กระทู้นี้แต่งเอาตามปัญญาที่ได้รับประทานมา ขออภัยสำหรับจุดบกพร่องทุกแห่ง และขอขอบน้ำใจท่านที่ช่วยเหลือแนะนำในวิชาภาษาไทย
ขอให้คำโมทนาและขอบคุณทั้งปวงเป็นของพระเยซูคริสต์เจ้า
ฉันท์
เป็นคำประพันธ์ที่นับว่าเป็นของสูงบ้างล่ะ เป็นคำประพันธ์ที่ถือกันว่าแต่งยากบ้างล่ะ เป็นคำประพันธ์บนหิ้ง เป็นคำประพันธ์ที่อยู่ไกลตัวบ้างล่ะ แต่คุณเชื่อไหมว่าการแต่งฉันท์สมัยรัตนโกสินทร์นี่มีมากที่สุดในประวัติศาสตร์วรรณคดีไทย
สืบเนื่องจากการที่ตัวเจ้าของกระทู้เอง ก็มีความชอบและปรารถนาจะเก่งในทางการแต่งฉันท์ ประกอบกับว่า ได้สังเกตกลวิธีการประพันธ์คำฉันท์มาบ้าง และอยากจะนำเสนอ และปูแนวทางสำหรับนักประพันธ์ รุ่นใหม่ๆ หรือมือใหม่ให้ดำเนินมาในทางคำประพันธ์คำฉันท์ได้ง่ายขึ้น
เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้คือกลวิธีการแต่งฉันท์โดยพิสดาร
ประวัติของฉันท์ สรุปคร่าวๆก็คือเป็นวิธีการประพันธ์ของอินเดียที่เรารับเข้ามา เฟื่องฟูในสมัยอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ฉันท์บาลีและฉันท์สันสกฤตก็คล้ายๆกัน และทำฉันก็เป็น คำพูดปกตินั่นเองที่วางลำดับให้เหมาะสม เพราะภาษาเหล่านั้นเป็นภาษาที่ไม่ได้ซีเรียสมากในการจัดวาง คำ ไม่ว่าคำนั้นจะอยู่หน้าหรือหลังก็ให้ความหมายได้เหมือนการที่เราเรียงคำแบบ ประธานกริยากรรม ในภาษาไทยเป็นต้น
ฉันท์ที่นิยมมาก เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ โตฎกฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ สัทธราฉันท์ มาลินีฉันท์ ในสมัยต่อๆมาจากอยุธยา ก็มี ปมาณิกฉันท์ มาณวกฉันท์ อุปชาติฉันท์ ภุชงคประยาตฉันท์ กมลฉันท์
บางครั้งกาพย์ฉบังและกาพย์อื่นๆก็อาจนับเข้าเป็นฉันท์ด้วย ทั้งนี้จะกล่าวต่อไปเกี่ยวกับคำฉันท์สมัยอยุธยา
การแต่งฉันท์
คุณครูท่านหนึ่งของเจ้าของกระทู้เล่าให้ฟังว่า การแต่งฉันท์ก็เป็นเหมือนการโน้ตดนตรีมาใส่ตามจังหวะที่เขาควบคุมมา เจ้าของกระทู้เองก็เห็นว่าวิธีนี้เป็นประโยชน์มาก ฉะนั้นจะขอแนะนำวิธีต่างๆ ตามแบบนี้
1. ครุลหุคือตัวโน้ตดนตรี เราเพียงแต่จะต้องหาคำที่เหมาะสมใส่เข้าไปในแบบบังคับเหล่านั้น
2. เราต้องหาแบบบังคับที่เหมาะสมกับการฝึกฝนของเรา
+
เราจะต้องสะสมคำคือตัวโน้ตดนตรีที่จะใส่ในแบบบังคับเหล่านั้น
( ทั้งหมดนี้ เราจะต้องไม่ลืมใจความของเราด้วย ว่าเราต้องการจะสื่ออะไรออกมา และถ้าเรามีโอกาส ก็ควรจะกล่าวคำและสำนวนให้ไพเราะด้วย เพื่อเพิ่มคุณค่าทางวรรณศิลป์ให้กับคำประพันธ์นั้น)
