JJNY : “หมออ๋อง”บอกทำงานร่วมกันได้ดี│"ปดิพัทธ์"ย้ำไร้เงื่อนงำการเมือง│“เวิลด์แบงก์” ชี้จุดอ่อน│สหรัฐเตรียมรับมือชัตดาวน์

“วันนอร์” ไม่มีอะไรฝากถึง “หมออ๋อง” บอกทำงานร่วมกันได้ดี
 

“วันนอร์” ไม่มีอะไรฝากถึง”หมออ๋อง” บอกทำงานร่วมกันได้ดี ชี้ ถูกขับออก ยังเป็น ส.ส.สามารถหาพรรคใหม่สังกัดได้ ตามกรอบเวลา
 
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงสถานะของนายปดิพัทธ์ หากถูกขับออกจากพรรคว่า นายปดิพัทธ์ยังคงเป็น สส.อยู่ และต้องหาพรรคสังกัด ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังคงปฏิบัติหน้าที่รองประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ได้มีปัญหาอะไร
 
ส่วนจะฝากอะไรถึงนายปดิพัทธ์หรือไม่นั้น นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ไม่มีอะไร เพราะนายปดิพัทธ์ ยังสามารถทำงานกับตนได้ด้วยดีตลอด เพราะทั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นกลาง ไม่จำเป็นต้องเป็นพรรครัฐบาลหรือฝ่ายค้าน


 
"ปดิพัทธ์" แถลงย้ำไร้เงื่อนงำการเมือง หลังแจ้ง "ก.ก." ขอทำหน้าที่รองปธ.สภาฯต่อ บอกสส.รบ.ให้กำลังใจทุกคน อุบชื่อพรรคใหม่ บอกยังมีเวลา
https://siamrath.co.th/n/481008

วันที่ 29 ก.บ.2566 เวลา 10.00 น.นายปดิพัทธ์ ส้นติภาดา สส.พิษณุโลก และรองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง แถลงว่า ตนน้อมรับมติพรรคก้าวไกลที่ขับให้ตนออกจากสมาชิกพรรค ซึ่งในการพูดคุยกับแกนนำ ได้คุยในแนวทางต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งตนได้แจ้งความจำนงไปยังพรรคก้าวไกล ว่าต้องการขับเคลื่อนงานในฐานะรองประธานสภาฯ หากจะให้ลาออกจากตำแหน่งจะกระทบต่อการขับเคลื่อนงานและวาระที่ให้คำมั่นไว้กับประชาชนและสภาฯ ดังนั้นตนจึงยื่นความจำนงที่จะทำหน้าที่ต่อ แทนการเลือกลาออก  อย่างไรก็ดีการถูกขับออกมีผลกระทบต่อความรู้สึก แต่ในทางพฤตินัยตนไม่เกี่ยวข้องกับพรรคก้าวไกลตั้งแต่รับตำแหน่งรองประธานสภาฯแล้ว ส่วนในการเลือกตั้งครั้งหน้าตนจะกลับไปสังกัดพรรคก้าวไกลเพื่อลงเลือกตั้งหรือไม่ ขอพิจารณาอีกครั้ง เบื้องต้นมองว่ายังมีเวลาอีกนาน ดังนั้นขอพูดประเด็นปัจจุบันเท่านั้น
 
"การเปลี่ยนต้นสังกัดของผม จะไม่กระทบต่อแผนงานและการทำงานรองประธานสภาฯ ผมยังได้สอบถามกับประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก เขต 1 และทั่วประเทศคร่าวๆ ยืนยันการทำหน้าที่รองประธานสภาฯ เป็นประโยชน์ต่อการดูแลทุกข์สุขของคนพิษณุโลกเหมือนเดิม ส่วนพรรคก้าวไกลผมมั่นใจว่ามีบุคลากรที่จะดูแลคนพิษณุโลกได้ต่อ แต่การทำงานใดๆ ในฐานะพรรคก้าวไกลต้องตัดสินใจในพื้นที่ของจ.พิษณุโลก เขต1 ส่วนผู้ปฏิบัติงานของผมในสภาฯ และในพื้นที่ปัจจุบันสังกัดพรรคก้าวไกลต้องปฏิบัติตัวอย่างไรนั้น ผมขอศึกษาข้อกฎหมายอีกครั้ง" นายปดิพัทธ์ กล่าว
 
นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ได้หารือกับพรรคเป็นธรรม และพรรคไทยสร้างไทย อย่างไม่เป็นทางการ แต่ยังไม่มีข้อสรุป เพราะยังมีเวลาหาสังกัดพรรคใหม่ 30 วันตามกฎหมาย วันนี้เพิ่งวันแรก ดังนั้นตนขอกลับไปอยู่กับครอบครัวและพื้นที่ สำหรับพรรคที่ตนจะเลือกสังกัดนั้น ยืนยันต้องเป็นพรรคการเมืองที่มีอุดการณ์เดียวกัน ไม่สามารถข้ามขั้วได้
 
