วิโรจน์ แนะ 8 ข้อ แจกเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่น ต้องไม่ให้แลกเป็นเงินสด
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7864066
วิโรจน์ แนะ 8 ข้อ แจกเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่น ยันไม่ได้แย้งแบบสุดลิ่มทิ่มประตู ชี้ข้อสำคัญต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้แลกเป็นเงินสด
วันที่ 13 ก.ย.2566 นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก
Wiroj Lakkhanaadisorn –วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ถึงเรื่องเงินดิจิทัล 10,000 บาท ความว่า
[ ข้อเสนอแนะต่อเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ]
ก่อนอื่นต้องก่อนว่า ผมไม่ได้เห็นแย้งกับมาตรการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท แบบสุดลิ่มทิ่มประตู เพราะเข้าใจว่าน่าจะสามารถกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศได้ ไม่มากก็น้อย เพียงแต่อยากเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้เงินแผ่นดินก้อนมหาศาล 560,000 ล้านบาท ก้อนนี้ ถูกใช้จ่ายเพื่อประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
มีรอบหมุนในการใช้จ่าย มีตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) และ Marginal propensity to Consume ในระดับที่สูง ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจมหภาคที่ลงไปถึงประชาชน ไม่ใช่ถูกนายทุนค้าปลีกผูกขาดสูบเอาไป
ผมเข้าใจว่า ในเรื่องรัศมี 4 กม. รัฐบาลคงจะมีการทบทวนให้เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ต่างๆ ในเร็ววันนี้ ด้วยความที่เป็นเงินดิจิทัล การกำหนดรัศมีที่แตกต่างกัน ในการใช้จ่ายในพื้นที่ที่แตกต่างกัน ด้วยเทคโนโลยี นั้นทำได้อยู่แล้วครับ ไม่ใช่ปัญห
แต่อย่างไรก็ตาม ผมยังเห็นว่า ยังมีอีกหลายประเด็น ที่รัฐบาลต้องพิจารณาป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงขออนุญาตรวบรวมข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ครับ
1. รัฐบาลต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ทุนใหญ่ฉวยโอกาส ตั้งจุดจำหน่ายสินค้า (Kiosk) ชั่วคราว 6 เดือน ตั้งตู้ขายสินค้า เอารถโมบายล์เข้าไปขายสินค้าตามชุมชน หมู่บ้าน สูบเงินจากชุมชนเข้าสู่กระเป๋าเจ้าสัว ที่ส่วนกลาง ทำลายโชห่วย ร้านขายของชำของคนตัวเล็กตัวน้อยทั่วประเทศ ผมรับทราบมาว่า ตอนนี้นายทุนค้าปลีกผูกขาดหลายราย กำลังวางแผนในลักษณะนี้ เพื่อดูดเอาเม็ดเงินแผ่นดิน 560,000 ล้าน เข้ากระเป๋าให้ได้มากที่สุด
2. รัฐบาลต้องพิจารณาออกแบบระบบ เพื่อให้ระยะเวลาที่ใช้ในการจ่ายเงิน มีความรวดเร็วต่อการใช้จ่ายเงิน
3. รัฐบาลต้องมีมาตรการในการป้องกันการตั้งราคาสินค้าที่แตกต่างกัน (Price Discrimination) เช่น ถ้าจ่ายด้วยเงินดิจิทัล จะต้องจ่ายแพงกว่าเงินสด เป็นต้น
4. รัฐบาลจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อ อัตราเงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่อาจจะแพงขึ้น การอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท และการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมไม่ให้ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อประชาชนในระยะยาว
5. รัฐบาลควรมีข้อตกลงที่ชัดเจนกับร้านค้า เกี่ยวกับหน้าที่ในการจ่ายภาษีต่างๆ จากรายได้ที่ได้มาจากเงินดิจิทัล เพื่อให้ร้านค้าต่างๆ วางแผนภาษีแต่แรก เพื่อป้องกันไม่มีข้อพิพาทกับรัฐในภายหลัง
6. รัฐบาลควรมีมาตรการป้องกันไม่ให้มีการรับแลกเงินดิจิทัล เป็นเงินสด โดยหักส่วนลดเพื่อทำกำไร สุดท้ายเงินดิจิทัล จะไม่ถูกนำไปใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นการบริโภคตามวัตถุประสงค์สำคัญของนโยบายนี้ แต่จะถูกนำไปแลกเงินสดแทน เช่น ถ้าเอาเงินดิจิทัล 10,000 บาท มาแลกที่ร้านนี้ โดยไม่ซื้อสินค้า จะแลกได้ 7,000 บาท เป็นต้น
7. มีมาตรการป้องกัน มิให้มิจฉาชีพ และแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ เอา “เงินดิจิทัล” มาเป็นอุบายฉ้อโกงประชาชน เช่น การข่มขู่หลอกประชาชนว่าเอาเงินดิจิทัลไปใช้อย่างผิดกฎหมาย การหลอกประชาชนว่าสามารถทำให้เงินดิจิทัลใช้ได้เกินกว่ารัศมี 4 กม. ได้ การหลอกประชาชนให้นำเอาเงินดิจิทัลไปลงทุนเพื่อให้งอกเงยได้ เป็นต้น
8. รัฐบาลควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณ เพื่อประคับประคองประชาชนในกลุ่มเปราะบางควบคู่กับนโยบายเงินดิจิทัล ไปด้วย อาทิ การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน การแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพงจากโครงสร้างค่าไฟฟ้า และนโยบายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ภาคประชาชนที่ไม่เป็นธรรม การส่งเสริม SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม และป้องกันไม่ให้ SMEs ถูกดึงเช็คจากลูกค้ารายใหญ่ การจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก และการอุดหนุนทางการศึกษาให้กับกลุ่มนักเรียนยากจน เป็นต้น
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลจะรับไว้พิจารณานะครับ
https://www.facebook.com/wirojlak/posts/pfbid02Yth4fCmxn9X6dZ9MPt31BkhuXAT2aabXKBqLBwcCkbcsQgfp448KVXriHYn4NDx2l
“ปิยบุตร” ส่อง ดาวเด่นกลางสภาดวงใหม่ ใครปัง-ใครจบ ชี้เส้นขนานเพื่อไทย-ก้าวไกล
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4178212
มุมมองจากรายการสัมภาษณ์พิเศษ “
ปิยบุตร แสงกนกกุล” กับ “
อธึกกิต แสวงสุข” หรือ
ใบตองแห้ง หลังการอภิปรายแถลงนโยบายรัฐบาล
เศรษฐา มาตัดเกรดดาวเด่นกลางสภาใหม่กลางประชุมสภาแถลงนโยบาย 2 วัน ใครปัง-ใครจบ ชี้เส้นขนานเพื่อไทย-ก้าวไกล ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
ส.เครื่องนุ่งห่มไทย ร้องรัฐสกัดสินค้ามือสองนำเข้า ชี้อุตสาหกรรมไทยเสียหายหมื่นล้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4178099
ส.เครื่องนุ่งห่มไทย ร้องรัฐสกัดสินค้ามือสองนำเข้าเกลื่อนเมือง ชี้อุตสาหกรรมไทยเสียหายหมื่นล.
