เจาะปฏิบัติการ IO ของ “พรรคก้าวไกล” กับการสร้างสงครามข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดีย “ดร.กิตติธัช” ชี้เป็นการดึงหัวคะแนนขึ้นสู่ระบบออนไลน์ ใช้ “ห้องแชตด้อมส้ม” เป็นฐาน แยกกลุ่มตามพื้นที่-ภูมิภาค โดยมี “ลีดเดอร์” คอยแนะนำประเด็นที่จะใช้โจมตี-วิธีการตอบโต้ ใช้ “อินฟลูเอนเซอร์” ชี้นำความคิด เปิดแอ็กเคานต์ปลอม สร้างจิตสำนึกเทียม ด้าน “กูรู TikTok” เผยมือถือเครื่องเดียวสร้างติ๊กต็อกได้ 8 แอ็กเคานต์ ตัวอยู่ต่างประเทศก็คอมเมนต์การเมืองไทยได้ ขณะที่ “อาจารย์ฝน ไซเบอร์” ระบุ ใช้บอทระดมยิงข้อมูลซ้ำๆ ผ่านแอ็กเคานต์อวตาร ล้างสมองเด็กให้เกลียดสถาบัน!
ท่ามกลางการชิงไหวชิงพริบในการจับขั้วจัดตั้งรัฐบาลซึ่งต่างไม่มีใครยอมใคร “สงครามข่าวสาร” ที่เรียกกันว่า “ปฏิบัติการ IO” นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ถูกนำมาใช้เพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากประชาชนหรือปลุกระดมให้มวลชนลุกขึ้นมาต่อต้าน ซึ่งพรรคที่ถูกจับตาว่ามีการใช้ปฏิบัติการ IO มากที่สุดในขณะนี้ เห็นจะหนีไม้พ้นพรรคน้องใหม่มาแรงอย่าง “ก้าวไกล” ที่บรรดาแฟนคลับด้อมส้มต่างไล่ถล่มคนที่แสดงทัศนะในเชิงลบต่อพรรคก้าวไกลอย่างไม่ลดละ
ส่วนว่าแท้จริงแล้วปฏิบัติการ IO จะมีความหมายตื้น-แคบ กว้าง-ลึกเพียงใด ประกอบด้วยกลยุทธ์อะไรบ้าง และพรรคก้าวไกลมี IO จริงหรือไม่ ทำงานอย่างไร? คงต้องสอบถามข้อมูลจากผู้รู้
ระบบออนไลน์หาเสียงได้ 24 ชั่วโมง
ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์พิเศษด้านปรัชญาการเมือง ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการ IO หรือ Information Operation (ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร) ว่า ปฏิบัติการ IO นั้นถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการเมือง ซึ่งบรรดาพรรคการเมืองในประเทศไทยนั้นทำกันทุกพรรคทุกฝ่าย โดยปัจจุบันพรรคการเมืองต่างๆ เริ่มมองเห็นว่าระบบโซเชียลมีเดียมีผลต่ออารมณ์และความคิดของผู้คน และปฏิบัติการทางข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้หาเสียงผ่านระบบออนไลน์สามารถทำได้ 24 ชั่วโมง ไม่ต้องรอให้มีการเลือกตั้งเหมือนสมัยก่อน เพราะปัจจุบันคนตื่นขึ้นมาก็เปิดมือถือและเห็นคอนเทนต์ต่างๆ แล้ว
พรรคการเมืองจึงหาเสียงได้ 24 ชั่วโมง ดังนั้น ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียจึงทำกันทุกพรรค พรรคไหนทำช้ามักจะไม่ได้รับความนิยม
ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงตัวผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ซึ่งคือ ชุดความคิด คุณสมบัติ และภาพลักษณ์ของนักการเมืองและพรรคการเมือง เช่น บางพรรคมีจุดขายเรื่องการปฏิรูปประเทศ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บางพรรคมีจุดขายเรื่องการส่งเสริมคนดีให้ปกครองบ้านเมือง ปกป้องสถาบัน หรือบางพรรควางภาพลักษณ์เป็นคนรุ่นใหม่ มีไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัย ซึ่งอาจจะถูกใจคนรุ่นใหม่ แต่ไม่ว่า IO หรือปฏิบัติการข่าวสารจะดีแค่ไหน ถ้าสินค้าไม่โดนใจก็อาจจะพ่ายแพ้ได้
