เราใช้ยศ "ว่าที่ร้อยตรี" เมื่อไรดี
โดย พันโท ฐิติพันธ์ ฐิติพานิชยางกูร (ต.ค.2564)
แก้ไขใหม่ 29 ส.ค.67
บทความนี้ มีที่มาจากคำถามจากน้องๆ ที่จบ ร.ด.ปี 5 ว่า “เราใช้ ยศว่าที่ร้อยตรี เมื่อไรดี” ซึ่งผู้เขียนก็จบ รด. ปี 5 เช่นกัน และได้รับการแต่งตั้งยศ "ว่าที่ร้อยตรี" ตามคำสั่งที่ กห. 857/2544 ลง 7 พ.ย.44 แต่ว่าผู้เขียนก็ไม่เคยใช้ยศนี้ในบัตรประชาชน หรือทะเบียนราษฎร์ เลยสักครั้งเดียว จนกระทั่งปัจจุบันจะได้รับการบรรจุเข้าราชการทหารจนเป็น “พันโท” แล้วก็ตาม ผู้เขียนได้นำมาทบทวนและมีข้อคิดที่อยากแบ่งปันให้รุ่นน้องๆ ได้ลองพิจารณา ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ดังนี้
1. เหตุใด ทำไมผู้เขียนจึงไม่ไปเปลี่ยนคำนำหน้า หรือไม่ภูมิใจที่จบ รด.ปี 5
ตอบ ไม่ใช่อย่างแน่นอน แต่เป็นเพราะรัก เพราะศรัทธาอย่างแก่กล้า อยากให้ยศกำลังพลสำรอง (กสร.) มีคุณค่าอย่างแท้จริง จึงตั้งเป้าหมายเมื่อตอนที่เรียนว่าจะใช้ยศ ว่าที่ ร.ต. เมื่อมีอาชีพที่ดูเหมาะสม เช่น ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าจังหวัด ผอ.โรงเรียน หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ หรือถ้าเป็นเอกชน ก็ควรดำรงตำแหน่งเป็นระดับผู้บริหารหรือหัวหน้า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า ห้ามอาชีพอื่นๆ หรือการประกอบอาชีพส่วนตัวนั้น ไม่ควรใช้ยศนะ เพราะตามระเบียบแล้ว ไม่ได้กล่าวห้ามอะไร ซึ่งรุ่นน้องๆ กสร. ก็ยังคงใช้ได้ตามปกติ บทความนี้เป็นความนิยมส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นเอง และทุกวันนี้ผู้เขียนก็ยังไม่ไปเปลี่ยนในบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านเช่นเดิม แต่จะใช้ยศเมื่อต้องไปเป็นวิทยากรหรือผู้บรรยายในโอกาสต่างๆ ที่ได้เชิญมา
2. หากเราจะใช้ยศ ว่าที่ ร.ต. แล้ว ควรพิจารณาในเรื่องใด
ตอบ มีปัจจัยที่เราต้องคิดพิจารณา เช่น โอกาส-กาลเทศะ เกียรติยศ-เกียรติศักดิ์-ศักดิ์ศรี ความรู้-วินัยทหาร และความรับผิดชอบ
2.1 โอกาส-กาลเทศะ เกียรติยศ-เกียรติศักดิ์-ศักดิ์ศรี
ตอบ ถึงเป็นกำลังพลหลักหรือกำลังพลสำรอง (กสร.) ก็ตาม บางโอกาสการใช้ยศ ก็อาจไม่เหมาะสมในบางอาชีพ หากอาชีพนั้นได้ส่อไปทางมิจฉาชีพ หรือต่อศีลธรรมอันดี สำหรับบางตำแหน่งในอาชีพสุจริต ก็ยากยกตัวอย่างให้ชัดเจน เพื่อเป็นการป้องกันการกล่าวหาเชิงดูถูกเหยียดหยามแล้ว ผู้เขียนจึงขอกล่าวไว้กว้างๆ ว่า กสร. ควรละเว้นการใช้ยศในตำแหน่งที่คุณวุฒิน้อยกว่าสัญญาบัตรยศ เพื่อรักษาเกียรติยศในสมฐานะที่ได้รับนั่นเอง
2.2 ความรู้-วินัยทหาร
