การฝึกแต่ละวิธีท่านเห็นผลประจักษ์ใจเป็นลำดับ คือทำให้จิตที่มีความพยศลำพองเพราะร่างกายมีกำลังมาก ให้ลดลงด้วยวิธีผ่อนอาหาร อดอาหารหรืออดนอน ตลอดการหักโหมด้วยวิธีต่าง ๆ คือเดินจงกรมนาน ๆ บ้าง นั่งสมาธิภาวนานาน ๆ บ้าง เพื่อใจจะได้มีกำลังก้าวหน้าไปตามแถวแห่งธรรมด้วยความสะดวก เพื่อใจที่หวาดกลัวต่ออันตรายมีเสือหรือผีเป็นต้น แล้วย้อนเข้ามาสู่ภายในอันเป็นที่สถิตอยู่ของใจอย่างแท้จริง จนเกิดความสงบและกล้าหาญขึ้นมา ซึ่งเป็นการบรรเทาหรือกำจัดความหวาดกลัวต่าง ๆ เสียได้ เพื่อจิตได้รู้กำลังความสามารถของตนในเวลาเข้าที่คับขันคือความจนตรอกจนมุม หรือคราวเกิดทุกขเวทนากล้าจนถึงเป็นถึงตายจริง ๆ จะมีทางต่อสู้เพื่อชัยชนะเอาตัวรอดได้
ตามปกติถ้าไม่เข้าที่คับขันสติปัญญาไม่ค่อยเกิด และไม่อาจรู้ความสามารถของตน การหาวิธีทรมานต่าง ๆ ตามจริตนิสัยและความแยบคายของแต่ละรายนั้น เป็นวิธีฝึกซ้อมสติปัญญา ให้มีความสามารถอาจหาญ และทราบกำลังของตนได้ดี ไม่สะทกสะท้านต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่เลือกกาลสถานที่ ผลที่ปรากฏแก่ผู้ชอบฝึกทรมานตนด้วยวิธีต่าง ๆ คือผู้ที่เคยกลัวผีมาดั้งเดิม ก็หายกลัวผีได้ ด้วยวิธีฝืนใจเข้าไปเยี่ยมป่าช้า ผู้เคยกลัวสัตว์ร้ายต่าง ๆ มีเสือเป็นต้น ก็หายกลัวได้ ด้วยวิธีฝืนใจเข้าไปอยู่ในที่เปลี่ยวอันเป็นที่น่ากลัว ผู้มักเห็นแก่ปากแก่ท้อง ชอบโลเลในอาหารปัจจัย ก็บรรเทาหรือหายเสียได้ ด้วยการผ่อนอาหารหรืออดอาหาร
ตามปกตินิสัยของคนเราโดยมากย่อมชอบอาหารดี ๆ รับประทานได้มาก ๆ ถือว่าเป็นความสุขเพราะถูกกับใจ ผู้มักโลภไม่เคยมีความพอดีแอบซ่อนอยู่ด้วยได้เลย แม้ใจจะทุกข์เพียงไรก็ไม่ค่อยสนใจ คิดว่ามีสาเหตุเป็นมาจากอะไร แต่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความรู้สิ่งเกี่ยวข้องกับตนอันมีมากมายและต่าง ๆ กัน จำต้องพิจารณาและทรมานกันบ้าง เพื่อรู้ฤทธิ์ของกันและกัน
ดังนั้น พระธุดงค์บางองค์ ท่านจึงทรมานท่านจนเป็นที่น่าสงสารอย่างจับใจก็มี คืออาหารดี ๆ ตามสมมุตินิยมที่ท่านได้มา หรือมีผู้นำมาถวาย พอเห็นจิตแสดงอาการอยากได้ จนเป็นที่น่าเกลียด อยู่ภายใน ท่านกลับทรมานใจเสีย ไม่ยอมเอาอาหารชนิดนั้น แต่กลับไปเอาชนิดที่จิตไม่ต้องการไปเสียอย่างนั้น ถ้าจิตต้องการมาก ท่านก็เอาแต่เพียงเล็กน้อย หรือบางคราวท่านบังคับให้ฉันข้าวเปล่า ๆ ทั้งที่อาหารมีอยู่ อย่างนี้ก็มี
