สมัยนี้ ถ้าพ่อแม่ไม่สามารถส่งลูกเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ = มีลูกไม่พร้อม ไหมครับ
การที่คนเรามีโอกาสได้เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย(ป.ตรี)ได้
เท่ากับว่า พื้นฐานฐานะทางบ้างต้องดีในระดับนึงแล้ว
เพราะการศึกษาสมัยนี้มันต้องต้นทุน
ทุกวันนี้ ผมเห็นเด็กไทยหลายคน
ไม่ได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา (ปวส.-ป.ตรี)
เรียนจบแค่ ม.3/ม.6/ปวช.
ซึ่งมีหลายสาเหตุมาก เช่น
1.ฐานะภายในครอบครัวไม่ค่อยดี ส่งเรียนต่อไม่ไหว
2.หัวไม่ไป ขี้เกียจเรียนต่อ
3.ที่บ้านมีกิจการค้าขายค่อนข้างดีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเรียนต่อ
4.พลาดท้องวัยเรียน จึงต้องออกจากโรงเรียนมาเลี้ยงลูก
หลายคนหลายมุมมองมักมองว่า
พ่อแม่ที่ไม่สามารถส่งลูกเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยได้ = มีลูกไม่พร้อม
ส่วนตัวผมคิดว่า น่าจะจริงในระดับนึง แต่ไม่ทั้งหมด
เพราะถ้าพ่อแม่มีลูกเมื่อพร้อม ต่อให้รายได้น้อย
แต่ถ้าพ่อแม่ช่วยกันทำมาหากิน ช่วยกันเก็บช่วยกันสร้าง ไม่หมดเงินไปกับของใช้ฟุ่มเฟือย หรือเสพติดอบายมุข
มีลูกสัก 1-2 คน ยังไงก็สามารถส่งลูกเรียนต่อมหาวิทยาลัย แต่ยังไงก็อาจจะต้องพึ่งการกู้ กยศ.บ้าง
แต่ยังไงเด็กรุ่นใหม่สมัยนี้ ที่เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ ใช่ว่าจะเกิดมากับครอบครัวที่พ่อแม่มีลูกเมื่อพร้อมกันซะหมด
หลายคนพ่อแม่ไม่ส่งเสียเลยสักบาท แต่ตัวเด็กดิ้นรนเรียนต่อด้วยการกู้กยศ. + ทำงานพาร์ทไทม์ไปด้วย
หรือหลายครอบครัว พ่อแม่มีกำลังพร้อมส่งเรียนนะ
แต่ตัวเด็กหัวไม่ไป ขี้เกียจเรียนต่อ เลยออกมาทำงานหาเงินเลี้ยงตัวเองดีกว่า
ทำงานได้ฐานเงินเดือนน้อย ค่อยอาศัยทำโอทีกับค่าสวัสดิการเอา สิ้นปีก็ค่อยลุ้นโบนัสกันอีกที
สถิติปีการศึกษา 2564
มีจำนวนนักศึกษาที่เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
(ปวส.-ป.ตรี) เฉพาะชั้นปีที่ 1
ทั่วประเทศรวม 492,811 คน แบ่งเป็น
ปวส. 172,415 คน และ ป.ตรี 320,396 คน
ซึ่งนักศึกษาที่เข้าเรียนระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1
ในปีการศึกษา 2564 นั้น
กว่า 90% เกิดในปี พ.ศ.2545
ซึ่งปี พ.ศ.2545 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรเกิดรวม 782,911 คน
ข้อมูล > [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากข้อมูลในภาพ
เด็กไทยที่เกิดปี 2545
คาดคะเน มีคนที่เรียนจบแค่ ม.3/ม.6/ปวช.
(ไม่ได้เรียนต่อระดับอุดมศึกษา)
ราวๆ 300,000-320,000 คน ซึ่งถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว
สมัยนี้ ถ้าพ่อแม่ไม่สามารถส่งลูกเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ = มีลูกไม่พร้อม ไหมครับ
เท่ากับว่า พื้นฐานฐานะทางบ้างต้องดีในระดับนึงแล้ว
เพราะการศึกษาสมัยนี้มันต้องต้นทุน
ทุกวันนี้ ผมเห็นเด็กไทยหลายคน
ไม่ได้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา (ปวส.-ป.ตรี)
เรียนจบแค่ ม.3/ม.6/ปวช.
ซึ่งมีหลายสาเหตุมาก เช่น
1.ฐานะภายในครอบครัวไม่ค่อยดี ส่งเรียนต่อไม่ไหว
2.หัวไม่ไป ขี้เกียจเรียนต่อ
3.ที่บ้านมีกิจการค้าขายค่อนข้างดีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเรียนต่อ
4.พลาดท้องวัยเรียน จึงต้องออกจากโรงเรียนมาเลี้ยงลูก
หลายคนหลายมุมมองมักมองว่า
พ่อแม่ที่ไม่สามารถส่งลูกเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยได้ = มีลูกไม่พร้อม
ส่วนตัวผมคิดว่า น่าจะจริงในระดับนึง แต่ไม่ทั้งหมด
เพราะถ้าพ่อแม่มีลูกเมื่อพร้อม ต่อให้รายได้น้อย
แต่ถ้าพ่อแม่ช่วยกันทำมาหากิน ช่วยกันเก็บช่วยกันสร้าง ไม่หมดเงินไปกับของใช้ฟุ่มเฟือย หรือเสพติดอบายมุข
มีลูกสัก 1-2 คน ยังไงก็สามารถส่งลูกเรียนต่อมหาวิทยาลัย แต่ยังไงก็อาจจะต้องพึ่งการกู้ กยศ.บ้าง
แต่ยังไงเด็กรุ่นใหม่สมัยนี้ ที่เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้ ใช่ว่าจะเกิดมากับครอบครัวที่พ่อแม่มีลูกเมื่อพร้อมกันซะหมด
หลายคนพ่อแม่ไม่ส่งเสียเลยสักบาท แต่ตัวเด็กดิ้นรนเรียนต่อด้วยการกู้กยศ. + ทำงานพาร์ทไทม์ไปด้วย
หรือหลายครอบครัว พ่อแม่มีกำลังพร้อมส่งเรียนนะ
แต่ตัวเด็กหัวไม่ไป ขี้เกียจเรียนต่อ เลยออกมาทำงานหาเงินเลี้ยงตัวเองดีกว่า
ทำงานได้ฐานเงินเดือนน้อย ค่อยอาศัยทำโอทีกับค่าสวัสดิการเอา สิ้นปีก็ค่อยลุ้นโบนัสกันอีกที
สถิติปีการศึกษา 2564
มีจำนวนนักศึกษาที่เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
(ปวส.-ป.ตรี) เฉพาะชั้นปีที่ 1
ทั่วประเทศรวม 492,811 คน แบ่งเป็น
ปวส. 172,415 คน และ ป.ตรี 320,396 คน
ซึ่งนักศึกษาที่เข้าเรียนระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1
ในปีการศึกษา 2564 นั้น
กว่า 90% เกิดในปี พ.ศ.2545
ซึ่งปี พ.ศ.2545 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรเกิดรวม 782,911 คน
ข้อมูล > [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากข้อมูลในภาพ
เด็กไทยที่เกิดปี 2545
คาดคะเน มีคนที่เรียนจบแค่ ม.3/ม.6/ปวช.
(ไม่ได้เรียนต่อระดับอุดมศึกษา)
ราวๆ 300,000-320,000 คน ซึ่งถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว