วันหยุดไม่มีอะไรทำ เอาพอร์ตออมทองมาอวดสักหน่อยดีกว่า
ทำข้อมูลทั้งที ขอแถมข้อมูล Backtest เปรียบเทียบข้อมูลการลงทุนที่ใกล้เคียงกันไว้ให้ด้วย
ขอออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย
ข้อมูลที่จะเอามาเล่า ส่วนหนึ่งมาจากพอร์ตส่วนตัว แล้วก็ข้อมูลเปิดเผยที่พอจะหาได้ทั่วไป
คำเตือน
ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
เริ่มต้น แนะนำ กับคำว่า ออมทอง ที่จะมาอวดกันก่อน
ออมทองในวันนี้ ไม่ใช่การฝากเงินไว้กับแม่ๆ เจ๊ๆ บ้านออมเงิน ออมทอง แบบในข่าวแชร์ลูกโซ่ฉ้อโกงนะครับ
แต่หมายถึง โครงการที่เหล่าร้านทองเสนอขายในรูปแบบการซื้อทองคำจริงๆ ด้วยเงินจำนวนเท่ากันทุกเดือน
ข้อดีของการลงทุนแบบนี้ คือ เราสามารถใช้เงินอันน้อยนิดของเรา สะสมซื้อทองไปเรื่อยๆ
พอได้ปริมาณนึงก็เลือกได้ว่าจะขายเอาเงินสดออกมา หรือ จะแลกเป็นทองแท่ง หรือ ทองรูปพรรณ
ย้อนกลับไป ณ ขณะที่ผมเริ่มลงทุน (ตุลาคม ปี 2561)
มีเจ้าใหญ่ๆในตลาดนี้ 2 เจ้า คือ A กับ H ซึ่งโปรแกรมที่ผมเลือกลงทุน คือ ออมทองรายเดือน
ความแตกต่างระหว่างคู่นี้ คือ H หักเงินวันที่ 1 ซื้อทองวันที่ 2 เรียบง่ายไม่ซับซ้อน
ส่วน A จะหักเงินวันที่ 1 แต่จะเอาเงินไปหาร ตามจำนวนวันทำการ แล้วไล่ซื้อทองทุกวัน
ราคาต้นทุนของ A ก็จะเป็นราคาที่เฉลี่ยมากกว่า H
ความเหมือนของทั้งคู่ คือ ทั้งคู่เป็นเจ้าใหญ่ในตลาดทองบ้านเรา ประสบการณ์สูง
เป็นสมาชิกสมาคมค้าทองทั้งคู่ และ ได้รับรองมาตรฐานการผลิตพอๆกัน (น่าเชื่อถือพอๆกันมั้ง)
นอกจากร้านทองแบบปกติที่เราเห็น ก็ยังมีพอร์ตลงทุนทองด้านอื่นๆอีก เช่น เทรดทอง ฟิวเจอร์
และเมื่อการซื้อทองแบบนี้ ก็ไม่ต่างกับการ DCA ทองคำ
ผมเลยอยากรู้ว่าถ้าเอาพอร์ตของผม มาเทียบกับการซื้อกองทุนทองคำ จะเป็นยังไง
กองทุนทองคำ ก็คือ กองทุนรวมที่ลงทุนใน ทองคำ สินทรัพย์เดียวเลย
ซึ่งส่วนมาก กองทุนในบ้านเราจะเป็น Feeder Fund เอาเงินไปซื้อหน่วยลงทุนในกองต่างประเทศ
กองแม่ที่นิยมที่สุด คือ SPDR Gold Trust เพราะ เป็นกองที่มีนโยบายลงทุนในทองคำแท่ง 100%
SPDR จะเอาเงินไปซื้อทองแท่งเก็บไว้ ทำให้ราคาหน่วยสะท้อนสภาวะจริงๆ ใกล้เคียงราคาทองในตลาด
ความแตกต่างของกองทุนทองคำในบ้านเราเลยอยู่ที่ การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
เมื่อเราซื้อหน่วยลงทุนเป็นเงินบาท ผู้จัดการกองทุนก็ต้องเปลี่ยนเป็นดอลลาร์ เพื่อไปซื้อหน่วยลงทุน SPDR
การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ก็ทำได้หลายวิธี เช่น ซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หากเราซื้อดอลลาที่ 35บาท/1ดอลลาร์ แล้วซื้อสัญญาล่วงหน้าไว้ 1ปี
