[ ผลประโยชน์ทับซ้อนใน กสทช.?! (3) ]
.
จากที่ดิฉันได้เปิดข้อมูลของ “บริษัท ท.” ว่ามีการรับงานจากหน่วยงานของ กสทช. อย่างน่าสงสัย บริษัทที่รับงานแบบ “บริษัท ท.” ไม่ได้มีแค่บริษัทเดียว ข้อมูลใน actai.co ยังมีอีกหลายบริษัททีเดียว ที่เป็นบริษัทขนาดเล็ก, ไม่มี company profile,
แต่กลับได้งานของ กสทช. หลายสิบงานอย่างสม่ำเสมอ วงเงินรวมๆ แล้วหลักร้อยล้านบาท (ท่านที่สนใจสามารถค้นดูที่เว็บไซต์ actai ได้ ลิงค์ดิฉันจะแปะไว้ในคอมเม้น)

.
ส่วนถ้าเราเจาะรายละเอียดลงไปสำหรับ “บริษัท ท.” ตั้งแต่ปี 2560-2566 มีการรับงานไปแล้ว 35 โครงการ วงเงินรวม 141.8 ล้านบาท 21 จาก 35 โครงการ เป็นการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง โครงการเกือบทั้งหมดรับงานจาก กสทช. ที่เดียว
.
ตัวอย่างโครงการของ “บริษัท ท.” ที่ใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง เช่น
จ้างเหมาบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขระบบติดตามและรายงานการตรวจสอบและกำกับดูแลการใช้ควมถี่ด้วยเทคโนโลยี Video Streaming โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
จ้างเหมาบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับการออกอากาศวิทยุกระจายเสียง (FM Radio Recorder System) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
จ้างเหมาบริการบำรุงรักษาระบบบริหารจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานสายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
จ้างเหมาบริการบำรุงรักษาระบบบริหารจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานสายงานกิจการภูมิภาค โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
.
โครงการส่วนใหญ่ที่มีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินไม่เยอะหรอกค่ะ เฉลี่ยแล้วโครงการละ 1,000,000 บาท (เพราะหากมากกว่านั้นระเบียบกำหนดให้ต้องใช้วิธีการ E-bidding)
แต่คำถามคือโครงการเล็กๆ จำนวนมากเหล่านี้ เป็นการใช้งบประมาณที่เกิดประโยชน์หรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่เราได้มาจากคนใน กสทช. บอกกับเราว่าไม่ใช่การใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
.
นี่คือตัวอย่างของการใช้เงิน กสทช. อย่างไม่คุ้มค่า นอกเหนือจากการกำหนดค่าตอบแทนมหาศาล และการบินไปต่างประเทศปีละหลายสิบล้านบาทของบอร์ด กสทช.
.
สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่เปิดช่องให้ กสทช. ใช้งบประมาณเช่นนี้ คือ พ.ร.บ. กสทช. พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้ กสทช. เป็นหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ได้เท่าไหร่ สามารถหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและตั้งงบประมาณเป็นของตัวเองได้
กสทช.คือหน่วยงานที่มีงบมากกว่าหลายกระทรวง.
แต่ไม่มีแม้แต่เพียงบาทเดียวที่ผ่านการพิจารณาโดยองค์กรที่มาจากประชาชน กระทั่ง “งบส่วนราชการในพระองค์” ยังต้องผ่านงบในสภาฯ
.
ดังนั้น ถ้าอยากแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน ดิฉันคิดว่าถึงเวลาค่ะที่ต้องเดินหน้า“รื้อ” กฎหมาย กสทช. เพื่อให้การบริหารทรัพยากรสัมปทานคลื่นความถี่ที่เป็นสมบัติของประเทศเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างแท้จริง
สส ก้าวไกล เผย ถึงเวลาต้องรื้อกฎหมาย "กสทช" หยุดต้นต่องบประมาณมหาศาล ที่ไม่โปร่งใส!!
