คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
... แนวคิดเชิงมานุษยวิทยาเมื่อช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 มักจัดจำแนกให้ชาวมลายูและชนพื้นเมืองอินโดนีเซีย เป็นเผ่าพันธุ์ "มองโกล" (Mongolian) หรือ "มองโกลอยด์" (Mongoloid) ยกตัวอย่างเช่น
- การจำแนกเผ่าพันธุ์มนุษย์ในปี ค.ศ. 1870 ของ Thomas Henry Huxley นักชีววิทยาและมนุษยวิทยาชาวอังกฤษผู้ได้รับฉายาว่า "Darwin's Bulldog" มีจำแนกเผ่าพันธุ์มนุษย์ออกเป็น 9 เผ่าพันธุ์ ได้แก่ บุชเม็น(Bushmen), นิโกร(Negroes), เนกริโต(Negritos), เมลาโนครอย(Melanochroi)หรือชาวยุโรปใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ จะงอยแอฟริกา บางส่วนของเอเชียกลางกับใต้ , ออสตราลอยด์(Australoids), แซนโธครอย(Xanthochroi)หรือชาวยุโรปเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ, โพลินีเซียน(Polynesians), มองโกลอยด์(Mongoloids), และเอสกวิโม(Esquimaux)หรือชนพื้นเมืองทวีปอเมริกาเหนือแถบอาร์กติก โดยมองโกลอยด์สามารถแยกย่อยได้เป็น 3 กลุ่มคือ Mongoloids A, B, และ C ซึ่งกลุ่ม A คือ กลุ่มของชาวมองโกลในบริเวณประเทศมองโกเลียปัจจุบัน, B คือ ชนพื้นเมืองในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย(ชาวซามิ), เอเชียเหนือ, กลาง, และตะวันออก จนไปถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นเกาะนิวกินี, และ C คือกลุ่มของชนพื้นเมืองในพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกา
- การจำแนกของสารานุกรมภาษาเยอรมันชื่อ "Meyers Konversations-Lexikon" ช่วง ค.ศ. 1885-90 แบ่งเป็น 3 เผ่าพันธุ์หลักๆ คือ คอเคซอยด์(Caucasoid), มองโกลอยด์(Mogoloid), และนิกรอยด์(Negroid)รวมชาวเมลานีเซียและอะบอริจินของออสเตรเลีย โดยที่ชาวดราวิฑกับสิงหลถูกจำแนกไปอยู่ในกลุ่มที่ยังคลุมเครือ(Uncertain) และชนพื้นเมืองบนเกาะไต้หวัน, หมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียใต้(ยกเว้นทางตะวันตกของสุลาเวสี), คาบสมุทรมลายู, และทางตะวันออกของมาดากัสการ์ ถูกจัดในกลุ่มย่อยของมองโกลอยด์ ชื่อ "Malayen"
เป็นต้น
ขณะที่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆข้างต้นถูกจำแนกเป็นเผ่าพันธุ์ที่เรียกว่า "Malayan" ซึ่งรวมชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และชนพื้นเมืองบนหมู่เกาะแปซิฟิกทั้งหมด อ้างอิงจากข้อเสนอของ Johann Friedrich Blumenbach นักฟิสิกส์, ธรรมชาติวิทยา, สรีรศาสตร์ และมานุษยวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ริเริ่มองค์ความรู้ด้านสัตววิทยากับมานุษยวิทยา
อย่างไรก็ตามในแวดวงนักวิชาการปัจจุบันเลิกใช้การจำแนกเผ่าพันธุ์มนุษย์แล้ว เพราะในทางชีววิทยามนุษย์ทุกคนล้วนเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันต่างกันเพียงแค่ลักษณะทางกายภาพ อนึ่งข้อมูลการศึกษาด้านจีโนมิกส์ประชากร(Population genomics)ระบุว่า ชาวเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ล้วนเป็นลูกหลานของกลุ่มบรรพชนที่เรียกว่า "Ancient East Eurasians" ที่เคลื่อนย้ายเข้ามายังเอเชียใต้, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงใต้, ตั้งแต่ยุคหินเก่าตอนปลายแรกเริ่ม(Initial Upper Paleolithic)หรือระหว่าง 50,000-40,000 ปีก่อน ซึ่งภายหลังแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. Australasian lineage หมายถึง บรรพชนสายหลักของชาวเนกริโตในฟิลิปปินส์, เมลานีเซีย, อะบอริจินของออสเตรเลีย, และสายรองในชาวไมโครนีเซียกับโพลินีเซีย
2. Ancient Ancestral South Indian lineage หรือบรรพชนของชนพื้นเมืองดั้งเดิมในเอเชียใต้ก่อนเกิดอารธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(Indus Valley Civilisation; IVC) โดยกลุ่มประชากรที่มีเชื้อสาย AASI มากที่สุด คือ ชนกลุ่มน้อยจำนวนหนึ่งทางใต้ของอินเดียและบนเกาะศรีลังกา เช่น Paniya, Irula, และ Vedda เป็นต้น
