ผมอ่านบทความนี้แล้วน้ำตาซึม
ขอบคณทุกท่านจากหัวใจ
ทุกการกระทำของเรามันเป็น butterfly effect ที่ดีจริงๆ
_________________________________________________
ในปี 2013 คุณแม่ของวิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์ เดินทางมาที่โรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด เพื่อเข้าพบกับ กมลา ทองกร เจ้าของโรงเรียน จุดประสงค์คือมาขอทุน ให้ลูกชายได้เป็นนักกีฬาในการดูแลของบ้านทองหยอด
ณ เวลานั้น บ้านทองหยอด เพิ่งจะปั้นเมย์-รัชนก อินทนนท์ (18 ปี) เป็นแชมป์โลกคนแรกของประเทศไทย ดังนั้นนักแบดมินตันเยาวชนคนไหนที่อยากไปไกลถึงระดับโลก ก็จะคิดถึงบ้านทองหยอดเป็นที่แรกๆ
บ้านทองหยอด คือโรงเรียนแบดมินตันเอกชน ที่จะดูแลนักกีฬาประมาณ 50 คน โดยจะออกทุนให้ทุกอย่าง ทั้งทีมโค้ช, เวทเทรนเนอร์, นักวิทยาศาสตร์การกีฬา, ค่าเครื่องบินเดินทางไปแข่งต่างประเทศ, ค่าอุปกรณ์แบดมินตัน ดังนั้นถ้านักกีฬาคนไหน ได้อยู่ในโรงเรียน จะสามารถโฟกัสที่การแข่งได้อย่างเต็มที่
โค้ชเป้-ภัททพล เงินศรีสุข อดีตนักกีฬาทีมชาติ ลูกชายคนโตของกมลา เจ้าของโรงเรียน ที่อนาคตจะกลายเป็นโค้ชคู่ใจของกุลวุฒิเล่าว่า
"ผมรู้จักวิวมานานแล้ว เพราะเขาคือเด็กที่เก่งที่สุดในประเทศตอนนั้น สุดเขต ประภากมล เคยบอกว่า 'เด็กคนนี้มีพรสวรรค์ น่าเอามาส่งเสริม' แต่ตอนนั้น ผมก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะน้องเขามีสังกัดอยู่แล้ว คือสโมสรแบดมินตันอมาตยกุล เราก็เลยได้แต่จับตาดูอยู่ห่างๆ พอวันนี้ตัวน้องอยากย้ายมาอยู่บ้านทองหยอด เราก็เลยดีใจ"
"โมเมนต์แรกที่ผมเจอน้องวิว เขานั่งรออยู่ที่คอร์ตแบดมินตัน เพราะคุณแม่ของวิว คุยกับคุณกมลาอยู่ที่ออฟฟิศ ผมก็เลยเดินไปคุยกับเขา แล้วถามว่า 'ทำไมอยากย้ายมาบ้านทองหยอด' คำตอบของวิวคือ 'ผมอยากเป็นแชมป์โลก อยากเป็นมือหนึ่งของโลก ผมอยากเป็นเหมือนพี่เมย์' คือ ณ เวลานั้น นักกีฬาแบดมินตันทุกคนชาย-หญิง ก็มีเมย์-รัชนก เป็นแรงบันดาลใจกันทั้งนั้น"
สุดท้ายคุณกมลา ก็รับวิว-กุลวุฒิ มาเป็นนักเรียนของบ้านทองหยอด และให้ทุนเต็มรูปแบบ นี่เป็น Win-Win Situation นักกีฬาได้อยู่ในโรงเรียนที่มีมาตรฐานสูงสุด ส่วนบ้านทองหยอดก็ได้ดาวรุ่งพรสวรรค์มาอยู่ในการดูแล
เมื่อย้ายมาปั๊บ วิว ไล่ถล่มเด็กรุ่นเดียวกันขาดลอย ตอนอายุ 12 ปี ก็ไม่มีเด็ก 12 คนไหนสู้ได้ พออายุ 13 ก็เอาชนะเด็ก 13 สบายๆ แต่ปัญหาคืออ วิวยังไม่ดีพอที่ข้ามรุ่น ไปชนะเด็กที่อายุมากกว่า 3-4 ปีได้
โค้ชเป้เล่าว่า "วิวเป็นคนมีเทคนิค และมันสมองที่เก่งกว่าเด็กรุ่นเดียวกัน ถ้าคนไม่เคยดูแบดมินตัน อยากให้นึกถึงโรเจอร์ เฟเดอเรอร์ นั่นคือวิวจะเล่นฉลาด และเลือกช็อตได้ถูกต้องเสมอ"
"แต่สิ่งที่วิวยังขาดไป คือเรื่องสภาพร่างกาย ณ เวลานั้น เขายังไม่รู้จักวิทยาศาสตร์การกีฬา เขาเป็นเด็กที่เจ้าเนื้อหน่อย ไม่ดูแลตัวเองดีพอ ดังนั้นเราก็ต้องค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการกิน การใช้ชีวิต และการซ้อมของน้องเขา"
"ใช่ เขาเป็นเฟเดอเรอร์ แต่เราก็อยากให้มีความแข็งแรงแบบราฟาเอล นาดาล ผสมด้วย"