เมื่อวันที่ 13 กันยายน นาย
ยศธน กิจกุศล นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย (TGMA) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้าภายในประเทศไทย กำลังประสบปัญหาสินค้ามือสองที่นำเข้าจากต่างประเทศและจำหน่ายในราคาถูกมาก มาแย่งตลาดผู้ผลิตในประเทศ โดยเน้นขายตามตลาดนัด ขายผ่านออนไลน์ และจัดประมูลแบบเหมาซื้อจำนวนมาก ซึ่งสินค้ามือสองจากต่างประเทศที่เข้ามาดัมพ์ตลาดในไทย ไม่ได้มีแค่เสื้อผ้า ได้ขยายไปยังสินค้าต่างๆในภาคอุตสาหกรรม และเพื่อเป็นการรักษาฐานการผลิตสินค้าในแต่ละอุตสาหกรรม สมาคมฯกำลังหารือกับหลายอุตสาหกรรมที่มีสินค้ามือสองนำเข้าจากต่างประเทศเข้ามาดัมพ์ตลาดไทย โดยจะรวบรวมสถานการณ์ ปัญหา และข้อเสนอ จากสมาคมและผู้ผลิตต่างๆ เพื่อจัดทำหนังสือและขอเข้าพบกระทรวงและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งดูแลการผลิต การค้า และการนำเข้า รวมถึงสุขอนามัย ซึ่งข้อเสนออยากให้เร่งออกกฎระเบียบเพื่อดูแลสินค้ามือสองนำเข้าจนกระทบต่ออุตสาหกรรมในไทย
”
ตลาดค้าในประเทศตอนนี้หดตัวมากไม่แพ้ตลาดส่งออก ด้วยกระแสตื่นตัวเรื่องสินค้ามือสอง เกิดขึ้นมาช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เริ่มจากกระตุ้นการรักษ์โลก ลดภาวะสิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน และมองว่าอุตสาหกรรม เช่น ผลิตเสื้อผ้า เป็นส่วนที่ทำให้โลกร้อน คาร์บอนสูง จึงรณรงค์ให้ใช้ของซ้ำ ทำให้เกิดช่องการนำเข้าสินค้ามือสองจากต่างประเทศต่อเนื่อง หลายสินค้ารวมน่าจะสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมไทยหลักหมื่นล้านบาทได้ ยิ่งหลังโควิดจะพบแหล่งจำหน่ายเสื้อผ้ามือสองแย่งชิงกันอย่างรุนแรง บางชิ้นขายไม่กี่บาทไม่กี่สิบบาท จนกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศ อยากให้รัฐบาลปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศสกัดสินค้ามือสองนอกประเทศเข้ามาดั้มตลาดไทยอย่างง่ายดาย ซึ่งสมาคมฯไม่ได้คัดค้านการใช้ซ้ำหรือซื้อสินค้าตกเกรด แต่ควรเป็นการหมุนเวียนซื้อสินค้ากันภายในประเทศ และคำนึงถึงสุขอนามัยด้วย และไม่อยากให้ไทยเป็นแหล่งทิ้งขยะของเหลือใช้จากทั่วโลก ” นาย
ยศธน กล่าว
นาย
ยศธน กล่าวต่อว่า สำหรับการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไทย ช่วง 7 เดือนแรก 2566 ยังติดลบ 15% ปัจจัยกระทบส่งออกคือกำลังซื้อตลาดหลัก อย่างสหรัฐ ยุโรป ยังประสบปัญหาเศรษฐกิจภายในและปีก่อนสหรัฐ คาดว่าปีนี้ตลาดจะฟื้นจึงได้สั่งสต็อกสูงกว่าปกติ คาดว่าจะลดลงและเริ้มนำเข้ารอบใหม่ในไตรมาส 4ปีนี้ จะทำให้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มกลับมาบวกได้ พร้อมกันนี้ ผู้ผลิตยังเจอปัญหาต้นทุนสูง เช่น ผ้า สูงขึ้น 20-40% ค่าพลังงานและค่าไฟระดับสูง ทำให้ต้องคุมการผลิตและเข้มงวดการค้า อีกปัจจัยดีต่อส่งออกปลายปี คือ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 ดีขึ้น ดังนั้นคาดหวังว่าส่งออกเครื่องนุ่งห่มทั้งปี2566 จะใกล้เคียงปี 2565 หรือมีมูลค่าส่งออกรวม 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ
นาย