“อย่างพรรคก้าวไกล ถ้าดูแค่แบรนดิ้งจะพบว่าเป็นพรรคการเมืองที่ตอบโจทย์ผู้คนในยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นโลโก้พรรค ลักษณะตัวอักษรหรือข้อความที่ใช้ในการพาดหัว มันเข้ากับคาแร็กเตอร์คนรุ่นใหม่ ขณะที่บางพรรคนโยบายดี แต่แบรนด์ดูเชย คนก็ไม่เลือก นี่คือผลของปฏิบัติการข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียในยุคปัจจุบัน มันคือซอฟต์ เพาเวอร์ เมื่อคนชื่นชอบจะรู้สึกสนิทสนมและผูกพันในที่สุด” ดร.กิตติธัช ระบุ
“อัลกอริทึม” ของ AI
ช่วยให้ IO ประสบความสำเร็จ
ดร.กิตติธัช กล่าวต่อว่า ปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อปฏิบัติการ IO คือ ระบบการคัดสรรของ AI ในโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักให้ผู้คนเห็นข้อมูลข่าวสารที่ตนเองสนใจ เนื่องจากอัลกอริทึม (ระบบการประมวลผล) ของโซเชียลมีเดียจะคัดเลือกข่าวสารที่เราสนใจมานำเสนอ เช่น เมื่อเราเห็นคลิปเกี่ยวกับพรรค A บน TikTok เลื่อนผ่านมาแล้วเรากดเข้าไปดู อัลกอริทึมจะส่งข่าวสารหรือคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง A เข้ามาอีก เพราะระบบเชื่อว่าเราต้องกดเข้าไปดูแน่ๆ เมื่อเราเห็นข้อมูลเกี่ยวกับพรรค A ซ้ำๆ เราก็จะรู้สึกคล้อยตาม และรู้สึกว่าพรรค A เป็นพรรคที่คนส่วนใหญ่นิยม
อีกปัจจัยหนึ่งที่ขับเคลื่อนปฏิบัติการ IO ในปัจจุบันก็คือ “อินฟลูเอนเซอร์” (บุคคลที่มีผู้ติดตามบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย) ซึ่งในการทำมาร์เกตติ้งทางการเมืองนั้น บางครั้งอินฟลูเอนเซอร์อาจจะเป็นคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการเมืองเลย เช่น ดารา นักแคสเกม เน็ตไอดอล แต่อยู่ๆ บุคคลเหล่านี้มาแซวเรื่องการเมือง หรือชูภาพลักษณ์ดีๆ ของพรรคการเมืองบางพรรคผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้มีทั้งที่รับงานจากพรรคการเมือง และคนที่พูดเพราะความชื่นชอบส่วนตัว ซึ่งความเห็นของอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้ส่งผลให้คนที่ตอนแรกอาจจะไม่ได้สนใจการเมืองหรือไม่ได้สนใจพรรคการเมืองนั้นๆ เลย แต่ตามเพจหนัง หรือช่องแคสเกมของอินฟลูเอนเซอร์อยู่จะเริ่มหันมาสนใจและซึมซับแนวคิดและอุดมการณ์ จนกลายเป็นความชื่นชอบศรัทธาพรรคการเมืองนี้ในที่สุด ซึ่งวิธีนี้ใช้หลักการเดียวกับการ “ไทอินสินค้า” นั่นเอง
“ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีกลุ่มการเมืองของพรรคเข้าไปสร้างความสนิทสนมกับอินฟลูเอนเซอร์ต่างๆ ค่อยๆ พิกอัปอินฟลูเอนเซอร์เข้ามาในเครือข่ายของพรรค โดยเริ่มจากการจ้างงานบ่อยๆ เสร็จแล้วพาไปกินข้าว เวลามีมิตติ้งก็ชวนไปร่วมวงด้วย ค่อยๆ หยอดความไว้เนื้อเชื่อใจ สุดท้ายอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้จะรู้สึกเป็นเนื้อเดียวกับพรรคการเมือง มีการสร้างชุดความคิดและความหวังทางการเมืองร่วมกัน เมื่อรู้สึกเป็นเนื้อเดียวกันแล้วต่อไปก็ไม่ต้องจ้างแล้ว อินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้จะใช้ช่องทางโซเชียลของตนเองสนับสนุนพรรคโดยอัตโนมัติ กลายเป็นหัวคะแนนโดยธรรมชาติ เป็นการสร้างเครือข่ายมวลชนรูปแบบหนึ่ง นี่คือวิธีที่พรรคก้าวไกลทำมาตลอด” ดร.กิตติธัช กล่าว
