นักฟุตบอลไทย ชอบซ้อมน้อย ซ้อมเบา โค้ชคนไหนเฮี๊ยบ วินัยสูง ซ้อมหนัก จะอยู่ได้ไม่นาน นี่แหละเหตุผลหลักฟุตบอลไทยถึงไม่พัฒนา

ตามที่หลายๆท่านทราบกันดี นักฟุตบอลไทย ชอบซ้อมเบา ซ้อมหนักไม่ได้ โค้ชให้วิ่ง10รอบ ก็ต่อรองเหลือ 5 รอบ  โค้ชคนไหนเฮี๊ยบ วินัยสูง ซ้อมหนัก นักฟุตบอลขาใหญ่ประจำทีม ซึ่งเป็นลูกรักของเจ้าของทีม ก็จะไปเป่าหูให้ไล่โค้ชคนนั้นออก 
ประเทศไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ นักฟุตบอลพวกนี้เป็นลูกรักเจ้าของสโมสร จึงสามารถทำตัวกร่างใหญ่คับสโมสรได้ ผมเคยตั้งกระทู้กรณีลักษณะแบบนี้ไปแล้ว ตามลิ้งค์ "นักเตะขาใหญ่กำลังวางตัวเป็น “เฮดโค้ช” ชอบซ้อมเบา นักเตะใหญ่กว่าโค้ช นี่แหละปัญหาหลักของวงการฟุตบอลไทย"
https://ppantip.com/topic/42222337

ก่อนหน้านี้ ก็มีนักฟุตบอลต่างชาติวิจารณ์ถึงระบบการซ้อมสโมสรในไทย โฮโซไกบอกประมาณว่า "นักเตะทีมใหญ่ไทยขี้เกียจซ้อม ซ้อมแบบสบายชิวๆ 
“บรรยากาศการฝึกซ้อมแตกต่างจากเจลีกโดยสิ้นเชิง ตอนไปถึงไทยครั้งแรกผมรู้สึกว่าที่นี่ซ้อมกันแบบสบาย"
ประโยคที่โฮโซไกตะลึงและแปลกใจ คือ เขาได้ยินประมาณว่า "ก็ที่นี่คือประเทศไทย" "คนส่วนใหญ่ในทีมจะคิดว่าไม่เป็นไร ไม่มีปัญหา" คือเขาสื่อประมาณว่า เราไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรเลย แต่กลับมีทัศนคติประมาณว่าแค่นี้ ซ้อมแค่นี้ล่ะดีที่สุดแล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรให้ดีขึ้นหนักขึ้น ทำไปทำไมที่นี่คือไทย
โฮโซไกบอกว่า มันดูอึดอัด ทุกคนซ้อมกันเบาไม่จริงจังเหมือนที่เคยเจอในญี่ปุ่น เยอรมัน แต่ตัวเขาเองก็ต้องปรับให้ตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่ต้องเจอภายในทีม แต่ปรับมากไปก็ไม่ดี เพราะจะไปลดความสามารถในการเล่นฟุตบอล
สรุปคือต้องการสื่อประมาณว่า การซ้อมเบาแบบไทยๆทำให้ความสามารถประสิทธิภาพในการเล่นฟุตบอลลดน้อยลง

จริงๆแล้วตามสโมสรไทยเค้าก็ทำแบบแผนการฝึก แต่ในทางปฎิบัติจริง ไม่สามารถทำได้ตามแผน เนื่องจากตัวของนักฟุตบอลไทยเองนี่แหละ
เคยสังเกตุกันหรือป่าวว่า นักฟุตบอลไทย ไปเล่นในเจลีกสามารถปรับตัวให้ซ้อมหนักตามสไตล์เจลีกได้ แต่ทำไมอยู่ในไทยถึงกลับอยากซ้อมเบาๆ ก็เพราะว่า เจลีกญี่ปุ่นค้าไม่มีระบบอุปถัมภ์ลูกรัก นักฟุตบอลไม่ทำตามโค้ชสั่งก็โดนดองไม่ได้ลงสนาม จะไปเป่าหูเจ้าของสโมสรก็ไม่ได้ สโมสรเค้าให้สิทธิ์ขาดกับโค้ช ไม่มีระบบเฮดของเฮดโค้ชเข้ามาแทรกแซงการทำงาน




สุดท้ายอยากจะนำเสนอบทความจาก “Sport Tech” วิเคราะห์สาเหตุ “ช้างศึก” พ่าย “จอร์เจีย” แบบยับเยิน
เพจเก็บสถิติทัพช้างศึกและสโมสรในประเทศไทย เผยความห่างทางตัวเลขเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับให้ได้เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
Sport Tech Pro Thailand บริษัทผู้บันทึกและวิเคราะห์สถิติทีมชาติไทยรวมถึงฟุตบอลไทย วิเคราะห์หลัง ทีมชาติไทย พ่ายให้กับ จอร์เจีย ไปอย่างยับเยิน 8-0 ในเกมอุ่นเครื่องช่วง ฟีฟ่า เดย์ ประจำเดือนตุลาคม 
โดยทางเพจดังกล่าวได้เผยว่า “บอลไทย บอลโลก ?? ความห่างทางตัวเลข ที่จับต้องได้ความจริงที่ต้องยอมรับความจริงให้ได้ ใครสักคน ควรลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง”
“ขออนุญาติ ไม่พูดถึง อะไรเกี่ยวกับแมตช์ เมื่อคืน เชื่อว่า ทั้งแฟนบอล ทั้งโค้ชทั่วไทย ทั้งผู้ปกครอง ทั้งนักกีฬา หรือ คอลัมนิสต่างๆ ก็น่าจะเสียใจกับบอลไทย”
“ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ทาง #SportTechPro ได้มีโอกาสเก็บข้อมูลการซ้อม การแข่ง ของทีมชาติ และสโมสร เริ่มตั้งแต่ ยุคแรก ที่ วินเฟรด เชฟเฟ่อ ผ่านมาจนถึง ยุคของ มาโน่ ที่ระบบเทคโนโลยี เปลี่ยนจาก แค่เก็บความเร็ว ระยะทาง จน มาถึง ใครส่งบอลให้ใคร ใครเล่นเท้าไหน ใครทำบอลเสีย ฯลฯ”
“สิ่งนึงที่ผม พยายามสื่อสารตลอด ทั้งผ่านเพจ ผ่านรายการ youtube คือ เรื่องของ intensity/ความเข้มข้น ความเร็วสปีดเกมของการฝึกซ้อม และ แมตช์แข่ง”
“โค้ช นักข่าว นักกีฬา ควรจะทำความเข้าใจ เรื่องระยะทาง รวม 10 กม. -12 กม. ไม่ใช่ตัวเลขที่ significant/สำคัญ สำหรับนักกีฬา การวิ่ง 10 โลใน 90 นาที ภาษาวิ่ง คือ ค่าเฉลี่ย pace 6.7 ถ้าไปถาม นักวิ่ง เขาจะตอบทันที ว่า ช้ามากสำหรับนักกีฬา”
“ตัวเลขที่เราควรจะมอง คือ high intensity running การวิ่งด้วยความเร็วสูง หรือ เรียกว่า ระยะทางการสปริ้นท์ ที่เมืองนอก เขาดู กันที่ ระยะทางที่วื่งเร็วกว่า pace 3 (20 กม.ต่อ ชม.)”
“ผมเคยเทียบข้อมูล ในพรีเมียร์ลีก ปี 2004 กับทีมชาติไทย 2012 ความเร็วที่เขาเล่นกัน ค่าเฉลี่ยระยะที่ มากกว่า Pace 3 คือ 1000 เมตร ในขณะที่ ทีมชาติไทย คือ 400 เมตรในการแข่งขัน 200 เมตรในการซ้อม”
“ถ้า ตีเป็นภาษาง่ายๆ คือ พรีเมียร์ลีก เต็ม 10 ทีมชาติไทย ได้คะแนน 4 กว่าในการแข่ง 2 คะแนนในการซ้อม และ ผมเชื่อว่าทุกวันนี้ แทบทุกสโมสร ใช้อุปกรณ์ gps tracker กัน คะแนน ก็ไม่น่าจะเกิน 5 เมื่อเทียบกับบอลระดับโลก”
“หากถามว่า ความเร็วของการเล่น สำคัญอย่างไร การเล่นที่ความเร็วสูง แปลว่า นักเตะร่างกายต้องฟิตและเร็วมากๆ การเลี้ยงบอลทำด้วยความเร็วสูง การส่งบอลที่แม่นยำในขณะเล่นเร็ว หรือ การเข้าถึงบอลที่รวดเร็ว ที่แปลว่า พื้นที่และเวลา แทบจะไม่มี นักเตะ จะเคยชิน และ พัฒนา กับฟุตบอลที่เล่นกันเร็วๆ”
“ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ผมเชื่อว่า ฟุตบอลในระดับโลกเปลี่ยนแปลงมากมาย ผมที่เก็บข้อมูล เด็กๆในไทย ได้เห็นตั้งแต่ เด็ก u14 จนถึง ชุดใหญ่ (ล่าสุดที่ทำคือปี 2021) ผมไม่เห็น ระยะทางความเร็ว ที่พัฒนาขึ้น อย่างมีขั้นมีตอน มีแบบแผนเลย”
“ผมเข้าใจ ว่า มันยากที่จะทำให้นักเตะ แข็งแรงขึ้น เร็วขึ้น เล่นบอลได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้น ได้ทันที แต่ จากที่ดู เกมเมื่อคืน ทีมชาติจอร์เจีย วิ่งผ่านเรา ส่งบอลกันเร็ว แกะ เพรสซิ่งเราแบบง่ายๆ”
“ดูเหมือน บอลโลก หรือ แค่นักเตะไทยจะได้ไปเล่นยุโรป คงจะเป็นทาง คู่ขนาน ที่เราคงไม่ได้เห็นในชาตินี้ หวังว่าจะมี การเปลี่ยนเเปลงอะไรหลังเกมนี้ กับโครงสร้างทั้งระบบบอลไทย เหมือนที่ สมาคมฟุตบอลเยอรมัน ประกาศเป็นวาระแห่งชาติทันที หลังแพ้ให้ทีมชาติญี่ปุ่น ได้แต่ หวังว่า ครับ”

อ้างอิง
https://www.ballthai.com/sport-tech-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8-%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81-%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%99/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่