ตอบ ในสายตาชาวบ้านที่มองทหาร หรือผู้มียศ ก็จะมองในเรื่องความมีวินัย ความกล้าหาญ การเคารพกฎกติกา และมีภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นคุณลักษณะทางทหารที่พึงประสงค์ ที่เราต้องตระหนักและดำรงสภาพไว้ ทุกๆ ครั้งที่เราสวมเครื่องแบบในวันสำคัญต่างๆ หรือ ใช้ยศในที่ประชุม หรือ ใช้ต่อสาธารณชน หรือใช้ในอาชีพการงานของตนเองแล้ว อย่า !!! ทิ้งความรู้และวินัยทหารโดยเด็ดขาด ต้องใฝ่หาความรู้ อัพเดทข้อมูลใหม่ๆ อยู่เสมอๆ เพื่อให้เป็นกำลังพลสำรองที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ส่งเสริมต่อภาพพจน์ที่ดีของ กสร. ส่งผลให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือบริษัทเอกชนให้การสนับสนุนชาว กสร. ดำเนินกิจกรรมทางทหารทั้งปวง สำหรับความรู้สามารถเป็นประโยชน์ได้ ตัวอย่างเช่น
- มีความรู้ในการปฏิบัติการกิจการพลเรือน (ปกร.) ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่อง PR ของบริษัท
- มีความรู้ในการปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation) ก็สามารถใช้ประโยชน์ในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ
- มีความรู้ในการรักษาความปลอดภัยในเชิงรับและเชิงรุก (สายงานยุทธการและการข่าว) ก็สามารถกำหนดนโยบายและกำกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ รปภ. เป็นต้น
2.3 ความรับผิดชอบ
ตอบ ผู้เขียนมักติดตามข่าวสารในวงการ กสร. อยู่เสมอ นิยมชื่นชม ว่าที่ ร.ต.-ว่าที่ พ.ต. ที่ได้ประกอบคุณงามความดี ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม
และก็ไม่สบายใจเสมอเมื่อได้ข่าว กสร. ไปทำผิดต่าง ๆ รวมถึงมีคติที่เอายศไปอวดสาวให้ตัวเองดูเท่ หรือหลอกลวงชาวบ้าน เช่น ข่าว ว่าที่ ร.ต. แต่งกายเป็น ร.ท. (อ้างอิงจากข่าว
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000072097 ) ผู้เขียนก็รับรู้ความรู้สึกจากข่าวประโยคหนึ่งที่ว่า “ทั้งที่เป็นเพียงนายทหารสัญญาบัตรกองหนุนเท่านั้น” ซึ่งเป็นการด้อยค่ายศ กสร. จากสายตาคนภายนอก
ดังนั้น ผู้เขียนในฐานะรุ่นพี่ จึงขอฝากให้น้องๆ กสร. ทุกนาย ว่าจะต้องมีความผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม อย่าได้กระทำความผิดอันใดที่ทำให้เสื่อมเสียแก่วงการ กสร. อีกเลย ไม่ว่า จะเป็นการแต่งเครื่องแบบที่ไม่เรียบร้อย หรือแต่งเพื่อโชว์อวดอ้างในที่อโคจร เช่น บาร์ คาเฟ่ อาบอบนวด
ปัจจุบันเรายังมีพี่น้องชาว กสร. อีกหลายท่านที่กำลังทำชื่อเสียง เพื่อให้ กสร. ได้มีบทบาทสำคัญในกระทรวงกลาโหม และส่งเสริมให้ประชาชนให้การสนับสนุน อย่างน้อย เป้าหมายของชาว กสร. อยากได้หลักสูตรชั้นนายพัน (การฝึกเลื่อนยศ ว่าที่ พ.ต.) กลับมาใช่หรือไม่ ในความเห็นของผู้เขียน สามารถทำได้แน่นอน แนวโน้มการปฏิรูปกองทัพ การพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ และการลดตำแหน่งบรรจุของนายทหารประจำการ จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหลักสูตรการฝึกอบรม และการใช้กำลังพลสำรอง จะตอบสนองต่อตัวชี้วัดในเรื่องศักย์ความพร้อมระดมพล สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทุกอย่างเป็นไปได้ จึงขอให้พวกเราต้องช่วยกัน ...
