ภาพซ้ายบนคณะคาร์เมไลท์ / ภาพขวาบนคณะกลาริส กาปูชิน / ภาพซ้ายล่างคณะกลาริส และภาพขวาบ่างคณะพระมหาไถ่
📄 บทนำ 📄
หลายต่อหลายครั้งที่วิถีชีวิตของคน บางกลุ่มบางลัทธิความเชื่อ ทำให้บุคคลภายนอกสงสัย ทึ่ง อยากรู้อยากเห็น ว่าชีวิต พวกเขาเป็นใคร แบบแผนชีวิตของเขาเป็นอย่างไร
และด้วยคำถามอีกว่าทำไม ๆๆๆ อยากรู้จนหายอยากรู้ สำหรับดิฉันเป็นคริสตชนนิกายโปรแตสแตนต์(Protestant) หรือที่พี่น้องคริสตังเรียกเราว่า คริสเตียน เคยอาศัยอยู่แถวๆ ถนนสาทรเหนือ
เคยร่วมนมัสการที่คริสตจักรของนิกายโปรแตสแตนต์ ถนนสาทรเหนือ ก็คุ้นเคย กับ ชื่อ ของโรงเรียนคริสตังหลายโรง ตลอดทั้งโบสถ์ของคริสตังหลายโบสถ์ด้วยกัน
พบปะเจอะเจอ ซิสเตอร์ หรือที่คนไทยเรียกสั้นๆว่า “ชี” ดิฉันเองชอบเรียกซิสเตอร์ หรือภคินีมากกว่าบรรดาคณะซิสเตอร์หลายๆคณะ ดิฉันสนใจอยากรู้จัก คือ “ซิสเตอร์ หรือมาเซอร์
(ภาษาฝรั่งเศส🇫🇷) อารามนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู ของคณะคาร์แมล” เราเรียกเล่นๆว่า “อารามกาแมว” ไม่ได้ดูถูกแต่คิดว่าเพื่อให้เรียกง่ายๆมากกว่า
คริสตจักรของนิกายโปรแตสแตนต์หลายแห่ง ใช้แผ่นปังที่ผลิตจากอารามนี้ ในพิธีมหาสนิท ดิฉันชอบคิดว่า มาเซอร์ที่นี่ทำแผ่นปังสวยมาก แต่ไม่อร่อย (ฮา)
เพราะเมื่อตอนเรียนทำศาสนพิธีก็ได้เรียนทำขนมปังไร้เชื้อเผื่อใช้ในพิธีมหาสนิท รู้สึกว่า ทำเองอร่อยดีคงเพราะมีเกลือจากมือเจือปนแน่นอน
และเมื่อเราทำพิธีมหาสนิท ตอนหักปัง ชูขึ้นให้ฆราวาสดู แผ่นใหญ่ๆ กล่าวว่า พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “นี่คือกายของเรา” แล้วหักเสียงดังดี แต่ขนาดของแต่ละชิ้นไม่เท่ากัน
แผ่นปังจากอารามคาร์แมลสีขาวสะอาดขนาดเท่าๆกัน ง่ายแก่การแจก ปัจจุบันบางโบสถ์ที่ดิฉันร่วมนมัสการ เราก็ใช้แผ่นปังจากอารามคาร์แมลคะ ขอบคุณพระเจ้า
ใน ห้องสมุดบอร์ดพันธุ์ทิพย์ กระตุ้นให้ดิฉันเรียบเรียงเรื่องนี้ ประกอบกับมีข้อมูลในมืออยู่แล้ว และได้โทรศัพท์ไปสอบถามเพิ่มเติมจากผู้รู้บางท่าน
และหาเพื่อนร่วมพันธกิจในการโพสต์ ที่ ห้องสมุด เว็บบอร์ด ของพันธุ์ทิพย์ เพื่อให้ผู้สนใจได้รับประโยชน์และจะลิงก์ไปที่เว็บคริสเตียนบางเว็บ
ถ้า พี่น้องคริสตังท่านใด เช่น คุณพ่อ , คุณแม่อธิการิณี , ซิสเตอร์ , บราเดอร์ และผู้รู้ทั้งหลาย อยากเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่าน และ ดิฉันโปรดปราน ผู้เรียบเรียง
ขอความกรุณาเพิ่มเติมได้คะ
ขอพระเจ้าอวยพรทุกๆท่าน
โปรดปราน ผู้เรียบเรียง
X-Cross ภาพ
+++
หมายเหตุ : ซิสเตอร์ หรือมาเซอร์ ศัพท์ภาษาไทยคือ ภคินี หรือบางที ”ชี” ดิฉันจะใช้ชื่อเหล่านี้ตามความเหมาะสม
📄 ตอนที่ 1 📄
@@…ชีลับ ผู้สละโลก เจ้าสาวของพระเจ้า …@@
“ชีลับ” หรือ”ชีมืด” เป็นนักบวชหญิงของคริสต์นิกายคาทอลิก (Catholic) ที่ใช้ชีวิตอย่างผู้เสียสละความยินดีทางโลก ตัดขาดจากญาติมิตรและสังคมภายนอก