หลังจากอยู่บ้านทองหยอด 2 ปี วิวเก่งขึ้น และแกร่งขึ้น ในวัย 15 วิวติดเยาวชนทีมชาติไปแข่งที่ประเทศสเปน แต่แพ้รอบ 16 คนสุดท้าย
จากนั้นพออายุ 16 ปี เขาได้แชมป์เยาวชนโลกครั้งแรกที่อินโดนีเซีย พออายุ 17 ปีได้แชมป์เยาวชนโลกครั้งที่สองที่แคนาดา และพออายุ 18 ได้แชมป์เยาวชนโลกครั้งที่สามที่รัสเซีย
แชมป์เยาวชนโลก 3 สมัยซ้อน นั่นทำให้กุลวุฒิพร้อมแล้ว ที่จะกระโดดมาสู่นักกีฬาอาชีพในวัย 19 ปี
โค้ชเป้ เล่าให้ฟังว่า ในการปั้นกุลวุฒิให้เป็นซูเปอร์สตาร์นั้น โรงเรียนบ้านทองหยอด ทำอย่าง "ใจเย็น" ไม่เร่งรัด ไม่กดดันเด็ก เพราะพวกเขาเคยมีบทเรียนมาแล้วในสมัยเมย์-รัชนก
"การที่เมย์เก่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ได้แชมป์เยาวชนโลกตอน 14 และแชมป์โลกตอน 18 เพราะเราโฟกัสที่เขาคนเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามี เราป้อนให้น้องเมย์เต็มแม็กซ์ คือจริงอยู่ น้องเขาประสบความสำเร็จเร็ว แต่สิ่งที่เราไปสร้างให้นักกีฬาโดยไม่รู้ตัวคือภาวะความกดดัน"
"เด็ก 18 ต้องมารับความคาดหวังทุกอย่างคนเดียว และโดนแรงกดดันจากโค้ช จากทุกคนให้ต้องชนะ ชนะ ชนะ มันเลยปลูกฝังความเครียดให้น้องเมย์ตั้งแต่นั้นเลย เมื่อต้องเจอสภาวะกดดันตอนโต เมย์จึงรับมือมันไม่ค่อยดี"
"เราเองก็ต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด จากกรณีของเมย์ เราก็ได้บทเรียน ในการสอนนักกีฬาว่า ควรจะค่อยๆ เพิ่มความกดดันให้ผู้เล่นทีละขั้น ให้เขาเติบโตไปตามจังหวะ ไม่ใช่โยนตูม ทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะมีผลต่อจิตใจเขาในระยะยาว"
"ผมจึงได้เข้าใจว่า คนเราจะแข่งอะไรก็แข่งได้นะ แต่แข่งกับธรรมชาติไม่ได้ เด็กอายุ 14 เราก็ต้องปล่อยให้เขาสนุกในแบบของเขา"
ตัวอย่างที่โค้ชเป้ อธิบายให้เห็นภาพชัดเจน เช่น บทสนทนาก่อนแข่ง เวลาเมย์บอกว่าเครียด โค้ชเป้จะตอบว่า "เมย์จะเครียดทำไม?" ซึ่งคำพูดแบบนี้ ไม่ได้ช่วยให้นักกีฬาลดความเครียดลงเลย
พอมาเคสของวิว ถ้าวิวบอกว่าเครียด คราวนี้โค้ชเป้จะรู้แล้วว่า ต้องพูดอย่างไร เขาจะบอกว่า "ถ้าเครียดก็ปล่อยให้ตัวเองเครียดไปเลยนะ สบายๆ เดี๋ยวมันก็ผ่านไป วันนี้ลงไปสนุกกับเกมกันดีกว่า"
ประโยคที่เป็นคีย์พอยต์สำคัญ จากโค้ชเป้ก็คือ "ตอนเมย์พุ่งขึ้นมา เรายังไม่มีองค์ความรู้อะไรเลย ว่าการดูแลนักกีฬาพรสวรรค์ระดับโลก ต้องทำอย่างไร แต่พอเรามีประสบการณ์จากเคสของเมย์แล้ว ทำให้เราดูแลน้องวิวได้ดีขึ้น สามารถเข้าใจเขาได้มากขึ้นกว่าเดิม"
ดังนั้นถ้าจะบอกว่า วิวเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ส่วนหนึ่งก็เพราะบทเรียนที่บ้านทองหยอด เคยเรียนรู้มาแล้ว จากเคสของเมย์-รัชนกนั่นเอง
สำหรับนิสัยส่วนตัวของวิว-กุลวุฒินั้น โค้ชเป้บอกว่า เขาเป็นเด็กดี ไม่ติดเที่ยว ไม่กินเหล้า สูบบุหรี่ สนใจแต่แบดมินตันอย่างเดียว และชอบเล่นเกมตามประสาวัยรุ่น ฟังดูเหมือนเพอร์เฟ็กต์ แต่โค้ชเป้ก็บอกว่า วิวมีจุดอ่อนอยู่เช่นกัน คือเรื่องโภชนาการ
"ที่บ้านทองหยอด เราจะไม่มีตารางการกินนะครับ ว่าต้องกินอะไร 1 2 3 4 เพราะมันจะตึงเกินไป ทุกคนเลือกกินเองได้ แต่ก็ต้องระมัดระวังด้วย"
