สสร.ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด และเขียนรธน.ใหม่ทั้งฉบับหรือไม่

เป็นประเด็นสาธารณะ ที่เราเอามาพูดคุยได้

สสร.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด มีทั้งข้อดีและข้อด้อย
ข้อดี ก็ดูเหมือนจะเปิดกว้างให้สิทธิเท่าเทียมทุกคน อาจจะได้รับข้อมูลโดยตรงจากประชาชนในวงกว้างตามที่คาดคิดไว้

แต่ข้อด้อยอย่างน้อยก็คือ อาจจะได้คนไม่ตรงกับงาน
ผู้เลือกไม่น่าจะรู้เท่าทันความสามารถและเป้าหมายที่แท้จริงของผู้ถูกเลือกก็เป็นได้

ส่วนใหญ่เลือกจากข่าวที่ป้อนมา ได้รับมา
ใครป๊อบเห็นหน้าเห็นตาบ่อย ได้เปรียบ รวมถึงต้นทุนของแต่ละคนที่เสนอตัวไม่เท่ากัน

สมมติว่าถ้าเปรียบกับวงการนักแสดง นักแสดงละครเวทีที่เก่งๆ บนเวทีที่นักแสดงดังๆ ไม่กล้าเข้าไปแตะ
รู้จักกันดี ยอมรับในความสามารถในฝีมือในกลุ่มเฉพาะ แต่ไม่ใช่สาธารณะในวงที่กว้างกว่า
คนทั่วไปจะรู้จักน้อย และน้อยกว่าดาราดังๆ ตามสื่อต่างๆ
โอกาสที่จะถูกเลือก จะมีน้อยกว่า ถึงน้อยกว่ามากๆ เมื่อเทียบกับดาราดังที่เสนอตัวเข้ามาแข่ง

สสร.กับรธน.ปี 40 ที่เราๆ หลายท่านยอมรับ "ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด"
มีการแบ่งโควต้าแต่งตั้งตามคุณวุฒิ และ จะเรียกว่าเลือกตั้งโดยตรงก็ยังไม่ได้ เป็นการเลือกตั้งโดยอ้อม

เขียนรธน.ใหม่ทั้งฉบับ สิ่งที่ต้องยอมรับคือ เรื่องของเวลาที่ใช้จนกว่าจะได้ข้อสรุป
กรอบใหญ่ คนร้อยพ่อพันแม่ ไม่น่าจะจบได้ง่ายๆ รีบตัดฉับจะนับเป็นเสียงของประชาชนไม่ได้
แล้วท้ายสุดอาจจะจบลงตรงข้ออ้างของคนบางกลุ่ม
ด้วยคำว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ในฐานะตัวแทนที่ถูกเลือก?

เท่าที่รู้ ไม่มีกฎเกณฑ์กติกาใดๆ ที่สมบูรณ์แบบ
ตรงไหนเป็นประเด็นสำคัญ จับมาแก้ไขก่อน สรุปก่อน ประกาศใช้ก่อน
ตรงไหนติดหรือสร้างปัญหา เราทยอยแก้ไปเรื่อยๆ ไม่ดีกว่าหรือ

แน่ใจหรือว่ารอใหม่ทั้งฉบับ จะได้รธน.ที่เพอร์เฟค ใกล้เคียงความต้องการจริง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่