สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ตอบในฐานะที่สอนในมหาวิทยาลัย มาสามสิบกว่าปี
ก่อนอื่น ต้องบอก จขกท. ก่อน ว่า ต้องไม่เอาเหตุการณ์ปัจจุบัน ไปตัดสินเรื่องราวในอดีต เพราะบริบทและสถานการณ์แตกต่างกันมาก
การจัดการศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา มี 2 ระดับ เป็นมาตรฐานทั่วโลก ซึ่งไม่ใช่การแบ่งชนชั้น ไม่มีอารมณ์เหล่านี้
แต่เป็นการแบ่งการจัดการศึกษาตามเป้าหมาย คือ
Graduate School กับ Undergraduate School
Graduate School คือ การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หรือการศึกษาชั้นสูง คำว่า บัณฑิตศึกษา คือ ต้องเป็นบัณฑิตมาก่อน คือ
จบปริญญาตรีมาก่อน ถืงมาเรียนได้ ซึ่งมีความหมายว่า เป็นการศึกษาชั้นสูง ที่ว่าสูงคือ เน้นที่การศึกษาวิจัย การค้นคว้า
การวิเคระห์ การพิสูจน์ การสร้างแนวคิด ทฤษฏีใหม่ๆ
จึงมีความหมายว่าเป็น สถาบันการศึกษาขั้นสูง ตามความหมายที่ คห. 4-1 ตอบ จขกท. นะครับ
Undergraduate School คือ มาจากคำว่า Under ที่แปลว่า “อยู่ใต้หรือด้านล่าง” กับคำว่า Graduate ที่แปลว่า “จบการศึกษา” รวมกัน ก็มี
ความหมายว่า การศึกษาที่ต่ำกว่าบัณฑิตศึกษา หรือ การศึกษาระดับปริญญาตรี หรือระดับบัณฑิตนั้นเอง
ระดับการศึกษานี้ จะมุ่งเน้นที่การปฏิบัติ เป็นนักปฏิบัติ แต่ไม่ได้เน้นการวิจัย การค้นคว้าสิ่งใหม่ๆ
จึงไม่ได้จัดให้การศึกษาในระดับนี้ เป็นการศึกษาชั้นสูง สิ่งนี้เป็นสากลทั่วโลก ครับ
ในอดีต ไม่ว่าจะ จุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เชียงใหม่ มหิดล ขอนแก่น สงขลาฯ ฯลฯ รวมถึง รามคำแหง
ก็ล้วนมีเป้าหมายผลิตบัณฑิต ในระดับ Undergraduate School แต่ก็จะมีที่บางมหาวิทยาลัย มีบัณฑิตศึกษา แต่เปิดสอนน้อยมาก
บางสาขาเปิดรับสมัคร 3 คน
ต่อมาก็มีบางสถาบัน เช่น ราชมงคล วิทยาลัยครู (ปัจจุบันคือ ม.ราชภัฏ) รวมทั้ง 3 พระจอมเกล้า ที่เริ่มขยายระดับชั้นการศึกษาไปถึงบัณฑิต คือ ปริญญาตรี
ดังนั้น ในอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ เมื่อราว พ.ศ. 2503 มีพระราชดำริยกระดับการจัดการศึกษา ให้มีสถาบันการศึกษาชั้นสูงเหมือนในต่างประเทศ ที่เน้นการศึกษาวิจัย ฯ ดูเพิ่ม ==> [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผมอยากชวน จขกท. ให้นึกถึง ปี พ.ศ. 2503 ว่า ผ่านมากี่ปีแล้ว
สถานการณ์ช่วงนั้น มหาวิทยาลัยบางแห่ง ยังไม่มีเป็นรูปเป็นร่างเลย เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2533 ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ซึ่งช่วงเวลานั้น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง , มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และอีกหลายแห่งยังไม่เกิดเลยครับ
และที่มีอยู่ ก็เน้นปริญญาตรีเป็นหลัก จึงเป็นเหตุให้ มีการจัดตั้ง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เดิมชื่อว่า Graduate Institute of Development Administration (GIDA) ต่อมาเปลี่ยนเป็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
ผมให้ข้อสังเกตุเพิ่มเติมว่า เหตุที่ใช้คำว่า สถาบัน หรือ " Institute " เพราะเป็น สถาบันอุดมศึกษา ที่เน้นเฉพาะทาง ไม่ได้มีภารกิจที่สร้างความหลากหลายทางสาขาวิชา เหมือนเช่น มหาวิทยาลัย หรือ " University "
ทำนองเดียวกันกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ......... (ทั้ง3 แห่ง ในอดีต) ที่เน้นเฉพาะทาง คือ เน้นด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แต่พอปัจจุบัน บริบททางธุรกิจ สังคมและอุตสาหกรรมเปลี่ยนไป ก็เพิ่มความหลากหลายของสาขาวิชา เช่น บริหารธุรกิจ เครื่องมือแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ จิตวิทยาสังคม ฯลฯ ก็เปลี่ยนคำนำหน้า จากสถาบัน ไปเป็น มหาวิทยาลัย นะครับ
