ประเด็น "วัดนาป่าพง ขาดความรู้เรื่องอรรถกถาจริงๆ"
จากภาพสองภาพนี้ ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจวัดนาป่าพงชัดเจนทั้งเจ้าสำนักคือพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และสาวกของพระคึกฤทธิ์ ถึงแนวคิดการตัดและทำลายอรรถกถา ไม่ต้องการให้มีอรรถกถา ไม่ต้องการให้คนพุทธศึกษาอรรถกถา เพราะเขาเหล่านี้ พบการบรรยายในรสวรรณคดีที่พิลึกพิลั่น มหัศจรรย์พันลึกของอรรถกถา
สิ่งเหล่านี้ เคยเกิดขึ้นกับข้าพเจ้า เมื่อครั้งข้าพเจ้าศึกษาพระไตรปิฎกหลายปีมาแล้ว และอ่านพบเรื่องราวเหล่านี้ในอรรถกถา เช่น สัตว์พูดกัน ข้าพเจ้าถูกสอนมาให้พิสูจน์ความจริงด้วยวิชานิติศาสตร์ ทำให้ข้าพเจ้าตั้งข้อสงสัยว่า คนไปฟังสัตว์พูดกันได้ด้วยหรือ และพบอีกหลายประการที่ปรากฏในอรรถกถาอย่างเรื่องสองเรื่องตามภาพนี้ที่สาวกวัดนาป่าพงนำมาแสดงข้าพเจ้าก็เคยจับผิดมาแล้ว
แต่นิสัยของข้าพเจ้าไม่ใช่คนปิดใจหรือตัดสินอะไรง่ายๆ ข้าพเจ้าจึงศึกษาต่อไป จนพบกับสิ่งที่อรรถกถาบรรยายและวิทยาศาสตร์พิสูจน์มาแล้ว นั่นคือ ปุ่มรับรสของลิ้นที่อรรถกถาบรรยายว่ามีสัณฐานคล้ายดอกบัว และอีกหลายๆ เรื่อง ที่วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้พิสูจน์แล้ว (ข้าพเจ้าจะนำเสนอในบทความต่อๆ ไป ซึ่งจะนำภาพสมองมนุษย์และหัวใจและคำอธิบายของอรรถกถามาแสดง โดยเฉพาะหัวใจ อรรถกถาอธิบายลักษณะว่าเมล็ดบุนนาค SA node อยากชมติดตามต่อไป)
ชื่อว่าชิวหา ด้วยอรรถว่าลิ้มรส. ชิวหานั้นให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวาร ตามควรแก่ชิวหาวิญญาณเป็นต้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังปลายกลีบดอกอุบลที่ทะลุตรงกลางใบข้างบน เว้นปลายสุด โคนและข้างๆ แห่งสสัมภารชิวหา.
อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ รูปกัณฑ์ รูปวิภัตติ เอกกนิเทศ
ทางการแพทย์เพิ่งเห็นเมื่อมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ แต่สิ่งเหล่านี้ พระพุทธเจ้าเห็นมาสองพันกว่าปีแล้ว และยังคงสืบทอดมาโดยพระไตรปิฏกและอรรถกถา วิวัฒนาการทางการแพทย์และการวิจัย ไม่ได้ทำเพื่อจับผิดพระพุทธเจ้าและพระอรรถกถา แต่ทำเพื่อบอกว่า สิ่งที่พระพุทธองค์ตรัส วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ แม้ไม่ทั้งหมด เช่นเรื่องฌานวิสัย กรรม แต่สิ่งที่เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ ได้ทำการพิสูจน์เพื่อยืนยันพุทธพจน์ และทำความตั้งมั่นในพระพุทธองค์ของพุทธศาสนิกชนให้คงอยู่ และหยั่งลงมั่นยิ่งๆ ขึ้น
เมื่อข้าพเจ้าได้พบหลักฐานเช่นนี้ ทำให้ข้าพเจ้าคิดว่า อรรถกถามีหลายชั้น หลายสมัย การปฏิเสธอรรถกถาชั้นหลัง จะกลายเป็นว่าทำให้เราปิดใจ ปฏิเสธอรรถกถาที่สืบทอดมาแต่โบราณ (โปราณอรรถกถา) เสียทั้งหมด เลยไม่แยกแยะ ทำให้เราเสียโอกาสที่จะได้ศึกษาหาความรู้ ตำราที่เราศึกษาทั้งหมดนี้ แม้แต่พระไตรปิฎก “ล้วนเป็นไปเพื่อความรู้ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความจริง” เราไม่สามารถหาความจริงจากสิ่งที่เราไม่ได้เห็นด้วยตา ไม่ได้รู้ด้วยผัสสะของตนเองได้เลย เราจึงได้แต่ “ศึกษาหาความรู้” เท่านั้น รู้มากก็ทำให้เข้าใจอะไรได้มาก ความยึดมั่นถือมั่นก็น้อยลง
