึ้นได้
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/finance/news-1422045