“กรุงเทพโพลล์” ปชช.ไม่กล้าลงทุนเพราะของแพง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_624293/
“กรุงเทพโพลล์” ปชช.เห็นโอกาสริเริ่มธุรกิจใหม่ ลดลงจากไตรมาสก่อน ไม่กล้าลงทุนเพราะข้าวของราคาแพง ไม่มีเงินทุน เปลี่ยนรัฐบาลเป็น “เศรษฐา” ยังมีผลต่อการตัดสินใจน้อย
กรุงเทพโพลล์ ร่วมกับคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง “
คนไทยคิดอย่างไรกับโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ” ประจำไตรมาส3/2566 โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,080 คน โดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ระหว่างวันที่ 25 ก.ย.-4 ต.ค. ที่ผ่านมา
โดยความเห็นเกี่ยวกับจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (เจ้าของธุรกิจ) ประจำไตรมาส 3/2566 โดยเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ผ่านมา (ช่วงเดือน มิ.ย. 2566) ในประเด็นต่างๆ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 53.2 เห็นโอกาสหรือความพร้อมสำหรับการริเริ่มธุรกิจในอนาคตมากที่สุด (โดยลดลงร้อยละ 8.3) รองลงมา ร้อยละ 45.2 ตนเองมีความรู้ความสามารถรวมถึงทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นในการที่จะเริ่มทำธุรกิจใหม่ (ลดลงร้อยละ 3.6 ), ร้อยละ 41.9มีความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจ ในอนาคตข้างหน้า (ลดลงร้อยละ 13.7) และ ร้อยละ 63.5 เห็นว่าไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลว (ลดลง ร้อยละ 4.7)
ทั้งนี้สาเหตุที่ไม่กล้าเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองมากที่สุด ร้อยละ 52.5 ปัญหาข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง, ร้อยละ 51.7 ไม่มีเงินทุนมากพอ, ร้อยละ 48.0 น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ ราคาสูงขึ้น, ร้อยละ 43.0 กลัวล้มเหลว กลัวขาดทุน และ ร้อยละ 30.9 นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าหลังได้ ครม. นายกฯ
เศรษฐา มีผลมากน้อยเพียงใดต่อการตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจใหม่พบว่า ร้อยละ 71.4 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ ร้อยละ 28.6 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อการตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจใหม่
บก.ลายจุด งงแฟนพท. ไม่สู้ด้วยหลัก ไปอัด 99 นักเศรษฐศาสตร์ เป็นสลิ่ม ค้านเงินดิจิทัล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4219828
บก.ลายจุด แนะรบ.ปรับวงเงิน แจกดิจิทัล เข้าใจเลิกไม่ได้ นโยบายเรือธง รับงงจริง เจออัด ไร้ความรู้ แต่พอ 99 นักเศรษฐศาสตร์ค้าน ก็ไปว่าสลิ่ม ถามทำไมไม่ถกเถียงด้วยหลักเหตุผล
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม นาย
สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊กแสดงความคิดเห็นถึงกรณีที่ 99 นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ออกแถลงการณ์เรียกร้อง ให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาท โดยมีเนื้อหาดังนี้
ส่วนตัวเห็นว่า การแจกเงิน 1 หมื่นควรให้กับคนมีรายได้น้อย แต่เห็นใจว่า ถ้ารัฐบาลเพื่อไทยปรับตามนั้น ก็จะขัดต่อที่เคยให้คำสัญญาไว้ และคนไทยก็ต่างตั้งตารอ ดังนั้น เสนอว่า ถ้าหาเงินมาได้ไม่พอก็ลดวงเงินของคนที่พอมีเงินลงเหลือสัก 3-5000 บาท ส่วนคนจนทั่วไปจะให้เท่าเดิม หรือจะลดลงสัก 2,000 บาท เหลือ 8,000 บาทก็น่าจะพอยอมรับกันได้
ลดวงเงินไปประมาณ 25-30 % ของโครงการ
