พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

ในขณะที่ “ศรีเทพ” จังหวัดเพชรบูรณ์ กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันมากในช่วงนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เมืองโบราณศรีเทพได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา

จังหวัดนครปฐมถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุในช่วงวัฒนธรรมเดียวกันกับเมืองโบราณศรีเทพ ซึ่งตรงกับสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12 - 16

วันนี้จึงถือโอกาสเดินทางมาชมความงามของโบราณวัตถุที่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม




ประวัติความเป็นมา
   ความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ เริ่มต้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวที่มีการย้ายเมืองนครชัยศรีจากตำบลท่านา มายังบริเวณพระปฐมเจดีย์ โดยสมเด็จพระพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มีพระดำริให้ทำการรวบรวมโบราณวัตถุในเมืองนครชัยศรี

   โบราณวัตถุที่รวบรวมได้ในระยะแรก ได้ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่ระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมาได้เคลื่อนย้ายไปไว้ในวิหารตรงข้ามพระอุโบสถ พ.ศ. 2454 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดประทานชื่อวิหารหลังนี้ว่า “พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน”

พ.ศ. 2477
   กรมศิลปากรรับเป็นสาขาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต่อมาประกาศใช้ในพระราชบัญญัติ โบราณสถาณ โบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ให้พิพิธภัณฑสถานในความดูแลของกรมศิลปากรเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์”

พ.ศ. 2510
   กรมศิลปากรได้รับงบประมาณก่อสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลังปัจจุบัน จึงเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุจากอาคารเดิมมาจัดแสดง และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ตุลาคม 2514 ใช้ชื่ออาคารหลังใหม่นี้ว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์”

พ.ศ. 2564
   กรมศิลปากรได้รับงบประมาณดำเนินการปรับปรุงการแสดงนิทรรศการถาวรภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ และเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2564

การจัดแสดงนิทรรศการถาวรในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นการนำเสนอเนื้อหาทางประวัติศาสตร์และพัฒนาการของนครปฐมที่สอดคล้องกับโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วงวัฒนธรรมทวารวดี  (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16 ) แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงดังนี้

   1. เรื่องราวของนครปฐมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยทวารวดี ผ่านโบราณวัตถุ และการเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์จากจารึกสำคัญที่ค้นพบในเมืองนครปฐม และแนะนำสภาพภูมิศาสตร์ของนครปฐม โดยสังเขป

   2. ศาสนาและความเชื่อของชุมชนทวารวดีในนครปฐมจากหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบในบริเวณเมืองโบราณนครปฐม

   3. ความเจริญรุ่งเรืองของนครปฐมหลังจากวัฒนธรรมทวารวดีเสื่อมลงจนกระทั่งถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

โบราณวัตถุชิ้นสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ประกอบไปด้วย จารึกวัดพระงาม พระพุทธรูปยืน ประติมากรรมประดับศาสนสถาน พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี ธรรมจักร และอื่นๆอีกมากมายซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่อยู่ในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 - 16

ค่าเข้าชม
ชาวไทย 20 บาท

วันเวลาให้บริการ
วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น.

ข้อมูลจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ โดย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

พิกัด: https://maps.app.goo.gl/A46XFaiBnh3A7z7u8?g_st=ic

บันทึกความทรงจำ

วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2566
30 September 2023

ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีเถาะ
โสรวาร(ส) ภัทรปทมาส เบญจศก จ.ศ. 1385 , ค.ศ. 2023 , ม.ศ. 1945 , ร.ศ. 242
สุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน , จันทรคติ เป็น อธิกมาส ปกติวาร

TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
เที่ยววัดไทย เที่ยวชมวัด และสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองไทย

#ทวารวดี
#พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
#พระปฐมเจดีย์
#พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์
#จังหวัดนครปฐม
#TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
https://www.facebook.com/teawwatthai.travel
https://www.instagram.com/teawwatthai.travel
https://ppantip.com/profile/878726#topics
https://www.youtube.com/@teawwatthai
https://www.tiktok.com/@teawwatthai

























































แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่