“บริษัทเคมบริดจ์” ผู้ริเริ่ม
สงคราม IO บนออนไลน์
ด้าน นายนรินทรฤทธิ์ เปรมอภิวัฒโนกุล หรือ “อาจารย์ฝน ไซเบอร์” ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และอุปนายกสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบ ให้ข้อมูลที่น่าสนใจ ว่า ระบบหัวคะแนนออนไลน์ที่บ้านเราเรียกว่า IO นั้นมีมาหลายปีแล้ว โดยถูกนำมาใช้ครั้งแรกในการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2016 โดยครั้งนั้น “โดนัลด์ ทรัมป์” ได้ใช้บริการช่วยหาเสียงของบริษัทเคมบริดจ์ อะนาไลติก้า (Cambridge Analytica) ซึ่งมีข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook ในสหรัฐอเมริกาถึง 87 ล้านคน โดยบริษัทเคมบริดจ์นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีใน สหรัฐอเมริกา
และเลือกเจาะกลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกทรัมป์ หรือฮิลลารี คลินตัน จากนั้นจึงส่งโฆษณาหาเสียงที่ตรงใจไปยังกลุ่มเป้าหมายผ่านโซเชียลมีเดีย โดยก่อนการเลือกตั้งประธานธิบดีกลุ่มเป้าหมายจะเห็นโฆษณาที่เป็นเรื่องดีๆ ของทรัมป์และเห็นแต่เรื่องแย่ๆ ของฮิลลารี จึงส่งผลให้ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง และได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกา
“หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในครั้งนั้น ประเทศอื่นๆ ที่มีการเลือกตั้งก็เรียกใช้บริการของบริษัทเคมบริดจ์ อะนาไลติก้า ช่วงก่อนการเลือกตั้งในไทย คีย์แมนของบริษัทเคมบริดจ์ อะนาไลติก้า มานอนอยู่ที่เกาหลี” อาจารย์ฝน กล่าว
ปฏิบัติการ IO “ก้าวไกล”
ทำ “เพื่อไทย” เสียศูนย์
ทั้งนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่เพียงแต่พรรคก้าวไกลเท่านั้นที่มีปฏิบัติการ IO พรรคการเมืองอื่น โดยเฉพาะเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคที่มีฐานเสียงใกล้เคียง-ทับซ้อนกับก้าวไกล และเป็นคู่แข่งกันกลายๆ ก็มีปฏิบัติการ IO เช่นกัน โดย ดร.กิตติธัชได้เปรียบเทียบปฏิบัติการ IO ของพรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทย ว่า มีลักษณะแตกต่างกัน โดยหากพูดถึงการใช้ IO เพื่อโจมตีหรือเปิดแผลของฝ่ายตรงข้ามนั้นถือว่าเพื่อไทยกับก้าวไกล รวมถึงพรรคการเมืองอื่นๆ ทำได้ใกล้เคียงกัน แต่ในแง่ของการชูแนวคิดทางการเมืองนั้นแม้เพื่อไทยจะทำอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องยอมรับว่าก้าวไกลประสบความสำเร็จมากกว่า สามารถครองใจอินฟลูเอนเซอร์และคนรุ่นใหม่ได้ดีกว่า เนื่องจากคนรุ่นใหม่ไม่ได้อินกับ “ทักษิณ ชินวัตร” ซึ่งเป็นแบรนด์หรือจุดขายของเพื่อไทย เพราะผลงานที่ทักษิณทำและถือว่าประสบความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นมานานกว่า 10 ปีแล้ว เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จัก จึงโน้มเอียงไปทางพรรคก้าวไกลมากกว่า ขณะที่การสร้างเครือข่ายอินฟลูเอนเซอร์ซึ่งเป็นตัวช่วยในการประชาสัมพันธ์พรรคนั้นพรรคก้าวไกลทำได้ดีกว่าเช่นกัน