ยศธน กล่าวว่า สำหรับปี 2567 ภาคธุรกิจคาดหวังจะดีขึ้นหลังมีรัฐบาลใหม่และในการแถลงนโยบายจะเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนเครื่องนุ่งห่ม อยากให้รัฐบาลเร่งการเจรจาเปิดเสรี(เอฟทีเอ)ไทยกับอียู หวังได้ว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มาจากภาคเอกชนจะเข้าใจและผลักดันประโยชน์ที่จะได้จากเอฟทีเอ รวมถึงอยากให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาสะสม ทั้งการลดต้นทุนต่างๆ เช่น ค่าไฟ การเข้าถึงแหล่งทุน ดอกเบี้ยสูง กำลังซื้อประชาชนยังต่ำ ควรชะลอปรับขึ้นค่าแรงรายวัน 600 บาทเพราะอุตสาหกรรมพึ่งพาแรงงานมากจะเจอปัญหาอาจเลิกกิจการหรือย้ายไปประเทศเพื่อนบ้านแทน ซึ่งเรื่องต้นทุนวัตถุดิบ สมาคมฯกำลังประสานไปยังคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ขอให้ขยายการให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรสำหรับส่งเสริมการผลิตการลงทุนของเอสเอ็มอี ที่ได้ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบและผ้าเพื่อการผลิต ที่ถูกเก็บในอัตรา 5-30% โดยมีผู้ผลิตอีก 10 บริษัทกำลังประสบปัญหาต้นทุนและความสามารถการแข่งขันต่ำ
“
การจะทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ 5% รัฐต้องลดค่าครองชีพ พร้อมกับกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นด้วยลดค่าไฟ ค่าพลังงาน ไม่ขึ้นดอกเบี้ย ลดภาระหนี้และต้นทุนผู้ประกอบการ รวมถึงเร่งเจรจาเปิดเสรีและใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ ส่วนที่กังวลมากตอนนี้คือ การปรับขึ้นค่าแรงรายวัน หากขึ้นพรวดและไปถึง 600 บาท จะเป็นผลเสียต่ออุตสาหกรรมใช้แรงงานมาก ที่กำลังลงทุนในประเทศ อาจต้องทบทวนกันอีกครั้ง อยากให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องนี้ให้รอบด้าน สอดคล้องกันทั้งนำเข้าและผลิตเพื่อส่งออก“ นายยศธนกล่าว
JJNY : วิโรจน์แนะ 8ฃข้อแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต│“ปิยบุตร”ส่องดาวเด่นกลางสภา│ส.เครื่องนุ่งห่มไทย ร้องรัฐสกัด│ญี่ปุ่นปรับครม.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7864066
วิโรจน์ แนะ 8 ข้อ แจกเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่น ยันไม่ได้แย้งแบบสุดลิ่มทิ่มประตู ชี้ข้อสำคัญต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้แลกเป็นเงินสด
วันที่ 13 ก.ย.2566 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Wiroj Lakkhanaadisorn –วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ถึงเรื่องเงินดิจิทัล 10,000 บาท ความว่า
[ ข้อเสนอแนะต่อเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ]
ก่อนอื่นต้องก่อนว่า ผมไม่ได้เห็นแย้งกับมาตรการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท แบบสุดลิ่มทิ่มประตู เพราะเข้าใจว่าน่าจะสามารถกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศได้ ไม่มากก็น้อย เพียงแต่อยากเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้เงินแผ่นดินก้อนมหาศาล 560,000 ล้านบาท ก้อนนี้ ถูกใช้จ่ายเพื่อประชาชน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