เชื่อว่าแรงต้านจะลดลงและคนไทยเรามีสุภาษิตว่า “กำขี้ดีกว่ากำตด”
ลานจอดรถทัวร์ใต้ Comment
ผายมือ…………”
จากนั้น นาย
สมบัติ ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวอีกว่า
“
ตอนที่ผมออกมาพูดเรื่อง digital wallet ของเพื่อไทย ฝ่ายสนับสนุนตอบโต้ผมว่า ผมเรียนจบอะไรมา หรือมีความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาคระดับไหนถึงกล้ามาวิจารณ์
พอนักวิชาการและอดีตผู้ว่าแบงค์ชาติออกแถลงการณ์ 99 คน ฝ่ายสนับสนุนเพื่อไทยก็ออกมาบอกว่าคนพวกนี้เป็นนักวิชาการสลิ่ม ไม่เคยออกมาแย้งสมัยรัฐบาลประยุทธ์ หรือไม่ก็ตอบโต้ว่า นักวิชาการไม่ใช่เถ้าแก่ไม่เคยทำการค้า ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาคก็ยังแย้งด้วยเหตุผลที่อ่อนกว่ามาก
บางคนเลยไปว่า จะเกิด Payment Gateway แบบใหม่ระดับโลก พลิกโฉมระบบธุรกรรมที่มีความโปร่งใสแบบทำลายวงการทุจริตได้ แต่แนวโน้มชัดเจนมากว่าถ้าเอา Blockchain มาใช้จะเป็น Private Blockchain แน่นอน แล้วความโปร่งใสจะอยู่ตรงไหน และมันจะมี Node สักกี่ตัว แค่มีคำสั่งปรับแก้ไขมันก็ปรับได้หมดแหละ คือการเอาโมเดล Node ของ Bitcoin มาเทียบกับ digital wallet นี่น่าขำมาก
เมื่อวานผมไป Comment ไว้ในเฟสผู้สนับสนุนเพื่อไทยคนหนึ่งว่า ให้ตอบโต้เหตุผลที่นักเศรษฐศาสตร์กังวล แต่ไม่มีใครเลยที่คิดว่า จะเลือกใช้เหตุผลในการตอบโต้นักเศรษฐศาสตร์เหล่านั้น เอาจริงๆ ผมรู้อยู่แล้วว่าไม่มีปัญญา เพราะถ้ามีศักยภาพขนาดนั้นต้องตอบโต้มานานแล้ว ไม่ใช่ท่องอยู่นั่นแหละว่า เชื่อมือพรรคเพื่อไทยโดยอ้างจากผลงานในอดีต คนกลุ่มนี้ใช้ความเชื่อเป็นหลัก ทำให้ความสามารถในการใช้เหตุผลลดลง ในขณะที่ปกติการโต้แย้งในเรื่องอื่นจะพอมีหลักการ และเหตุผลอยู่บ้าง แต่ digital wallet นี่ถือว่าเบาหวิว
เมื่อมาถึงตรงนี้ ผมพยายามอ่านใจพรรคเพื่อไทยว่าจะทำยังไงกับโครงการนี้ภายใต้เสียงท้วงติงจำนวนมากและข้อจำกัดและความยากลำบากในการดำเนินการโครงการที่เกิดจากตัวโครงการเอง ผมอ่านว่าเพื่อไทยรู้ตัวว่าอยู่ในภาวะยากลำบากในทางปฏิบัติ และรับรู้ข้อท้วงติงที่มีน้ำหนักและมองเห็นความอันตรา ยจากโครงการนี้ แต่เนื่องจากเป็นนโยบายเรือธง จึงต้องตั้งธงไว้ว่า จะทำให้ได้จึงอยู่ระหว่างการปรับแก้หาทางออกในเรื่องนี้ ไอ้ที่บอกว่า จะพูดจนกว่ามีข้อสรุปนั้นอาจจริงอยู่ส่วนหนึ่ง แต่เรื่องหลักแล้วคือโครงการนี้มีปัญหาและไม่พร้อมออกมาตอบโต้หรือชี้แจง เพราะยิ่งชี้แจงจะยิ่งทำให้เละ การเงียบและนิ่งไว้แล้วโดนคนอื่นวิพากษ์วิจารณ์ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในขณะนี้
สงสารก็แต่ผู้สนับสนุนเพื่อไทยที่ยืดถือและเชื่อใจพรรคโดยไม่มีคำถาม หรือพยายามรับฟังคำโต้แย้ง และใช้เหตุผลตอบโต้หากคิดว่า มันทำได้จริง แต่ก็นั่นแหละ พรรคเพื่อไทยยังโต้ไม่ได้ ติ่งแบกที่ไหนจะโต้ได้ ก็เอาแต่ตะโกนว่าคนวิจารณ์เป็นสลิ่ม เฮ้ย…..สมอง
https://www.facebook.com/nuling/posts/pfbid02Bnnc4CHqZmiQg1mMNepDMQYACyqByLkP3BkfLr5tFBAfCaPqvQZeWvjD1kMSnnzil
https://www.facebook.com/nuling/posts/pfbid034LeCGFYaR8j3k7jpA99Ca9bvHodr6MTBYs2fcoQFAG6CPvwsqNWhdZbDiNaJwtwSl
ร่วมคัดค้าน! รายชื่อพุ่ง 117 คน ให้ยกเลิกนโยบายแจก "เงินดิจิทัล"
https://siamrath.co.th/n/483053
จากกรณีที่ นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ ได้ออกแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 5 ต.ค.66 โดยใจความสำคัญ คือนักวิชาการและคณาจารย์ ด้านเศรษฐศาสตร์ของไทย จำนวน 99 คน อาทิ นาย
วิรไท สันติประภพ ดร.
ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, รศ.ดร.
อัจนา ไวความดี อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, รศ.ดร.
สิริลักษณา คอมันตร์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, ดร.
บัณฑิต นิจถาวร อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, รศ.ดร.
วรากรณ์ สามโกเศศ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มีความเห็นพ้องต้องกันที่จะเรียกร้องให้ถึงรัฐบาล "
เศรษฐา ทวีสิน" ยกเลิก "
นโยบายแจกเงิน ดิจิทัล digital 10,000 บาท" เพราะเป็นนโยายที่ "
ได้ไม่คุ้มเสีย" พร้อมแจกแจงออกมาเป็น 7 ประเด็นที่สำคัญ ตามที่ได่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 ต.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีรายชื่อนักวิชาการที่ร่วมกันลงชื่อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด มีรายชื่อที่เป็นทางการแล้วถึง 117 ราย และมีชื่อของ ศ.ดร.
เมธี ครองแก้ว อดีตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมด้วย
JJNY : “กรุงเทพโพลล์” ปชช.ไม่กล้าลงทุน│บก.ลายจุด งงแฟนพท.│ร่วมคัดค้าน! รายชื่อพุ่ง 117 คน│ชาวเวเนซุเอลาแห่บริจาคผม
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_624293/
“กรุงเทพโพลล์” ปชช.เห็นโอกาสริเริ่มธุรกิจใหม่ ลดลงจากไตรมาสก่อน ไม่กล้าลงทุนเพราะข้าวของราคาแพง ไม่มีเงินทุน เปลี่ยนรัฐบาลเป็น “เศรษฐา” ยังมีผลต่อการตัดสินใจน้อย
กรุงเทพโพลล์ ร่วมกับคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง “คนไทยคิดอย่างไรกับโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจ” ประจำไตรมาส3/2566 โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,080 คน โดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ระหว่างวันที่ 25 ก.ย.-4 ต.ค. ที่ผ่านมา
โดยความเห็นเกี่ยวกับจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (เจ้าของธุรกิจ) ประจำไตรมาส 3/2566 โดยเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ผ่านมา (ช่วงเดือน มิ.ย. 2566) ในประเด็นต่างๆ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 53.2 เห็นโอกาสหรือความพร้อมสำหรับการริเริ่มธุรกิจในอนาคตมากที่สุด (โดยลดลงร้อยละ 8.3) รองลงมา ร้อยละ 45.2 ตนเองมีความรู้ความสามารถรวมถึงทักษะและประสบการณ์ที่จำเป็นในการที่จะเริ่มทำธุรกิจใหม่ (ลดลงร้อยละ 3.6 ), ร้อยละ 41.9มีความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจ ในอนาคตข้างหน้า (ลดลงร้อยละ 13.7) และ ร้อยละ 63.5 เห็นว่าไม่อยากลงทุนทำธุรกิจเพราะกลัวความล้มเหลว (ลดลง ร้อยละ 4.7)