"โดยพื้นฐานของวิว เขาเป็นคนชอบกิน ครั้งนึงน้องเขาบอกผมว่าอยากกินปลาแซลม่อน ผมก็โอเค แต่สุดท้าย วิวกินแซลม่อนไป 1 กิโล ผมก็แบบ เฮ้ย กินได้ แต่ไม่ใช่กินเยอะขนาดนั้น คือเราก็ต้องช่วยๆ เตือนสติน้องเขาว่า จะแข่งแล้วนะ ต้องรักษา Shape ร่างกาย ให้พร้อม อย่าปล่อยตัวเด็ดขาด"
อีกเรื่องที่โรงเรียนบ้านทองหยอด จะสอนนักกีฬาด้วย คือเรื่องการใช้เงิน "ฟังดูแปลกใช่ไหมครับ แต่เราจะสอนนักกีฬาเสมอว่า การใช้เงิน การเก็บเงิน ควรทำอย่างไร หลักคิดคือเราอยากให้นักกีฬาคิดเยอะๆ ว่าอะไรควรใช้ อะไรไม่ควรใช้ นิสัยตรงนี้ มันจะแปรผันไปที่สนามแข่ง เวลาเลือกช็อตการเล่น จังหวะไหนควรเล่น ไม่ควรเล่น"
"เมื่อใช้ชีวิตอย่างรอบคอบขึ้น พอลงแข่งก็จะรอบคอบขึ้นด้วย ฟังดูเหมือนไม่เกี่ยวกัน แต่จริงๆ มันเชื่อมโยงกันอยู่ครับ"
วิว เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลังจากเป็นคนไทยคนแรกในรอบ 9 ปี ที่คว้าเหรียญทองแบดมินตันชายเดี่ยวได้ในซีเกมส์ ปี 2021
จากนั้นปี 2022 เขาสร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้ชายไทยคนแรกที่เข้าชิง แบดมินตันชายเดี่ยว ในรายการชิงแชมป์โลก แต่ไปแพ้วิคเตอร์ อเซลเซ่น จากเดนมาร์กในนัดชิง
พอเข้าสู่ปี 2023 กุลวุฒิที่อายุ 22 ปี ก็เริ่มสุกงอม ร่างกายเขาสมบูรณ์พร้อม ประสบการณ์มากพอ และที่สำคัญคือเรื่องจิตใจ ที่รับมือกับแรงกดดันได้เก่งมาก
โค้ชเป้เล่าว่า "เรารู้ว่าน้องเก่ง น้องมีลุ้นแชมป์โลกได้ แต่เราไม่คิดว่าวันนั้นจะมาเร็วขนาดนี้"
ศึกชิงแชมป์โลกในปี 2023 มาถึง เจ้าภาพคือประเทศเดนมาร์ก โดยวิว ลงแข่งในฐานะมือวางอันดับ 3 ของรายการ
"ตอนเห็นสาย ทั้งผมกับวิวไม่ได้หวังเลย เพราะสายของเรามันหนักมาก เจอมือวางตลอดทาง ในรอบ 8 คน ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ก็ต้องเจอ หลี่ ชีเฟง แชมป์ออลอิงแลนด์ จากนั้นรอบ 4 คน ก็อาจต้องเจอวิคเตอร์ มือหนึ่งของโลกคนปัจจุบัน ที่วิวไม่ค่อยถนัดเวลาสู้กัน เส้นทางมันหินมาก แต่ทัศนคติของพวกเราก็เหมือนเดิมคือ ลงไปสนุกกับการแข่ง"
วิวลงแข่งมาเรื่อยๆ ในรอบแรก และ รอบสอง ชนะผู้เล่นบราซิล จากนั้นรอบ 16 คนสุดท้ายชนะผู้เล่นอินเดีย
ความโชคดีของวิว คือหลี่ ชีเฟง และ วิคเตอร์ อเซลเซ่น ตกรอบกันไปเอง ด้วยการแพ้มือรอง ทำให้วิวเจอสายที่เบาลง เขาเอาชนะนักแข่งไต้หวันในรอบ 8 คน และชนะปรานนอย จากอินเดียในรอบ 4 คน เข้าชิงกับโคได นาราโอกะ จากญี่ปุ่น
กุลวุฒิ กับ โคได ถือเป็นคู่ปรับตลอดชีวิต เพราะทั้งสองคนอายุเท่ากัน (กุลวุฒิอายุมากกว่า 1 เดือน) เจอกันมาแล้ว 10 ครั้งตั้งแต่เป็นเยาวชน ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ คนละ 5 ครั้ง ดังนั้นนี่เป็นคู่ต่อสู้ ที่สมน้ำสมเนื้อมากในรอบชิง
โค้ชเป้ ยอมรับว่าโคได นาราโอกะ มีจุดเด่นเรื่องของความอึด แผนของโคไดต้องการจะลากวิวให้เล่น 3 เซ็ต เพื่อให้วิวหมดแรงก่อน นอกจากนั้นสามรอบที่ผ่านมาของวิว เล่นลาก 3 เซ็ต มา 3 เกมติดต่อกัน เป็นธรรมดาที่พลังของเราจะมีน้อยกว่า
ดังนั้นแท็กติกคือ "ใส่ให้สุดตั้งแต่เกมแรก" คือต้องการคว้าแชมป์แบบจบ 2-0 ปิดแมตช์ให้เร็วไปเลย