อาหารบางชนิดเป็นคุณแก่ร่างกายแต่กลับเป็นภัยแก่ใจ คือทับถมจิตใจ ภาวนายากหรือไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ทั้งที่ทำความเพียรดังที่เคยทำมาเป็นประจำ เมื่อทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด จิตจึงไม่ก้าวหน้า ท่านก็พยายามตัดต้นเหตุนั้นออกไป โดยไม่ยอมเสียดาย และตามใจที่เป็นเจ้ากิเลสตัวโลโภ สมกับท่านมาฝึกทรมานใจกับครูอาจารย์จริง ๆ มิได้ปล่อยตามใจที่เคยเอาแต่ใจตัวมาจนเป็นนิสัย
การฉันท่านก็ฝึกให้มีประมาณและขอบเขตจำกัด การหลับนอน ท่านก็ฝึกให้นอนและตื่นตามเวลาที่กำหนดไว้ ไม่ปล่อยให้นอนตามใจชอบหรือตามยถากรรม การไปมาในทิศทางใด ควรหรือไม่ควร ท่านก็ฝึก แม้ไม่ผิดพระวินัยแต่ผิดธรรม ท่านก็บังคับไม่ให้ฝ่าฝืน ในสิ่งที่เห็นว่าไม่ควรนั้น ๆ
การพยายามปลูกธรรมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ ภายในใจ ไม่ให้เสื่อมทรามลง จึงแสนปลูกยากอย่างยิ่ง แทบพูดได้ว่า ไม่มีอะไรจะลำบากยากเย็นเสมอเหมือนเลย
ส่วนการปลูกโลก ผู้เขียนอยากจะพูดว่า มันคอยแต่จะแย่งเกิดและเจริญขึ้น เพื่อทำลายจิตใจเราอยู่ทุกขณะที่เผลอ จนไม่ชนะที่จะปราบปรามมัน เพียงนาทีหนึ่งมันก็แอบเข้ามาเกิดและเจริญในใจเสียแล้ว ไม่รู้ว่ากี่ประเภท โดยมากก็เป็นประเภทสังหารทำลายตัวเรานั่นแล มันเกิดและเจริญเร็วที่สุด ชั่วพริบตาเดียวเท่านั้นก็มองไม่ทั่ว ตามแก้ไม่ทัน
สิ่งที่เกิดง่ายแต่ทำลายยาก คือต้นราคะตัณหา ตัวทำความพินาศบาดหัวใจ นี่แลเป็นสิ่งที่เก่งกล้าสามารถกว่าอะไรในโลก ไม่ว่าท่าน ว่าเรา ต่างก็ชอบมันเสียด้วย มันจึงได้ใจ และก่อความพินาศให้โลกอย่างไม่มีประมาณ และไม่เกรงขามใครเลย ที่มีกลัวอยู่บ้างก็ผู้มีธรรมในใจ และที่กลัวจริง ๆ คือพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านเท่านั้น มันไม่กล้าเข้าไปแอบได้ เพราะท่านทำลายโรงลิเกละครและโรงอะไร ๆ ของมันพังพินาศไปหมดแล้ว มันจึงกลับมาเล่นงานกับพวกเรา ผู้ยังอยู่ใต้อำนาจของมัน
พระธุดงค์ท่านแทบเป็นแทบตายในการฝึกทรมานตน ก็เพราะกิเลสสองสามตัวนี่แลเป็นเหตุ และทำการกีดขวางถ่วงใจท่านให้ได้รับความลำบาก แม้เปลี่ยนเพศเป็นพระ มีผ้าเหลืองซึ่งเป็นเครื่องหมายของท่านผู้ชนะมารมาแล้วมาครองประกาศตัว แต่กิเลสประเภทนี้มันยังไม่ยอมเกรงกลัวท่านบ้างเลย แถมมันยังพยายามตามฉุดลากท่านให้เปลื้องผ้าเหลืองอยู่ตลอดไป ไม่ยอมปล่อยตัวเอาง่าย ๆ ทั้งไม่เลือกวัยเสียด้วย
