อิสราเอล-ปาเลสไตน์ เป็นของใครกันแน่?

สวัสดีครับพอดีว่าผมเป็นคนที่ชอบอ่านเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคโบราณ 

บอกไว้ก่อนว่าโดยส่วนตัวผมไม่นับถือศาสนาครับ เนื่องจากผมมองว่าศาสนาคือกฎที่ชาวโบราณเขียนขึ้นเพื่อใช้ควบคุมผู้มีความรู้น้อยกว่า บ้างก็เป็นเคร็ดต่าง ๆ ในการใช้ชีวิต ใครที่มีปัญญาเพียงพอจะเขียนเปลี่ยนแปลงยังไงก็ได้ ใช้เพื่ออ้างสิทธิ์ทำเรื่องต่าง ๆ ตามใจชอบ เช่น เรื่องประเด็นกาแฟกับนักบวชวาติกันสมัยก่อน เลยไม่ได้นับถือศาสนาหรืออ่านคัมภีร์มากมายอะไรขนาดนั้น

เห็นประเด็นปัญหาโลกแตกเลยนึกสงสัยก็เลยสืบหาข้อมูลจนค้นพบว่า จริง ๆ แล้ว ดินแดนปาเลสไตน์ - อิสราเอล เป็นของ ชาวคานาอัน มาก่อนตามแผ่นการจารึกของชาวเมโสโปเตเมีย

ซึ่งมีการสร้างสิ่งก่อสร้างอย่างจริงจัง ใน 'เยรูซาเล็ม' ประมาณ เมื่อ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ตามยุคของกษัตริย์ดาวิดและโซโลมอนที่น่าจะเคยได้ยินชื่อกัน

ก่อนที่จะแบ่งแยกเป็นอาณาจักรยูดาห์และอาณาจักรอิสราเอล (ซามาเรีย) แล้วถูกจักรวรรดิอัสซีเรียยึดครอง และหลังจากอัสซีเรียล่มสลาย ดินแดนนี้ก็ถูกอียิปต์โบราณกับบาบิโลนใหม่ตีกันไปตีกันมา

จนสุดท้าย อาณาจักรยูดาห์ก็ล่มสลาย 597 - 582 ปีก่อนคริสตกาล

ถ้าเป็นตามไทม์ไลน์ที่ลองสืบค้น ก็พบว่าจริง ๆ แล้ว เยรูซาเล็ม ถูกเปลี่ยนไปหลายมือมากจริง ๆ ครับ

1900 ปีก่อน ค.ศ. ชาวคานาอัน กลุ่มชนชาวเซมิติกที่เป็นหนึ่งในชาวอาหรับโบราณได้อพยพออกมาจากใจกลางของคาบสมุทรอาหรับและเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นดินแดนปาเลสไตน์ ได้สร้างเมืองต่าง ๆ ขึ้น เช่น เจริโค เยรูซาเลม

965 - 922 ปีก่อน ค.ศ. โซโลมอน ลูกชายของกษัตริย์ดาวิดได้ปรับปรุงเมืองและสร้างวิหาร

587 ปีก่อน ค.ศ. ชาวบาบิโลเนียได้ยึดกรุงเยรูซาเลม ทำลายวิหารและเอาชาวยิวไปเป็นทาสในบาบิโลน

538 ปีก่อน ค.ศ. ชาวยิวกลับสู่เยรูซาเลมและสร้างวิหารขึ้นใหม่

332 ปีก่อน ค.ศ. อเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยึดเยรูซาเลม

168 ปีก่อน ค.ศ. กษัตริย์อันติโอกุส เอปีฟาเนส ได้ทำลายกำแพงกรุงเยรูซาเลม

63 ปีก่อน ค.ศ. ถูกโรมันเข้ายึดเมือง

37 ปีก่อน ค.ศ. เฮโรดได้แต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ของชาวยิวเป็นนักก่อสร้างและปรับปรุงกรุงเยรูซาเลม สร้างกำแพงและวิหารขึ้นมาใหม่ ในสมัยของกษัตริย์ของเฮโรดเป็นเยรูซาเลมที่พระเยซูรู้จัก