ซ่อนเร้นตนอยู่ในอารามเฉพาะเขตพรต มีชีวิตอยู่กับการรำพึงภาวนาอย่างเคร่งครัด โดยไม่ย่างเหยียบออกมาสู่โลกภายนอกตลอดชั่วชีวิต
ถือกันว่าเธอได้ตายไปแล้วจากโลกเดิม เพื่อดำเนินชีวิตใหม่ เป็น "นักโทษสมัครใจ" ของพระเจ้า
แม้พวกเธอได้ชื่อว่าเป็นผู้สละโลก แต่ไม่ได้ทอดทิ้งโลก ชีลับยังคงรับใช้ชาวโลกร่วมสัมผัสความทุกข์ยากของโลก และรำพึงภาวนาเพื่อผู้ที่เดือดร้อนลำบาก
นอกจากพวกเธอจะรำพึงภาวนาเผื่อพระศาสนจักร และคณะนักบวชแล้ว ตลอดชีวิตพวกเธอได้อุทิศตนอยู่กับการภาวนาและการทรมานตนเพื่อใช้โทษบาปเพื่อ เพื่อนมนุษย์
ดุจเดียวกับพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า และด้วยการอุทิศตนเพื่อรับใช้พระเจ้า ดังนั้นชีลับจึงได้ชื่อว่า ผู้สละโลกและเจ้าสาวของพระเจ้า
(สารคดี ฉบับที่ 116 ปีที่ 10 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 หน้า 10)
📄 ตอนที่ 2 📄
@@..ประวัติของคณะคาร์แมล..@@
ผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่ในอารามคาร์แมลแห่งนี้ คือ มาเซอร์คณะภคินีแห่งแม่พระคาร์แมล ซึ่งเป็นคณะที่เก่าแก่ ถือกำเนิดขึ้น ราวกลางศตวรรษที่ 12 ในสมัยสงครามครูเสด (Crusades)
การก่อตั้งคณะเกิดขึ้นอย่างเรียบง่ายบนพื้นที่ซึ่งเป็นหินบนภูเขาคาร์แมล โดยดำเนินชีวิตเลียนแบบประกาศกเอลียาห์ (Prophet Elijah)
ในเรื่องของความขยัน ความศรัทธาร้อนรน และการสละทิ้งซึ่งชื่อเสียงเกียรติยศ ตลอดจนทรัพย์สมบัติฝ่ายโลก
ในสมัยกลางคนทั่วไปรู้จักบรรดาฤาษีคาร์แมล ในชื่อเป็นทางการว่า “ภราดาคณะแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล (Order of the Brothers of the Blessed Virgin Mary of Mount Carmel)”
เพราะพวกเขามีแม่พระเป็นทั้งมารดา เป็นทั้งพี่สาวและคนกลางผู้เสนอวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า พระนางยังทรงเป็นเช่นนี้เสมอมาสำหรับนักบวชคณะคาร์แมล ซึ่งสืบทอดต่อกันเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 21
ก็ไม่พ้นเรื่องของความทุกข์ร้อนของผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์ความลำบากที่สังคมโลกภายนอกเป็นผู้สร้างขึ้น นี่แหละคือ ชีวิตแห่งการรับใช้ของมาเซอร์คณะภคินีแห่งแม่พระคาร์แมล
@@..จุดเริ่มต้นภคินีคาร์แมล..@@
ตั้งแต่เริ่มต้น พระศาสนจักรได้มีขนบธรรมเนียบต่อกันมาว่า บรรดาสตรีผู้อุทิศชีวิตรับใช้พระเป็นเจ้าจะต้องรับภารกิจผู้มัดตัวเองตลอดชีวิต
และในระหว่างศตวรรษที่ 13 และ 14 มีสตรีใจศรัทธาจำนวนหนึ่งอาศัยคำแนะนำของภราดาคาร์แมลสตรีเหล่านั้นจึงได้เริ่มต้นถือ พระวินัยของคณะคาร์แมล แต่ละคนหรือรวมกันเป็นกลุ่มๆ พวกเขาขังตัวเองอยู่คนเดียวตามลำพังเด็ดขาด และสวดภาวนาไม่หยุดหย่อน อีกหลายคนอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะมีชีวิตผูกผันกันอย่างหลวมๆ โดยไม่มีการถวายปฏิญาณ ในปี ค.ศ.1452 สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 (Pope Nicholas V) ได้ให้คำรับรองแก่บุญราศียอห์น โซแร็ธ (Blessed John Soreth) อธิการใหญ่เจ้าคณะคาร์แมลที่จะจัดรวมสตรีใจศรัทธาเหล่านี้เข้าเป็นคณะนักบวชคาร์แมลชั้น 2
