JJNY : โคราชจี้รบ.กระตุ้นท่องเที่ยว│รุมค้าน แก้นโยบายป่าไม้มรดก คสช.│พณ.หวั่นน้ำตาลปรับตัวสูง│‘ไบเดน’ผิดหวัง‘สี จิ้นผิง’

นายกฯท่องเที่ยวโคราช จี้ รบ.เร่งกระตุ้นการท่องเที่ยว ดึงนทท.ต่างชาติเข้าไทย ฟื้นเศรษฐกิจ
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4162239
  
 
นายกฯท่องเที่ยวโคราช จี้ รบ.เร่งกระตุ้นการท่องเที่ยว ดึงนทท.ต่างชาติเข้าไทย ฟื้นเศรษฐกิจ
 
เมื่อวันที่ 4 กันยายน ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า อยากฝากถึงรัฐบาล “เศรษฐา 1” โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา คนใหม่ นางสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล ว่า รู้สึกยินดีและดีใจที่ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นชาว จ.นครราชสีมา เพราะจะเข้าใจบริบทและความเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดเป็นอย่างดี ซึ่งในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว การท่องเที่ยวเริ่มจะกระเตื้องขึ้น
 
ดร.วัชรี กล่าวว่า อยากฝากให้รัฐบาล “เศรษฐา 1” ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กลับมาบูมโดยเร็ว เพื่อดึงเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาช่วยฟื้นเศรษฐกิจ โดยเรื่องแรกที่อยากให้ช่วยผลักดัน คือเรื่องการคมนาคม อยากให้เชื่อมโครงข่ายเมกะโปรเจ็กต์ให้สำเร็จโดยเร็ว ทั้งมอเตอร์เวย์ รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ และท่าเรือบก เพื่อให้การเดินทางและการขนส่งสะดวกสบาย รวดเร็ว ถ้าการเดินทางเข้ามาถึงจังหวัดนครราชสีมา สะดวกใช้เวลาน้อย จะช่วยให้นักลงทุนและนักท่องเที่ยวเลือกใช้เส้นทางมายังจังหวัดมากขึ้น จะเป็นจุดเช็กอินท่องเที่ยวพักผ่อน และเป็นฮับจุดพัก-กระจายสินค้าไปยังจังหวัดทางภาคอีสานและประเทศเพื่อนบ้านได้ด้วย
 
ดร.วัชรี กล่าวว่า ส่วนเรื่องที่ 2 คือ เรื่องท่าอากาศยานนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ถ้าสามารถเปิดใช้ประโยชน์ นำสายการบินมาเปิดบริการ ก็จะทำให้การคมนาคมท่องเที่ยวสะดวกมากขึ้น เชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคของไทยและต่างประเทศ เพราะตอนนี้ ประเทศจีน เปิด Free VISA ทำให้นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวเดินทางเข้า-ออกประเทศจีน ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะใช้ท่าอากาศยานที่มีอยู่แล้ว สร้างประโยชน์-ดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ หรือหากผลักดันให้เปิดท่าอากาศยานใหม่ในกองบิน 1 ได้ก็จะเป็นเรื่องดีอย่างมากเพราะอยู่ในตัวเมือง นักท่องเที่ยวและนักลงทุนที่เข้ามาจังหวัดนครราชสีมาเข้าถึงบริการสนามบินได้โดยง่าย ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเจรจาธุรกิจการลงทุนสะดวก คึกคัก สามารถบินข้ามภูมิภาคหรือบินข้ามประเทศ โดยไม่ต้องเดินทางเข้าไปที่กรุงเทพฯ ให้เสียเวลา
 
ดร.วัชรี กล่าวว่า เรื่องที่ 3 คือ การพัฒนาจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นเมืองสุขภาพ “Korat Wellness City” เพราะจังหวัดนครราชสีมามีสภาพภูมิศาสตร์และความโดดเด่นในด้านต่างๆ มีป่ามรดกโลก แหล่งโอโซนบริสุทธิ์ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญ คือ เป็นดินแดน 3 มรดกโลกยูเนสโก (UNESCO Triple Heritage City) โดยจังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ “ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่”, มีพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก “สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช” และเป็นแหล่งอุทยานธรณีโลก “โคราชจีโอพาร์ค” จึงเหมาะสำหรับการผลักดันให้เป็นเมืองสุขภาพ ดังนั้น จึงอยากให้รัฐบาลส่งเสริมสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
 
