เหตุการณ์กราดยิงที่สยามพารากอน เหมือนกลายเป็นพฤติกรรมเลียนแบบต่อเนื่องจากหลายครั้งที่ผ่านมา จะป้องกันอย่างไรครับ?

เหตุการณ์กราดยิงที่สยามพารากอนครั้งนี้ เป็นอีกครั้งที่น่ากลัวครับ และน่าจะมีผลกระทบต่อ การท่องเที่ยวหรือ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย
คนก่อเหตุเป็นเยาวชน อายุ 14 ปี ลงโทษเต็มๆแบบผู้ใหญ่ก็ไม่ได้ แต่ถ้าลงโทษเบาๆ ทางจีนอาจจะเพ่งเล็ง

และที่สำคัญเหตุการณ์ลักษณะนี้ เริ่มเกิดขึ้นบ่อยครั้งในรอบหลายปี ตั้งแต่ 
   - ปี 2563 ผอ. กอล์ฟ ผอ.โรงเรียน กราดยิง ชิงทอง ผู้เสียชีวิต 3 รายและสาหัส 1 ราย 
   - ปี 2563เหตุการณ์ กราดยิงข้ามวัน ที่ห้างเทอร์มินอล 21 โคราช  ผู้เสียชีวิต 27 ราย นับรวมทั้ง (เจ้าหน้าที่ , ประชาชน และ ผู้ก่อเหตุ) มีจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ 57  ราย
   - ปี 2565 อดีตตำรวจก่อเหตุกราดยิงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ.หนองบัวลำภู   ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอย่างเกือบ 50 ราย
   - ปี2566  "แอม ไซยาไนด์" ฆาตกรรม ต่อเนื่อง 8 ปี 14 ศพ แม้จะไม่ได้ใช้วิธีกราดยิง แต่ก็มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
    - ปี2566  เด็ก 14 กราดยิงที่สยามพารากอน เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 5ราย

ซึ่ง แต่ละเหตุการณ์น่าสะเทือนใจทั้งนั้นครับและมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมกันนับร้อยคนแล้ว ในรอบ3-4ปีมานี้
ไม่รวมผลกระทบต่อ ญาติพี่น้องผู้สูญเสีย เช่น พ่อ แม่สูญเสียลูก ลูกสูญเสียพ่อแม่ น้องเสียพี่ พี่เสียน้อง ขาดเสาหลักดูแลครอบครัว
สูญเสียคนเดียว กระทบคนในบ้าน 4-5 คน หรืออาจมากกว่านั้น 

จะหยุดความคิด หรือพฤติกรรมเลียนแบบ อย่างไร 
ตำรวจ นักการเมือง รัฐบาล สส. สว. ผู้มีอำนาจ ยังทะเลาะกัน ยังต้องคดีคอรัปชั่นกันอยู่เลย
อยากให้ทุกภาคส่วนช่วยกันแก้ปัญหาครับ กระทบกับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจแน่นอนครับแบบนี้
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
ส่วนตัวมองว่า เราเองต้องฝึกตื่นตัวหรือไวต่อสัญญานอันตรายเหล่านี้ค่ะ
จะหวังพึ่งมาตรการของรัฐ ของรปภ. ของคนอื่นอาจไม่ทัน
ต้องพยายามสังเกตุว่าคนรอบตัวเรามีใครที่ส่งสัญญานหรือมีบุคลิกชอบความมีอำนาจ ชอบความรุนแรง
อาทิ การแต่งกาย การพูดจา กิริยาท่าทาง รูปแบบในการใช้ชีวิตประจำวัน อารมณ์ เป็นต้น
การแต่งกายคนทั่วๆไป มักไม่ค่อยแต่งเลียนแบบทหาร ตำรวจ ถ้าไม่ไปปาร์ตี้ใช่ไหมคะ?
คนทั่วๆ ไป มีน้อยที่จะสนใจเรื่องปืน อาวุธ เป็นต้น

ในที่สาธารณะ เราต้องเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ ซึ่งมีเรื่องทีก็ถึงมีพูดกันที เดี๋ยวไม่นานก็เงียบอีก
คนก็ลืมๆ ไป ในบางองค์กรจะฝึกซ้อมกันเป็นประจำปี เรื่องไฟไหม้ เรื่องการก่อเหตุ ซึ่งช่วยได้เยอะ

สรุปเราต้องฝึกตัวเองให้รู้วิธีรอดค่ะ เพราะเชื่อว่านี่จะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย และเราอาจจะเป็นคนที่อยู่ในเหตุการณ์พอดีก็ได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่