“นอกจากมีเครือข่ายอินฟลูเอนเซอร์แล้ว พรรคก้าวไกลยังมีการจัดค่ายเยาวชน มีการจัดกิจกรรมโดยคณะก้าวหน้า มีการจัดกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมที่เข้าถึงเยาวชนได้ดีกว่าเพื่อไทย ขณะที่เพื่อไทยแม้จะทำ IO สื่อ มีเครือข่ายสื่อ มีอินฟลูเอนเซอร์ แต่ไม่เยอะเท่าก้าวไกล ภาพลักษณ์ของเพื่อไทยไม่ทันสมัยเท่าก้าวไกล ดังนั้นแม้เพื่อไทยจะสามารถเจาะกลุ่มวัยรุ่นได้บ้างแต่ไม่มากเท่าก้าวไกล เพราะเด็กไม่อินกับคุณทักษิณ แฟนคลับเพื่อไทยส่วนใหญ่จึงเป็นวัย 30 อัป” ดร.กิตติธัช ระบุ
นอกจากนั้น การสร้างและเผยแพร่ “วาทกรรม” ผ่านบุคลากรของพรรคมีส่วนสำคัญต่อปฏิบัติการ IO เช่นกัน โดย “ดร.กิตติธัช” มองว่า ก้าวไกลสร้างวาทกรรมเก่งกว่าเพื่อไทย จะเห็นได้ว่าเพื่อไทยจะเน้นในการตีประเด็นทางการเมือง โดยใช้ตัวนักการเมือง เช่น โฆษกพรรค หรือนักการเมืองของพรรค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองรุ่นเก่า จะมีใหม่อยู่บ้างคือ อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร ขณะที่ก้าวไกลเน้นการสร้างวาทกรรมที่มีลักษณะชี้นำ สรุปประเด็น และเข้าใจง่าย ตัวผู้เล่นของก้าวไกลสดกว่า มีความหลากหลายในสาขาวิชาชีพมากกว่า เช่น เจ้าของคราฟต์เบียร์ ตัวแทน LGBT พรรคก้าวไกลจึงสามารถครองใจคนได้หลากหลายกลุ่ม หลากหลายสาขาอาชีพ
“การสร้างวาทกรรมเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางการเมือง ถ้าไม่มีการบิดเบือน อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่ละพรรคก็สู้กันไป อยู่ที่ว่าคุณนำสังคมได้ไหม สังคมเชื่อคุณหรือเปล่า แต่ถ้าเลยจุดที่ถูกต้อง เริ่มบิดเบือนจากข้อเท็จจริง พูดความจริงครึ่งเดียว เสี้ยวเดียว ก็ถือว่าอันตราย เพราะในระยะยาวจะนำสังคมไปสู่โลกของข่าวลวง” ดร.กิตติธัช กล่าว
“ก้าวไกล” สร้างหัวคะแนน
ผ่าน “ห้องแชตด้อมส้ม”
ดร.กิตติธัช ยังชี้ว่า พรรคก้าวไกล รวมถึงคณะก้าวหน้า เป็นพรรคการเมืองเดียวที่มีการจัดตั้งชุดความคิดให้มวลชนอย่างชัดเจน มีการจัดอบรมผ่านระบบโซเชียล โดยลีดเดอร์จะบอกว่าถ้าเป็นเรื่องนี้ ประเด็นนี้ มวลชนต้องชี้แจงแบบนี้ มวลชนจึงสื่อสารไปในทิศทางเดียวกันหมด มีการจัดตั้งห้องแชตที่เรียกว่า “ห้องด้อมส้ม” บนระบบโซเชียล เช่น ไลน์ facebook ทวิตเตอร์ เพื่อรวบรวมแฟนคลับของพรรคที่อยู่ในแต่ละจังหวัด แต่ละพื้นที่มาร่วมกันทำปฏิบัติการ IO ซึ่งคือการยกหัวคะแนนในระบบเก่ามาไว้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งพรรคสามารถเข้าถึงหัวคะแนนได้ง่ายกว่า และเข้าถึงแบบ 24 ชั่วโมง.
“ก้าวไกลจะมีห้องแชตต่างๆ ซึ่งลีดเดอร์จะบอกเลยว่าตอนนี้พรรคเรากำลังถูกโจมตีเรื่องนี้ เราควรจะชี้แจงอย่างนี้ ตอบโต้แบบนี้ หรือถ้าจะโจมตีฝ่ายตรงข้ามต้องตีเรื่องไหน อาจจะแบ่งเป็นห้องย่อยๆ โดยอิงกับจังหวัด หรือพื้นที่ที่ด้อมส้มอยู่ สุดท้ายมวลชนที่เป็นแฟนคลับ หรือหัวคะแนนธรรมชาติจะรู้ว่าถ้ามีเหตุ
แบบนี้ จะต้องนำข้อมูลที่ลีดเดอร์ให้มาไปสื่อสารต่ออย่างไร โดยด้อมส้มที่ทำปฏิบัติการ IO มีทั้งแบบอาสา 100% และแบบมีค่าตอบแทนให้เล็กน้อย ซึ่งวิธีนี้จึงทำให้พรรคก้าวไกลสามารถปฏิบัติการ IO ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร.กิตติธัช ระบุ.