ดร.วัชรี กล่าวว่า และเรื่องที่ 4 อยากให้ ททท.ช่วยประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักจังหวัดนครราชสีมามากขึ้น และช่วยเรื่องทำการตลาด เพื่อจะเชื่อมโยงดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มสุขภาพ ให้เข้ามาใช้บริการที่จังหวัดนครราชสีมามากขึ้นด้วย ซึ่งผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ต ที่พัก และสถานประกอบการเพื่อสุขภาพในจังหวัด ก็พร้อมอย่างเต็มที่ที่จะยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพอย่างครบวงจร เพราะปัจจุบัน คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพอย่างมาก จึงอยากให้รัฐบาลใหม่ช่วยผลักดันอย่างจริงจัง อย่าทำเพียงครึ่งๆ กลางๆ ซึ่งหากทำได้ จะเป็นการสร้างโอกาสดึงนักท่องเที่ยวและนักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามาประเทศไทยได้มากขึ้นด้วย



รุมค้าน เวทีความเห็น อุทยานถ้ำผาไท ยื่นจี้ ‘เศรษฐา’ แก้นโยบายป่าไม้ มรดก คสช.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7848675

รุมค้าน เวทีความเห็น อุทยานถ้ำผาไท ชาวบ้านยันข้อมูลแผนที่ไม่ชัดเจน ขาดส่วนร่วม หวั่นผลกระทบวิถีชีวิต พร้อมยื่นจี้ ‘เศรษฐา’ แก้นโยบายป่าไม้มรดก คสช.
 
วันที่ 4 ก.ย. 2566 สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) จ.ลำปาง สมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ร่วมสะท้อนผลกระทบประกาศอุทยานแห่งชาติทับที่ชุมชนในเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียจากการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท (เตรียมการ) ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภองาว จ.ลำปาง โดยชาวบ้านต่างยังไม่ยินยอมให้ประกาศอุทยานฯ ดังกล่าวเนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในแนวเขตว่าทับซ้อนกับชุมชนหรือไม่ รวมทั้งกระบวนการประชาสัมพันธ์ก่อนเปิดเวทีดังกล่าวก็ไม่ทั่วถึง อาจขัดกับหลักการมีส่วนร่วม
 
เวลา 08.30 น. สกน. จ.ลำปาง ประมาณ 300 คน ตั้งขบวนหน้าปั๊ม ปตท. อ.งาว และเดินเท้าประมาณ 800 เมตร มายังหน้าห้องประชุมที่ว่าการอำเภองาว และปราศรัยประมาณ 30 นาที ก่อนเดินเข้าห้องประชุมและร่วมสะท้อนความเห็นต่อการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท
นายพีระเมศร์ ตื้อตันสกุล ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 ลำปาง ชี้แจงว่าการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท เป็นไปตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติ และ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่กำหนดให้ประเทศไทยต้องมีพื้นที่ป่า 40 เปอร์เซ็นต์ โดยเป็นป่าอนุรักษ์ 25 เปอร์เซ็นต์ และ ป่าเศรษฐกิจ 15 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอุทยานแห่งขาติถ้ำผาไท อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 25 เปอร์เซ็นต์นั้น
 
ประเทศไทยมีเรื่องน้ำแล้ง น้ำหลาก ต้องมีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีระบบนิเวศกลับมาเหมือนเก่า เราต้องดูในภาพรวม อยากให้พี่น้องเข้าใจว่าทุกอย่างมันเป็นไปตามนโยบาย เราจึงต้องมาคุยกันว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไรให้สมดุลและยั่งยืน” ผอ.สำนักฯ กล่าว
 
