สวัสดีค่ะ มีเรื่องสอบถาม ในกรณีศาลฎีกาพิพากษาคดีแพ่ง โดยกลับคำตัดสิน จากศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ซึ่งเราเห็นว่าหลักฐานของเราซึ่งเป็นฝ่ายจำเลยมีน้ำหนักมากพอ เป็นพยานเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างโดยเราทำในนามนิติบุคคล ซึ่งไม่มีสัญญาการเช่าที่ดิน สร้างสถานีบริการน้ำมันโดยการกู้ธนาคาร และธนาคารให้เหตุผลในการกู้ “กู้เพื่อก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน” เป็นกิจการในครอบครัว มีการขออนุญาตก่อสร้างในนามห้างฯ ซึ่งเราเป็นหุ้นส่วนผจก. ส่วนพี่ชายเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด และแม่ยกที่ดินให้พี่ชายระหว่างจำนอง โดยทำนิติกรรมยกที่ดินเปล่าไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาเมื่อครบอายุสัญญาเช่าที่ทำไว้กับ บ. น้ำมัน ยังคงเหลือหนี้ประมาณ ห้าล้านเศษ โดยในตอนนั้นได้ทำหนังสือบันทึกว่าจะนำเงินค่าเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในนามพี่ชายคนเดียว มาชำระหนี้ให้ธนาคาร หลังจากชำระหนี้หมด พี่ชายเราฟ้องห้างฯและเรา ในเรื่องค้ำประกันหนี้ คดีทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง และตัดสินว่าสิ่งปลูกสร้างเป็นของห้างฯ เราก็คิดว่าจะจบที่ศาลอุทธรณ์ แต่ศาลฎีการับไปพิจารณา และกลับคำตัดสินว่าแม่เราเป็นคนสร้างสถานีบริการ และตัดสินให้สิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบ และให้เราใช้หนี้ เป็นเงินต้นรวมดอกเบี้ย จำนวนแปดล้านห้าแสนเศษ เราไม่มีเงิน จึงต้องโอนอาคารพาณิชย์ไปให้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเรายอมรับคำตัดสินนะ แต่ศาลให้เวลาเราแค่ 30 วัน เราไม่สามารถหาเงินมาใช้หนี้ได้ เราเสียหายไปตามราคาตลาดประมาณ สิบสี่ล้านบาทเศษ ทั้งที่เอกสารหลักฐานทางเรามีครบและชัดเจน เราไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินศาลฎีกา เราจึงเขียนอุทธรณ์ไปประธานศาลฎีกาเมื่อสัปดาห์ก่อน 22/8/66 ใครพอมีความรู้เรื่องนี้ได้โปรดให้คำตอบเราหน่อยว่าเราสามารถรื้อฟื้นคดีหรือทำอะไรได้บ้าง หรือไม่ อย่างไร รบกวนเพื่อสมาชิกผู้รู้กฎหมายช่วยตอบเราหน่อยค่ะ
สอบถามเรื่องร้องขอความเป็นธรรมชั้นศาลฎีกา