เปิดแอ็กเคานต์ปลอม
สร้างอุปทานหมู่
ส่วนกรณีที่มีการสร้างแอ็กเคานต์ปลอมขึ้นมาเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ IO นั้น ดร.กิตติธัช มองว่า โดยส่วนตัวแล้วถ้าเป็นการแสดงความเห็นแบบ 1 คน 1 แอ็กเคานต์ ถือว่าเป็นการแสดงออกทางการเมืองด้วยพลังบริสุทธิ์ แต่หากมีการปั๊มเป็น 10 แอ็กเคานต์ เพื่อไปแสดงความเห็นจะถือเป็นการ
IO ของ “พรรคก้าวไกล” กับการสร้างสงครามข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดีย เจาะลึก “ก้าวไกล” กับปฏิบัติการ IO
เจาะปฏิบัติการ IO ของ “พรรคก้าวไกล” กับการสร้างสงครามข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดีย “ดร.กิตติธัช” ชี้เป็นการดึงหัวคะแนนขึ้นสู่ระบบออนไลน์ ใช้ “ห้องแชตด้อมส้ม” เป็นฐาน แยกกลุ่มตามพื้นที่-ภูมิภาค โดยมี “ลีดเดอร์” คอยแนะนำประเด็นที่จะใช้โจมตี-วิธีการตอบโต้ ใช้ “อินฟลูเอนเซอร์” ชี้นำความคิด เปิดแอ็กเคานต์ปลอม สร้างจิตสำนึกเทียม ด้าน “กูรู TikTok” เผยมือถือเครื่องเดียวสร้างติ๊กต็อกได้ 8 แอ็กเคานต์ ตัวอยู่ต่างประเทศก็คอมเมนต์การเมืองไทยได้ ขณะที่ “อาจารย์ฝน ไซเบอร์” ระบุ ใช้บอทระดมยิงข้อมูลซ้ำๆ ผ่านแอ็กเคานต์อวตาร ล้างสมองเด็กให้เกลียดสถาบัน!
ท่ามกลางการชิงไหวชิงพริบในการจับขั้วจัดตั้งรัฐบาลซึ่งต่างไม่มีใครยอมใคร “สงครามข่าวสาร” ที่เรียกกันว่า “ปฏิบัติการ IO” นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ถูกนำมาใช้เพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากประชาชนหรือปลุกระดมให้มวลชนลุกขึ้นมาต่อต้าน ซึ่งพรรคที่ถูกจับตาว่ามีการใช้ปฏิบัติการ IO มากที่สุดในขณะนี้ เห็นจะหนีไม้พ้นพรรคน้องใหม่มาแรงอย่าง “ก้าวไกล” ที่บรรดาแฟนคลับด้อมส้มต่างไล่ถล่มคนที่แสดงทัศนะในเชิงลบต่อพรรคก้าวไกลอย่างไม่ลดละ
ส่วนว่าแท้จริงแล้วปฏิบัติการ IO จะมีความหมายตื้น-แคบ กว้าง-ลึกเพียงใด ประกอบด้วยกลยุทธ์อะไรบ้าง และพรรคก้าวไกลมี IO จริงหรือไม่ ทำงานอย่างไร? คงต้องสอบถามข้อมูลจากผู้รู้
ระบบออนไลน์หาเสียงได้ 24 ชั่วโมง
ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์พิเศษด้านปรัชญาการเมือง ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปฏิบัติการ IO หรือ Information Operation (ยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร) ว่า ปฏิบัติการ IO นั้นถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ทางการเมือง ซึ่งบรรดาพรรคการเมืองในประเทศไทยนั้นทำกันทุกพรรคทุกฝ่าย โดยปัจจุบันพรรคการเมืองต่างๆ เริ่มมองเห็นว่าระบบโซเชียลมีเดียมีผลต่ออารมณ์และความคิดของผู้คน และปฏิบัติการทางข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้หาเสียงผ่านระบบออนไลน์สามารถทำได้ 24 ชั่วโมง ไม่ต้องรอให้มีการเลือกตั้งเหมือนสมัยก่อน เพราะปัจจุบันคนตื่นขึ้นมาก็เปิดมือถือและเห็นคอนเทนต์ต่างๆ แล้ว
พรรคการเมืองจึงหาเสียงได้ 24 ชั่วโมง ดังนั้น ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียจึงทำกันทุกพรรค พรรคไหนทำช้ามักจะไม่ได้รับความนิยม
ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงตัวผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ซึ่งคือ ชุดความคิด คุณสมบัติ และภาพลักษณ์ของนักการเมืองและพรรคการเมือง เช่น บางพรรคมีจุดขายเรื่องการปฏิรูปประเทศ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บางพรรคมีจุดขายเรื่องการส่งเสริมคนดีให้ปกครองบ้านเมือง ปกป้องสถาบัน หรือบางพรรควางภาพลักษณ์เป็นคนรุ่นใหม่ มีไลฟ์สไตล์ที่ทันสมัย ซึ่งอาจจะถูกใจคนรุ่นใหม่ แต่ไม่ว่า IO หรือปฏิบัติการข่าวสารจะดีแค่ไหน ถ้าสินค้าไม่โดนใจก็อาจจะพ่ายแพ้ได้