ดังนั้นเท่ากับทำให้พวกเขาได้รับฐานะทางกฎหมายของพระศาสนจักร บุญราศีฟรังซิสแห่งนักบุญอัมโบรซิโอ (Blessed Frances d'Amboise) ดัชเชสแห่งแคว้นบริตานี ได้เป็นภคินีในพวกแรกๆ ที่เข้าอารามแห่งหนึ่ง ซึ่งท่านดัชเชสได้บริจาคทรัพย์ก่อตั้งขึ้นมา นี่คือการเริ่มต้นที่ซื่อๆ และสงบเสงี่ยบของคณะภคินี คาร์แมลชุดแรกๆ ซึ่งได้ค่อยๆ เจริญทวีจำนวนจนถึงเกือบ 13,000 รูป อยู่ในอารามที่ตั้งกระจายตามจุดต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบันนี้
📄 ตอนที่ 3 📄
~@0@~..อารามคาร์แมลแห่งแรกในประเทศไทย...~@0@~
มาเซอร์คณะคาร์เมไลท์รุ่นแรกที่ถือกำเนิดในประเทศไทย🇹🇭 เมื่อปี พ.ศ.2468 (ค.ศ.1925) หลังจากที่มงซินญอร์มารี โยเซฟ เรอเน แปร์รอส (Monsignor Rene Marie Joseph Perros) หรือเรียกว่า พระคุณเจ้าแปร์รอส ประมุขของมิสซังกรุงเทพฯ ในขณะนั้น
ได้เดินทางไปเยี่ยมอารามแม่พระแห่งความไว้วางใจ ที่พึ่งก่อตั้งขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา🇰🇭 โดยพระคุณเจ้าได้แสดงความปรารถนาที่จะก่อตั้งอารามคาร์แมลในมิสซังของท่านต่อคุณแม่แอนน์แห่งพระเยซู – มาเรีย คุณแม่อธิการิณี ผู้ก่อตั้งอาราม ให้มาดำเนินงานในประเทศในประเทศไทย🇹🇭ตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 (ค.ศ.1913)
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2468 (ค.ศ.1925) อาศัยการนำของพระญาณสอดส่อง คุณแม่แอนน์ แห่งพระเยซู – มาเรียได้นำภคินีอีก 12 ท่านเดินทางมายังประเทศไทย🇹🇭
ถึงแม้การเดินทางในขณะนั้นจะยากลำบาก ภคินีทั้งหมดต้องเดินทางโดยรถยนต์ ต่อด้วยเรือ ซึ่งเรือที่นำภคินีคณะคาร์เมไลท์มาสู่ประเทศไทย คือ “เรือนิภา” ของบริษัทอิสเซีสติก
และในเช้าวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2468 (ค.ศ.1925) ภคินีทั้งหมดได้เดินทางมาถึงประเทศไทย🇹🇭และได้ตั้งอารามแห่งแรกขึ้นที่ ถนนคอนแวนต์ จังหวัดกรุงเทพฯ แต่ในช่วงแรกที่กำลังก่อสร้างอารามอยู่นั้น ภคินีทั้งหมดได้ไปพักอยู่กับมาเซอร์คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร (Sisters of St. Paul of Chartres) ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ (Saint Joseph Convent School) เป็นการชั่วคราว ระหว่างนั้น ทุกๆเช้าพระคุณเจ้าแปร์รอสจะมาเยี่ยมเยียน คุณแม่อธิการิณี และพูดคุยตระเตรียมสิ่งที่จำเป็นสำหรับการถวายมิสซาในวัดน้อยเป็นครั้งแรกตามวันที่ 30 กันยายน อีกทั้งพระคุณเจ้าได้เร่งให้ คนงานก่อสร้างวัดน้อยให้เสร็จทันวันที่กำหนดไว้ด้วย
ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2468 (ค.ศ.1925) คณะภคินีคาร์เมไลท์สวมเสื้อคลุมขาวและสวมผ้าคลุมอยู่ในวัด ใครๆคงเชื่อว่า คล้ายกับการก่อตั้งอารามเป็นปฐมฤกษ์ในสมัยของนักบุญเทเราซา มารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ ที่จริงแล้วพระพรเดียวกันจากสวรรค์ลงมายังอารามคาร์แมลนี้