สมพงษ์ ยาง ชาวปกาเกอะญอบ้านขวัญคีรีนอก หมู่ที่ 11 ต.บ้านร้อง อ.งาว จ.ลำปาง กล่าวถึงความไม่ชอบธรรมจากการจัดเวทีรับฟังความเห็นครั้งนี้ว่า มีผู้นำหลายชุมชนไม่ได้มาเข้าร่วม แต่เป็นปัญหาที่การประสานงานของอุทยานฯ หรือไม่ และหากประกาศไปโดยไม่มีส่งนร่วมจะสร้างผลกระทบต่อชุมชน
 
ถ้าประกาศอุทยานฯ ไปแล้วมันจะเป็นการตัดสิทธิของคนอยู่กับป่า อย่ามามีอคติกับชุมชน ที่บอกว่าจะมีการส่งเสริมและมีผลประโยชน์กับชุมชน นี่ขนาดตอนนี้ผมอยู่ป่าสงวนฯ ยังไม่ได้รับสิทธิเลย แล้วถ้าอยู่อุทยานฯ เราจะได้ได้ยังไง” สมพงษ์กล่าว
 
หลังจากนั้นชาวบ้านจากชุมชนอื่นๆ ก็ได้ร่วมสะท้อนความกังวล โดยเป็นความกังวลต่อกระบวนการสำรวจแนวเขตการประกาศอุทยานฯ ที่ไม่มีความชัดเจน ทับซ้อนกับชุมชน ความกังวลต่อข้อจำกัดทางกฎหมายในด้านการทำกิน เก็บหาของป่า เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ป่า การพัฒนาสาธารณูปโภค และกระบวนการมีส่วนร่วมที่ไม่ใช่การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
 
นอกจากนั้นยังพบว่าชาวบ้านไม่พอใจต่อหลักการและเหตุผลในเอกสารประกอบรับฟังความเห็น ที่ปรากฏมีอคติต่อชุมชนในเขตป่า อาทิ การกล่าวหาว่าชาวบ้านค้าไม้ บุกรุกป่า และทำให้เกิดไฟป่า โดยชุมชนต่างร่วมกันยืนยันว่าชาวบ้านอยู่กับป่ามาก่อน และต่อสู้กับการทำสัมปทานป่าไม้ ฟื้นฟูป่าจนอุดมสมบูรณ์ โดยเรียกร้องให้อุทยานฯ ขอโทษชาวบ้านในประเด็นนี้ ทำให้ ธนากร สิงห์เชื้อ ขอโทษชาวบ้านในประเด็นดังกล่าว

เมื่อชาวบ้านขอให้ชี้แจงแนวเขตแผนที่แต่ชุมชน โดยให้พิมพ์เอกสารรายละเอียดให้ทุกชุมชนที่เกี่ยวข้อง แต่หน่วยงานชี้แจงกลับว่าข้อมูลการสำรวจแผนที่นั้นยังต้องกลับไปทำต่อ ซึ่งทำให้ชาวบ้านยืนยันว่า ยังไม่สามารถรับฟังความเห็นได้ เนื่องจากข้อมูลการสำรวจแนวเขตและกระบวนการในระดับพื้นที่ยังไม่ชัดเจนเป็นที่ยุติ

•  สกน. ลำปางยื่น ‘เศรษฐา-พล.ต.อ.พัชรวาท’ เร่งแก้ปัญหาป่าทับคน
 
ในช่วงท้ายของเวทีปรากฏว่าไร้ข้อยุติ ชาวบ้านยืนยันไม่ลงทะเบียนเข้าร่วมรับฟังความเห็น และยืนยันให้กลับไปทำความเข้าใจกับทุกชุมชนก่อน และยื่นหนังสือถึง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยื่นถึงผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 ลำปาง โดยมีข้อเรียกร้อง ได้แก่
 
1. ดำเนินการสำรวจข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินร่วมกับชุมชนให้เป็นที่ยุติร่วมกัน และกันแนวเขตที่ดินเดิมของชุมชนออกจากพื้นที่เตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท
 
2. กำกับดูแลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะหน่วยงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มิให้ดำเนินการใดๆ อันเป็นการกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง และวิถีวัฒนธรรมของชุมชน ไม่ข่มขู่ คุกคาม และผลิตซ้ำอคติทางชาติพันธุ์และอคติต่อคนอยู่กับป่า
 