ทั้งนี้สาเหตุที่ไม่กล้าเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองมากที่สุด ร้อยละ 52.5 ปัญหาข้าวของราคาแพง ค่าครองชีพสูง, ร้อยละ 51.7 ไม่มีเงินทุนมากพอ, ร้อยละ 48.0 น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ ราคาสูงขึ้น, ร้อยละ 43.0 กลัวล้มเหลว กลัวขาดทุน และ ร้อยละ 30.9 นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าหลังได้ ครม. นายกฯ เศรษฐา มีผลมากน้อยเพียงใดต่อการตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจใหม่พบว่า ร้อยละ 71.4 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ ร้อยละ 28.6 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อการตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจใหม่
บก.ลายจุด งงแฟนพท. ไม่สู้ด้วยหลัก ไปอัด 99 นักเศรษฐศาสตร์ เป็นสลิ่ม ค้านเงินดิจิทัล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4219828
บก.ลายจุด แนะรบ.ปรับวงเงิน แจกดิจิทัล เข้าใจเลิกไม่ได้ นโยบายเรือธง รับงงจริง เจออัด ไร้ความรู้ แต่พอ 99 นักเศรษฐศาสตร์ค้าน ก็ไปว่าสลิ่ม ถามทำไมไม่ถกเถียงด้วยหลักเหตุผล
เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊กแสดงความคิดเห็นถึงกรณีที่ 99 นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ออกแถลงการณ์เรียกร้อง ให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาท โดยมีเนื้อหาดังนี้
ส่วนตัวเห็นว่า การแจกเงิน 1 หมื่นควรให้กับคนมีรายได้น้อย แต่เห็นใจว่า ถ้ารัฐบาลเพื่อไทยปรับตามนั้น ก็จะขัดต่อที่เคยให้คำสัญญาไว้ และคนไทยก็ต่างตั้งตารอ ดังนั้น เสนอว่า ถ้าหาเงินมาได้ไม่พอก็ลดวงเงินของคนที่พอมีเงินลงเหลือสัก 3-5000 บาท ส่วนคนจนทั่วไปจะให้เท่าเดิม หรือจะลดลงสัก 2,000 บาท เหลือ 8,000 บาทก็น่าจะพอยอมรับกันได้
ลดวงเงินไปประมาณ 25-30 % ของโครงการ
เชื่อว่าแรงต้านจะลดลงและคนไทยเรามีสุภาษิตว่า “กำขี้ดีกว่ากำตด”
ลานจอดรถทัวร์ใต้ Comment
ผายมือ…………”
จากนั้น นายสมบัติ ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวอีกว่า
“ตอนที่ผมออกมาพูดเรื่อง digital wallet ของเพื่อไทย ฝ่ายสนับสนุนตอบโต้ผมว่า ผมเรียนจบอะไรมา หรือมีความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาคระดับไหนถึงกล้ามาวิจารณ์
พอนักวิชาการและอดีตผู้ว่าแบงค์ชาติออกแถลงการณ์ 99 คน ฝ่ายสนับสนุนเพื่อไทยก็ออกมาบอกว่าคนพวกนี้เป็นนักวิชาการสลิ่ม ไม่เคยออกมาแย้งสมัยรัฐบาลประยุทธ์ หรือไม่ก็ตอบโต้ว่า นักวิชาการไม่ใช่เถ้าแก่ไม่เคยทำการค้า ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็นเรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาคก็ยังแย้งด้วยเหตุผลที่อ่อนกว่ามาก
บางคนเลยไปว่า จะเกิด Payment Gateway แบบใหม่ระดับโลก พลิกโฉมระบบธุรกรรมที่มีความโปร่งใสแบบทำลายวงการทุจริตได้ แต่แนวโน้มชัดเจนมากว่าถ้าเอา Blockchain มาใช้จะเป็น Private Blockchain แน่นอน แล้วความโปร่งใสจะอยู่ตรงไหน และมันจะมี Node สักกี่ตัว แค่มีคำสั่งปรับแก้ไขมันก็ปรับได้หมดแหละ คือการเอาโมเดล Node ของ Bitcoin มาเทียบกับ digital wallet นี่น่าขำมาก