“อย่างพรรคก้าวไกล ถ้าดูแค่แบรนดิ้งจะพบว่าเป็นพรรคการเมืองที่ตอบโจทย์ผู้คนในยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นโลโก้พรรค ลักษณะตัวอักษรหรือข้อความที่ใช้ในการพาดหัว มันเข้ากับคาแร็กเตอร์คนรุ่นใหม่ ขณะที่บางพรรคนโยบายดี แต่แบรนด์ดูเชย คนก็ไม่เลือก นี่คือผลของปฏิบัติการข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียในยุคปัจจุบัน มันคือซอฟต์ เพาเวอร์ เมื่อคนชื่นชอบจะรู้สึกสนิทสนมและผูกพันในที่สุด” ดร.กิตติธัช ระบุ
“อัลกอริทึม” ของ AI
ช่วยให้ IO ประสบความสำเร็จ
ดร.กิตติธัช กล่าวต่อว่า ปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อปฏิบัติการ IO คือ ระบบการคัดสรรของ AI ในโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักให้ผู้คนเห็นข้อมูลข่าวสารที่ตนเองสนใจ เนื่องจากอัลกอริทึม (ระบบการประมวลผล) ของโซเชียลมีเดียจะคัดเลือกข่าวสารที่เราสนใจมานำเสนอ เช่น เมื่อเราเห็นคลิปเกี่ยวกับพรรค A บน TikTok เลื่อนผ่านมาแล้วเรากดเข้าไปดู อัลกอริทึมจะส่งข่าวสารหรือคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง A เข้ามาอีก เพราะระบบเชื่อว่าเราต้องกดเข้าไปดูแน่ๆ เมื่อเราเห็นข้อมูลเกี่ยวกับพรรค A ซ้ำๆ เราก็จะรู้สึกคล้อยตาม และรู้สึกว่าพรรค A เป็นพรรคที่คนส่วนใหญ่นิยม
อีกปัจจัยหนึ่งที่ขับเคลื่อนปฏิบัติการ IO ในปัจจุบันก็คือ “อินฟลูเอนเซอร์” (บุคคลที่มีผู้ติดตามบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย) ซึ่งในการทำมาร์เกตติ้งทางการเมืองนั้น บางครั้งอินฟลูเอนเซอร์อาจจะเป็นคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการเมืองเลย เช่น ดารา นักแคสเกม เน็ตไอดอล แต่อยู่ๆ บุคคลเหล่านี้มาแซวเรื่องการเมือง หรือชูภาพลักษณ์ดีๆ ของพรรคการเมืองบางพรรคผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้มีทั้งที่รับงานจากพรรคการเมือง และคนที่พูดเพราะความชื่นชอบส่วนตัว ซึ่งความเห็นของอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้ส่งผลให้คนที่ตอนแรกอาจจะไม่ได้สนใจการเมืองหรือไม่ได้สนใจพรรคการเมืองนั้นๆ เลย แต่ตามเพจหนัง หรือช่องแคสเกมของอินฟลูเอนเซอร์อยู่จะเริ่มหันมาสนใจและซึมซับแนวคิดและอุดมการณ์ จนกลายเป็นความชื่นชอบศรัทธาพรรคการเมืองนี้ในที่สุด ซึ่งวิธีนี้ใช้หลักการเดียวกับการ “ไทอินสินค้า” นั่นเอง
“ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีกลุ่มการเมืองของพรรคเข้าไปสร้างความสนิทสนมกับอินฟลูเอนเซอร์ต่างๆ ค่อยๆ พิกอัปอินฟลูเอนเซอร์เข้ามาในเครือข่ายของพรรค โดยเริ่มจากการจ้างงานบ่อยๆ เสร็จแล้วพาไปกินข้าว เวลามีมิตติ้งก็ชวนไปร่วมวงด้วย ค่อยๆ หยอดความไว้เนื้อเชื่อใจ สุดท้ายอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้จะรู้สึกเป็นเนื้อเดียวกับพรรคการเมือง มีการสร้างชุดความคิดและความหวังทางการเมืองร่วมกัน เมื่อรู้สึกเป็นเนื้อเดียวกันแล้วต่อไปก็ไม่ต้องจ้างแล้ว อินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้จะใช้ช่องทางโซเชียลของตนเองสนับสนุนพรรคโดยอัตโนมัติ กลายเป็นหัวคะแนนโดยธรรมชาติ เป็นการสร้างเครือข่ายมวลชนรูปแบบหนึ่ง นี่คือวิธีที่พรรคก้าวไกลทำมาตลอด” ดร.กิตติธัช กล่าว
