มัทสยา-6000 เรือดำน้ำลึกของอินเดีย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้นี่คือโฉมหน้าเรือดำน้ำสมุทรยาน รุ่นมัทสยา-6000 (หรือเทียบจากภาษาสันสกฤตก็คือ มัจฉา นั่นแหละครับ) เรือดำน้ำที่ออกแบบให้ดำน้ำได้ลึกถึง 6,000 เมตรโดยมีมนุษย์ควบคุม 3 คน ลำแรกของอินเดีย ฝีมือการออกแบบพัฒนาขององค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (Indian Space Research Organisation – ISRO) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีทางทะเลแห่งชาติ (National Institute of Ocean Technology – NIOT) เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2018 ด้วยงบประมาณของกระทรวงวิทยาศาสตร์โลก (Ministry of Earth Sciences) ถึง 4,058 ล้านบาท (8 พันล้านรูปีในปี 2018 เทียบเท่า 9.4 พันล้านรูปีในปี 2023) แพงกว่าภารกิจจันทรายาน-3 ที่ไปลงจอดดวงจันทร์เมื่อเดือนที่แล้วประมาณ 1ใน3 และมีการทดสอบยานที่ระดับความลึก 600 เมตรสำเร็จไปเมื่อปี 2021 ขั้นต่อไปจะมีการทดสอบดำน้ำลึก 6,000 เมตร
วัตถุประสงค์คือพัฒนาขีดความสามารถในการสำรวจทรัพยากรใต้ทะเลลึก เพราะประเทศอินเดียมีสิทธิในพื้นที่ใต้ทะเลถึง 75,000 ตารางกิโลเมตรจากจำนวนพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone) ถึง 2.3 ล้านตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ 75,000 ตารางกิโลเมตรนั้นได้รับการอนุมัติจากองค์การพื้นที่ใต้ทะเลนานาชาติ (International Seabed Authority –ISA) โดยมีเป้าหมายในการหาแร่ที่มีองค์ประกอบของธาตุมีค่าอย่างแมงกานีส นิกเกิล โคบอลต์ ทองแดง ซึ่งล้วนเป็นโลหะจำเป็นในอุตสาหกรรมอีเล็กโทรนิคส์ที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้สูง
Cr.dark-Sky Thailand
มัทสยา-6000 เรือดำน้ำลึกของอินเดีย