เมื่อครบ 1ปี เรากลับมาขาย 1ดอลลาร์ ของเราก็จะได้ 35บาท แม้ราคาในตลาดจะเหลือ 33บาท
แต่ถ้าสมมติ ราคาตลาดขึ้นไป 38บาท/1ดอลล่าร์ เราก็จะได้แค่ 35บาท เหมือนเดิม
เอาละ อารัมภบท มานาน ขอเข้ามาที่ผลตอบแทน
พอร์ตของผมจะเป็นการออมทองกับ A จะเป็นตัวเลขจากการลงทุนที่ผมบันทึกไว้
แถมด้วย การจำลองพอร์ต (backtest) เปรียบเทียบ ออมทองกับ H และ DCA กองทุนทองคำ อีก 2กอง
โดย กอง G เป็นกองทุนที่ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
และ กอง K เป็นกองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน จาก บลจ. เดียวกัน
ลงทุนทั้งหมด 60 ครั้ง เริ่ม ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2561 - กันยายน 2566
ครั้งละ 2,000บาท รวมทั้งหมด 120,000บาท และขายทั้งหมด ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2566
กราฟแสงมูลค่าพอร์ตการลงทุน
ผลออกมา คือ การออมทอง ไม่ว่าจะ A หรือ H ก็จะให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกัน
ส่วน กอง G ที่ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ก็มีแนวโน้มใกล้เคียงกับการออมทอง
เพราะราคาทองคำที่ขายในบ้านเรา ได้รวมอัตราแลกเปลี่ยนไปแล้ว
หากเงินบาทแข็ง ราคาทองก็จะต่ำลง กลับกัน หากเงินบาทอ่อน ราคาทองก็จะสูงขึ้น
สุดท้าย กอง K ที่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน จะเห็นได้ว่า บางช่วงก็เอาชนะ กอง G ได้
แต่ช่วง2-3ปีมานี้ ทองก็ขึ้น บาทก็อ่อน ผลการดำเนินงานก็เลย แย่กว่า อย่างเห็นได้ชัด
มาเจาะกันที่ กอง G เทียบกับ การออมทอง
ผลตอบแทนที่ต่างกัน น่าจะมาจากค่าธรรมเนียม การลงทุนในกองทุนรวม มีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า
แต่ก็มีความปลอดภัยสูงกว่า กองในประเทศมีการควบคุมและกำกับดูแล โดย ก.ล.ต.
กองแม่(SPDR)ก็เป็นกองทุนขนาดใหญ่ และ มีหน่วยงานด้านการลงทุนคอยกำกับและตรวจสอบ
ต่างจากการออมทอง ที่ไม่มีหน่วยงานกลายคอยกำกับและตรวจสอบ ก็ต้องลุ้นกันเอาว่าจะไม่มีปัญหาในอนาคต
ตั้งแต่การตรวจสอบการซื้อทองตามคำสั่งซื้อจริงมั้ย ทองแท้รึป่าว หรือ หากเจ๊งมาจะเรียกร้องยังไง
สรุป
การลงทุนที่เลือกมาเปรียบเทียบในวันนี้ มีความเหมือนกันคือ สุดท้ายแล้วเป็นการลงทุนในทองคำจริงๆ
ไม่ได้มีการลงทุนใน อนุพันธ์ หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทำให้ผลตอบแทนออกมาใกล้เคียงกัน
จะมีส่วนที่ต่างกันคือ การลงทุนในกองทุน ที่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แม้ความผันผวนจะต่ำกว่า แต่ก็มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะในสภาวะที่เงินบาทอ่อนแบบในปัจจุบัน ครับ