แต่ปัญหาคือพอใส่สุดไปในเกมแรกแล้ว กุลวุฒิดันแพ้โคไดด้วยสกอร์ 21-19 สถานการณ์ทุกอย่างจึงไม่เป็นใจเลย
เข้าสู่เซ็ตสอง วิวเริ่มอ่อนแรงไปจากการโหมหนักในเซ็ตแรก โคไดมีทางเลือกคือเพิ่มสปีดเกมบุกให้จบเร็วๆ ไปเลย แต่เขาเลือกเล่นแบบปลอดภัย ด้วยการเล่นช้า ลากไปเรื่อยๆ ตามที่ตัวเองถนัด มั่นใจว่าไม่มีอะไรจะพลิกได้แล้ว
ถึงตรงนี้ โค้ชเป้ได้ทำสิ่งสำคัญ 2 อย่าง อย่างแรกคือ แก้เรื่องแท็กติก "ผมบอกวิวว่า โคไดมันอยากลากใส่เราใช่ไหม งั้นวิวลากไปกับมันเลย ลากให้มันเข็ดเลย เอาแบบที่มันไม่อยากตีแบบนี้กับวิวอีกเลย เราไม่ต้องตบนะ ลากไปกับมันนี่แหละ"
และอย่างที่สองคือยั่วแหย่วิว โค้ชเป้บอกว่า "วิว โคไดแอ็กใส่วิวแล้วอะตอนนี้ วิวยอมหรอ"
คำยั่วจากโค้ช ทำให้วิวมีฮึดขึ้นมา คือจะมาแพ้เด็กรุ่นเดียวกันอย่างโคไดในรายการชิงแชมป์โลก รอบชิงได้ไงวะ ใจวิวจึงพร้อมลุยต่อ ด้วยแท็กติกเล่นลากไปด้วยกันแบบนั้นแหละ ช้ามา กูก็ช้าไป
การลากไปเรื่อยๆ ข้อดีคือทำให้วิวที่หมดแรงไปแล้ว มีเวลาฟื้นตัว คำของโค้ชเป้คือ "หมดก่อน ฟื้นก่อน" ตรงข้ามกับโคได ที่หมดทีหลัง และไม่มีเวลาฟื้นตัวกลับมาอีกแล้ว
เซ็ตที่ 2 วิวชนะไป 21-18 ตีเสมอเป็น 1-1 เข้าสู่เซ็ตที่สามเซ็ตตัดสิน
เข้าสู่เซ็ตสาม โคไดหมดแรงอย่างเห็นได้ชัด การตีลากของวิวทำให้เขาเหนื่อยมาก แท็กติกในเซ็ตนี้จากโค้ชเป้คือ "อยากเล่นอะไรเล่นเลย" เพราะวิวกำลังมั่นใจทำอะไรก็ดีไปหมด
สุดท้ายเกมก็จบลงไปด้วยสกอร์ 21-7 วิวเอาชนะในรอบชิง 2-1 เซ็ต คว้าแชมป์โลกได้อย่างยิ่งใหญ่
สำหรับตัวโค้ชเป้เองนั้น เป็นการปลดล็อกในใจของเขาด้วย คือตอนสมัยเมย์ รัชนกได้แชมป์โลก เขาไม่ได้ทำหน้าที่คุมข้างสนาม (ทั้งๆ ที่สอนเมย์อยู่) โดยเป็นโค้ชเซี้ยะ ชาวจีน ที่ทำหน้าที่ข้างสนามในนัดชิงวันนั้น
ที่ผ่านมา ตัวโค้ชเป้ โดนวิจารณ์มาตลอด ว่า "มือไม่ถึง" พอสามารถปั้นวิว ให้กลายเป็นแชมป์โลกชายเดี่ยวคนแรกของประเทศ เขาเองก็รู้สึกปลดปล่อยแรงกดดันในใจออกไปได้สำเร็จ
สำหรับประเทศไทย ในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่มีสมาคมแบดมินตัน เราเคยได้แชมป์โลกประเภทเดี่ยว 2 ครั้ง คือรัชนก อินทนนท์ ในปี 2013 และ กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ในปี 2023 และสิ่งที่สองคนนี้มีร่วมกัน คือเป็นศิษย์ของโรงเรียนบ้านทองหยอดนั่นเอง
หลังจากคว้าแชมป์โลก กุลวุฒิบินกลับไทย ส่วนโค้ชเป้บินต่อไปเมืองเรกยะวิก ประเทศไอซ์แลนด์ เพื่อพักผ่อนกับครอบครัว ผมได้ถามโค้ชเป้ ว่าการคว้าแชมป์โลกในครั้งนี้ มีอะไรที่เขาอยากกล่าวไหม
โค้ชเป้บอกว่า "ผมอยากกล่าวคำขอบคุณครับ คนแรกคือคุณพ่อ คุณแม่ ที่เชื่อมั่นในการสร้างโรงเรียนสอนแบดมินตัน คนที่สองคือคุณกร ทัพพะรังสี และ ป้านุ้ย ที่ให้คำแนะนำที่บ้านเราเสมอ ว่าการทำธุรกิจเกี่ยวกับกีฬา ต้องนับหนึ่งแบบไหน"
ตามไปอ่านบทความเต็มๆได้ที่ link นี้ครับ
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0dV3opeP4sDLN2hMJZUFCmJ2os9LhrmY4H3WVcg4CvnTdgRFxpZ6vjVoTguYaojS4l&id=100044455838548&post_id=100044455838548_pfbid0dV3opeP4sDLN2hMJZUFCmJ2os9LhrmY4H3WVcg4CvnTdgRFxpZ6vjVoTguYaojS4l&mibextid=Nif5oz