3. East and Southeast Asian lineage คือ บรรพชนสายหลักของชาวเอเชียตะวันออก, ตะวันออกเฉียงใต้, ชนพื้นเมืองไซบีเรีย, ชาวไมโครนีเซีย, ชาวโพลินีเซีย, ชาวเมรินา(Merina)บนเกาะมาดากัสการ์, และทวีปอเมริกา รวมไปถึงชาวเนกริโตในไทย, มาเลเซีย, และหมู่เกาะอันดามัน
อย่างไรก็ตามชาวเอเชียตะวันออก, ตะวันออกเฉียงใต้, ชาวหมู่เกาะแปซิฟิก, ชนพื้นเมืองไซบีเรีย, และชนพื้นเมืองทวีปอเมริกาล้วนสืบเชื้อสายมาจาก Ancient East Asian เป็นหลัก โดยเฉพาะ Ancient Northern East Asian (ANEA) กับ Ancient Southern East Asian (ASEA) ซึ่งแยกจากกันเมื่อประมาณ 20,000-28,000 ปีก่อน โดย ANEA เป็นบรรพชนสายหลักของกลุ่มชาติพันธุ์จีน-ทิเบต, ชาวมองโกล, และชนพื้นเมืองทวีปอเมริกา ขณะที่ ASEA เป็นบรรพชนสายหลักของชนพื้นเมืองไต้หวัน, กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง-เมี่ยน, และชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนึ่ง ASEA สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ "Fujian ancestry" เป็นบรรพชนสายหลักของกลุ่มชาติพันธุ์ขร้า-ไทกับออสโตรนีเซียน และ "Mainland Southeast Asian farmer-related ancestry" (MSEA farmer-related ancestry) เป็นบรรพชนสายหลักของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง-เมี่ยนกับออสโตรเอเชียติก ซึ่งจากการศึกษาทางพันธุกรรมต่างๆรายงานว่า ชาวมลายูและชนพื้นเมืองอินโดนีเซียทางตะวันตกอย่างชาวซุนดา, ชวา, บาหลี, ชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียนที่มีเชื้อสาย MSEA farmer-related ancestry มากกว่าชาวออสโตรนีเซียนกลุ่มอื่นๆ สืบเนื่องจากการเคลื่อนย้ายของชาวออสโตรเอเชียติกมายังแถบคาบสมุทรมลายูและกลุ่มเกาะมาเลย์ จากนั้นจึงมีการผสมกับชาวออสโตรนีเซียนตั้งแต่ราวๆ 4,000 ปีที่แล้วเป็นต้นมาครับ ...
- การจำแนกเผ่าพันธุ์มนุษย์ในปี ค.ศ. 1870 ของ Thomas Henry Huxley นักชีววิทยาและมนุษยวิทยาชาวอังกฤษผู้ได้รับฉายาว่า "Darwin's Bulldog" มีจำแนกเผ่าพันธุ์มนุษย์ออกเป็น 9 เผ่าพันธุ์ ได้แก่ บุชเม็น(Bushmen), นิโกร(Negroes), เนกริโต(Negritos), เมลาโนครอย(Melanochroi)หรือชาวยุโรปใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ จะงอยแอฟริกา บางส่วนของเอเชียกลางกับใต้ , ออสตราลอยด์(Australoids), แซนโธครอย(Xanthochroi)หรือชาวยุโรปเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ, โพลินีเซียน(Polynesians), มองโกลอยด์(Mongoloids), และเอสกวิโม(Esquimaux)หรือชนพื้นเมืองทวีปอเมริกาเหนือแถบอาร์กติก โดยมองโกลอยด์สามารถแยกย่อยได้เป็น 3 กลุ่มคือ Mongoloids A, B, และ C ซึ่งกลุ่ม A คือ กลุ่มของชาวมองโกลในบริเวณประเทศมองโกเลียปัจจุบัน, B คือ ชนพื้นเมืองในคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย(ชาวซามิ), เอเชียเหนือ, กลาง, และตะวันออก จนไปถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้นเกาะนิวกินี, และ C คือกลุ่มของชนพื้นเมืองในพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกา
- การจำแนกของสารานุกรมภาษาเยอรมันชื่อ "Meyers Konversations-Lexikon" ช่วง ค.ศ. 1885-90 แบ่งเป็น 3 เผ่าพันธุ์หลักๆ คือ คอเคซอยด์(Caucasoid), มองโกลอยด์(Mogoloid), และนิกรอยด์(Negroid)รวมชาวเมลานีเซียและอะบอริจินของออสเตรเลีย โดยที่ชาวดราวิฑกับสิงหลถูกจำแนกไปอยู่ในกลุ่มที่ยังคลุมเครือ(Uncertain) และชนพื้นเมืองบนเกาะไต้หวัน, หมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียใต้(ยกเว้นทางตะวันตกของสุลาเวสี), คาบสมุทรมลายู, และทางตะวันออกของมาดากัสการ์ ถูกจัดในกลุ่มย่อยของมองโกลอยด์ ชื่อ "Malayen"
เป็นต้น
