ผู้พิการ กลุ่มคนที่มักจะได้รับความรู้สึกเหมือนตนเป็น
“แกะดำ” เพียงเพราะใช้ชีวิตปกติทั่วไปเหมือนกับคนอื่นๆ คำว่า
“อาชญากรรม” ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่อาชญากรรมทางร่างกาย สิ่งที่ผู้พิการเกือบทั้งโลกจะต้องพบเจอในทุกๆวันนั่นคือ อาชญากรรมทางจิตใจ การที่คนบางกลุ่มในสังคมมองว่าการพูดเชิงหยอกล้อ หรือแสดงพฤติกรรมล้อเลียนความพิการของพวกเขา เป็นแค่การพูดเล่นขำๆ หรือจะเป็น การถูกใช้เป็นสะพานในการทำบุญ“ช่วยผู้พิการจะได้ๆบุญเยอะๆ” รวมถึงการตีกรอบแนวความคิดให้กับผู้พิการว่าเขาต้องเป็นแบบไหน ควรจะมีภาพลักษณ์อย่างไร เพื่อตัดสินหลายๆอย่างในตัวของพวกเขา จนนำไปสู่การปิดกั้นโอกาสต่างๆของผู้พิการ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการทำงาน หรือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของสังคม อคติเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเกลียดชังผู้พิการ โดยที่ตัวบุคคลนั้นๆ อาจจะไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังมีอคติแบบนั้นอยู่ในใจ
แล้วคุณล่ะเคยมีความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นบ้างหรือไม่?
การให้ที่มากไป..กลับกลายเป็นดาบสองคม.. ความสงสาร ที่บางครั้งก็มาในรูปแบบของ อาวุธที่ทิ่มแทงจิตใจของผู้ที่ได้รับ
“ หนูๆมาเอาน้ำมะพร้าวไปกินเร็ว วันนี้ป้าอาจจะขายดี ” เรื่องเล่าของ คุณบุญรอด อารีย์วงษ์ ในเวทีเสวนา หัวข้อ
“คนพิการ/สินค้า/บุญกุศล” อะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้กลุ่มคนบางกลุ่มในสังคมคิดว่า การทำบุญกับผู้พิการ ถึงได้บุญเยอะกว่าการทำบุญแบบอื่นๆ คำถามคือ
แล้วเขาไม่ใช่มนุษย์หรือ? เพียงเพราะว่าเขา มีความบกพร่องที่เราไม่ได้มี มันถึงขั้นที่เขาต้องถูกลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เลยหรือ? “ไม่ใช่ผู้พิการทุกคนที่เดือดร้อน” บางครั้งความสงสาร ความเห็นใจของเราที่มากเกินไป อาจจะเป็นดาบสองคม ที่ทำร้ายผู้ที่ได้รับก็ได้ แทนที่เราจะเปลี่ยนจากการทำบุญที่เพ่งเป้าไปที่การทำบุญให้เขาเพราะ
“ความพิการ” แต่เป็นการช่วยไม่ว่าจะผู้พิการหรือบุคคลที่ไม่ได้บกพร่อง เพียงช่วยเหลือคนเหล่านั้นในฐานะที่เขาเป็น
“มนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง”
“ตาบอดแล้วใช้มือถือได้ไง...มิจฉาชีพ...แกล้งตาบอดเพื่อขึ้นรถไฟฟรีหรอ?!”
ความเชื่อผิดๆที่ว่าผู้พิการทางสายตา ไม่สามารถ ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิคได้ แท้จริงแล้ว มันมีเบื้องลึกเบื้องหลังที่เราไม่มีทางรู้ ถ้าหากเราไม่ใช่ผู้พิการ..
“เราอยู่บนรถไฟฟ้า เราก็ใช้มือถือไปด้วยก็แบบเล่น มีคนหาว่าเราเป็นมิจฉาชีพ หาว่าคนพิการใช้มือถือได้ยังไง แล้วก็ไปฟ้อง รปภ. ว่าเราปลอมเป็นผู้พิการมาขึ้นรถไฟฟ้าฟรี คือเขาไม่เข้าใจว่าคนพิการ ใช้มือถือได้...เขาเข้าใจว่าเราหลอกลวงพวกเขา หลอกลวงพวกรถไฟฟ้าเพื่อจะขึ้นฟรี...”
ประสบการณ์ที่ คุณณัฐพงศ์ ลีเลิศชายมนตรี ผู้พิการทางสายตา ได้พบเจอขณะเดินทางกลับจากที่ทำงาน
ในปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยเหลือหลายอย่างที่เราอาจจะมองข้ามไป นั่นคือเครื่องมือช่วยเหลือในโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ “โปรแกรมเสียงสังเคราะห์” ที่มีทั้งระบบปฏิบัติการ IOS “Voice Over” หรือ “Talk Back” ในระบบปฏิบัติการ Android รวมถึงโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า “NVDA” เครื่องมือเหล่านี้ไม่เพียงช่วยเหลือผู้พิการ แต่ยังสามารถช่วยเหลือ ผู้สูงอายุ ที่อาจจะไม่รู้หนังสือ หรือ ผู้บกพร่องทางการมองเห็น เพราะงั้นเครื่องมือเหล่านี้จึงช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาในการเข้าถึงเครื่องมืออิเล็กทรอนิคได้เหมือนกับคนทั่วๆไป
“พิการแล้วก็ทำตัวให้มันดี พิการแล้วยังจะกินเหล้า สูบบุหรี่อีก”
ทำไมคนพิการต้องเรียนเก่ง ห้ามกินเหล้าสูบบุหรี่ ห้ามเป็นโจร ต้องประสบความสำเร็จ ทำไมคนพิการถึงต้องมานั่งพิสูจน์ตัวเองเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ในเมื่อพวกเขาก็เป็นมนุษย์ธรรมดา มีทั้งดี และ ไม่ดีเหมือนกับพวกเรา
เสียงสะท้อนจากอีกมุมหนึ่ง “เราไม่มีทางรู้หรอกว่าความพิการคืออะไร จนกว่าเราจะกลายเป็นผู้พิการเอง..”
“ฉันก็เป็นคนปกติทั่วไป ความพิการของฉัน ไม่แตกต่างจากคุณเกิดมาผิวขาว ผิวดำ อะไรประมาณนี้ มันเป็นลักษณะเฉพาะบุคคลที่คนพิการประสบ เขาไม่ได้รู้สึกตลอดเวลาว่า ชีวิตฉันเกิดมาพิการ ฉันเลยต้องทำให้ดีกว่านี้ การที่คนบางกลุ่มมีความคิดเเบบนี้มันสะท้อนได้ว่า คนที่มองว่าผู้พิการกินเหล้าสูบบุหรี่ไม่ได้ ลึกๆแล้วเขาไม่ได้มองว่าคนพิการเป็นคนๆนึงทั่วไป คนพิการเป็นขโมยได้มั้ย? ก็เป็นได้.. คนพิการหลอกลวงโกหกได้มั้ย? ก็ทำได้หมด เพราะว่าคนพิการคือ‘คน’ ค่ะ” คุณสาลินี ลิขิตพัฒนะกุล ผู้พิการทางสายตา
ผู้พิการนั้นจริงๆแล้วเขาก็มีความต้องการหรือความคิดต่างๆที่เหมือนกับคนทั่วไปไม่ได้ต่างไปจากเราเลย พวกเขาต่างก็ต้องการเข้าถึงการศึกษา ต้องการการอำนวยความสะดวกให้กับพวกเขา หรือแม้แต่การเลี้ยงชีพของพวกเขา เราเชื่อว่าอย่างไรก็ตามพวกเขานั้นมีความสามารถและศักยภาพมากหรือไม่ต่างจากพวกเรา เพียงหากเราได้ให้พื้นที่ให้พวกเขามีโอกาสได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ ให้พวกเขาได้แสดงและเปล่งแสงอันเป็นประกายที่พร้อมจะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆให้กับสังคม เพราะเราเชื่อว่าพวกเขาต่างก็เหมือนกลุ่มดาวที่พร่างพราวในค่ำคืนที่มีเมฆดำมาบดบังรอวันที่เมฆเหล่านั้นจะสลายไปและส่องแสงอย่างดงามนั้นเอง และนี่ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยและผ้าสีขาวให้พวกเขาได้สาดสีแห่งความหวังและพลังให้พวกเขาอย่างสง่างามต่อไปในสังคม
" 'The Reflection' เสียงสะท้อนจากอีกมุมนึง.."
การให้ที่มากไป..กลับกลายเป็นดาบสองคม.. ความสงสาร ที่บางครั้งก็มาในรูปแบบของ อาวุธที่ทิ่มแทงจิตใจของผู้ที่ได้รับ
“ หนูๆมาเอาน้ำมะพร้าวไปกินเร็ว วันนี้ป้าอาจจะขายดี ” เรื่องเล่าของ คุณบุญรอด อารีย์วงษ์ ในเวทีเสวนา หัวข้อ “คนพิการ/สินค้า/บุญกุศล” อะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้กลุ่มคนบางกลุ่มในสังคมคิดว่า การทำบุญกับผู้พิการ ถึงได้บุญเยอะกว่าการทำบุญแบบอื่นๆ คำถามคือ แล้วเขาไม่ใช่มนุษย์หรือ? เพียงเพราะว่าเขา มีความบกพร่องที่เราไม่ได้มี มันถึงขั้นที่เขาต้องถูกลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เลยหรือ? “ไม่ใช่ผู้พิการทุกคนที่เดือดร้อน” บางครั้งความสงสาร ความเห็นใจของเราที่มากเกินไป อาจจะเป็นดาบสองคม ที่ทำร้ายผู้ที่ได้รับก็ได้ แทนที่เราจะเปลี่ยนจากการทำบุญที่เพ่งเป้าไปที่การทำบุญให้เขาเพราะ “ความพิการ” แต่เป็นการช่วยไม่ว่าจะผู้พิการหรือบุคคลที่ไม่ได้บกพร่อง เพียงช่วยเหลือคนเหล่านั้นในฐานะที่เขาเป็น “มนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง”
“ตาบอดแล้วใช้มือถือได้ไง...มิจฉาชีพ...แกล้งตาบอดเพื่อขึ้นรถไฟฟรีหรอ?!”
ความเชื่อผิดๆที่ว่าผู้พิการทางสายตา ไม่สามารถ ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิคได้ แท้จริงแล้ว มันมีเบื้องลึกเบื้องหลังที่เราไม่มีทางรู้ ถ้าหากเราไม่ใช่ผู้พิการ..
“พิการแล้วก็ทำตัวให้มันดี พิการแล้วยังจะกินเหล้า สูบบุหรี่อีก”
ทำไมคนพิการต้องเรียนเก่ง ห้ามกินเหล้าสูบบุหรี่ ห้ามเป็นโจร ต้องประสบความสำเร็จ ทำไมคนพิการถึงต้องมานั่งพิสูจน์ตัวเองเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ในเมื่อพวกเขาก็เป็นมนุษย์ธรรมดา มีทั้งดี และ ไม่ดีเหมือนกับพวกเรา
เสียงสะท้อนจากอีกมุมหนึ่ง “เราไม่มีทางรู้หรอกว่าความพิการคืออะไร จนกว่าเราจะกลายเป็นผู้พิการเอง..”