- ค่อนข้าง Enjoy คาดกว่าที่คิดในแง่ของความเป็น Document ที่ไม่ได้สำรวจข้อมูลแต่ใสความเป็นนิยาย Fiction สมมติของตัวละครลงไปเล่นด้วย ผลลัพธ์คือทำได้น่าสนใจ น่าติดตามไปกับ Story ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ที่ผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว โดย Timeline จะเล่าผ่านตัวละครหลัก 2 คนอย่าง ริวเกียว และ ชิเก็ง สาวกจากวัดหลักที่ทั้งคู่สำเร็จการศึกษา เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ไปตั้งแต่ต้นจนจบ กระทั่งทั้งคู่ได้กลับมาที่วัดแห่งนี้อีกครั้ง หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวันออกของญี่ปุ่น โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ "คำแนะนำสำหรับแม่ครัว" ของโดเก็น เซนจิ พระอาจารย์สำนักสงฆ์ของวัด เป็น Keywords สำคัญที่จะพาเราไปสู่เรื่องราวของสำนักวัดแห่งนี้ โดยตัว ชิเก็ง อาศัยอยู่กับครอบครัวของเขาที่ย่านยามานาชิและยังคงทำงานอย่างแข็งขันในความพยายามต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษาด้านชีวิต , การสอนโชจิน เรียวริ (อาหารมังสวิรัติของชาวพุทธ) และ การฝึกโยคะซาเซ็น ส่วน ริวเกียว สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทั้ง วัด ครอบครัว และผู้ติดตามของเขาในเหตุการณ์สึนามิที่เมืองฟุกุชิมะเขาทำงานเป็นคนกำจัดเศษซากที่อาศัยอยู่ในบ้านพักชั่วคราว โดยมีเป้าหมายคือต้องกการสร้างห้องโถงไว้สำหรับทำเป็น Jig Theatre เพื่อโปรโมเตอร์ภาพยนตร์ โดยหนังแบ่งเป็น Parts ของแต่ละคนสลับไปมาที่ดูจะเป็นคู่หูดูโอ้ Adventure + Road Trip ที่เพิ่มเฮี้ยวขึ้นมาหน่อย ๆ มีนิ่ง ๆ เนิบ ๆ อะไรบ้างตามสไตล์แนวนี้แต่ไม่วูบหลับ ขณะเดียวกันระหว่างทางหนังก็ไม่ทิ้งหลักคำสอน การปฎิบัติเกี่ยวกับศาสนา รวมถึง ตั้งคำถามถึงแก่นแท้ที่เชื่อมโยงไปสู่สรรพสิ่งบนโลกใบนี้ผ่านมิตรภาพของตัว ชิเก็ง และ ริวเกียว ที่อาจฟังดูเวิ้นเว้อไปแต่ถ้าคิดตามไปด้วยจะได้ Message ที่หนังต้องการจะสื่อได้หลายอย่างถึงขั้นบรรลุเข้าสู่ทางธรรมก็ว่าได้
- ขณะดูไปก็เกิดการเปรียบเทียบกับศาสนาพุทธบ้านเราว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน คือโอเคแหล่ะว่ามีความต่างกันอยู่แล้ว ที่แปลกใจเลยก็คือ ตัวละครนำที่เป็นสาวกอย่าง ชิเก็ง ทำไมสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันทั่วไปได้ ขับรถยนต์พร้อมกับเปิดเพลงฟังได้แถมเป็นเพลง modern ด้วย และ ตัว ริวเกียว เพื่อนของเขาถึงกล้าชวนเขาออกไปนั่งดื่มข้างนอก ทั้ง ๆ ที่เขายังครองสถานะสาวกสงฆ์อยู่ ซึ่งตรงจุดนี้นอกจากเป็นคำถามที่ผมประหลาดใจแล้วก็ยังสงสัยว่าทำไมศาสนาของบ้านเขาถึงให้อิสระในการใช้ชีวิตมากกว่าบ้านเราที่ต้องปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดไปตามทีละ Pattern ว่าตื่นเช้ามาต้องทำวัตรเช้า เดินบิณฑบาต ฉันเช้า ฉันเพล และ ทำวัตรเย็น จะมีเวลาหน่อยก็ทำกิจวัตรของตนเองไปแต่ต้องอยู่ในวัด มีออกนิมนต์ตามนอกสถานที่บ้างถ้าได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสแต่ต้องกลับมาจำวัด ซึ่งถ้าเทียบกันแล้วของบ้านเขาดูอิสระกว่าแต่ก็มีการสวดมนต์ ปฎิบัติหลักคำสอน หรือกิจนิมนต์งานมงคลนอกสถานที่คล้าย ๆ กันกับบ้านเรา แต่อีกมุมนึงก็คิดกลับว่าการนับถือปฎิบัติของเขาต้องการสืบทอดอนุรักษ์ให้คงอยู่หรือเป็นแค่อาชีพหนึ่งที่หากินกับความศรัทธาหาผลประโยชน์ในส่วนตรงนี้กันแน่ เพราะในหนังถ่ายภาพให้เห็นว่าภายในวัดมีห้องสำนักงาน มีโต๊ะเก้าอี้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตามแต่ละแผนกเสร็จสรรพเรียบร้อยอีก ซึ่งน่าคิดอยู่เหมือนกัน
- สรุป เป็นสารคดีที่ใส่ความเป็นหนังลงไปได้น่าสนใจและซื่อตรงต่อแนวทางเดิม ช่วยทำให้การเล่าเรื่องมีความทันสมัยมีชีวิตชีวา ไม่มุ่งเน้นการยึดหลักคำสอนหรือการปฎิบัติตามศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่ด้วยการใส่ความเป็นหนังลงไปทำให้มี Story ของตัวละครขึ้นมาให้เราเลือกเสพที่มีปริมาณมากกว่าทำให้เราไม่ได้ล่วงรู้ในส่วนลึกของศาสนานี้เท่าที่ควร จึงไม่แปลกที่ขณะดูไปเราไม่ค่อยอินกับแนวทางคำสอนของบ้านเขาเลยว่าหน้าตาเป็นอย่างไร เข้าไม่ถึงว่าศาสนาเขามีจุดประสงค์อะไรมันเลยยิ่งไกลตัวออกไปอีก แต่ Message บางอย่างที่หนังถ่ายทอดออกมาระหว่างทางก็พอจะซึมซับได้อยู่บ้าง เพราะต้องใช้มุมมองของตนเองตีความช่วยด้วย จนกระทั่งบทสรุปที่ไม่ได้ให้ความหมายตายตัวเกี่ยวกับศาสนาถึงแก่นแท้ว่าเป็นอย่างไร แต่ดีหาทางสรุปให้ Story ของ 2 คนนี้อย่าง ชิเก็ง และริวเกียว จบลงได้ลงตัว
- แม้หนังจะเล่าข้าม Details บางอย่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไปว่ารู้จักกันได้ยังไง ทำไมถึงเป็นเพื่อนที่สนิทกันมานาน เราจึงไม่ได้เห็นภาพตรงนี้แล้วให้บรรยากาศที่เรียบง่ายของญี่ปุ่นในสถานที่บ้านเมืองหรือภูมิทัศน์ต่าง ๆ กลืนกินเข้าไปแทน Scene ที่ชอบอีกอย่างคือ ช่วงที่ ชิเก็ง นั่งฟังโดเก็น เซนจิ พระอาจารย์น้อมนำคำสอนของหลักศาสนาแล้วถกคำถามโต้ตอบไปมาเกี่ยวกับ อาหารมังสวิรัติของชาวพุทธ กัน 2 ต่อ 2 ว่าทำทำไม ทำแล้วได้อะไร แล้วพระอาจารย์ก็ตอบให้โดยไม่หวงความรู้ ไม่มีการมาแบ่งยศชั้นสถานะแต่ในฐานะผู้ทรงปัญญา ผู้รู้ ผู้ตื่น แล้วจงเบิกบานระหว่างกัน ซึ่ง Scene นี้ผมดูแล้วรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจขึ้นมาหน่อย อย่างน้อยก็ยืนยันได้ว่าเรื่องศาสนาก็เป็นเรื่องที่มนุษย์ปุถุชนสามารถถกเถียงโต้แย้งหาข้อเท็จจริงได้ไม่ใช่เป็นเรื่องต้องห้ามถามห้ามเถียงถามนุ้นนั่นนี่เหมือนบ้านเรา
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม และ ติดตามช่องทาง Facebook : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
[CR] No.58 Tenzo : สงบจิต สะกิดจุด บรรลุธรรม
