มันเรื่องปกติๆ พรรคเพื่อไทย เดือดร้อน อะไร?
29 ก.บ.2566 เวลา 10.00 น.นายปดิพัทธ์ ส้นติภาดา สส.พิษณุโลก และรองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง แถลงว่า ตนน้อมรับมติพรรคก้าวไกลที่ขับให้ตนออกจากสมาชิกพรรค
ซึ่งในการพูดคุยกับแกนนำ ได้คุยในแนวทางต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งตนได้แจ้งความจำนงไปยังพรรคก้าวไกล ว่าต้องการขับเคลื่อนงานในฐานะรองประธานสภาฯ หากจะให้ลาออกจากตำแหน่งจะกระทบต่อการขับเคลื่อนงานและวาระที่ให้คำมั่นไว้กับประชาชนและสภาฯ ดังนั้นตนจึงยื่นความจำนงที่จะทำหน้าที่ต่อ แทนการเลือกลาออก
อย่างไรก็ดีการถูกขับออกมีผลกระทบต่อความรู้สึก แต่ในทางพฤตินัยตนไม่เกี่ยวข้องกับพรรคก้าวไกลตั้งแต่รับตำแหน่งรองประธานสภาฯแล้ว
ส่วนในการเลือกตั้งครั้งหน้าตนจะกลับไปสังกัดพรรคก้าวไกลเพื่อลงเลือกตั้งหรือไม่ ขอพิจารณาอีกครั้ง เบื้องต้นมองว่ายังมีเวลาอีกนาน ดังนั้นขอพูดประเด็นปัจจุบันเท่านั้น
"การเปลี่ยนต้นสังกัดของผม จะไม่กระทบต่อแผนงานและการทำงานรองประธานสภาฯ ผมยังได้สอบถามกับประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก เขต 1 และทั่วประเทศคร่าวๆ
ยืนยันการทำหน้าที่รองประธานสภาฯ เป็นประโยชน์ต่อการดูแลทุกข์สุขของคนพิษณุโลกเหมือนเดิม ส่วนพรรคก้าวไกลผมมั่นใจว่ามีบุคลากรที่จะดูแลคนพิษณุโลกได้ต่อ
แต่การทำงานใดๆ ในฐานะพรรคก้าวไกลต้องตัดสินใจในพื้นที่ของจ.พิษณุโลก เขต1 ส่วนผู้ปฏิบัติงานของผมในสภาฯ และในพื้นที่ปัจจุบันสังกัดพรรคก้าวไกลต้องปฏิบัติตัวอย่างไรนั้น ผมขอศึกษาข้อกฎหมายอีกครั้ง" นายปดิพัทธ์ กล่าว
นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ได้หารือกับพรรคเป็นธรรม และพรรคไทยสร้างไทย อย่างไม่เป็นทางการ แต่ยังไม่มีข้อสรุป เพราะยังมีเวลาหาสังกัดพรรคใหม่ 30 วันตามกฎหมาย
วันนี้เพิ่งวันแรก ดังนั้นตนขอกลับไปอยู่กับครอบครัวและพื้นที่ สำหรับพรรคที่ตนจะเลือกสังกัดนั้น ยืนยันต้องเป็นพรรคการเมืองที่มีอุดการณ์เดียวกัน ไม่สามารถข้ามขั้วได้
เมื่อถามว่ากรณีที่เลือกแนวทางดังกล่าวเป็นทฤษฎีสมคบคิด นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า “เป็นสิทธิที่จะวิจารณ์ได้ การขับออกครั้งนี้ ผมเชื่อว่าเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก และรอบคอบ ไม่ใช่สมคบคิดเพื่อประโยชน์ใคร แต่เป็นทางออกคือทางที่ดี ซึ่งการพูดคุยกับพรรคก้าวไกล ยืนยันไม่มีเงื่อนงำใดๆ พูดกันแบบตรงไปตรงมาด้วยเหตุผลการทำงาน และหลังจากนี้ขอให้อนาคตเป็นบทพิสูจน์ ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่าพรรคก้าวไกลเล่นการเมืองแบบเก่า ไม่ใช่สร้างการเมืองใหม่นั้น ตนขอให้ไปถามพรรคก้าวไกลเอง ตนตอบแทนพรรคไม่ได้