“บริษัทเคมบริดจ์” ผู้ริเริ่ม
สงคราม IO บนออนไลน์
ด้าน นายนรินทรฤทธิ์ เปรมอภิวัฒโนกุล หรือ “อาจารย์ฝน ไซเบอร์” ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และอุปนายกสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบ ให้ข้อมูลที่น่าสนใจ ว่า ระบบหัวคะแนนออนไลน์ที่บ้านเราเรียกว่า IO นั้นมีมาหลายปีแล้ว โดยถูกนำมาใช้ครั้งแรกในการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2016 โดยครั้งนั้น “โดนัลด์ ทรัมป์” ได้ใช้บริการช่วยหาเสียงของบริษัทเคมบริดจ์ อะนาไลติก้า (Cambridge Analytica) ซึ่งมีข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook ในสหรัฐอเมริกาถึง 87 ล้านคน โดยบริษัทเคมบริดจ์นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งประธานาธิบดีใน สหรัฐอเมริกา
และเลือกเจาะกลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกทรัมป์ หรือฮิลลารี คลินตัน จากนั้นจึงส่งโฆษณาหาเสียงที่ตรงใจไปยังกลุ่มเป้าหมายผ่านโซเชียลมีเดีย โดยก่อนการเลือกตั้งประธานธิบดีกลุ่มเป้าหมายจะเห็นโฆษณาที่เป็นเรื่องดีๆ ของทรัมป์และเห็นแต่เรื่องแย่ๆ ของฮิลลารี จึงส่งผลให้ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง และได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐอเมริกา
“หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในครั้งนั้น ประเทศอื่นๆ ที่มีการเลือกตั้งก็เรียกใช้บริการของบริษัทเคมบริดจ์ อะนาไลติก้า ช่วงก่อนการเลือกตั้งในไทย คีย์แมนของบริษัทเคมบริดจ์ อะนาไลติก้า มานอนอยู่ที่เกาหลี” อาจารย์ฝน กล่าว
ปฏิบัติการ IO “ก้าวไกล”
ทำ “เพื่อไทย” เสียศูนย์
ทั้งนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่เพียงแต่พรรคก้าวไกลเท่านั้นที่มีปฏิบัติการ IO พรรคการเมืองอื่น โดยเฉพาะเพื่อไทยซึ่งเป็นพรรคที่มีฐานเสียงใกล้เคียง-ทับซ้อนกับก้าวไกล และเป็นคู่แข่งกันกลายๆ ก็มีปฏิบัติการ IO เช่นกัน โดย ดร.กิตติธัชได้เปรียบเทียบปฏิบัติการ IO ของพรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทย ว่า มีลักษณะแตกต่างกัน โดยหากพูดถึงการใช้ IO เพื่อโจมตีหรือเปิดแผลของฝ่ายตรงข้ามนั้นถือว่าเพื่อไทยกับก้าวไกล รวมถึงพรรคการเมืองอื่นๆ ทำได้ใกล้เคียงกัน แต่ในแง่ของการชูแนวคิดทางการเมืองนั้นแม้เพื่อไทยจะทำอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องยอมรับว่าก้าวไกลประสบความสำเร็จมากกว่า สามารถครองใจอินฟลูเอนเซอร์และคนรุ่นใหม่ได้ดีกว่า เนื่องจากคนรุ่นใหม่ไม่ได้อินกับ “ทักษิณ ชินวัตร” ซึ่งเป็นแบรนด์หรือจุดขายของเพื่อไทย เพราะผลงานที่ทักษิณทำและถือว่าประสบความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นมานานกว่า 10 ปีแล้ว เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จัก จึงโน้มเอียงไปทางพรรคก้าวไกลมากกว่า ขณะที่การสร้างเครือข่ายอินฟลูเอนเซอร์ซึ่งเป็นตัวช่วยในการประชาสัมพันธ์พรรคนั้นพรรคก้าวไกลทำได้ดีกว่าเช่นกัน