- ค่อนข้าง Enjoy คาดกว่าที่คิดในแง่ของความเป็น Document ที่ไม่ได้สำรวจข้อมูลแต่ใสความเป็นนิยาย Fiction สมมติของตัวละครลงไปเล่นด้วย ผลลัพธ์คือทำได้น่าสนใจ น่าติดตามไปกับ Story ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ที่ผ่านไปได้อย่างรวดเร็ว โดย Timeline จะเล่าผ่านตัวละครหลัก 2 คนอย่าง ริวเกียว และ ชิเก็ง สาวกจากวัดหลักที่ทั้งคู่สำเร็จการศึกษา เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ไปตั้งแต่ต้นจนจบ กระทั่งทั้งคู่ได้กลับมาที่วัดแห่งนี้อีกครั้ง หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวันออกของญี่ปุ่น โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ "คำแนะนำสำหรับแม่ครัว" ของโดเก็น เซนจิ พระอาจารย์สำนักสงฆ์ของวัด เป็น Keywords สำคัญที่จะพาเราไปสู่เรื่องราวของสำนักวัดแห่งนี้ โดยตัว ชิเก็ง อาศัยอยู่กับครอบครัวของเขาที่ย่านยามานาชิและยังคงทำงานอย่างแข็งขันในความพยายามต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษาด้านชีวิต , การสอนโชจิน เรียวริ (อาหารมังสวิรัติของชาวพุทธ) และ การฝึกโยคะซาเซ็น ส่วน ริวเกียว สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทั้ง วัด ครอบครัว และผู้ติดตามของเขาในเหตุการณ์สึนามิที่เมืองฟุกุชิมะเขาทำงานเป็นคนกำจัดเศษซากที่อาศัยอยู่ในบ้านพักชั่วคราว โดยมีเป้าหมายคือต้องกการสร้างห้องโถงไว้สำหรับทำเป็น Jig Theatre เพื่อโปรโมเตอร์ภาพยนตร์ โดยหนังแบ่งเป็น Parts ของแต่ละคนสลับไปมาที่ดูจะเป็นคู่หูดูโอ้ Adventure + Road Trip ที่เพิ่มเฮี้ยวขึ้นมาหน่อย ๆ มีนิ่ง ๆ เนิบ ๆ อะไรบ้างตามสไตล์แนวนี้แต่ไม่วูบหลับ ขณะเดียวกันระหว่างทางหนังก็ไม่ทิ้งหลักคำสอน การปฎิบัติเกี่ยวกับศาสนา รวมถึง ตั้งคำถามถึงแก่นแท้ที่เชื่อมโยงไปสู่สรรพสิ่งบนโลกใบนี้ผ่านมิตรภาพของตัว ชิเก็ง และ ริวเกียว ที่อาจฟังดูเวิ้นเว้อไปแต่ถ้าคิดตามไปด้วยจะได้ Message ที่หนังต้องการจะสื่อได้หลายอย่างถึงขั้นบรรลุเข้าสู่ทางธรรมก็ว่าได้
- ขณะดูไปก็เกิดการเปรียบเทียบกับศาสนาพุทธบ้านเราว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน คือโอเคแหล่ะว่ามีความต่างกันอยู่แล้ว ที่แปลกใจเลยก็คือ ตัวละครนำที่เป็นสาวกอย่าง ชิเก็ง ทำไมสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันทั่วไปได้ ขับรถยนต์พร้อมกับเปิดเพลงฟังได้แถมเป็นเพลง modern ด้วย และ ตัว ริวเกียว เพื่อนของเขาถึงกล้าชวนเขาออกไปนั่งดื่มข้างนอก ทั้ง ๆ ที่เขายังครองสถานะสาวกสงฆ์อยู่ ซึ่งตรงจุดนี้นอกจากเป็นคำถามที่ผมประหลาดใจแล้วก็ยังสงสัยว่าทำไมศาสนาของบ้านเขาถึงให้อิสระในการใช้ชีวิตมากกว่าบ้านเราที่ต้องปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดไปตามทีละ Pattern ว่าตื่นเช้ามาต้องทำวัตรเช้า เดินบิณฑบาต ฉันเช้า ฉันเพล และ ทำวัตรเย็น จะมีเวลาหน่อยก็ทำกิจวัตรของตนเองไปแต่ต้องอยู่ในวัด