ท่านจึงจำต้องตะเกียกตะกายด้วยการฝึกทรมานโดยวิธีต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นวิธีกำจัดมันออกจากใจได้ ยากก็ทน ลำบากก็ทำ ทุกข์ก็ต้องต่อสู้ ไม่ยอมถอยหลัง เดี๋ยวมันจะหัวเราะเยาะเข้าอีก ยิ่งขายทั้งหน้า ขายทั้งผ้าเหลือง ขายทั้งเพศนักบวช ที่เป็นเพศแห่งนักต่อสู้ไม่ยอมจนมุม และขายทั้งศาสนา ซึ่งเป็นหลักใหญ่ของมวลมนุษย์ ยิ่งเป็นความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จำต้องพลีชีพเพื่อกู้หน้า กู้ผ้าเหลือง กู้เพศแห่งนักบวช และกู้พระศาสนาและองค์พระศาสดาไว้ดีกว่าจะตายแบบล่มจมป่นปี้
เหล่านี้เป็นอุบายที่พระธุดงค์ท่านนำมาพร่ำสอนตัวเพื่อความกล้าหาญชาญชัย เทิดไว้ซึ่งธรรมดวงเลิศ อันจักนำให้ถึงแดนประเสริฐพ้นทุกข์ไปได้ในวันหนึ่งโดยไม่สงสัย เพราะทางพ้นทุกข์ถึงความเป็นผู้ประเสริฐมีอยู่กับศาสนธรรมที่ประทานไว้นี้เท่านั้น ที่เป็นทางตรงแน่วต่อความพ้นทุกข์โดยประการทั้งปวงไม่สงสัย ไม่มีอยู่ในที่อื่นใดที่จะพอหลบหลีกปลีกตัว และผ่อนคลายไปได้ โดยไม่ต้องลำบากในการขวนขวาย นอกนั้นเต็มไปด้วยขวากหนามที่จะคอยทิ่มแทงร่างกายจิตใจให้เป็นทุกข์ จนหาที่ปลงวางไม่ได้ ตลอดกัปกัลป์ ไม่มีประมาณว่าจะผ่านพ้นไปได้
แม้ท่านอาจารย์มั่น ก่อนหน้าท่านจะปรากฏองค์ขึ้นมา ให้พวกเราได้กราบไหว้เป็นขวัญใจ และเป็นอาจารย์สั่งสอนบรรดาศิษย์ ท่านก็เคยเป็นมาแล้วชนิดตายไม่มีป่าช้า คือสิ้นลมที่ไหนปล่อยร่างกันที่นั่น ไม่อาลัยเสียดายชีวิตยิ่งกว่าธรรม ดังที่เขียนผ่านมาบ้างแล้ว
เวลาเป็นอาจารย์สั่งสอนศิษย์ ท่านสั่งสอนอย่างเด็ด ๆ เผ็ด ๆ ร้อน ๆ ด้วยอุบายอันแหลมคม ตามแนวทางท่านเคยดำเนินและเห็นผลมาแล้วนั่นแล ท่านสั่งสอนแบบปลุกจิตปลุกใจ และฟื้นฟูความฉลาดให้ทันกับกลมารยาของกิเลส ที่เคยเป็นนายบนหัวใจคนมานาน เพื่อการถอดถอนทำลายกิเลสออกให้หมด จะได้หมดโทษหมดภัยอยู่สบาย ไปอย่างผู้สิ้นทุกข์ ไม่ต้องมีการวกเวียนเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ แต่ความทุกข์ที่ฝังอยู่ในใจไม่ยอมเปลี่ยน
แม้จะเปลี่ยนภพกำเนิดไปสักเท่าไร ก็เท่ากับเปลี่ยนเครื่องมือสังหารตนอยู่นั่นเอง จึงไม่ควรยินดีในการเกิดเป็นนั่นเป็นนี่ อันเป็นลักษณะนักโทษย้ายที่อยู่หลับนอนในเรือนจำ ซึ่งไม่มีอะไรดีขึ้นเลย
การเกิดตาย นักปราชญ์ท่านถือเป็นภัยโดยจริงใจ เหมือนย้ายที่ที่ถูกไฟไหม้ แม้จะย้ายที่อยู่ไปไหนก็ไม่พ้นจากการระวังภัยอยู่นั่นเอง
เหล่านี้นำมาลงเพียงเล็กน้อยสำหรับโอวาทที่ท่านอาจารย์มั่นสั่งสอนพระธุดงค์ตลอดมา ที่นำมาลงบ้างนี้พอเป็นคติแก่ท่านที่ชอบในอุบายท่าน
.....................................
คัดลอกจากประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ตอนที่ 10 โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี "วิธีฝึกทรมานต่างๆ ที่พระธุดงค์ท่านชอบทำ" ใน
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-hist-12-10.htm
https://www.naewna.com/likesara/526438
ทรมานกิเลสเพื่อฝึกตน
ตามปกติถ้าไม่เข้าที่คับขันสติปัญญาไม่ค่อยเกิด และไม่อาจรู้ความสามารถของตน การหาวิธีทรมานต่าง ๆ ตามจริตนิสัยและความแยบคายของแต่ละรายนั้น เป็นวิธีฝึกซ้อมสติปัญญา ให้มีความสามารถอาจหาญ และทราบกำลังของตนได้ดี ไม่สะทกสะท้านต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่เลือกกาลสถานที่ ผลที่ปรากฏแก่ผู้ชอบฝึกทรมานตนด้วยวิธีต่าง ๆ คือผู้ที่เคยกลัวผีมาดั้งเดิม ก็หายกลัวผีได้ ด้วยวิธีฝืนใจเข้าไปเยี่ยมป่าช้า ผู้เคยกลัวสัตว์ร้ายต่าง ๆ มีเสือเป็นต้น ก็หายกลัวได้ ด้วยวิธีฝืนใจเข้าไปอยู่ในที่เปลี่ยวอันเป็นที่น่ากลัว ผู้มักเห็นแก่ปากแก่ท้อง ชอบโลเลในอาหารปัจจัย ก็บรรเทาหรือหายเสียได้ ด้วยการผ่อนอาหารหรืออดอาหาร
ตามปกตินิสัยของคนเราโดยมากย่อมชอบอาหารดี ๆ รับประทานได้มาก ๆ ถือว่าเป็นความสุขเพราะถูกกับใจ ผู้มักโลภไม่เคยมีความพอดีแอบซ่อนอยู่ด้วยได้เลย แม้ใจจะทุกข์เพียงไรก็ไม่ค่อยสนใจ คิดว่ามีสาเหตุเป็นมาจากอะไร แต่ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความรู้สิ่งเกี่ยวข้องกับตนอันมีมากมายและต่าง ๆ กัน จำต้องพิจารณาและทรมานกันบ้าง เพื่อรู้ฤทธิ์ของกันและกัน
ดังนั้น พระธุดงค์บางองค์ ท่านจึงทรมานท่านจนเป็นที่น่าสงสารอย่างจับใจก็มี คืออาหารดี ๆ ตามสมมุตินิยมที่ท่านได้มา หรือมีผู้นำมาถวาย พอเห็นจิตแสดงอาการอยากได้ จนเป็นที่น่าเกลียด อยู่ภายใน ท่านกลับทรมานใจเสีย ไม่ยอมเอาอาหารชนิดนั้น แต่กลับไปเอาชนิดที่จิตไม่ต้องการไปเสียอย่างนั้น ถ้าจิตต้องการมาก ท่านก็เอาแต่เพียงเล็กน้อย หรือบางคราวท่านบังคับให้ฉันข้าวเปล่า ๆ ทั้งที่อาหารมีอยู่ อย่างนี้ก็มี
อาหารบางชนิดเป็นคุณแก่ร่างกายแต่กลับเป็นภัยแก่ใจ คือทับถมจิตใจ ภาวนายากหรือไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ทั้งที่ทำความเพียรดังที่เคยทำมาเป็นประจำ เมื่อทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด จิตจึงไม่ก้าวหน้า ท่านก็พยายามตัดต้นเหตุนั้นออกไป โดยไม่ยอมเสียดาย และตามใจที่เป็นเจ้ากิเลสตัวโลโภ สมกับท่านมาฝึกทรมานใจกับครูอาจารย์จริง ๆ มิได้ปล่อยตามใจที่เคยเอาแต่ใจตัวมาจนเป็นนิสัย