“นอกจากมีเครือข่ายอินฟลูเอนเซอร์แล้ว พรรคก้าวไกลยังมีการจัดค่ายเยาวชน มีการจัดกิจกรรมโดยคณะก้าวหน้า มีการจัดกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมที่เข้าถึงเยาวชนได้ดีกว่าเพื่อไทย ขณะที่เพื่อไทยแม้จะทำ IO สื่อ มีเครือข่ายสื่อ มีอินฟลูเอนเซอร์ แต่ไม่เยอะเท่าก้าวไกล ภาพลักษณ์ของเพื่อไทยไม่ทันสมัยเท่าก้าวไกล ดังนั้นแม้เพื่อไทยจะสามารถเจาะกลุ่มวัยรุ่นได้บ้างแต่ไม่มากเท่าก้าวไกล เพราะเด็กไม่อินกับคุณทักษิณ แฟนคลับเพื่อไทยส่วนใหญ่จึงเป็นวัย 30 อัป” ดร.กิตติธัช ระบุ
นอกจากนั้น การสร้างและเผยแพร่ “วาทกรรม” ผ่านบุคลากรของพรรคมีส่วนสำคัญต่อปฏิบัติการ IO เช่นกัน โดย “ดร.กิตติธัช” มองว่า ก้าวไกลสร้างวาทกรรมเก่งกว่าเพื่อไทย จะเห็นได้ว่าเพื่อไทยจะเน้นในการตีประเด็นทางการเมือง โดยใช้ตัวนักการเมือง เช่น โฆษกพรรค หรือนักการเมืองของพรรค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองรุ่นเก่า จะมีใหม่อยู่บ้างคือ อุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร ขณะที่ก้าวไกลเน้นการสร้างวาทกรรมที่มีลักษณะชี้นำ สรุปประเด็น และเข้าใจง่าย ตัวผู้เล่นของก้าวไกลสดกว่า มีความหลากหลายในสาขาวิชาชีพมากกว่า เช่น เจ้าของคราฟต์เบียร์ ตัวแทน LGBT พรรคก้าวไกลจึงสามารถครองใจคนได้หลากหลายกลุ่ม หลากหลายสาขาอาชีพ
“การสร้างวาทกรรมเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางการเมือง ถ้าไม่มีการบิดเบือน อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่ละพรรคก็สู้กันไป อยู่ที่ว่าคุณนำสังคมได้ไหม สังคมเชื่อคุณหรือเปล่า แต่ถ้าเลยจุดที่ถูกต้อง เริ่มบิดเบือนจากข้อเท็จจริง พูดความจริงครึ่งเดียว เสี้ยวเดียว ก็ถือว่าอันตราย เพราะในระยะยาวจะนำสังคมไปสู่โลกของข่าวลวง” ดร.กิตติธัช กล่าว
“ก้าวไกล” สร้างหัวคะแนน
ผ่าน “ห้องแชตด้อมส้ม”
ดร.กิตติธัช ยังชี้ว่า พรรคก้าวไกล รวมถึงคณะก้าวหน้า เป็นพรรคการเมืองเดียวที่มีการจัดตั้งชุดความคิดให้มวลชนอย่างชัดเจน มีการจัดอบรมผ่านระบบโซเชียล โดยลีดเดอร์จะบอกว่าถ้าเป็นเรื่องนี้ ประเด็นนี้ มวลชนต้องชี้แจงแบบนี้ มวลชนจึงสื่อสารไปในทิศทางเดียวกันหมด มีการจัดตั้งห้องแชตที่เรียกว่า “ห้องด้อมส้ม” บนระบบโซเชียล เช่น ไลน์ facebook ทวิตเตอร์ เพื่อรวบรวมแฟนคลับของพรรคที่อยู่ในแต่ละจังหวัด แต่ละพื้นที่มาร่วมกันทำปฏิบัติการ IO ซึ่งคือการยกหัวคะแนนในระบบเก่ามาไว้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งพรรคสามารถเข้าถึงหัวคะแนนได้ง่ายกว่า และเข้าถึงแบบ 24 ชั่วโมง.
“ก้าวไกลจะมีห้องแชตต่างๆ ซึ่งลีดเดอร์จะบอกเลยว่าตอนนี้พรรคเรากำลังถูกโจมตีเรื่องนี้ เราควรจะชี้แจงอย่างนี้ ตอบโต้แบบนี้ หรือถ้าจะโจมตีฝ่ายตรงข้ามต้องตีเรื่องไหน อาจจะแบ่งเป็นห้องย่อยๆ โดยอิงกับจังหวัด หรือพื้นที่ที่ด้อมส้มอยู่ สุดท้ายมวลชนที่เป็นแฟนคลับ หรือหัวคะแนนธรรมชาติจะรู้ว่าถ้ามีเหตุ
แบบนี้ จะต้องนำข้อมูลที่ลีดเดอร์ให้มาไปสื่อสารต่ออย่างไร โดยด้อมส้มที่ทำปฏิบัติการ IO มีทั้งแบบอาสา 100% และแบบมีค่าตอบแทนให้เล็กน้อย ซึ่งวิธีนี้จึงทำให้พรรคก้าวไกลสามารถปฏิบัติการ IO ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร.กิตติธัช ระบุ.
เปิดแอ็กเคานต์ปลอม
สร้างอุปทานหมู่
ส่วนกรณีที่มีการสร้างแอ็กเคานต์ปลอมขึ้นมาเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ IO นั้น ดร.กิตติธัช มองว่า โดยส่วนตัวแล้วถ้าเป็นการแสดงความเห็นแบบ 1 คน 1 แอ็กเคานต์ ถือว่าเป็นการแสดงออกทางการเมืองด้วยพลังบริสุทธิ์ แต่หากมีการปั๊มเป็น 10 แอ็กเคานต์ เพื่อไปแสดงความเห็นจะถือเป็นการ