กฎแห่งกรรม

คำถาม   
มนุษย์ดำเนินชีวิตด้วยความบังเอิญหรือไม่ ?  หรือว่ามนุษย์ดำเนินชีวิตโดยมีบางสิ่งมาคอยกำกับควบคุม ?

คำตอบ
มนุษย์แต่ละคนจะต้องทำการค้นหาด้วยตนเอง จึงอาจจะทราบคำตอบ

วิธีพิสูจน์
ให้เราศึกษาชีวิตจริงจากญาติพี่น้องที่เราสนิทอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเขาตาย  แล้วเราจะพบความจริงด้วยตนเองว่า
"ทำดีย่อมได้ดี  ทำชั่วย่อมได้ชั่ว"  จุดที่สังเกตได้ชัดเจนก็คือ หากทำความดีมามากจะตายสบาย  
แต่หากทำความชั่วมามากจะตายทรมาน  ส่วนชีวิตของผู้อื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ จะนำมาพิจารณาไม่ได้  
เนื่องจากเรารู้ข้อมูลเขาไม่ครบถ้วน จึงเชื่อถือไม่ได้

กฎแห่งกรรม หมายถึง  เมื่อทำสิ่งใดแล้วย่อมจะได้รับผลจากการกระทำนั้น  โดยเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้
เช่น  "ทำดีย่อมได้ดี  ทำชั่วย่อมได้ชั่ว"  หรือ  "ทำดีทำให้มีความสุข  ทำชั่วทำให้มีความทุกข์"  เป็นต้น

กฎแห่งกรรมตามหลักศาสนา  (ตามความเชื่อ)
ศาสนาพุทธมีความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม  และเป็นคำสอนที่สำคัญของศาสนาพุทธ
แต่ไม่ได้กล่าวว่ากฎแห่งกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร  และใครเป็นผู้คอยกำกับควบคุมกฎแห่งกรรม
โดยให้เหตุผลว่ามนุษย์ไม่จำเป็นต้องรู้  ขอเพียงเชื่อในกฎแห่งกรรมก็เพียงพอแล้ว

ส่วนศาสนาคริสต์  ไม่มีคำว่า "กฎแห่งกรรม" บันทึกอยู่ในคัมภีร์ไบเบิล
แต่ได้บันทึกเป็นความนัยเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมไว้ ดังนี้ (เป็นพระวจนะของพระเจ้า)

เยเรมีย์ 17:10  THSV1971
เราคือพระเจ้าตรวจค้นดูใจ และทดสอบดูจิต  เพื่อให้แก่ทุกคนตามพฤติการณ์ของเขา  ตามผลแห่งการกระทำของเขา
I the LORD search the heart, I try the reins, even to give every man according to his ways, 
and according to the fruit of his doings. : King Jame
คำอธิบาย
พระเจ้าจะตอบแทนมนุษย์ตามความคิดและการกระทำของมนุษย์

แสดงว่าความคิดและการกระทำทุกอย่างของมนุษย์ทุกคนนั้น พระเจ้าทรงทราบเป็นอย่างดี
และพระเจ้าจะตอบแทนความคิดและการกระทำของมนุษย์ทุกคนอย่างครบถ้วนและยุติธรรม
หมายเหตุ  พระเจ้าในที่นี้หมายถึง พระเจ้าผู้ประเสริฐ (พระเจ้าผู้สูงสุด : God)

สรุป  ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ มีความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่