การฉันท่านก็ฝึกให้มีประมาณและขอบเขตจำกัด การหลับนอน ท่านก็ฝึกให้นอนและตื่นตามเวลาที่กำหนดไว้ ไม่ปล่อยให้นอนตามใจชอบหรือตามยถากรรม การไปมาในทิศทางใด ควรหรือไม่ควร ท่านก็ฝึก แม้ไม่ผิดพระวินัยแต่ผิดธรรม ท่านก็บังคับไม่ให้ฝ่าฝืน ในสิ่งที่เห็นว่าไม่ควรนั้น ๆ
การพยายามปลูกธรรมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ ภายในใจ ไม่ให้เสื่อมทรามลง จึงแสนปลูกยากอย่างยิ่ง แทบพูดได้ว่า ไม่มีอะไรจะลำบากยากเย็นเสมอเหมือนเลย
ส่วนการปลูกโลก ผู้เขียนอยากจะพูดว่า มันคอยแต่จะแย่งเกิดและเจริญขึ้น เพื่อทำลายจิตใจเราอยู่ทุกขณะที่เผลอ จนไม่ชนะที่จะปราบปรามมัน เพียงนาทีหนึ่งมันก็แอบเข้ามาเกิดและเจริญในใจเสียแล้ว ไม่รู้ว่ากี่ประเภท โดยมากก็เป็นประเภทสังหารทำลายตัวเรานั่นแล มันเกิดและเจริญเร็วที่สุด ชั่วพริบตาเดียวเท่านั้นก็มองไม่ทั่ว ตามแก้ไม่ทัน
สิ่งที่เกิดง่ายแต่ทำลายยาก คือต้นราคะตัณหา ตัวทำความพินาศบาดหัวใจ นี่แลเป็นสิ่งที่เก่งกล้าสามารถกว่าอะไรในโลก ไม่ว่าท่าน ว่าเรา ต่างก็ชอบมันเสียด้วย มันจึงได้ใจ และก่อความพินาศให้โลกอย่างไม่มีประมาณ และไม่เกรงขามใครเลย ที่มีกลัวอยู่บ้างก็ผู้มีธรรมในใจ และที่กลัวจริง ๆ คือพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านเท่านั้น มันไม่กล้าเข้าไปแอบได้ เพราะท่านทำลายโรงลิเกละครและโรงอะไร ๆ ของมันพังพินาศไปหมดแล้ว มันจึงกลับมาเล่นงานกับพวกเรา ผู้ยังอยู่ใต้อำนาจของมัน
พระธุดงค์ท่านแทบเป็นแทบตายในการฝึกทรมานตน ก็เพราะกิเลสสองสามตัวนี่แลเป็นเหตุ และทำการกีดขวางถ่วงใจท่านให้ได้รับความลำบาก แม้เปลี่ยนเพศเป็นพระ มีผ้าเหลืองซึ่งเป็นเครื่องหมายของท่านผู้ชนะมารมาแล้วมาครองประกาศตัว แต่กิเลสประเภทนี้มันยังไม่ยอมเกรงกลัวท่านบ้างเลย แถมมันยังพยายามตามฉุดลากท่านให้เปลื้องผ้าเหลืองอยู่ตลอดไป ไม่ยอมปล่อยตัวเอาง่าย ๆ ทั้งไม่เลือกวัยเสียด้วย
ท่านจึงจำต้องตะเกียกตะกายด้วยการฝึกทรมานโดยวิธีต่าง ๆ ที่เห็นว่าเป็นวิธีกำจัดมันออกจากใจได้ ยากก็ทน ลำบากก็ทำ ทุกข์ก็ต้องต่อสู้ ไม่ยอมถอยหลัง เดี๋ยวมันจะหัวเราะเยาะเข้าอีก ยิ่งขายทั้งหน้า ขายทั้งผ้าเหลือง ขายทั้งเพศนักบวช ที่เป็นเพศแห่งนักต่อสู้ไม่ยอมจนมุม และขายทั้งศาสนา ซึ่งเป็นหลักใหญ่ของมวลมนุษย์ ยิ่งเป็นความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จำต้องพลีชีพเพื่อกู้หน้า กู้ผ้าเหลือง กู้เพศแห่งนักบวช และกู้พระศาสนาและองค์พระศาสดาไว้ดีกว่าจะตายแบบล่มจมป่นปี้