.
จากที่ดิฉันได้เปิดข้อมูลของ “บริษัท ท.” ว่ามีการรับงานจากหน่วยงานของ กสทช. อย่างน่าสงสัย บริษัทที่รับงานแบบ “บริษัท ท.” ไม่ได้มีแค่บริษัทเดียว ข้อมูลใน actai.co ยังมีอีกหลายบริษัททีเดียว ที่เป็นบริษัทขนาดเล็ก, ไม่มี company profile,
แต่กลับได้งานของ กสทช. หลายสิบงานอย่างสม่ำเสมอ วงเงินรวมๆ แล้วหลักร้อยล้านบาท (ท่านที่สนใจสามารถค้นดูที่เว็บไซต์ actai ได้ ลิงค์ดิฉันจะแปะไว้ในคอมเม้น)
.
ส่วนถ้าเราเจาะรายละเอียดลงไปสำหรับ “บริษัท ท.” ตั้งแต่ปี 2560-2566 มีการรับงานไปแล้ว 35 โครงการ วงเงินรวม 141.8 ล้านบาท 21 จาก 35 โครงการ เป็นการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง โครงการเกือบทั้งหมดรับงานจาก กสทช. ที่เดียว
.
ตัวอย่างโครงการของ “บริษัท ท.” ที่ใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง เช่น
จ้างเหมาบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขระบบติดตามและรายงานการตรวจสอบและกำกับดูแลการใช้ควมถี่ด้วยเทคโนโลยี Video Streaming โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
จ้างเหมาบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขระบบจัดเก็บข้อมูลสำหรับการออกอากาศวิทยุกระจายเสียง (FM Radio Recorder System) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
จ้างเหมาบริการบำรุงรักษาระบบบริหารจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานสายงานบริหารคลื่นความถี่และภูมิภาค โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
จ้างเหมาบริการบำรุงรักษาระบบบริหารจัดการข้อมูลการปฏิบัติงานสายงานกิจการภูมิภาค โดยวิธีเฉพาะเจาะจง
.
โครงการส่วนใหญ่ที่มีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง วงเงินไม่เยอะหรอกค่ะ เฉลี่ยแล้วโครงการละ 1,000,000 บาท (เพราะหากมากกว่านั้นระเบียบกำหนดให้ต้องใช้วิธีการ E-bidding)
แต่คำถามคือโครงการเล็กๆ จำนวนมากเหล่านี้ เป็นการใช้งบประมาณที่เกิดประโยชน์หรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่เราได้มาจากคนใน กสทช. บอกกับเราว่าไม่ใช่การใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
.
นี่คือตัวอย่างของการใช้เงิน กสทช. อย่างไม่คุ้มค่า นอกเหนือจากการกำหนดค่าตอบแทนมหาศาล และการบินไปต่างประเทศปีละหลายสิบล้านบาทของบอร์ด กสทช.
.
สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่เปิดช่องให้ กสทช. ใช้งบประมาณเช่นนี้ คือ พ.ร.บ. กสทช. พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้ กสทช. เป็นหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ได้เท่าไหร่ สามารถหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและตั้งงบประมาณเป็นของตัวเองได้
กสทช.คือหน่วยงานที่มีงบมากกว่าหลายกระทรวง.
แต่ไม่มีแม้แต่เพียงบาทเดียวที่ผ่านการพิจารณาโดยองค์กรที่มาจากประชาชน กระทั่ง “งบส่วนราชการในพระองค์” ยังต้องผ่านงบในสภาฯ
.
ดังนั้น ถ้าอยากแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน ดิฉันคิดว่าถึงเวลาค่ะที่ต้องเดินหน้า“รื้อ” กฎหมาย กสทช. เพื่อให้การบริหารทรัพยากรสัมปทานคลื่นความถี่ที่เป็นสมบัติของประเทศเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างแท้จริง