ขณะที่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆข้างต้นถูกจำแนกเป็นเผ่าพันธุ์ที่เรียกว่า "Malayan" ซึ่งรวมชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และชนพื้นเมืองบนหมู่เกาะแปซิฟิกทั้งหมด อ้างอิงจากข้อเสนอของ Johann Friedrich Blumenbach นักฟิสิกส์, ธรรมชาติวิทยา, สรีรศาสตร์ และมานุษยวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ริเริ่มองค์ความรู้ด้านสัตววิทยากับมานุษยวิทยา
อย่างไรก็ตามในแวดวงนักวิชาการปัจจุบันเลิกใช้การจำแนกเผ่าพันธุ์มนุษย์แล้ว เพราะในทางชีววิทยามนุษย์ทุกคนล้วนเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันต่างกันเพียงแค่ลักษณะทางกายภาพ อนึ่งข้อมูลการศึกษาด้านจีโนมิกส์ประชากร(Population genomics)ระบุว่า ชาวเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ล้วนเป็นลูกหลานของกลุ่มบรรพชนที่เรียกว่า "Ancient East Eurasians" ที่เคลื่อนย้ายเข้ามายังเอเชียใต้, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงใต้, ตั้งแต่ยุคหินเก่าตอนปลายแรกเริ่ม(Initial Upper Paleolithic)หรือระหว่าง 50,000-40,000 ปีก่อน ซึ่งภายหลังแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. Australasian lineage หมายถึง บรรพชนสายหลักของชาวเนกริโตในฟิลิปปินส์, เมลานีเซีย, อะบอริจินของออสเตรเลีย, และสายรองในชาวไมโครนีเซียกับโพลินีเซีย
2. Ancient Ancestral South Indian lineage หรือบรรพชนของชนพื้นเมืองดั้งเดิมในเอเชียใต้ก่อนเกิดอารธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ(Indus Valley Civilisation; IVC) โดยกลุ่มประชากรที่มีเชื้อสาย AASI มากที่สุด คือ ชนกลุ่มน้อยจำนวนหนึ่งทางใต้ของอินเดียและบนเกาะศรีลังกา เช่น Paniya, Irula, และ Vedda เป็นต้น
3. East and Southeast Asian lineage คือ บรรพชนสายหลักของชาวเอเชียตะวันออก, ตะวันออกเฉียงใต้, ชนพื้นเมืองไซบีเรีย, ชาวไมโครนีเซีย, ชาวโพลินีเซีย, ชาวเมรินา(Merina)บนเกาะมาดากัสการ์, และทวีปอเมริกา รวมไปถึงชาวเนกริโตในไทย, มาเลเซีย, และหมู่เกาะอันดามัน
อย่างไรก็ตามชาวเอเชียตะวันออก, ตะวันออกเฉียงใต้, ชาวหมู่เกาะแปซิฟิก, ชนพื้นเมืองไซบีเรีย, และชนพื้นเมืองทวีปอเมริกาล้วนสืบเชื้อสายมาจาก Ancient East Asian เป็นหลัก โดยเฉพาะ Ancient Northern East Asian (ANEA) กับ Ancient Southern East Asian (ASEA) ซึ่งแยกจากกันเมื่อประมาณ 20,000-28,000 ปีก่อน โดย ANEA เป็นบรรพชนสายหลักของกลุ่มชาติพันธุ์จีน-ทิเบต, ชาวมองโกล, และชนพื้นเมืองทวีปอเมริกา ขณะที่ ASEA เป็นบรรพชนสายหลักของชนพื้นเมืองไต้หวัน, กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง-เมี่ยน, และชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อนึ่ง ASEA สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ "Fujian ancestry" เป็นบรรพชนสายหลักของกลุ่มชาติพันธุ์ขร้า-ไทกับออสโตรนีเซียน และ "Mainland Southeast Asian farmer-related ancestry" (MSEA farmer-related ancestry) เป็นบรรพชนสายหลักของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง-เมี่ยนกับออสโตรเอเชียติก ซึ่งจากการศึกษาทางพันธุกรรมต่างๆรายงานว่า ชาวมลายูและชนพื้นเมืองอินโดนีเซียทางตะวันตกอย่างชาวซุนดา, ชวา, บาหลี, ชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ออสโตรนีเซียนที่มีเชื้อสาย MSEA farmer-related ancestry มากกว่าชาวออสโตรนีเซียนกลุ่มอื่นๆ สืบเนื่องจากการเคลื่อนย้ายของชาวออสโตรเอเชียติกมายังแถบคาบสมุทรมลายูและกลุ่มเกาะมาเลย์ จากนั้นจึงมีการผสมกับชาวออสโตรนีเซียนตั้งแต่ราวๆ 4,000 ปีที่แล้วเป็นต้นมาครับ ...
แผนภาพโครงสร้างวิวัฒนาการชาติพันธุ์(Phylogenetic structure)ของ Eastern Eurasian
แสดงความคิดเห็น
คนมลายู มาเลเซีย และอินโดนีเซียพื้นเมือง ถือว่าเป็นชาติพันธุ์มองโกลอยด์ด้วยมั้ยครับ