ด้วยความห่วงใย จาก นศท. รุ่นที่ 47/2543
เราใช้ยศ "ว่าที่ร้อยตรี" เมื่อไรดี
โดย พันโท ฐิติพันธ์ ฐิติพานิชยางกูร (ต.ค.2564)
แก้ไขใหม่ 29 ส.ค.67
บทความนี้ มีที่มาจากคำถามจากน้องๆ ที่จบ ร.ด.ปี 5 ว่า “เราใช้ ยศว่าที่ร้อยตรี เมื่อไรดี” ซึ่งผู้เขียนก็จบ รด. ปี 5 เช่นกัน และได้รับการแต่งตั้งยศ "ว่าที่ร้อยตรี" ตามคำสั่งที่ กห. 857/2544 ลง 7 พ.ย.44 แต่ว่าผู้เขียนก็ไม่เคยใช้ยศนี้ในบัตรประชาชน หรือทะเบียนราษฎร์ เลยสักครั้งเดียว จนกระทั่งปัจจุบันจะได้รับการบรรจุเข้าราชการทหารจนเป็น “พันโท” แล้วก็ตาม ผู้เขียนได้นำมาทบทวนและมีข้อคิดที่อยากแบ่งปันให้รุ่นน้องๆ ได้ลองพิจารณา ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ดังนี้
1. เหตุใด ทำไมผู้เขียนจึงไม่ไปเปลี่ยนคำนำหน้า หรือไม่ภูมิใจที่จบ รด.ปี 5
ตอบ ไม่ใช่อย่างแน่นอน แต่เป็นเพราะรัก เพราะศรัทธาอย่างแก่กล้า อยากให้ยศกำลังพลสำรอง (กสร.) มีคุณค่าอย่างแท้จริง จึงตั้งเป้าหมายเมื่อตอนที่เรียนว่าจะใช้ยศ ว่าที่ ร.ต. เมื่อมีอาชีพที่ดูเหมาะสม เช่น ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าจังหวัด ผอ.โรงเรียน หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ หรือถ้าเป็นเอกชน ก็ควรดำรงตำแหน่งเป็นระดับผู้บริหารหรือหัวหน้า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า ห้ามอาชีพอื่นๆ หรือการประกอบอาชีพส่วนตัวนั้น ไม่ควรใช้ยศนะ เพราะตามระเบียบแล้ว ไม่ได้กล่าวห้ามอะไร ซึ่งรุ่นน้องๆ กสร. ก็ยังคงใช้ได้ตามปกติ บทความนี้เป็นความนิยมส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นเอง และทุกวันนี้ผู้เขียนก็ยังไม่ไปเปลี่ยนในบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านเช่นเดิม แต่จะใช้ยศเมื่อต้องไปเป็นวิทยากรหรือผู้บรรยายในโอกาสต่างๆ ที่ได้เชิญมา
2. หากเราจะใช้ยศ ว่าที่ ร.ต. แล้ว ควรพิจารณาในเรื่องใด
ตอบ มีปัจจัยที่เราต้องคิดพิจารณา เช่น โอกาส-กาลเทศะ เกียรติยศ-เกียรติศักดิ์-ศักดิ์ศรี ความรู้-วินัยทหาร และความรับผิดชอบ
2.1 โอกาส-กาลเทศะ เกียรติยศ-เกียรติศักดิ์-ศักดิ์ศรี
ตอบ ถึงเป็นกำลังพลหลักหรือกำลังพลสำรอง (กสร.) ก็ตาม บางโอกาสการใช้ยศ ก็อาจไม่เหมาะสมในบางอาชีพ หากอาชีพนั้นได้ส่อไปทางมิจฉาชีพ หรือต่อศีลธรรมอันดี สำหรับบางตำแหน่งในอาชีพสุจริต ก็ยากยกตัวอย่างให้ชัดเจน เพื่อเป็นการป้องกันการกล่าวหาเชิงดูถูกเหยียดหยามแล้ว ผู้เขียนจึงขอกล่าวไว้กว้างๆ ว่า กสร. ควรละเว้นการใช้ยศในตำแหน่งที่คุณวุฒิน้อยกว่าสัญญาบัตรยศ เพื่อรักษาเกียรติยศในสมฐานะที่ได้รับนั่นเอง
2.2 ความรู้-วินัยทหาร