ข้อสังเกตุ อีกประการหนึ่ง ผมจะยกตัวอย่าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ Asian Institute of Technology หรือ เอไอที , AIT
เป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2502 จัดการเรียนการสอนเฉพาะ Graduate School เท่านั้น เหมือน นิด้าเลยครับ ไม่รับปริญญาตรี เน้นเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง
ดังนั้น คำว่า สถาบันการศึกษาชั้นสูง ไม่ได้มีความหมายในการแบ่งชนชั้นหรือดูถูกการศึกษาของใครนะครับ แต่มันมีที่มาของคำนี้ ในเรื่องเป้าหมายการศึกษาครับ
ปัจจุบัน พ.ศ. 2503 ที่เริ่มจัดตั้ง NIDA ร่วม 63 ปีแล้ว ขอโทษนะผมเองก็ยังไม่เกิดเลย
มาดูวันนี้ จุฬา, ธรรมศาสตร์ ,มหิดล, เชียงใหม่ ,เกษตร, ขอนแก่น , อุบล, สงขลาฯ พระจอมเกล้า รามคำแหง มสธ. ฯลฯ
รวมทั้งที่เกิดใหม่ๆ เช่น ม.นเรศวร แม่ฟ้าหลวง สุรนารี ฯลฯ
ล้วนเปิดการจัดการศึกษา ในระดับ Graduate School ได้ด้วยตนเอง ก็ถือว่า มีการจัดการศึกษาในระดับสูงด้วยตนเอง
แต่ด้วยปณิธาณการจัดตั้ง NIDA ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียน การสอนในระดับปริญญาตรีมาแต่แรก เลยไม่ได้เปิดสอน อีกอย่างใกล้ๆ ตรงนั้น ก็มี มหาวิทยาลัยของรัฐ ที่เปิดสอนปริญญาตรี เช่น ม.รามคำแหง อยู่แล้วนะครับ
ให้เป็นข้อมูลนะครับ ซึ่งอาจต้องศึกษาเรื่องราวในอดีตจึงเข้าใจปัจจุบันนะครับ
ก่อนอื่น ต้องบอก จขกท. ก่อน ว่า ต้องไม่เอาเหตุการณ์ปัจจุบัน ไปตัดสินเรื่องราวในอดีต เพราะบริบทและสถานการณ์แตกต่างกันมาก
การจัดการศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา มี 2 ระดับ เป็นมาตรฐานทั่วโลก ซึ่งไม่ใช่การแบ่งชนชั้น ไม่มีอารมณ์เหล่านี้
แต่เป็นการแบ่งการจัดการศึกษาตามเป้าหมาย คือ
Graduate School กับ Undergraduate School
Graduate School คือ การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา หรือการศึกษาชั้นสูง คำว่า บัณฑิตศึกษา คือ ต้องเป็นบัณฑิตมาก่อน คือ
จบปริญญาตรีมาก่อน ถืงมาเรียนได้ ซึ่งมีความหมายว่า เป็นการศึกษาชั้นสูง ที่ว่าสูงคือ เน้นที่การศึกษาวิจัย การค้นคว้า
การวิเคระห์ การพิสูจน์ การสร้างแนวคิด ทฤษฏีใหม่ๆ
จึงมีความหมายว่าเป็น สถาบันการศึกษาขั้นสูง ตามความหมายที่ คห. 4-1 ตอบ จขกท. นะครับ
Undergraduate School คือ มาจากคำว่า Under ที่แปลว่า “อยู่ใต้หรือด้านล่าง” กับคำว่า Graduate ที่แปลว่า “จบการศึกษา” รวมกัน ก็มี
ความหมายว่า การศึกษาที่ต่ำกว่าบัณฑิตศึกษา หรือ การศึกษาระดับปริญญาตรี หรือระดับบัณฑิตนั้นเอง
ระดับการศึกษานี้ จะมุ่งเน้นที่การปฏิบัติ เป็นนักปฏิบัติ แต่ไม่ได้เน้นการวิจัย การค้นคว้าสิ่งใหม่ๆ
จึงไม่ได้จัดให้การศึกษาในระดับนี้ เป็นการศึกษาชั้นสูง สิ่งนี้เป็นสากลทั่วโลก ครับ
ในอดีต ไม่ว่าจะ จุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เชียงใหม่ มหิดล ขอนแก่น สงขลาฯ ฯลฯ รวมถึง รามคำแหง
ก็ล้วนมีเป้าหมายผลิตบัณฑิต ในระดับ Undergraduate School แต่ก็จะมีที่บางมหาวิทยาลัย มีบัณฑิตศึกษา แต่เปิดสอนน้อยมาก
บางสาขาเปิดรับสมัคร 3 คน
ต่อมาก็มีบางสถาบัน เช่น ราชมงคล วิทยาลัยครู (ปัจจุบันคือ ม.ราชภัฏ) รวมทั้ง 3 พระจอมเกล้า ที่เริ่มขยายระดับชั้นการศึกษาไปถึงบัณฑิต คือ ปริญญาตรี
ดังนั้น ในอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ เมื่อราว พ.ศ. 2503 มีพระราชดำริยกระดับการจัดการศึกษา ให้มีสถาบันการศึกษาชั้นสูงเหมือนในต่างประเทศ ที่เน้นการศึกษาวิจัย ฯ ดูเพิ่ม ==> [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผมอยากชวน จขกท. ให้นึกถึง ปี พ.ศ. 2503 ว่า ผ่านมากี่ปีแล้ว