อวดผลงาน "ออมทอง" ขาขึ้น เทียบกับกองทุนทองคำ
ทำข้อมูลทั้งที ขอแถมข้อมูล Backtest เปรียบเทียบข้อมูลการลงทุนที่ใกล้เคียงกันไว้ให้ด้วย
ขอออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย
ข้อมูลที่จะเอามาเล่า ส่วนหนึ่งมาจากพอร์ตส่วนตัว แล้วก็ข้อมูลเปิดเผยที่พอจะหาได้ทั่วไป
คำเตือน
ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
เริ่มต้น แนะนำ กับคำว่า ออมทอง ที่จะมาอวดกันก่อน
ออมทองในวันนี้ ไม่ใช่การฝากเงินไว้กับแม่ๆ เจ๊ๆ บ้านออมเงิน ออมทอง แบบในข่าวแชร์ลูกโซ่ฉ้อโกงนะครับ
แต่หมายถึง โครงการที่เหล่าร้านทองเสนอขายในรูปแบบการซื้อทองคำจริงๆ ด้วยเงินจำนวนเท่ากันทุกเดือน
ข้อดีของการลงทุนแบบนี้ คือ เราสามารถใช้เงินอันน้อยนิดของเรา สะสมซื้อทองไปเรื่อยๆ
พอได้ปริมาณนึงก็เลือกได้ว่าจะขายเอาเงินสดออกมา หรือ จะแลกเป็นทองแท่ง หรือ ทองรูปพรรณ
ย้อนกลับไป ณ ขณะที่ผมเริ่มลงทุน (ตุลาคม ปี 2561)
มีเจ้าใหญ่ๆในตลาดนี้ 2 เจ้า คือ A กับ H ซึ่งโปรแกรมที่ผมเลือกลงทุน คือ ออมทองรายเดือน
ความแตกต่างระหว่างคู่นี้ คือ H หักเงินวันที่ 1 ซื้อทองวันที่ 2 เรียบง่ายไม่ซับซ้อน
ส่วน A จะหักเงินวันที่ 1 แต่จะเอาเงินไปหาร ตามจำนวนวันทำการ แล้วไล่ซื้อทองทุกวัน
ราคาต้นทุนของ A ก็จะเป็นราคาที่เฉลี่ยมากกว่า H
ความเหมือนของทั้งคู่ คือ ทั้งคู่เป็นเจ้าใหญ่ในตลาดทองบ้านเรา ประสบการณ์สูง
เป็นสมาชิกสมาคมค้าทองทั้งคู่ และ ได้รับรองมาตรฐานการผลิตพอๆกัน (น่าเชื่อถือพอๆกันมั้ง)
นอกจากร้านทองแบบปกติที่เราเห็น ก็ยังมีพอร์ตลงทุนทองด้านอื่นๆอีก เช่น เทรดทอง ฟิวเจอร์
และเมื่อการซื้อทองแบบนี้ ก็ไม่ต่างกับการ DCA ทองคำ
ผมเลยอยากรู้ว่าถ้าเอาพอร์ตของผม มาเทียบกับการซื้อกองทุนทองคำ จะเป็นยังไง
กองทุนทองคำ ก็คือ กองทุนรวมที่ลงทุนใน ทองคำ สินทรัพย์เดียวเลย
ซึ่งส่วนมาก กองทุนในบ้านเราจะเป็น Feeder Fund เอาเงินไปซื้อหน่วยลงทุนในกองต่างประเทศ
กองแม่ที่นิยมที่สุด คือ SPDR Gold Trust เพราะ เป็นกองที่มีนโยบายลงทุนในทองคำแท่ง 100%
SPDR จะเอาเงินไปซื้อทองแท่งเก็บไว้ ทำให้ราคาหน่วยสะท้อนสภาวะจริงๆ ใกล้เคียงราคาทองในตลาด
ความแตกต่างของกองทุนทองคำในบ้านเราเลยอยู่ที่ การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
เมื่อเราซื้อหน่วยลงทุนเป็นเงินบาท ผู้จัดการกองทุนก็ต้องเปลี่ยนเป็นดอลลาร์ เพื่อไปซื้อหน่วยลงทุน SPDR
การป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ก็ทำได้หลายวิธี เช่น ซื้อสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
หากเราซื้อดอลลาที่ 35บาท/1ดอลลาร์ แล้วซื้อสัญญาล่วงหน้าไว้ 1ปี