ค.ศ. 70 เยรูซาเลมถูกทำลายโดยจักรพรรดิติตุส

ค.ศ. 132 - 135 จักรพรรดิเอเดรียนได้สร้างเยรูซาเลมขึ้นใหม่ตามแบบของเมืองโรมัน ตั้งชื่อว่า "เอลีอา กาปีโตลียา" และสร้างสักการสถานแด่พระเท็จเทียมบนซากของสักการสถานของชาวยิว และของชาวคริสต์ และพวกยิวถูกห้ามเข้าเมืองเด็ดขาด หากจับได้จะมีโทษมีประหารชีวิต

ค.ศ. 330 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 มหาราชผู้กลับใจได้เปลี่ยนกรุงเยรูซาเลมให้เป็นเมืองคริสต์

ค.ศ. 614 เปอร์เซียเข้ายึดกรุงเยรูซาเลมและทำลายวัดวาอารามต่าง ๆ

ค.ศ. 636 เยรูซาเลมตกอยู่ภายในอำนาจของชาวอาหรับ ซึ่งได้รักษาอำนาจนี้ตลอดมาเป็นเวลา 500 ปี

ค.ศ. 1099 เยรูซาเลมถูกยึดโดยครูเสดและกลับเป็นที่ตั้งของอาณาจักรละติน

ค.ศ. 1187 เยรูซาเลมถูกยึดโดยชาวมุสลิมภายใต้การนำของเศาะลาฮุดดีน

ค.ศ. 1517 เมืองตกอยู่ในเงื้อมมือของชาวเติร์ก (ออตโตมัน) และอยู่ในการปกครองตลอด 400 ปี

ค.ศ. 1917 พันธมิตรได้ยึดเยรูซาเลมและให้อยู่ใต้การปกครองของทหารอังกฤษ

ค.ศ. 1948 สงครามอาหรับ-อิสราเอล เยรูซาเลมถูกแบ่งดินแดนเป็นเยรูซาเลมตะวันตก ปกครองโดยอิสราเอล และเยรูซาเลมตะวันออก ปกครองโดยจอร์แดน และเป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอลในส่วนที่เป็นเยรูซาเลมตะวันตก ระหว่างสงคราม 6 วัน ใน ค.ศ. 1967 เยรูซาเลมตะวันออกจึงตกอยู่ ภายใต้การปกครองของอิสราเอล และตามกฎหมายซึ่งออกใน ค.ศ. 1980 เยรูซาเลมจึงเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ

ค.ศ. 1967 สงคราม 6 วัน ชาวอิสราเอลได้ยึดเยรูซาเลมเก่า ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจอร์แดน สถานการณ์ปัจจุบันยังยืดเยื้ออยู่ และชาวอาหรับรับไม่ค่อยได้ด้านประวัติศาสตร์ของคริสตชน เริ่มตั้งแต่ปีที่ 33 ของสมัยปกครองของกษัตริย์เฮโรด

ถ้าพูดกันตามตรงจากประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ ชาวยิวนี่ถือว่าโดนย่ำยีหนักพอสมควรเลย แต่ปาเลสไตน์ช่วงหลัง ๆ มาก็โดนหนักไม่แพ้กัน สำหรับผมแล้วสงครามตั้งแต่เริ่มมันก็ไม่มีฝ่ายไหนผิดหรือถูกอยู่ดี

แต่จากการสำรวจของทางอินเทอร์เน็ตที่ชาวต่างโลกลองสืบหาค้นคว้าเกี่ยวกับ DNA ของชาวยิวกับปาเลสไตน์บางคน ต้องยอมรับครับว่าชาวยิวบางคนก็มีเชื้อสายปาเลสไตน์ในตัวพอสมควร ปาเลสไตน์คนนึงที่มีผลเผย DNA ออกมาก็มีเชื้อสายยิวจากซามาเรีย เหมือนกัน

โดยส่วนตัวผมคิดว่าไม่ว่าเหตุผลจะเป็นยังไง ความจริงที่ว่าตั้งแต่เริ่มสงครามมันก็ไม่มีดีหรือเลวอยู่แล้ว (ไม่เห็นด้วยกับการที่แห่ศพชาวต่างชาติไปรอบ ๆ แต่ก็เห็นใจปาเลสไตน์เหมือนกัน)

เลยอยากถามทุกท่านว่าความเห็นเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของดินแดนนั้น ในกรณีที่มีเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลางตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทุกท่านคิดเห็นว่ามันควรเป็นของชนชาติไหนกันบ้างครับ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่