"เมย์ วิว ครอบครัวน้องวิว โค้ชเป้ แม่ปุก เฮียสอ สิงห์" ขอบคุณจากหัวใจครับ
ขอบคณทุกท่านจากหัวใจ
ทุกการกระทำของเรามันเป็น butterfly effect ที่ดีจริงๆ
_________________________________________________
ในปี 2013 คุณแม่ของวิว-กุลวุฒิ วิทิตศานต์ เดินทางมาที่โรงเรียนแบดมินตันบ้านทองหยอด เพื่อเข้าพบกับ กมลา ทองกร เจ้าของโรงเรียน จุดประสงค์คือมาขอทุน ให้ลูกชายได้เป็นนักกีฬาในการดูแลของบ้านทองหยอด
ณ เวลานั้น บ้านทองหยอด เพิ่งจะปั้นเมย์-รัชนก อินทนนท์ (18 ปี) เป็นแชมป์โลกคนแรกของประเทศไทย ดังนั้นนักแบดมินตันเยาวชนคนไหนที่อยากไปไกลถึงระดับโลก ก็จะคิดถึงบ้านทองหยอดเป็นที่แรกๆ
บ้านทองหยอด คือโรงเรียนแบดมินตันเอกชน ที่จะดูแลนักกีฬาประมาณ 50 คน โดยจะออกทุนให้ทุกอย่าง ทั้งทีมโค้ช, เวทเทรนเนอร์, นักวิทยาศาสตร์การกีฬา, ค่าเครื่องบินเดินทางไปแข่งต่างประเทศ, ค่าอุปกรณ์แบดมินตัน ดังนั้นถ้านักกีฬาคนไหน ได้อยู่ในโรงเรียน จะสามารถโฟกัสที่การแข่งได้อย่างเต็มที่
โค้ชเป้-ภัททพล เงินศรีสุข อดีตนักกีฬาทีมชาติ ลูกชายคนโตของกมลา เจ้าของโรงเรียน ที่อนาคตจะกลายเป็นโค้ชคู่ใจของกุลวุฒิเล่าว่า
"ผมรู้จักวิวมานานแล้ว เพราะเขาคือเด็กที่เก่งที่สุดในประเทศตอนนั้น สุดเขต ประภากมล เคยบอกว่า 'เด็กคนนี้มีพรสวรรค์ น่าเอามาส่งเสริม' แต่ตอนนั้น ผมก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะน้องเขามีสังกัดอยู่แล้ว คือสโมสรแบดมินตันอมาตยกุล เราก็เลยได้แต่จับตาดูอยู่ห่างๆ พอวันนี้ตัวน้องอยากย้ายมาอยู่บ้านทองหยอด เราก็เลยดีใจ"
"โมเมนต์แรกที่ผมเจอน้องวิว เขานั่งรออยู่ที่คอร์ตแบดมินตัน เพราะคุณแม่ของวิว คุยกับคุณกมลาอยู่ที่ออฟฟิศ ผมก็เลยเดินไปคุยกับเขา แล้วถามว่า 'ทำไมอยากย้ายมาบ้านทองหยอด' คำตอบของวิวคือ 'ผมอยากเป็นแชมป์โลก อยากเป็นมือหนึ่งของโลก ผมอยากเป็นเหมือนพี่เมย์' คือ ณ เวลานั้น นักกีฬาแบดมินตันทุกคนชาย-หญิง ก็มีเมย์-รัชนก เป็นแรงบันดาลใจกันทั้งนั้น"
สุดท้ายคุณกมลา ก็รับวิว-กุลวุฒิ มาเป็นนักเรียนของบ้านทองหยอด และให้ทุนเต็มรูปแบบ นี่เป็น Win-Win Situation นักกีฬาได้อยู่ในโรงเรียนที่มีมาตรฐานสูงสุด ส่วนบ้านทองหยอดก็ได้ดาวรุ่งพรสวรรค์มาอยู่ในการดูแล
เมื่อย้ายมาปั๊บ วิว ไล่ถล่มเด็กรุ่นเดียวกันขาดลอย ตอนอายุ 12 ปี ก็ไม่มีเด็ก 12 คนไหนสู้ได้ พออายุ 13 ก็เอาชนะเด็ก 13 สบายๆ แต่ปัญหาคืออ วิวยังไม่ดีพอที่ข้ามรุ่น ไปชนะเด็กที่อายุมากกว่า 3-4 ปีได้
โค้ชเป้เล่าว่า "วิวเป็นคนมีเทคนิค และมันสมองที่เก่งกว่าเด็กรุ่นเดียวกัน ถ้าคนไม่เคยดูแบดมินตัน อยากให้นึกถึงโรเจอร์ เฟเดอเรอร์ นั่นคือวิวจะเล่นฉลาด และเลือกช็อตได้ถูกต้องเสมอ"
"แต่สิ่งที่วิวยังขาดไป คือเรื่องสภาพร่างกาย ณ เวลานั้น เขายังไม่รู้จักวิทยาศาสตร์การกีฬา เขาเป็นเด็กที่เจ้าเนื้อหน่อย ไม่ดูแลตัวเองดีพอ ดังนั้นเราก็ต้องค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการกิน การใช้ชีวิต และการซ้อมของน้องเขา"
"ใช่ เขาเป็นเฟเดอเรอร์ แต่เราก็อยากให้มีความแข็งแรงแบบราฟาเอล นาดาล ผสมด้วย"