มีออกนิมนต์ตามนอกสถานที่บ้างถ้าได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสแต่ต้องกลับมาจำวัด ซึ่งถ้าเทียบกันแล้วของบ้านเขาดูอิสระกว่าแต่ก็มีการสวดมนต์ ปฎิบัติหลักคำสอน หรือกิจนิมนต์งานมงคลนอกสถานที่คล้าย ๆ กันกับบ้านเรา แต่อีกมุมนึงก็คิดกลับว่าการนับถือปฎิบัติของเขาต้องการสืบทอดอนุรักษ์ให้คงอยู่หรือเป็นแค่อาชีพหนึ่งที่หากินกับความศรัทธาหาผลประโยชน์ในส่วนตรงนี้กันแน่ เพราะในหนังถ่ายภาพให้เห็นว่าภายในวัดมีห้องสำนักงาน มีโต๊ะเก้าอี้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตามแต่ละแผนกเสร็จสรรพเรียบร้อยอีก ซึ่งน่าคิดอยู่เหมือนกัน
- สรุป เป็นสารคดีที่ใส่ความเป็นหนังลงไปได้น่าสนใจและซื่อตรงต่อแนวทางเดิม ช่วยทำให้การเล่าเรื่องมีความทันสมัยมีชีวิตชีวา ไม่มุ่งเน้นการยึดหลักคำสอนหรือการปฎิบัติตามศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่ด้วยการใส่ความเป็นหนังลงไปทำให้มี Story ของตัวละครขึ้นมาให้เราเลือกเสพที่มีปริมาณมากกว่าทำให้เราไม่ได้ล่วงรู้ในส่วนลึกของศาสนานี้เท่าที่ควร จึงไม่แปลกที่ขณะดูไปเราไม่ค่อยอินกับแนวทางคำสอนของบ้านเขาเลยว่าหน้าตาเป็นอย่างไร เข้าไม่ถึงว่าศาสนาเขามีจุดประสงค์อะไรมันเลยยิ่งไกลตัวออกไปอีก แต่ Message บางอย่างที่หนังถ่ายทอดออกมาระหว่างทางก็พอจะซึมซับได้อยู่บ้าง เพราะต้องใช้มุมมองของตนเองตีความช่วยด้วย จนกระทั่งบทสรุปที่ไม่ได้ให้ความหมายตายตัวเกี่ยวกับศาสนาถึงแก่นแท้ว่าเป็นอย่างไร แต่ดีหาทางสรุปให้ Story ของ 2 คนนี้อย่าง ชิเก็ง และริวเกียว จบลงได้ลงตัว
- แม้หนังจะเล่าข้าม Details บางอย่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไปว่ารู้จักกันได้ยังไง ทำไมถึงเป็นเพื่อนที่สนิทกันมานาน เราจึงไม่ได้เห็นภาพตรงนี้แล้วให้บรรยากาศที่เรียบง่ายของญี่ปุ่นในสถานที่บ้านเมืองหรือภูมิทัศน์ต่าง ๆ กลืนกินเข้าไปแทน Scene ที่ชอบอีกอย่างคือ ช่วงที่ ชิเก็ง นั่งฟังโดเก็น เซนจิ พระอาจารย์น้อมนำคำสอนของหลักศาสนาแล้วถกคำถามโต้ตอบไปมาเกี่ยวกับ อาหารมังสวิรัติของชาวพุทธ กัน 2 ต่อ 2 ว่าทำทำไม ทำแล้วได้อะไร แล้วพระอาจารย์ก็ตอบให้โดยไม่หวงความรู้ ไม่มีการมาแบ่งยศชั้นสถานะแต่ในฐานะผู้ทรงปัญญา ผู้รู้ ผู้ตื่น แล้วจงเบิกบานระหว่างกัน ซึ่ง Scene นี้ผมดูแล้วรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจขึ้นมาหน่อย อย่างน้อยก็ยืนยันได้ว่าเรื่องศาสนาก็เป็นเรื่องที่มนุษย์ปุถุชนสามารถถกเถียงโต้แย้งหาข้อเท็จจริงได้ไม่ใช่เป็นเรื่องต้องห้ามถามห้ามเถียงถามนุ้นนั่นนี่เหมือนบ้านเรา
ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share บทความของผม และ ติดตามช่องทาง Facebook : EM Pascal เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไป ขอบคุณครับ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้