เมื่อถามว่ากรณีที่ถูกพรรคก้าวไกลขับออกและต้องหาสังกัดใหม่ กังวลว่าจะไม่ได้รับการยอมรับในสภาฯ ฐานะรองประธานสภาฯ หรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ไม่กังวล เพราะที่ผ่านมาพรรคชนะอันดับหนึ่งไม่ได้เป็นฝ่ายบริหาร หรือได้ประธานสภา ถือเป็นเค้าลางของความไม่ปกติพอสมควร ดังนั้นตนมมองว่าหากสิ่งใดที่เป็นไปตามหลักการทุกคนต้องปฏิบัติตามไม่มีเกมการเมืองใดๆ
เมื่อถามว่ามีการกดดันจากสส.รัฐบาลหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า "มีแต่ให้กำลังใจให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ดี"
เมื่อถามว่าขณะนี้ถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคก้าวไกล เหมือนที่มีการกล่าวหาว่านายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า "แบบนี้จะไม่เป็นธรรมกับพรรคอื่นที่มีผู้นำ มีศักดิ์ศรีได้"
ทั้งนี้ภายหลังการแถลงผู้สื่อข่าวถามว่าจะติดใจหรือไม่หากพรรคก้าวไกลส่งคนไปดูแลพื้นที่พิษณุโลกเขต1 แทน นายปดิพัทธ์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามระบุว่า “ไม่ให้สัมภาษณ์แล้วนะครับ”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าแม้นายปดิพัทธ์ จะแถลงที่รัฐสภาว่าน้อมรับมติพรรคก้าวไกลที่ขับออกจากสมาชิกพรรค และกลายเป็น สส.พิษณุโลก ไร้สังกัด
ประธานฯ วันนอร์ ไม่ได้ว่าอะไรเลย เรื่องหมออ๋อง แล้ว พรรคเพื่อไทย + กองเชียร์เพื่อไทย จะไปเดือดร้อนทำไม?
29 ก.บ.2566 เวลา 10.00 น.นายปดิพัทธ์ ส้นติภาดา สส.พิษณุโลก และรองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง แถลงว่า ตนน้อมรับมติพรรคก้าวไกลที่ขับให้ตนออกจากสมาชิกพรรค
ซึ่งในการพูดคุยกับแกนนำ ได้คุยในแนวทางต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งตนได้แจ้งความจำนงไปยังพรรคก้าวไกล ว่าต้องการขับเคลื่อนงานในฐานะรองประธานสภาฯ หากจะให้ลาออกจากตำแหน่งจะกระทบต่อการขับเคลื่อนงานและวาระที่ให้คำมั่นไว้กับประชาชนและสภาฯ ดังนั้นตนจึงยื่นความจำนงที่จะทำหน้าที่ต่อ แทนการเลือกลาออก
อย่างไรก็ดีการถูกขับออกมีผลกระทบต่อความรู้สึก แต่ในทางพฤตินัยตนไม่เกี่ยวข้องกับพรรคก้าวไกลตั้งแต่รับตำแหน่งรองประธานสภาฯแล้ว
ส่วนในการเลือกตั้งครั้งหน้าตนจะกลับไปสังกัดพรรคก้าวไกลเพื่อลงเลือกตั้งหรือไม่ ขอพิจารณาอีกครั้ง เบื้องต้นมองว่ายังมีเวลาอีกนาน ดังนั้นขอพูดประเด็นปัจจุบันเท่านั้น
"การเปลี่ยนต้นสังกัดของผม จะไม่กระทบต่อแผนงานและการทำงานรองประธานสภาฯ ผมยังได้สอบถามกับประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก เขต 1 และทั่วประเทศคร่าวๆ
ยืนยันการทำหน้าที่รองประธานสภาฯ เป็นประโยชน์ต่อการดูแลทุกข์สุขของคนพิษณุโลกเหมือนเดิม ส่วนพรรคก้าวไกลผมมั่นใจว่ามีบุคลากรที่จะดูแลคนพิษณุโลกได้ต่อ