ตอบ ในสายตาชาวบ้านที่มองทหาร หรือผู้มียศ ก็จะมองในเรื่องความมีวินัย ความกล้าหาญ การเคารพกฎกติกา และมีภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นคุณลักษณะทางทหารที่พึงประสงค์ ที่เราต้องตระหนักและดำรงสภาพไว้ ทุกๆ ครั้งที่เราสวมเครื่องแบบในวันสำคัญต่างๆ หรือ ใช้ยศในที่ประชุม หรือ ใช้ต่อสาธารณชน หรือใช้ในอาชีพการงานของตนเองแล้ว อย่า !!! ทิ้งความรู้และวินัยทหารโดยเด็ดขาด ต้องใฝ่หาความรู้ อัพเดทข้อมูลใหม่ๆ อยู่เสมอๆ เพื่อให้เป็นกำลังพลสำรองที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ส่งเสริมต่อภาพพจน์ที่ดีของ กสร. ส่งผลให้หน่วยงานต้นสังกัดหรือบริษัทเอกชนให้การสนับสนุนชาว กสร. ดำเนินกิจกรรมทางทหารทั้งปวง สำหรับความรู้สามารถเป็นประโยชน์ได้ ตัวอย่างเช่น
- มีความรู้ในการปฏิบัติการกิจการพลเรือน (ปกร.) ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่อง PR ของบริษัท
- มีความรู้ในการปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation) ก็สามารถใช้ประโยชน์ในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ
- มีความรู้ในการรักษาความปลอดภัยในเชิงรับและเชิงรุก (สายงานยุทธการและการข่าว) ก็สามารถกำหนดนโยบายและกำกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ รปภ. เป็นต้น
2.3 ความรับผิดชอบ
ตอบ ผู้เขียนมักติดตามข่าวสารในวงการ กสร. อยู่เสมอ นิยมชื่นชม ว่าที่ ร.ต.-ว่าที่ พ.ต. ที่ได้ประกอบคุณงามความดี ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม
และก็ไม่สบายใจเสมอเมื่อได้ข่าว กสร. ไปทำผิดต่าง ๆ รวมถึงมีคติที่เอายศไปอวดสาวให้ตัวเองดูเท่ หรือหลอกลวงชาวบ้าน เช่น ข่าว ว่าที่ ร.ต. แต่งกายเป็น ร.ท. (อ้างอิงจากข่าว https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000072097 ) ผู้เขียนก็รับรู้ความรู้สึกจากข่าวประโยคหนึ่งที่ว่า “ทั้งที่เป็นเพียงนายทหารสัญญาบัตรกองหนุนเท่านั้น” ซึ่งเป็นการด้อยค่ายศ กสร. จากสายตาคนภายนอก
ดังนั้น ผู้เขียนในฐานะรุ่นพี่ จึงขอฝากให้น้องๆ กสร. ทุกนาย ว่าจะต้องมีความผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม อย่าได้กระทำความผิดอันใดที่ทำให้เสื่อมเสียแก่วงการ กสร. อีกเลย ไม่ว่า จะเป็นการแต่งเครื่องแบบที่ไม่เรียบร้อย หรือแต่งเพื่อโชว์อวดอ้างในที่อโคจร เช่น บาร์ คาเฟ่ อาบอบนวด
ปัจจุบันเรายังมีพี่น้องชาว กสร. อีกหลายท่านที่กำลังทำชื่อเสียง เพื่อให้ กสร. ได้มีบทบาทสำคัญในกระทรวงกลาโหม และส่งเสริมให้ประชาชนให้การสนับสนุน อย่างน้อย เป้าหมายของชาว กสร. อยากได้หลักสูตรชั้นนายพัน (การฝึกเลื่อนยศ ว่าที่ พ.ต.) กลับมาใช่หรือไม่ ในความเห็นของผู้เขียน สามารถทำได้แน่นอน แนวโน้มการปฏิรูปกองทัพ การพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ และการลดตำแหน่งบรรจุของนายทหารประจำการ จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหลักสูตรการฝึกอบรม และการใช้กำลังพลสำรอง จะตอบสนองต่อตัวชี้วัดในเรื่องศักย์ความพร้อมระดมพล สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทุกอย่างเป็นไปได้ จึงขอให้พวกเราต้องช่วยกัน ...
ด้วยความห่วงใย จาก นศท. รุ่นที่ 47/2543