เมื่อครบ 1ปี เรากลับมาขาย 1ดอลลาร์ ของเราก็จะได้ 35บาท แม้ราคาในตลาดจะเหลือ 33บาท
แต่ถ้าสมมติ ราคาตลาดขึ้นไป 38บาท/1ดอลล่าร์ เราก็จะได้แค่ 35บาท เหมือนเดิม
เอาละ อารัมภบท มานาน ขอเข้ามาที่ผลตอบแทน
พอร์ตของผมจะเป็นการออมทองกับ A จะเป็นตัวเลขจากการลงทุนที่ผมบันทึกไว้
แถมด้วย การจำลองพอร์ต (backtest) เปรียบเทียบ ออมทองกับ H และ DCA กองทุนทองคำ อีก 2กอง
โดย กอง G เป็นกองทุนที่ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
และ กอง K เป็นกองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน จาก บลจ. เดียวกัน
ลงทุนทั้งหมด 60 ครั้ง เริ่ม ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2561 - กันยายน 2566
ครั้งละ 2,000บาท รวมทั้งหมด 120,000บาท และขายทั้งหมด ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2566
กราฟแสงมูลค่าพอร์ตการลงทุน
ผลออกมา คือ การออมทอง ไม่ว่าจะ A หรือ H ก็จะให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกัน
ส่วน กอง G ที่ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ก็มีแนวโน้มใกล้เคียงกับการออมทอง
เพราะราคาทองคำที่ขายในบ้านเรา ได้รวมอัตราแลกเปลี่ยนไปแล้ว
หากเงินบาทแข็ง ราคาทองก็จะต่ำลง กลับกัน หากเงินบาทอ่อน ราคาทองก็จะสูงขึ้น
สุดท้าย กอง K ที่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน จะเห็นได้ว่า บางช่วงก็เอาชนะ กอง G ได้
แต่ช่วง2-3ปีมานี้ ทองก็ขึ้น บาทก็อ่อน ผลการดำเนินงานก็เลย แย่กว่า อย่างเห็นได้ชัด
มาเจาะกันที่ กอง G เทียบกับ การออมทอง
ผลตอบแทนที่ต่างกัน น่าจะมาจากค่าธรรมเนียม การลงทุนในกองทุนรวม มีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า
แต่ก็มีความปลอดภัยสูงกว่า กองในประเทศมีการควบคุมและกำกับดูแล โดย ก.ล.ต.
กองแม่(SPDR)ก็เป็นกองทุนขนาดใหญ่ และ มีหน่วยงานด้านการลงทุนคอยกำกับและตรวจสอบ
ต่างจากการออมทอง ที่ไม่มีหน่วยงานกลายคอยกำกับและตรวจสอบ ก็ต้องลุ้นกันเอาว่าจะไม่มีปัญหาในอนาคต
ตั้งแต่การตรวจสอบการซื้อทองตามคำสั่งซื้อจริงมั้ย ทองแท้รึป่าว หรือ หากเจ๊งมาจะเรียกร้องยังไง
สรุป
การลงทุนที่เลือกมาเปรียบเทียบในวันนี้ มีความเหมือนกันคือ สุดท้ายแล้วเป็นการลงทุนในทองคำจริงๆ
ไม่ได้มีการลงทุนใน อนุพันธ์ หรือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทำให้ผลตอบแทนออกมาใกล้เคียงกัน
จะมีส่วนที่ต่างกันคือ การลงทุนในกองทุน ที่มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แม้ความผันผวนจะต่ำกว่า แต่ก็มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะในสภาวะที่เงินบาทอ่อนแบบในปัจจุบัน ครับ