หลังจากอยู่บ้านทองหยอด 2 ปี วิวเก่งขึ้น และแกร่งขึ้น ในวัย 15 วิวติดเยาวชนทีมชาติไปแข่งที่ประเทศสเปน แต่แพ้รอบ 16 คนสุดท้าย
จากนั้นพออายุ 16 ปี เขาได้แชมป์เยาวชนโลกครั้งแรกที่อินโดนีเซีย พออายุ 17 ปีได้แชมป์เยาวชนโลกครั้งที่สองที่แคนาดา และพออายุ 18 ได้แชมป์เยาวชนโลกครั้งที่สามที่รัสเซีย
แชมป์เยาวชนโลก 3 สมัยซ้อน นั่นทำให้กุลวุฒิพร้อมแล้ว ที่จะกระโดดมาสู่นักกีฬาอาชีพในวัย 19 ปี
โค้ชเป้ เล่าให้ฟังว่า ในการปั้นกุลวุฒิให้เป็นซูเปอร์สตาร์นั้น โรงเรียนบ้านทองหยอด ทำอย่าง "ใจเย็น" ไม่เร่งรัด ไม่กดดันเด็ก เพราะพวกเขาเคยมีบทเรียนมาแล้วในสมัยเมย์-รัชนก
"การที่เมย์เก่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ได้แชมป์เยาวชนโลกตอน 14 และแชมป์โลกตอน 18 เพราะเราโฟกัสที่เขาคนเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามี เราป้อนให้น้องเมย์เต็มแม็กซ์ คือจริงอยู่ น้องเขาประสบความสำเร็จเร็ว แต่สิ่งที่เราไปสร้างให้นักกีฬาโดยไม่รู้ตัวคือภาวะความกดดัน"
"เด็ก 18 ต้องมารับความคาดหวังทุกอย่างคนเดียว และโดนแรงกดดันจากโค้ช จากทุกคนให้ต้องชนะ ชนะ ชนะ มันเลยปลูกฝังความเครียดให้น้องเมย์ตั้งแต่นั้นเลย เมื่อต้องเจอสภาวะกดดันตอนโต เมย์จึงรับมือมันไม่ค่อยดี"
"เราเองก็ต้องเรียนรู้จากความผิดพลาด จากกรณีของเมย์ เราก็ได้บทเรียน ในการสอนนักกีฬาว่า ควรจะค่อยๆ เพิ่มความกดดันให้ผู้เล่นทีละขั้น ให้เขาเติบโตไปตามจังหวะ ไม่ใช่โยนตูม ทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะมีผลต่อจิตใจเขาในระยะยาว"
"ผมจึงได้เข้าใจว่า คนเราจะแข่งอะไรก็แข่งได้นะ แต่แข่งกับธรรมชาติไม่ได้ เด็กอายุ 14 เราก็ต้องปล่อยให้เขาสนุกในแบบของเขา"
ตัวอย่างที่โค้ชเป้ อธิบายให้เห็นภาพชัดเจน เช่น บทสนทนาก่อนแข่ง เวลาเมย์บอกว่าเครียด โค้ชเป้จะตอบว่า "เมย์จะเครียดทำไม?" ซึ่งคำพูดแบบนี้ ไม่ได้ช่วยให้นักกีฬาลดความเครียดลงเลย
พอมาเคสของวิว ถ้าวิวบอกว่าเครียด คราวนี้โค้ชเป้จะรู้แล้วว่า ต้องพูดอย่างไร เขาจะบอกว่า "ถ้าเครียดก็ปล่อยให้ตัวเองเครียดไปเลยนะ สบายๆ เดี๋ยวมันก็ผ่านไป วันนี้ลงไปสนุกกับเกมกันดีกว่า"
ประโยคที่เป็นคีย์พอยต์สำคัญ จากโค้ชเป้ก็คือ "ตอนเมย์พุ่งขึ้นมา เรายังไม่มีองค์ความรู้อะไรเลย ว่าการดูแลนักกีฬาพรสวรรค์ระดับโลก ต้องทำอย่างไร แต่พอเรามีประสบการณ์จากเคสของเมย์แล้ว ทำให้เราดูแลน้องวิวได้ดีขึ้น สามารถเข้าใจเขาได้มากขึ้นกว่าเดิม"
ดังนั้นถ้าจะบอกว่า วิวเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ส่วนหนึ่งก็เพราะบทเรียนที่บ้านทองหยอด เคยเรียนรู้มาแล้ว จากเคสของเมย์-รัชนกนั่นเอง
สำหรับนิสัยส่วนตัวของวิว-กุลวุฒินั้น โค้ชเป้บอกว่า เขาเป็นเด็กดี ไม่ติดเที่ยว ไม่กินเหล้า สูบบุหรี่ สนใจแต่แบดมินตันอย่างเดียว และชอบเล่นเกมตามประสาวัยรุ่น ฟังดูเหมือนเพอร์เฟ็กต์ แต่โค้ชเป้ก็บอกว่า วิวมีจุดอ่อนอยู่เช่นกัน คือเรื่องโภชนาการ
"ที่บ้านทองหยอด เราจะไม่มีตารางการกินนะครับ ว่าต้องกินอะไร 1 2 3 4 เพราะมันจะตึงเกินไป ทุกคนเลือกกินเองได้ แต่ก็ต้องระมัดระวังด้วย"