3. เร่งปรับแก้กฎหมายด้านการจัดการป่าไม้ให้รับรองหลักสิทธิชุมชนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญ และให้เร่งบรรจุแนวทางการบริหารจัดการที่ดิน ป่าไม้ รูปแบบสิทธิชุมชน โฉนดชุมชน ในนโยบายของรัฐบาล ให้เป็นไปตามปฏิญญาสากลที่ประเทศไทยได้ลงนามไว้ โดยเฉพาะปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง นายกรัฐมนตรีควรแถลงขอโทษต่อกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยต่อกรณีการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่ละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยต้องแถลงต่อสาธารณะ
 
4. เร่งผลักดันกฎหมายส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ที่มีแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 ส.ค. 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง
 
5. นายกรัฐมนตรีควรแถลงขอโทษต่อกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยต่อกรณีการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่ละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยต้องแถลงต่อสาธารณะ
 
• แถลงเรียกร้องสังคมจับตาประกาศอุทยานฯ ถ้ำผาไท
 
หลังยื่นหนังสือ สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) จ.ลำปาง ได้อ่านแถลงการณ์ ระบุว่า พวกเราคือผู้คนในผืนป่า ชุมชนชาติพันธุ์-ชนเผ่าพื้นเมือง ที่เป็นแนวหน้าในการดูแลและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ เป็นผู้ฟื้นฟูผืนป่าจากการที่รัฐเปิดสัมปทานไม้ให้นายทุนมารุมทึ้งทำลายหลายทศวรรษ จนสามารถฟื้นกลับมาอุดมสมบูรณ์ เราได้ลงแรง ลงใจในการจัดการไฟป่า แต่กลับถูกกล่าวหาด้วยอคติว่าเป็นผู้ทำลาย แม้เราจะพิสูจน์ให้ภาครัฐและสังคมได้เห็นมาแล้วหลายชั่วอายุคนว่าวิถีวัฒนธรรมของเราคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ผืนป่าอยู่ได้มาถึงปัจจุบัน
 
วันนี้ ณ ที่ว่าการอำเภองาว จ.ลำปาง พวกเราสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) จ.ลำปาง ได้มาเข้าร่วมกระบวนการรับฟังความเห็นในฐานะผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท เพื่อส่งเสียงข้อเรียกร้องของเราต่อหน่วยงานรัฐภายใต้สังกัดของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้หยุดละเมิดสิทธิมนุษยชน หยุดลิดรอนสิทธิของคนอยู่กับป่า หยุดเพิกเฉยต่อปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง และรูปธรรมการตอบรับข้อเรียกร้องเหล่านี้ที่ชัดเจนที่สุด คือการกันแนวเขตพื้นที่ชุมขนทั้งหมดออกก่อนประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเราเรียกร้องมาแล้วหลายยุคสมัย
 
เราจึงขอส่งเสียงไปถึงสังคมไทย โปรดจับตาเวทีการรับฟังความเห็นประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท อันจะเป็นภาพสะท้อนว่าทิศทางการจัดการที่-ป่าไม้ทั้งประเทศจะล้มเหลว สร้างผลกระทบ ข้อพิพาทความขัดแย้งเช่นเดิมหรือไม่ และร่วมกันยืนยันข้อเรียกร้องว่า อย่าเอาบ้านเราไปประกาศอุทยานฯ ขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนช่วยกันส่งเสียงให้เร่งแก้นโยบายป่าไม้-ที่ดินเผด็จการที่ไม่เห็นหัวคนอยู่กับป่า และผลักดันกฎหมายคุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองโดยเร็วที่สุด
 
และขอจงร่วมกันเปล่งเสียงเรียกร้องให้ดังก้องทั่วสังคม ว่ารัฐจะต้องกันแนวเขตบ้านเราออกทั้งหมดก่อนประกาศอุทยานฯ จึงจะเป็นเวทีรับฟังความเห็นและการเปิดมีส่วนร่วมที่แท้จริง และหากภายหลังภาครัฐยังไม่สนอง เรายืนยันจะเคลื่อนไหวเรียกร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่