เหล่านี้เป็นอุบายที่พระธุดงค์ท่านนำมาพร่ำสอนตัวเพื่อความกล้าหาญชาญชัย เทิดไว้ซึ่งธรรมดวงเลิศ อันจักนำให้ถึงแดนประเสริฐพ้นทุกข์ไปได้ในวันหนึ่งโดยไม่สงสัย เพราะทางพ้นทุกข์ถึงความเป็นผู้ประเสริฐมีอยู่กับศาสนธรรมที่ประทานไว้นี้เท่านั้น ที่เป็นทางตรงแน่วต่อความพ้นทุกข์โดยประการทั้งปวงไม่สงสัย ไม่มีอยู่ในที่อื่นใดที่จะพอหลบหลีกปลีกตัว และผ่อนคลายไปได้ โดยไม่ต้องลำบากในการขวนขวาย นอกนั้นเต็มไปด้วยขวากหนามที่จะคอยทิ่มแทงร่างกายจิตใจให้เป็นทุกข์ จนหาที่ปลงวางไม่ได้ ตลอดกัปกัลป์ ไม่มีประมาณว่าจะผ่านพ้นไปได้
แม้ท่านอาจารย์มั่น ก่อนหน้าท่านจะปรากฏองค์ขึ้นมา ให้พวกเราได้กราบไหว้เป็นขวัญใจ และเป็นอาจารย์สั่งสอนบรรดาศิษย์ ท่านก็เคยเป็นมาแล้วชนิดตายไม่มีป่าช้า คือสิ้นลมที่ไหนปล่อยร่างกันที่นั่น ไม่อาลัยเสียดายชีวิตยิ่งกว่าธรรม ดังที่เขียนผ่านมาบ้างแล้ว
เวลาเป็นอาจารย์สั่งสอนศิษย์ ท่านสั่งสอนอย่างเด็ด ๆ เผ็ด ๆ ร้อน ๆ ด้วยอุบายอันแหลมคม ตามแนวทางท่านเคยดำเนินและเห็นผลมาแล้วนั่นแล ท่านสั่งสอนแบบปลุกจิตปลุกใจ และฟื้นฟูความฉลาดให้ทันกับกลมารยาของกิเลส ที่เคยเป็นนายบนหัวใจคนมานาน เพื่อการถอดถอนทำลายกิเลสออกให้หมด จะได้หมดโทษหมดภัยอยู่สบาย ไปอย่างผู้สิ้นทุกข์ ไม่ต้องมีการวกเวียนเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ แต่ความทุกข์ที่ฝังอยู่ในใจไม่ยอมเปลี่ยน
แม้จะเปลี่ยนภพกำเนิดไปสักเท่าไร ก็เท่ากับเปลี่ยนเครื่องมือสังหารตนอยู่นั่นเอง จึงไม่ควรยินดีในการเกิดเป็นนั่นเป็นนี่ อันเป็นลักษณะนักโทษย้ายที่อยู่หลับนอนในเรือนจำ ซึ่งไม่มีอะไรดีขึ้นเลย
การเกิดตาย นักปราชญ์ท่านถือเป็นภัยโดยจริงใจ เหมือนย้ายที่ที่ถูกไฟไหม้ แม้จะย้ายที่อยู่ไปไหนก็ไม่พ้นจากการระวังภัยอยู่นั่นเอง
เหล่านี้นำมาลงเพียงเล็กน้อยสำหรับโอวาทที่ท่านอาจารย์มั่นสั่งสอนพระธุดงค์ตลอดมา ที่นำมาลงบ้างนี้พอเป็นคติแก่ท่านที่ชอบในอุบายท่าน
.....................................
คัดลอกจากประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ตอนที่ 10 โดยท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี "วิธีฝึกทรมานต่างๆ ที่พระธุดงค์ท่านชอบทำ" ใน http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-hist-12-10.htm
https://www.naewna.com/likesara/526438