จากแนวคิดที่สาวกวัดนาป่าพงล้วนได้รับการบอกสอนจากพระคึกฤทธิ์มา จึงทำหน้าที่จับผิดสำนวนอรรถกถา แล้วเหมาเอาว่า เรื่องพวกนี้ไม่ใช่ความจริง เป็นไปไม่ได้
แสดงให้เห็นว่า สาวกวัดนาไม่รู้จักใช้ปัญญาในการเลือกฟังหรือหาสาระในอรรถกถา
พอเห็นอะไรที่มีความเป็นไปไม่ได้ จึงชี้เลยว่า ต้องทิ้งทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการขาดการแยกแยะและยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้จักเลือกในสิ่งที่เป็นสาระและไม่ใช่สาระ สิ่งที่เป็นสาระควรน้อมนำมาใส่ใจ สิ่งที่ไม่เป็นสาระควรแค่รู้ไว้ เจ้าสำนักและสาวกวัดนาป่าพง ไม่สามารถแยกแยะพิจารณาแบบนี้ได้เลย
ปูนฉาบแตกลายงาเพียงนิดเดียว จำเป็นหรือต้องทุบบ้านทิ้งทั้งหลัง?
ทำไมไม่หันกับไปถามพระคึกบ้างว่า เสาอโศกต้นไหนบันทึกพุทธวจนะถ้าตอบไม่ได้ ปิดสำนักไปเลย
แหล่งข้อมูล :
http://watnaprapong.blogspot.com/2014/12/blog-post.html?m=1
ประเด็น "วัดนาป่าพง ขาดความรู้เรื่องอรรถกถาจริงๆ"
จากภาพสองภาพนี้ ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจวัดนาป่าพงชัดเจนทั้งเจ้าสำนักคือพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และสาวกของพระคึกฤทธิ์ ถึงแนวคิดการตัดและทำลายอรรถกถา ไม่ต้องการให้มีอรรถกถา ไม่ต้องการให้คนพุทธศึกษาอรรถกถา เพราะเขาเหล่านี้ พบการบรรยายในรสวรรณคดีที่พิลึกพิลั่น มหัศจรรย์พันลึกของอรรถกถา
สิ่งเหล่านี้ เคยเกิดขึ้นกับข้าพเจ้า เมื่อครั้งข้าพเจ้าศึกษาพระไตรปิฎกหลายปีมาแล้ว และอ่านพบเรื่องราวเหล่านี้ในอรรถกถา เช่น สัตว์พูดกัน ข้าพเจ้าถูกสอนมาให้พิสูจน์ความจริงด้วยวิชานิติศาสตร์ ทำให้ข้าพเจ้าตั้งข้อสงสัยว่า คนไปฟังสัตว์พูดกันได้ด้วยหรือ และพบอีกหลายประการที่ปรากฏในอรรถกถาอย่างเรื่องสองเรื่องตามภาพนี้ที่สาวกวัดนาป่าพงนำมาแสดงข้าพเจ้าก็เคยจับผิดมาแล้ว
แต่นิสัยของข้าพเจ้าไม่ใช่คนปิดใจหรือตัดสินอะไรง่ายๆ ข้าพเจ้าจึงศึกษาต่อไป จนพบกับสิ่งที่อรรถกถาบรรยายและวิทยาศาสตร์พิสูจน์มาแล้ว นั่นคือ ปุ่มรับรสของลิ้นที่อรรถกถาบรรยายว่ามีสัณฐานคล้ายดอกบัว และอีกหลายๆ เรื่อง ที่วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้พิสูจน์แล้ว (ข้าพเจ้าจะนำเสนอในบทความต่อๆ ไป ซึ่งจะนำภาพสมองมนุษย์และหัวใจและคำอธิบายของอรรถกถามาแสดง โดยเฉพาะหัวใจ อรรถกถาอธิบายลักษณะว่าเมล็ดบุนนาค SA node อยากชมติดตามต่อไป)
ชื่อว่าชิวหา ด้วยอรรถว่าลิ้มรส. ชิวหานั้นให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวาร ตามควรแก่ชิวหาวิญญาณเป็นต้น ตั้งอยู่ในประเทศมีสัณฐานดังปลายกลีบดอกอุบลที่ทะลุตรงกลางใบข้างบน เว้นปลายสุด โคนและข้างๆ แห่งสสัมภารชิวหา.
อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ รูปกัณฑ์ รูปวิภัตติ เอกกนิเทศ
ทางการแพทย์เพิ่งเห็นเมื่อมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ แต่สิ่งเหล่านี้ พระพุทธเจ้าเห็นมาสองพันกว่าปีแล้ว และยังคงสืบทอดมาโดยพระไตรปิฏกและอรรถกถา วิวัฒนาการทางการแพทย์และการวิจัย ไม่ได้ทำเพื่อจับผิดพระพุทธเจ้าและพระอรรถกถา แต่ทำเพื่อบอกว่า สิ่งที่พระพุทธองค์ตรัส วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ แม้ไม่ทั้งหมด เช่นเรื่องฌานวิสัย กรรม แต่สิ่งที่เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ ได้ทำการพิสูจน์เพื่อยืนยันพุทธพจน์ และทำความตั้งมั่นในพระพุทธองค์ของพุทธศาสนิกชนให้คงอยู่ และหยั่งลงมั่นยิ่งๆ ขึ้น
เมื่อข้าพเจ้าได้พบหลักฐานเช่นนี้ ทำให้ข้าพเจ้าคิดว่า อรรถกถามีหลายชั้น หลายสมัย การปฏิเสธอรรถกถาชั้นหลัง จะกลายเป็นว่าทำให้เราปิดใจ ปฏิเสธอรรถกถาที่สืบทอดมาแต่โบราณ (โปราณอรรถกถา) เสียทั้งหมด เลยไม่แยกแยะ ทำให้เราเสียโอกาสที่จะได้ศึกษาหาความรู้ ตำราที่เราศึกษาทั้งหมดนี้ แม้แต่พระไตรปิฎก “ล้วนเป็นไปเพื่อความรู้ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความจริง” เราไม่สามารถหาความจริงจากสิ่งที่เราไม่ได้เห็นด้วยตา ไม่ได้รู้ด้วยผัสสะของตนเองได้เลย เราจึงได้แต่ “ศึกษาหาความรู้” เท่านั้น รู้มากก็ทำให้เข้าใจอะไรได้มาก ความยึดมั่นถือมั่นก็น้อยลง
จากแนวคิดที่สาวกวัดนาป่าพงล้วนได้รับการบอกสอนจากพระคึกฤทธิ์มา จึงทำหน้าที่จับผิดสำนวนอรรถกถา แล้วเหมาเอาว่า เรื่องพวกนี้ไม่ใช่ความจริง เป็นไปไม่ได้
แสดงให้เห็นว่า สาวกวัดนาไม่รู้จักใช้ปัญญาในการเลือกฟังหรือหาสาระในอรรถกถา
พอเห็นอะไรที่มีความเป็นไปไม่ได้ จึงชี้เลยว่า ต้องทิ้งทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงการขาดการแยกแยะและยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้จักเลือกในสิ่งที่เป็นสาระและไม่ใช่สาระ สิ่งที่เป็นสาระควรน้อมนำมาใส่ใจ สิ่งที่ไม่เป็นสาระควรแค่รู้ไว้ เจ้าสำนักและสาวกวัดนาป่าพง ไม่สามารถแยกแยะพิจารณาแบบนี้ได้เลย
ปูนฉาบแตกลายงาเพียงนิดเดียว จำเป็นหรือต้องทุบบ้านทิ้งทั้งหลัง?
ทำไมไม่หันกับไปถามพระคึกบ้างว่า เสาอโศกต้นไหนบันทึกพุทธวจนะถ้าตอบไม่ได้ ปิดสำนักไปเลย
แหล่งข้อมูล : http://watnaprapong.blogspot.com/2014/12/blog-post.html?m=1