อย่างที่ทุกคนเห็นคำถามบนหัวกระทู้ คือกระผมสงสัยว่า เหตุใดคำย่อเมื่อเอามาใส่กลอนเมื่อลงคำในจุด ๆ นี้ มันดูไม่งาม เนื่องด้วยตอนกระผมไปแข่งที่ มข. เมื่อเดือนที่แล้ว กระผมเขียนกลอนสุภาพ โดยที่เขียนคำย่อว่า “ปัญญ์” ของบาทสุดท้าย คำที่ 3 เมื่อทางคณะกรรมการได้ไปตรวจรวมคะแนนบทกลอนที่กระผมแต่ง
เมื่อได้รับใบกระดาษคืนจากท่าน
กระผมเห็นกรรมการขีดเส้นใต้สีแดงคำว่า “ปัญญ์” แล้วเขียนว่า “ไม่ควรย่อคำนี้” ครูก็บอกกระผมว่า มันมีจังหวะของคำที่ควรลงในกลอน ถ้าลงผิดมันจะดูไม่งาม กระผมเลยสงสัยว่า เราจะรู้ได้อย่างไร ว่ามันไม่ควรลง หรือควรลงตรงไหนได้บ้าง
(ขอนอกเรื่องของคำถาม การแข่งขันเนื่องในงาน มหกรรมหนังสือ ของทาง มข. ที่ได้ทำการจัดขึ้นทุก ๆ ปี มีหนังสือหลากหลายชนิด เช่น หนังสือกลอน เรื่องสั้น หนังสือการ์ตูน หนังสือจิตวิทยา หนังสือเรียน ฯลฯ และ การแข่งขันมีผู้เข้าร่วมประมาณ 18 คน มีรางวัลเพียง 6 คน คือ ชนะเลิศ รอง 1 และ รอง 2 ชมเชย 1,2,3 ซึ่งกระผมแข่งขันได้ชมเชยรองอันดับ ที่ 1) ขอท่านผู้รู้ช่วยบอกความรู้เล็ก ๆ น่อน ๆ ต่อกระผมทีครับ ขอบพระคุณมากครับ
มีใครทราบไหมว่า จังหวะของกลอนสุภาพ หรือ กลอนฉันทลักษณ์ อื่น ๆ ทำไมบางจุดลงคำย่อได้ บางจุดไม่ควรลง
เมื่อได้รับใบกระดาษคืนจากท่าน
กระผมเห็นกรรมการขีดเส้นใต้สีแดงคำว่า “ปัญญ์” แล้วเขียนว่า “ไม่ควรย่อคำนี้” ครูก็บอกกระผมว่า มันมีจังหวะของคำที่ควรลงในกลอน ถ้าลงผิดมันจะดูไม่งาม กระผมเลยสงสัยว่า เราจะรู้ได้อย่างไร ว่ามันไม่ควรลง หรือควรลงตรงไหนได้บ้าง
(ขอนอกเรื่องของคำถาม การแข่งขันเนื่องในงาน มหกรรมหนังสือ ของทาง มข. ที่ได้ทำการจัดขึ้นทุก ๆ ปี มีหนังสือหลากหลายชนิด เช่น หนังสือกลอน เรื่องสั้น หนังสือการ์ตูน หนังสือจิตวิทยา หนังสือเรียน ฯลฯ และ การแข่งขันมีผู้เข้าร่วมประมาณ 18 คน มีรางวัลเพียง 6 คน คือ ชนะเลิศ รอง 1 และ รอง 2 ชมเชย 1,2,3 ซึ่งกระผมแข่งขันได้ชมเชยรองอันดับ ที่ 1) ขอท่านผู้รู้ช่วยบอกความรู้เล็ก ๆ น่อน ๆ ต่อกระผมทีครับ ขอบพระคุณมากครับ