"โดยพื้นฐานของวิว เขาเป็นคนชอบกิน ครั้งนึงน้องเขาบอกผมว่าอยากกินปลาแซลม่อน ผมก็โอเค แต่สุดท้าย วิวกินแซลม่อนไป 1 กิโล ผมก็แบบ เฮ้ย กินได้ แต่ไม่ใช่กินเยอะขนาดนั้น คือเราก็ต้องช่วยๆ เตือนสติน้องเขาว่า จะแข่งแล้วนะ ต้องรักษา Shape ร่างกาย ให้พร้อม อย่าปล่อยตัวเด็ดขาด"
อีกเรื่องที่โรงเรียนบ้านทองหยอด จะสอนนักกีฬาด้วย คือเรื่องการใช้เงิน "ฟังดูแปลกใช่ไหมครับ แต่เราจะสอนนักกีฬาเสมอว่า การใช้เงิน การเก็บเงิน ควรทำอย่างไร หลักคิดคือเราอยากให้นักกีฬาคิดเยอะๆ ว่าอะไรควรใช้ อะไรไม่ควรใช้ นิสัยตรงนี้ มันจะแปรผันไปที่สนามแข่ง เวลาเลือกช็อตการเล่น จังหวะไหนควรเล่น ไม่ควรเล่น"
"เมื่อใช้ชีวิตอย่างรอบคอบขึ้น พอลงแข่งก็จะรอบคอบขึ้นด้วย ฟังดูเหมือนไม่เกี่ยวกัน แต่จริงๆ มันเชื่อมโยงกันอยู่ครับ"
วิว เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลังจากเป็นคนไทยคนแรกในรอบ 9 ปี ที่คว้าเหรียญทองแบดมินตันชายเดี่ยวได้ในซีเกมส์ ปี 2021
จากนั้นปี 2022 เขาสร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้ชายไทยคนแรกที่เข้าชิง แบดมินตันชายเดี่ยว ในรายการชิงแชมป์โลก แต่ไปแพ้วิคเตอร์ อเซลเซ่น จากเดนมาร์กในนัดชิง
พอเข้าสู่ปี 2023 กุลวุฒิที่อายุ 22 ปี ก็เริ่มสุกงอม ร่างกายเขาสมบูรณ์พร้อม ประสบการณ์มากพอ และที่สำคัญคือเรื่องจิตใจ ที่รับมือกับแรงกดดันได้เก่งมาก
โค้ชเป้เล่าว่า "เรารู้ว่าน้องเก่ง น้องมีลุ้นแชมป์โลกได้ แต่เราไม่คิดว่าวันนั้นจะมาเร็วขนาดนี้"
ศึกชิงแชมป์โลกในปี 2023 มาถึง เจ้าภาพคือประเทศเดนมาร์ก โดยวิว ลงแข่งในฐานะมือวางอันดับ 3 ของรายการ
"ตอนเห็นสาย ทั้งผมกับวิวไม่ได้หวังเลย เพราะสายของเรามันหนักมาก เจอมือวางตลอดทาง ในรอบ 8 คน ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ก็ต้องเจอ หลี่ ชีเฟง แชมป์ออลอิงแลนด์ จากนั้นรอบ 4 คน ก็อาจต้องเจอวิคเตอร์ มือหนึ่งของโลกคนปัจจุบัน ที่วิวไม่ค่อยถนัดเวลาสู้กัน เส้นทางมันหินมาก แต่ทัศนคติของพวกเราก็เหมือนเดิมคือ ลงไปสนุกกับการแข่ง"
วิวลงแข่งมาเรื่อยๆ ในรอบแรก และ รอบสอง ชนะผู้เล่นบราซิล จากนั้นรอบ 16 คนสุดท้ายชนะผู้เล่นอินเดีย
ความโชคดีของวิว คือหลี่ ชีเฟง และ วิคเตอร์ อเซลเซ่น ตกรอบกันไปเอง ด้วยการแพ้มือรอง ทำให้วิวเจอสายที่เบาลง เขาเอาชนะนักแข่งไต้หวันในรอบ 8 คน และชนะปรานนอย จากอินเดียในรอบ 4 คน เข้าชิงกับโคได นาราโอกะ จากญี่ปุ่น
กุลวุฒิ กับ โคได ถือเป็นคู่ปรับตลอดชีวิต เพราะทั้งสองคนอายุเท่ากัน (กุลวุฒิอายุมากกว่า 1 เดือน) เจอกันมาแล้ว 10 ครั้งตั้งแต่เป็นเยาวชน ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ คนละ 5 ครั้ง ดังนั้นนี่เป็นคู่ต่อสู้ ที่สมน้ำสมเนื้อมากในรอบชิง
โค้ชเป้ ยอมรับว่าโคได นาราโอกะ มีจุดเด่นเรื่องของความอึด แผนของโคไดต้องการจะลากวิวให้เล่น 3 เซ็ต เพื่อให้วิวหมดแรงก่อน นอกจากนั้นสามรอบที่ผ่านมาของวิว เล่นลาก 3 เซ็ต มา 3 เกมติดต่อกัน เป็นธรรมดาที่พลังของเราจะมีน้อยกว่า
ดังนั้นแท็กติกคือ "ใส่ให้สุดตั้งแต่เกมแรก" คือต้องการคว้าแชมป์แบบจบ 2-0 ปิดแมตช์ให้เร็วไปเลย