มีรอบหมุนในการใช้จ่าย มีตัวคูณทางการคลัง (Fiscal Multiplier) และ Marginal propensity to Consume ในระดับที่สูง ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจมหภาคที่ลงไปถึงประชาชน ไม่ใช่ถูกนายทุนค้าปลีกผูกขาดสูบเอาไป
ผมเข้าใจว่า ในเรื่องรัศมี 4 กม. รัฐบาลคงจะมีการทบทวนให้เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ต่างๆ ในเร็ววันนี้ ด้วยความที่เป็นเงินดิจิทัล การกำหนดรัศมีที่แตกต่างกัน ในการใช้จ่ายในพื้นที่ที่แตกต่างกัน ด้วยเทคโนโลยี นั้นทำได้อยู่แล้วครับ ไม่ใช่ปัญห
แต่อย่างไรก็ตาม ผมยังเห็นว่า ยังมีอีกหลายประเด็น ที่รัฐบาลต้องพิจารณาป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงขออนุญาตรวบรวมข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ครับ
1. รัฐบาลต้องมีมาตรการป้องกันมิให้ทุนใหญ่ฉวยโอกาส ตั้งจุดจำหน่ายสินค้า (Kiosk) ชั่วคราว 6 เดือน ตั้งตู้ขายสินค้า เอารถโมบายล์เข้าไปขายสินค้าตามชุมชน หมู่บ้าน สูบเงินจากชุมชนเข้าสู่กระเป๋าเจ้าสัว ที่ส่วนกลาง ทำลายโชห่วย ร้านขายของชำของคนตัวเล็กตัวน้อยทั่วประเทศ ผมรับทราบมาว่า ตอนนี้นายทุนค้าปลีกผูกขาดหลายราย กำลังวางแผนในลักษณะนี้ เพื่อดูดเอาเม็ดเงินแผ่นดิน 560,000 ล้าน เข้ากระเป๋าให้ได้มากที่สุด
2. รัฐบาลต้องพิจารณาออกแบบระบบ เพื่อให้ระยะเวลาที่ใช้ในการจ่ายเงิน มีความรวดเร็วต่อการใช้จ่ายเงิน
3. รัฐบาลต้องมีมาตรการในการป้องกันการตั้งราคาสินค้าที่แตกต่างกัน (Price Discrimination) เช่น ถ้าจ่ายด้วยเงินดิจิทัล จะต้องจ่ายแพงกว่าเงินสด เป็นต้น
4. รัฐบาลจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อ อัตราเงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่อาจจะแพงขึ้น การอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท และการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมไม่ให้ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อประชาชนในระยะยาว
5. รัฐบาลควรมีข้อตกลงที่ชัดเจนกับร้านค้า เกี่ยวกับหน้าที่ในการจ่ายภาษีต่างๆ จากรายได้ที่ได้มาจากเงินดิจิทัล เพื่อให้ร้านค้าต่างๆ วางแผนภาษีแต่แรก เพื่อป้องกันไม่มีข้อพิพาทกับรัฐในภายหลัง
6. รัฐบาลควรมีมาตรการป้องกันไม่ให้มีการรับแลกเงินดิจิทัล เป็นเงินสด โดยหักส่วนลดเพื่อทำกำไร สุดท้ายเงินดิจิทัล จะไม่ถูกนำไปใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นการบริโภคตามวัตถุประสงค์สำคัญของนโยบายนี้ แต่จะถูกนำไปแลกเงินสดแทน เช่น ถ้าเอาเงินดิจิทัล 10,000 บาท มาแลกที่ร้านนี้ โดยไม่ซื้อสินค้า จะแลกได้ 7,000 บาท เป็นต้น
7. มีมาตรการป้องกัน มิให้มิจฉาชีพ และแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ เอา “เงินดิจิทัล” มาเป็นอุบายฉ้อโกงประชาชน เช่น การข่มขู่หลอกประชาชนว่าเอาเงินดิจิทัลไปใช้อย่างผิดกฎหมาย การหลอกประชาชนว่าสามารถทำให้เงินดิจิทัลใช้ได้เกินกว่ารัศมี 4 กม. ได้ การหลอกประชาชนให้นำเอาเงินดิจิทัลไปลงทุนเพื่อให้งอกเงยได้ เป็นต้น
8. รัฐบาลควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณ เพื่อประคับประคองประชาชนในกลุ่มเปราะบางควบคู่กับนโยบายเงินดิจิทัล ไปด้วย อาทิ การแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน การแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพงจากโครงสร้างค่าไฟฟ้า และนโยบายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ภาคประชาชนที่ไม่เป็นธรรม การส่งเสริม SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม และป้องกันไม่ให้ SMEs ถูกดึงเช็คจากลูกค้ารายใหญ่ การจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก และการอุดหนุนทางการศึกษาให้กับกลุ่มนักเรียนยากจน เป็นต้น
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลจะรับไว้พิจารณานะครับ
https://www.facebook.com/wirojlak/posts/pfbid02Yth4fCmxn9X6dZ9MPt31BkhuXAT2aabXKBqLBwcCkbcsQgfp448KVXriHYn4NDx2l
“ปิยบุตร” ส่อง ดาวเด่นกลางสภาดวงใหม่ ใครปัง-ใครจบ ชี้เส้นขนานเพื่อไทย-ก้าวไกล
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4178212
มุมมองจากรายการสัมภาษณ์พิเศษ “ปิยบุตร แสงกนกกุล” กับ “อธึกกิต แสวงสุข” หรือใบตองแห้ง หลังการอภิปรายแถลงนโยบายรัฐบาลเศรษฐา มาตัดเกรดดาวเด่นกลางสภาใหม่กลางประชุมสภาแถลงนโยบาย 2 วัน ใครปัง-ใครจบ ชี้เส้นขนานเพื่อไทย-ก้าวไกล ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้
ส.เครื่องนุ่งห่มไทย ร้องรัฐสกัดสินค้ามือสองนำเข้า ชี้อุตสาหกรรมไทยเสียหายหมื่นล้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4178099
ส.เครื่องนุ่งห่มไทย ร้องรัฐสกัดสินค้ามือสองนำเข้าเกลื่อนเมือง ชี้อุตสาหกรรมไทยเสียหายหมื่นล.
เมื่อวันที่ 13 กันยายน นายยศธน กิจกุศล นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย (TGMA) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้าภายในประเทศไทย กำลังประสบปัญหาสินค้ามือสองที่นำเข้าจากต่างประเทศและจำหน่ายในราคาถูกมาก มาแย่งตลาดผู้ผลิตในประเทศ โดยเน้นขายตามตลาดนัด ขายผ่านออนไลน์ และจัดประมูลแบบเหมาซื้อจำนวนมาก ซึ่งสินค้ามือสองจากต่างประเทศที่เข้ามาดัมพ์ตลาดในไทย ไม่ได้มีแค่เสื้อผ้า ได้ขยายไปยังสินค้าต่างๆในภาคอุตสาหกรรม และเพื่อเป็นการรักษาฐานการผลิตสินค้าในแต่ละอุตสาหกรรม สมาคมฯกำลังหารือกับหลายอุตสาหกรรมที่มีสินค้ามือสองนำเข้าจากต่างประเทศเข้ามาดัมพ์ตลาดไทย โดยจะรวบรวมสถานการณ์ ปัญหา และข้อเสนอ จากสมาคมและผู้ผลิตต่างๆ เพื่อจัดทำหนังสือและขอเข้าพบกระทรวงและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งดูแลการผลิต การค้า และการนำเข้า รวมถึงสุขอนามัย ซึ่งข้อเสนออยากให้เร่งออกกฎระเบียบเพื่อดูแลสินค้ามือสองนำเข้าจนกระทบต่ออุตสาหกรรมในไทย
” ตลาดค้าในประเทศตอนนี้หดตัวมากไม่แพ้ตลาดส่งออก ด้วยกระแสตื่นตัวเรื่องสินค้ามือสอง เกิดขึ้นมาช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เริ่มจากกระตุ้นการรักษ์โลก ลดภาวะสิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน และมองว่าอุตสาหกรรม เช่น ผลิตเสื้อผ้า เป็นส่วนที่ทำให้โลกร้อน คาร์บอนสูง จึงรณรงค์ให้ใช้ของซ้ำ ทำให้เกิดช่องการนำเข้าสินค้ามือสองจากต่างประเทศต่อเนื่อง หลายสินค้ารวมน่าจะสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมไทยหลักหมื่นล้านบาทได้ ยิ่งหลังโควิดจะพบแหล่งจำหน่ายเสื้อผ้ามือสองแย่งชิงกันอย่างรุนแรง บางชิ้นขายไม่กี่บาทไม่กี่สิบบาท จนกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศ อยากให้รัฐบาลปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศสกัดสินค้ามือสองนอกประเทศเข้ามาดั้มตลาดไทยอย่างง่ายดาย ซึ่งสมาคมฯไม่ได้คัดค้านการใช้ซ้ำหรือซื้อสินค้าตกเกรด แต่ควรเป็นการหมุนเวียนซื้อสินค้ากันภายในประเทศ และคำนึงถึงสุขอนามัยด้วย และไม่อยากให้ไทยเป็นแหล่งทิ้งขยะของเหลือใช้จากทั่วโลก ” นายยศธน กล่าว