ต่อไปจะเป็นการพรรณนาถึงหัวข้อ 2 ข้อดังกล่าว
เรื่องของฉันท์
ขอให้คำโมทนาและขอบคุณทั้งปวงเป็นของพระเยซูคริสต์เจ้า
ฉันท์
เป็นคำประพันธ์ที่นับว่าเป็นของสูงบ้างล่ะ เป็นคำประพันธ์ที่ถือกันว่าแต่งยากบ้างล่ะ เป็นคำประพันธ์บนหิ้ง เป็นคำประพันธ์ที่อยู่ไกลตัวบ้างล่ะ แต่คุณเชื่อไหมว่าการแต่งฉันท์สมัยรัตนโกสินทร์นี่มีมากที่สุดในประวัติศาสตร์วรรณคดีไทย
สืบเนื่องจากการที่ตัวเจ้าของกระทู้เอง ก็มีความชอบและปรารถนาจะเก่งในทางการแต่งฉันท์ ประกอบกับว่า ได้สังเกตกลวิธีการประพันธ์คำฉันท์มาบ้าง และอยากจะนำเสนอ และปูแนวทางสำหรับนักประพันธ์ รุ่นใหม่ๆ หรือมือใหม่ให้ดำเนินมาในทางคำประพันธ์คำฉันท์ได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้คือกลวิธีการแต่งฉันท์โดยพิสดาร
ประวัติของฉันท์ สรุปคร่าวๆก็คือเป็นวิธีการประพันธ์ของอินเดียที่เรารับเข้ามา เฟื่องฟูในสมัยอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ฉันท์บาลีและฉันท์สันสกฤตก็คล้ายๆกัน และทำฉันก็เป็น คำพูดปกตินั่นเองที่วางลำดับให้เหมาะสม เพราะภาษาเหล่านั้นเป็นภาษาที่ไม่ได้ซีเรียสมากในการจัดวาง คำ ไม่ว่าคำนั้นจะอยู่หน้าหรือหลังก็ให้ความหมายได้เหมือนการที่เราเรียงคำแบบ ประธานกริยากรรม ในภาษาไทยเป็นต้น
ฉันท์ที่นิยมมาก เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ โตฎกฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ สัทธราฉันท์ มาลินีฉันท์ ในสมัยต่อๆมาจากอยุธยา ก็มี ปมาณิกฉันท์ มาณวกฉันท์ อุปชาติฉันท์ ภุชงคประยาตฉันท์ กมลฉันท์
บางครั้งกาพย์ฉบังและกาพย์อื่นๆก็อาจนับเข้าเป็นฉันท์ด้วย ทั้งนี้จะกล่าวต่อไปเกี่ยวกับคำฉันท์สมัยอยุธยา
การแต่งฉันท์
คุณครูท่านหนึ่งของเจ้าของกระทู้เล่าให้ฟังว่า การแต่งฉันท์ก็เป็นเหมือนการโน้ตดนตรีมาใส่ตามจังหวะที่เขาควบคุมมา เจ้าของกระทู้เองก็เห็นว่าวิธีนี้เป็นประโยชน์มาก ฉะนั้นจะขอแนะนำวิธีต่างๆ ตามแบบนี้
1. ครุลหุคือตัวโน้ตดนตรี เราเพียงแต่จะต้องหาคำที่เหมาะสมใส่เข้าไปในแบบบังคับเหล่านั้น
2. เราต้องหาแบบบังคับที่เหมาะสมกับการฝึกฝนของเรา
+
เราจะต้องสะสมคำคือตัวโน้ตดนตรีที่จะใส่ในแบบบังคับเหล่านั้น
( ทั้งหมดนี้ เราจะต้องไม่ลืมใจความของเราด้วย ว่าเราต้องการจะสื่ออะไรออกมา และถ้าเรามีโอกาส ก็ควรจะกล่าวคำและสำนวนให้ไพเราะด้วย เพื่อเพิ่มคุณค่าทางวรรณศิลป์ให้กับคำประพันธ์นั้น)
ต่อไปจะเป็นการพรรณนาถึงหัวข้อ 2 ข้อดังกล่าว