แต่ปัญหาคือพอใส่สุดไปในเกมแรกแล้ว กุลวุฒิดันแพ้โคไดด้วยสกอร์ 21-19 สถานการณ์ทุกอย่างจึงไม่เป็นใจเลย
เข้าสู่เซ็ตสอง วิวเริ่มอ่อนแรงไปจากการโหมหนักในเซ็ตแรก โคไดมีทางเลือกคือเพิ่มสปีดเกมบุกให้จบเร็วๆ ไปเลย แต่เขาเลือกเล่นแบบปลอดภัย ด้วยการเล่นช้า ลากไปเรื่อยๆ ตามที่ตัวเองถนัด มั่นใจว่าไม่มีอะไรจะพลิกได้แล้ว
ถึงตรงนี้ โค้ชเป้ได้ทำสิ่งสำคัญ 2 อย่าง อย่างแรกคือ แก้เรื่องแท็กติก "ผมบอกวิวว่า โคไดมันอยากลากใส่เราใช่ไหม งั้นวิวลากไปกับมันเลย ลากให้มันเข็ดเลย เอาแบบที่มันไม่อยากตีแบบนี้กับวิวอีกเลย เราไม่ต้องตบนะ ลากไปกับมันนี่แหละ"
และอย่างที่สองคือยั่วแหย่วิว โค้ชเป้บอกว่า "วิว โคไดแอ็กใส่วิวแล้วอะตอนนี้ วิวยอมหรอ"
คำยั่วจากโค้ช ทำให้วิวมีฮึดขึ้นมา คือจะมาแพ้เด็กรุ่นเดียวกันอย่างโคไดในรายการชิงแชมป์โลก รอบชิงได้ไงวะ ใจวิวจึงพร้อมลุยต่อ ด้วยแท็กติกเล่นลากไปด้วยกันแบบนั้นแหละ ช้ามา กูก็ช้าไป
การลากไปเรื่อยๆ ข้อดีคือทำให้วิวที่หมดแรงไปแล้ว มีเวลาฟื้นตัว คำของโค้ชเป้คือ "หมดก่อน ฟื้นก่อน" ตรงข้ามกับโคได ที่หมดทีหลัง และไม่มีเวลาฟื้นตัวกลับมาอีกแล้ว
เซ็ตที่ 2 วิวชนะไป 21-18 ตีเสมอเป็น 1-1 เข้าสู่เซ็ตที่สามเซ็ตตัดสิน
เข้าสู่เซ็ตสาม โคไดหมดแรงอย่างเห็นได้ชัด การตีลากของวิวทำให้เขาเหนื่อยมาก แท็กติกในเซ็ตนี้จากโค้ชเป้คือ "อยากเล่นอะไรเล่นเลย" เพราะวิวกำลังมั่นใจทำอะไรก็ดีไปหมด
สุดท้ายเกมก็จบลงไปด้วยสกอร์ 21-7 วิวเอาชนะในรอบชิง 2-1 เซ็ต คว้าแชมป์โลกได้อย่างยิ่งใหญ่
สำหรับตัวโค้ชเป้เองนั้น เป็นการปลดล็อกในใจของเขาด้วย คือตอนสมัยเมย์ รัชนกได้แชมป์โลก เขาไม่ได้ทำหน้าที่คุมข้างสนาม (ทั้งๆ ที่สอนเมย์อยู่) โดยเป็นโค้ชเซี้ยะ ชาวจีน ที่ทำหน้าที่ข้างสนามในนัดชิงวันนั้น
ที่ผ่านมา ตัวโค้ชเป้ โดนวิจารณ์มาตลอด ว่า "มือไม่ถึง" พอสามารถปั้นวิว ให้กลายเป็นแชมป์โลกชายเดี่ยวคนแรกของประเทศ เขาเองก็รู้สึกปลดปล่อยแรงกดดันในใจออกไปได้สำเร็จ
สำหรับประเทศไทย ในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่มีสมาคมแบดมินตัน เราเคยได้แชมป์โลกประเภทเดี่ยว 2 ครั้ง คือรัชนก อินทนนท์ ในปี 2013 และ กุลวุฒิ วิทิตศานต์ ในปี 2023 และสิ่งที่สองคนนี้มีร่วมกัน คือเป็นศิษย์ของโรงเรียนบ้านทองหยอดนั่นเอง
หลังจากคว้าแชมป์โลก กุลวุฒิบินกลับไทย ส่วนโค้ชเป้บินต่อไปเมืองเรกยะวิก ประเทศไอซ์แลนด์ เพื่อพักผ่อนกับครอบครัว ผมได้ถามโค้ชเป้ ว่าการคว้าแชมป์โลกในครั้งนี้ มีอะไรที่เขาอยากกล่าวไหม
โค้ชเป้บอกว่า "ผมอยากกล่าวคำขอบคุณครับ คนแรกคือคุณพ่อ คุณแม่ ที่เชื่อมั่นในการสร้างโรงเรียนสอนแบดมินตัน คนที่สองคือคุณกร ทัพพะรังสี และ ป้านุ้ย ที่ให้คำแนะนำที่บ้านเราเสมอ ว่าการทำธุรกิจเกี่ยวกับกีฬา ต้องนับหนึ่งแบบไหน"
ตามไปอ่านบทความเต็มๆได้ที่ link นี้ครับ
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0dV3opeP4sDLN2hMJZUFCmJ2os9LhrmY4H3WVcg4CvnTdgRFxpZ6vjVoTguYaojS4l&id=100044455838548&post_id=100044455838548_pfbid0dV3opeP4sDLN2hMJZUFCmJ2os9LhrmY4H3WVcg4CvnTdgRFxpZ6vjVoTguYaojS4l&mibextid=Nif5oz