นายยศธน กล่าวต่อว่า สำหรับการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไทย ช่วง 7 เดือนแรก 2566 ยังติดลบ 15% ปัจจัยกระทบส่งออกคือกำลังซื้อตลาดหลัก อย่างสหรัฐ ยุโรป ยังประสบปัญหาเศรษฐกิจภายในและปีก่อนสหรัฐ คาดว่าปีนี้ตลาดจะฟื้นจึงได้สั่งสต็อกสูงกว่าปกติ คาดว่าจะลดลงและเริ้มนำเข้ารอบใหม่ในไตรมาส 4ปีนี้ จะทำให้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มกลับมาบวกได้ พร้อมกันนี้ ผู้ผลิตยังเจอปัญหาต้นทุนสูง เช่น ผ้า สูงขึ้น 20-40% ค่าพลังงานและค่าไฟระดับสูง ทำให้ต้องคุมการผลิตและเข้มงวดการค้า อีกปัจจัยดีต่อส่งออกปลายปี คือ ญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 ดีขึ้น ดังนั้นคาดหวังว่าส่งออกเครื่องนุ่งห่มทั้งปี2566 จะใกล้เคียงปี 2565 หรือมีมูลค่าส่งออกรวม 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายยศธน กล่าวว่า สำหรับปี 2567 ภาคธุรกิจคาดหวังจะดีขึ้นหลังมีรัฐบาลใหม่และในการแถลงนโยบายจะเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนเครื่องนุ่งห่ม อยากให้รัฐบาลเร่งการเจรจาเปิดเสรี(เอฟทีเอ)ไทยกับอียู หวังได้ว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มาจากภาคเอกชนจะเข้าใจและผลักดันประโยชน์ที่จะได้จากเอฟทีเอ รวมถึงอยากให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาสะสม ทั้งการลดต้นทุนต่างๆ เช่น ค่าไฟ การเข้าถึงแหล่งทุน ดอกเบี้ยสูง กำลังซื้อประชาชนยังต่ำ ควรชะลอปรับขึ้นค่าแรงรายวัน 600 บาทเพราะอุตสาหกรรมพึ่งพาแรงงานมากจะเจอปัญหาอาจเลิกกิจการหรือย้ายไปประเทศเพื่อนบ้านแทน ซึ่งเรื่องต้นทุนวัตถุดิบ สมาคมฯกำลังประสานไปยังคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ขอให้ขยายการให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรสำหรับส่งเสริมการผลิตการลงทุนของเอสเอ็มอี ที่ได้ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบและผ้าเพื่อการผลิต ที่ถูกเก็บในอัตรา 5-30% โดยมีผู้ผลิตอีก 10 บริษัทกำลังประสบปัญหาต้นทุนและความสามารถการแข่งขันต่ำ
“การจะทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ 5% รัฐต้องลดค่าครองชีพ พร้อมกับกระตุ้นเศรษฐกิจ เห็นด้วยลดค่าไฟ ค่าพลังงาน ไม่ขึ้นดอกเบี้ย ลดภาระหนี้และต้นทุนผู้ประกอบการ รวมถึงเร่งเจรจาเปิดเสรีและใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ ส่วนที่กังวลมากตอนนี้คือ การปรับขึ้นค่าแรงรายวัน หากขึ้นพรวดและไปถึง 600 บาท จะเป็นผลเสียต่ออุตสาหกรรมใช้แรงงานมาก ที่กำลังลงทุนในประเทศ อาจต้องทบทวนกันอีกครั้ง อยากให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องนี้ให้รอบด้าน สอดคล้องกันทั้งนำเข้าและผลิตเพื่อส่งออก“ นายยศธนกล่าว