สถานการณ์ช่วงนั้น มหาวิทยาลัยบางแห่ง ยังไม่มีเป็นรูปเป็นร่างเลย เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2533 ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ซึ่งช่วงเวลานั้น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง , มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และอีกหลายแห่งยังไม่เกิดเลยครับ
และที่มีอยู่ ก็เน้นปริญญาตรีเป็นหลัก จึงเป็นเหตุให้ มีการจัดตั้ง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เดิมชื่อว่า Graduate Institute of Development Administration (GIDA) ต่อมาเปลี่ยนเป็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
ผมให้ข้อสังเกตุเพิ่มเติมว่า เหตุที่ใช้คำว่า สถาบัน หรือ " Institute " เพราะเป็น สถาบันอุดมศึกษา ที่เน้นเฉพาะทาง ไม่ได้มีภารกิจที่สร้างความหลากหลายทางสาขาวิชา เหมือนเช่น มหาวิทยาลัย หรือ " University "
ทำนองเดียวกันกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ......... (ทั้ง3 แห่ง ในอดีต) ที่เน้นเฉพาะทาง คือ เน้นด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แต่พอปัจจุบัน บริบททางธุรกิจ สังคมและอุตสาหกรรมเปลี่ยนไป ก็เพิ่มความหลากหลายของสาขาวิชา เช่น บริหารธุรกิจ เครื่องมือแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ จิตวิทยาสังคม ฯลฯ ก็เปลี่ยนคำนำหน้า จากสถาบัน ไปเป็น มหาวิทยาลัย นะครับ
ข้อสังเกตุ อีกประการหนึ่ง ผมจะยกตัวอย่าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ Asian Institute of Technology หรือ เอไอที , AIT
เป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2502 จัดการเรียนการสอนเฉพาะ Graduate School เท่านั้น เหมือน นิด้าเลยครับ ไม่รับปริญญาตรี เน้นเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง
ดังนั้น คำว่า สถาบันการศึกษาชั้นสูง ไม่ได้มีความหมายในการแบ่งชนชั้นหรือดูถูกการศึกษาของใครนะครับ แต่มันมีที่มาของคำนี้ ในเรื่องเป้าหมายการศึกษาครับ
ปัจจุบัน พ.ศ. 2503 ที่เริ่มจัดตั้ง NIDA ร่วม 63 ปีแล้ว ขอโทษนะผมเองก็ยังไม่เกิดเลย
มาดูวันนี้ จุฬา, ธรรมศาสตร์ ,มหิดล, เชียงใหม่ ,เกษตร, ขอนแก่น , อุบล, สงขลาฯ พระจอมเกล้า รามคำแหง มสธ. ฯลฯ
รวมทั้งที่เกิดใหม่ๆ เช่น ม.นเรศวร แม่ฟ้าหลวง สุรนารี ฯลฯ
ล้วนเปิดการจัดการศึกษา ในระดับ Graduate School ได้ด้วยตนเอง ก็ถือว่า มีการจัดการศึกษาในระดับสูงด้วยตนเอง
แต่ด้วยปณิธาณการจัดตั้ง NIDA ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียน การสอนในระดับปริญญาตรีมาแต่แรก เลยไม่ได้เปิดสอน อีกอย่างใกล้ๆ ตรงนั้น ก็มี มหาวิทยาลัยของรัฐ ที่เปิดสอนปริญญาตรี เช่น ม.รามคำแหง อยู่แล้วนะครับ
ให้เป็นข้อมูลนะครับ ซึ่งอาจต้องศึกษาเรื่องราวในอดีตจึงเข้าใจปัจจุบันนะครับ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)ที่อยู่แถวๆคลองจั่น บางกะปิเค้าถึงไม่มีการจัดการเรียนในระดับปริญญาตรีนะครับ
ทำไมที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) ถึงไม่รับคนที่จบ ม.6 หรือ ปวช. เข้าไปเรียน ในระดับปริญญาตรี แล้วทำไมที่นี่ไม่จัดการเรียนการสอนในระดับป.ตรี นะครับ....แล้วทำไมถึง รับคนเข้าไปเรียน แค่เรียนต่อปริญญาโทและเอกเท่านั้นนะครับ... แล้วถ้าคนที่เรียนจบ ปริญญาโท และ ป.เอก ของที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) นี้จะดีกว่า คนที่เรียนจบการศึกษา จากสถาบันการศึกษาจากต่างประเทศ หรือเปล่านะครับ....
ใครพอจะรู้บ้างครับ.... ขอบคุณมากๆๆ ครับ...