เมื่อถามว่ากรณีที่เลือกแนวทางดังกล่าวเป็นทฤษฎีสมคบคิด  นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า “เป็นสิทธิที่จะวิจารณ์ได้ การขับออกครั้งนี้ ผมเชื่อว่าเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก และรอบคอบ ไม่ใช่สมคบคิดเพื่อประโยชน์ใคร แต่เป็นทางออกคือทางที่ดี ซึ่งการพูดคุยกับพรรคก้าวไกล ยืนยันไม่มีเงื่อนงำใดๆ พูดกันแบบตรงไปตรงมาด้วยเหตุผลการทำงาน  และหลังจากนี้ขอให้อนาคตเป็นบทพิสูจน์ ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่าพรรคก้าวไกลเล่นการเมืองแบบเก่า ไม่ใช่สร้างการเมืองใหม่นั้น ตนขอให้ไปถามพรรคก้าวไกลเอง ตนตอบแทนพรรคไม่ได้
 
เมื่อถามว่ากรณีที่ถูกพรรคก้าวไกลขับออกและต้องหาสังกัดใหม่ กังวลว่าจะไม่ได้รับการยอมรับในสภาฯ ฐานะรองประธานสภาฯ หรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ไม่กังวล เพราะที่ผ่านมาพรรคชนะอันดับหนึ่งไม่ได้เป็นฝ่ายบริหาร หรือได้ประธานสภา ถือเป็นเค้าลางของความไม่ปกติพอสมควร ดังนั้นตนมมองว่าหากสิ่งใดที่เป็นไปตามหลักการทุกคนต้องปฏิบัติตามไม่มีเกมการเมืองใดๆ

เมื่อถามว่ามีการกดดันจากสส.รัฐบาลหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า "มีแต่ให้กำลังใจให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ดี"
 
เมื่อถามว่าขณะนี้ถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคก้าวไกล เหมือนที่มีการกล่าวหาว่านายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า "แบบนี้จะไม่เป็นธรรมกับพรรคอื่นที่มีผู้นำ มีศักดิ์ศรีได้"
 
ทั้งนี้ภายหลังการแถลงผู้สื่อข่าวถามว่าจะติดใจหรือไม่หากพรรคก้าวไกลส่งคนไปดูแลพื้นที่พิษณุโลกเขต1 แทน นายปดิพัทธ์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามระบุว่า “ไม่ให้สัมภาษณ์แล้วนะครับ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าแม้นายปดิพัทธ์ จะแถลงที่รัฐสภาว่าน้อมรับมติพรรคก้าวไกลที่ขับออกจากสมาชิกพรรค และกลายเป็น สส.พิษณุโลก ไร้สังกัด แต่พบว่านายปดิพัทธ์ยังได้ติดบัตรประจำตัว สส.พิษณุโลก ในสังกัดพรรคก้าวไกลในช่วงการแถลงข่าวด้วย


  
“เวิลด์แบงก์” ชี้จุดอ่อนทางการศึกษา ทำคนเคลื่อนไม่ทันพลวัตเศรษฐกิจ
https://www.bangkokbiznews.com/environment/1090890

“เอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ยังคงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เติบโตเร็ว และมีพลวัตมากที่สุดในโลก” มานูเอลา วี.เฟอร์โร รองประธานธนาคารโลกเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าว
 
 พร้อมระบุว่า “การคงรักษาพลวัตนี้ไว้ และการช่วยให้เด็กๆ ในปัจจุบันมีงานทำ และมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จึงจำเป็นต้องให้เด็กได้รับการสอนที่มีคุณภาพสูง
 
การศึกษา” คือ เครื่องมือพัฒนาคนที่ต้องสอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ถ้าการศึกษายังมีจุดอ่อนการพัฒนาก็จะไม่สมบูรณ์แบบ
รายงานเรื่อง Fixing the Foundation: Teachers and Basic Education in East Asia and Pacific ของ ธนาคารโลกระบุว่า แม้จะมีจำนวนเด็กที่เข้าศึกษาในโรงเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย แต่ปรากฏว่ามีเด็กในบางประเทศหรือบางพื้นที่ของบางประเทศยังคงไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอีกทั้งพบว่าคุณภาพของการศึกษาในเขตพื้นที่ชนบท และพื้นที่ที่มีความยากจนของประเทศ ด้อยกว่าพื้นที่ในเขตเมือง และเขตที่มีผู้มีรายได้สูงอาศัยอยู่อย่างมาก
 
นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่าใน 14 ประเทศจากทั้งหมด 22 ประเทศ รวมถึงอินโดนีเซีย,เมียนมา,กัมพูชา,ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีภาวะความยากจนทางการเรียนรู้(กำหนดโดยพิจารณาจากเด็กอายุ 10 ปี ที่สามารถอ่าน และเข้าใจเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยได้)คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50%
 
สำหรับประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง เช่น มาเลเซีย มีภาวะความยากจนทางการเรียนรู้ที่สูงกว่า 40%ในทางตรงกันข้าม ญี่ปุ่น,สิงคโปร์ และสาธารณรัฐเกาหลี มีภาวะความยากจนทางการเรียนรู้อยู่ที่ 3-4%
 
ความล้มเหลวในการเตรียมทักษะพื้นฐานให้กับนักเรียน ทำให้เด็กไม่สามารถพัฒนาต่อยอดทักษะขั้นสูงที่จำเป็นสำหรับนวัตกรรมการผลิต และบริการที่ซับซ้อน รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ส่งเสริมความสามารถในการผลิต
 
รายงานระบุถึง “ครู” ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาของเด็กแต่พบว่า หลายประเทศในภูมิภาค ครูมักมีความรู้ในสาขาวิชาของตนที่จำกัดใน สปป.ลาวมีเพียง 8% ของครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่านั้น ที่ทำคะแนนแบบประเมินวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ 80% หรือสูงกว่า ในทำนองเดียวกัน ประเทศอินโดนีเซียมีครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพียง 8% เท่านั้นที่ทำคะแนนได้ 80% หรือสูงกว่าจากการประเมินทักษะ
 
รายงานจึงแนะนำให้มุ่งเน้นที่การเสริมสร้างศักยภาพของครู แม้ว่าจะมีข้อมูลแสดงให้เห็นว่าในแต่ละปีมีการฝึกอบรมครูในภูมิภาคนี้เป็นสัดส่วนค่อนข้างสูงแต่ข้อมูลใหม่จากการสำรวจในกัมพูชา,ฟิจิ,สปป.ลาว,มองโกเลีย,ฟิลิปปินส์,ไทย,ติมอร์-เลสเต,ตองกา และเวียดนาม ระบุว่า โครงการฝึกอบรมเหล่านั้นไม่ได้ใช้แนวทางที่ช่วยปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียนแต่อย่างใด เช่น ในบรรดาประเทศที่ทำการสำรวจ โครงการฝึกอบรมนี้ได้มุ่งเน้นไปที่เนื้อหาวิชาเพียง 14% ของโครงการเทียบกับ 81% ของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียนทั่วโลก
 
เพื่อให้โครงการอบรมมีประสิทธิผลการฝึกอบรมควรส่งเสริมความรู้ในวิชาต่างๆ โดยเปิดโอกาสให้มีการฝึกฝนความรู้ใหม่ๆ ในหมู่ครูการติดตามผลการฝึกสอน และการให้คำปรึกษาตลอดจนจัดให้มีสิ่งจูงใจทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเลื่อนตำแหน่งหรือเงินเดือน นอกจากนี้ควรมีการมอบรางวัลตอบแทนให้ครูที่สามารถรักษาคุณภาพการสอนได้อย่างสม่ำเสมอ
 
เทคโนโลยีการศึกษา(EdTech) มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงการเรียน การสอนสำหรับนักเรียน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการที่นักเรียนหรือครูสามารถเข้าถึงบทเรียนที่มีการบันทึกวิดีโอไว้ล่วงหน้าจากครูที่มีคุณภาพสูง มีส่วนทำให้คะแนนของนักเรียนสูงขึ้น และช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการสอนของครูคนอื่นด้วย อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีการศึกษาจะได้ผลดีที่สุดเมื่อใช้กับครูที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว
 
รายงานยังระบุอีกว่า การที่ผู้กำหนดนโยบายให้การสนับสนุน และมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงผลลัพธ์ของการเรียนรู้นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่มุ่งหวังนอกจากนี้การพิจารณานำมาตรการที่ประสบความสำเร็จมาใช้ในการยกระดับคุณภาพการสอน และปรับปรุงการเรียนรู้ของนักเรียนรวมถึงการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ และการใช้เทคโนโลยีการศึกษานั้นจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และต้องมีการจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติม
 
การแก้ปัญหาภาวะความยากจนทางการเรียนรู้จะทำให้อนาคตของเด็กรุ่นหลังสดใสขึ้น อีกทั้งส่งเสริมให้เศรษฐกิจของภูมิภาคดียิ่งขึ้น ดังนั้น การแก้ไขรากฐานทางการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการปฏิรูป และทรัพยากรต่างๆ ตลอดจนความร่วมมือจากทุกฝ่าย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่