แต่การทำงานใดๆ ในฐานะพรรคก้าวไกลต้องตัดสินใจในพื้นที่ของจ.พิษณุโลก เขต1 ส่วนผู้ปฏิบัติงานของผมในสภาฯ และในพื้นที่ปัจจุบันสังกัดพรรคก้าวไกลต้องปฏิบัติตัวอย่างไรนั้น ผมขอศึกษาข้อกฎหมายอีกครั้ง" นายปดิพัทธ์ กล่าว
นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ได้หารือกับพรรคเป็นธรรม และพรรคไทยสร้างไทย อย่างไม่เป็นทางการ แต่ยังไม่มีข้อสรุป เพราะยังมีเวลาหาสังกัดพรรคใหม่ 30 วันตามกฎหมาย
วันนี้เพิ่งวันแรก ดังนั้นตนขอกลับไปอยู่กับครอบครัวและพื้นที่ สำหรับพรรคที่ตนจะเลือกสังกัดนั้น ยืนยันต้องเป็นพรรคการเมืองที่มีอุดการณ์เดียวกัน ไม่สามารถข้ามขั้วได้
เมื่อถามว่ากรณีที่เลือกแนวทางดังกล่าวเป็นทฤษฎีสมคบคิด นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า “เป็นสิทธิที่จะวิจารณ์ได้ การขับออกครั้งนี้ ผมเชื่อว่าเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก และรอบคอบ ไม่ใช่สมคบคิดเพื่อประโยชน์ใคร แต่เป็นทางออกคือทางที่ดี ซึ่งการพูดคุยกับพรรคก้าวไกล ยืนยันไม่มีเงื่อนงำใดๆ พูดกันแบบตรงไปตรงมาด้วยเหตุผลการทำงาน และหลังจากนี้ขอให้อนาคตเป็นบทพิสูจน์ ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่าพรรคก้าวไกลเล่นการเมืองแบบเก่า ไม่ใช่สร้างการเมืองใหม่นั้น ตนขอให้ไปถามพรรคก้าวไกลเอง ตนตอบแทนพรรคไม่ได้
เมื่อถามว่ากรณีที่ถูกพรรคก้าวไกลขับออกและต้องหาสังกัดใหม่ กังวลว่าจะไม่ได้รับการยอมรับในสภาฯ ฐานะรองประธานสภาฯ หรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ไม่กังวล เพราะที่ผ่านมาพรรคชนะอันดับหนึ่งไม่ได้เป็นฝ่ายบริหาร หรือได้ประธานสภา ถือเป็นเค้าลางของความไม่ปกติพอสมควร ดังนั้นตนมมองว่าหากสิ่งใดที่เป็นไปตามหลักการทุกคนต้องปฏิบัติตามไม่มีเกมการเมืองใดๆ
เมื่อถามว่ามีการกดดันจากสส.รัฐบาลหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า "มีแต่ให้กำลังใจให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ดี"
เมื่อถามว่าขณะนี้ถูกมองว่าเป็นนอมินีของพรรคก้าวไกล เหมือนที่มีการกล่าวหาว่านายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นนอมินีของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า "แบบนี้จะไม่เป็นธรรมกับพรรคอื่นที่มีผู้นำ มีศักดิ์ศรีได้"
ทั้งนี้ภายหลังการแถลงผู้สื่อข่าวถามว่าจะติดใจหรือไม่หากพรรคก้าวไกลส่งคนไปดูแลพื้นที่พิษณุโลกเขต1 แทน นายปดิพัทธ์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามระบุว่า “ไม่ให้สัมภาษณ์แล้วนะครับ”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าแม้นายปดิพัทธ์ จะแถลงที่รัฐสภาว่าน้อมรับมติพรรคก้าวไกลที่ขับออกจากสมาชิกพรรค และกลายเป็น สส.พิษณุโลก ไร้สังกัด