เมื่อวานผมไป Comment ไว้ในเฟสผู้สนับสนุนเพื่อไทยคนหนึ่งว่า ให้ตอบโต้เหตุผลที่นักเศรษฐศาสตร์กังวล แต่ไม่มีใครเลยที่คิดว่า จะเลือกใช้เหตุผลในการตอบโต้นักเศรษฐศาสตร์เหล่านั้น เอาจริงๆ ผมรู้อยู่แล้วว่าไม่มีปัญญา เพราะถ้ามีศักยภาพขนาดนั้นต้องตอบโต้มานานแล้ว ไม่ใช่ท่องอยู่นั่นแหละว่า เชื่อมือพรรคเพื่อไทยโดยอ้างจากผลงานในอดีต คนกลุ่มนี้ใช้ความเชื่อเป็นหลัก ทำให้ความสามารถในการใช้เหตุผลลดลง ในขณะที่ปกติการโต้แย้งในเรื่องอื่นจะพอมีหลักการ และเหตุผลอยู่บ้าง แต่ digital wallet นี่ถือว่าเบาหวิว
เมื่อมาถึงตรงนี้ ผมพยายามอ่านใจพรรคเพื่อไทยว่าจะทำยังไงกับโครงการนี้ภายใต้เสียงท้วงติงจำนวนมากและข้อจำกัดและความยากลำบากในการดำเนินการโครงการที่เกิดจากตัวโครงการเอง ผมอ่านว่าเพื่อไทยรู้ตัวว่าอยู่ในภาวะยากลำบากในทางปฏิบัติ และรับรู้ข้อท้วงติงที่มีน้ำหนักและมองเห็นความอันตรา ยจากโครงการนี้ แต่เนื่องจากเป็นนโยบายเรือธง จึงต้องตั้งธงไว้ว่า จะทำให้ได้จึงอยู่ระหว่างการปรับแก้หาทางออกในเรื่องนี้ ไอ้ที่บอกว่า จะพูดจนกว่ามีข้อสรุปนั้นอาจจริงอยู่ส่วนหนึ่ง แต่เรื่องหลักแล้วคือโครงการนี้มีปัญหาและไม่พร้อมออกมาตอบโต้หรือชี้แจง เพราะยิ่งชี้แจงจะยิ่งทำให้เละ การเงียบและนิ่งไว้แล้วโดนคนอื่นวิพากษ์วิจารณ์ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในขณะนี้
สงสารก็แต่ผู้สนับสนุนเพื่อไทยที่ยืดถือและเชื่อใจพรรคโดยไม่มีคำถาม หรือพยายามรับฟังคำโต้แย้ง และใช้เหตุผลตอบโต้หากคิดว่า มันทำได้จริง แต่ก็นั่นแหละ พรรคเพื่อไทยยังโต้ไม่ได้ ติ่งแบกที่ไหนจะโต้ได้ ก็เอาแต่ตะโกนว่าคนวิจารณ์เป็นสลิ่ม เฮ้ย…..สมอง
https://www.facebook.com/nuling/posts/pfbid02Bnnc4CHqZmiQg1mMNepDMQYACyqByLkP3BkfLr5tFBAfCaPqvQZeWvjD1kMSnnzil
https://www.facebook.com/nuling/posts/pfbid034LeCGFYaR8j3k7jpA99Ca9bvHodr6MTBYs2fcoQFAG6CPvwsqNWhdZbDiNaJwtwSl
ร่วมคัดค้าน! รายชื่อพุ่ง 117 คน ให้ยกเลิกนโยบายแจก "เงินดิจิทัล"
https://siamrath.co.th/n/483053
จากกรณีที่ นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ ได้ออกแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 5 ต.ค.66 โดยใจความสำคัญ คือนักวิชาการและคณาจารย์ ด้านเศรษฐศาสตร์ของไทย จำนวน 99 คน อาทิ นายวิรไท สันติประภพ ดร.ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, รศ.ดร.อัจนา ไวความดี อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, รศ.ดร.สิริลักษณา คอมันตร์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, ดร.บัณฑิต นิจถาวร อดีตรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ มีความเห็นพ้องต้องกันที่จะเรียกร้องให้ถึงรัฐบาล "เศรษฐา ทวีสิน" ยกเลิก "นโยบายแจกเงิน ดิจิทัล digital 10,000 บาท" เพราะเป็นนโยายที่ "ได้ไม่คุ้มเสีย" พร้อมแจกแจงออกมาเป็น 7 ประเด็นที่สำคัญ ตามที่ได่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 ต.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีรายชื่อนักวิชาการที่ร่วมกันลงชื่อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด มีรายชื่อที่เป็นทางการแล้วถึง 117 ราย และมีชื่อของ ศ.ดร. เมธี ครองแก้ว อดีตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมด้วย