แม้จะห่างกันทั้งในระยะทางและระยะเวลา (3 ศตวรรษระหว่างอาณาจักรสเปน🇪🇸และอาณาจักรไทย🇹🇭) แต่ก็เป็นนักบุญเทเรซาผู้ก่อตั้งคณะคนเดียวกันที่ทำงาน และคุณแม่แอนน์ แห่งพระเยซู – มาเรีย พร้อมกับธิดาของท่านที่อุทิศตนให้แก่ท่าน
เดือนพฤศจิกายนมาถึงอย่างรวดเร็ว มีการจัดเตรียมประดับวัดน้อยของอาราม คุณแม่อธิการิณีได้ไปที่อารามทุกๆเย็น เพื่อดูแลให้คนงานทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่คณะคาร์แมลต้องใช้สอย คือ ใส่ตารางลูกกรง ทำตู้หมุน…
สุดท้ายวันแห่งความชื่นชมยินดีก็มาถึง วันที่ 29 พฤศจิกายน เป็นวันที่ภคินีคาร์แมลเข้าในอารามของตน ประตูอารามเปิดกว้างให้เห็น สวนของอาราม คุณแม่อธิการิณีก็เข้าสู่ภายในอารามเป็นคนแรก ภคินีคนอื่นๆ ก็ไปคุกเข่ารับพรและจูบแหวนของบิชอป และเดินตามคุณแม่ อธิการิณีเข้าไปในเขตหวงห้ามตามลำดับ เมื่อภคินีทุกคนเข้าไปในเขตหวงห้ามแล้ว
ประตูอารามชั้นในก็ปิดด้วยลูกกุญแจ 2 ชั้น ตามกฎอย่างเคร่งครัด บรรดาผู้ถูกขังซึ่งมีบุญจึงได้เข้าไปที่สวดทำวัตรในวัดน้อย
การเข้าครอบครองอารามใหม่ของคณะคาร์แมลก็สำเร็จสมบูรณ์ลงตามกฎหมายของพระศาสนจักรทุกประการ
🟫 ปัจจุบันอารามของคณะคาร์เมไลท์ ในประเทศไทย มี…
1. อารามคาร์แมล กรุงเทพฯ
🏠 ที่อยู่
14 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพฯ 10500
📍 Google Maps
https://maps.app.goo.gl/tzkNZ8TYrw7cdj7PA?g_st=ic
📞 เบอร์โทร
02-233-6056
👍 เพจ
https://www.facebook.com/carmel.silom.5
2. อารามคาร์แมล สามพราน
🏠 ที่อยู่
12/17 หมู่ 4 ซอยเปโตร 5 ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73110
📍 Google Maps
https://maps.app.goo.gl/pbGQ3eNjqNvwSnhJA?g_st=ic
3. อารามคาร์แมล จันทบุรี
🏠 ที่อยู่
140/10 ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 22000
📍 Google Maps
https://maps.app.goo.gl/obDqiv4G4DZhLeDk9?g_st=ic
📞 เบอร์โทร
039-311-580
4. อารามคาร์แมล นครสวรรค์
🏠 ที่อยู่
200/5 ถนนพิทักษ์สันติราษฎร์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000
📍 Google Maps
https://maps.app.goo.gl/yy6YUFB9mgAA6E3B8?g_st=ic
+++ ชีลับ... เจ้าสาวของพระเจ้า +++
ภาพซ้ายบนคณะคาร์เมไลท์ / ภาพขวาบนคณะกลาริส กาปูชิน / ภาพซ้ายล่างคณะกลาริส และภาพขวาบ่างคณะพระมหาไถ่
📄 บทนำ 📄
หลายต่อหลายครั้งที่วิถีชีวิตของคน บางกลุ่มบางลัทธิความเชื่อ ทำให้บุคคลภายนอกสงสัย ทึ่ง อยากรู้อยากเห็น ว่าชีวิต พวกเขาเป็นใคร แบบแผนชีวิตของเขาเป็นอย่างไร
และด้วยคำถามอีกว่าทำไม ๆๆๆ อยากรู้จนหายอยากรู้ สำหรับดิฉันเป็นคริสตชนนิกายโปรแตสแตนต์(Protestant) หรือที่พี่น้องคริสตังเรียกเราว่า คริสเตียน เคยอาศัยอยู่แถวๆ ถนนสาทรเหนือ
เคยร่วมนมัสการที่คริสตจักรของนิกายโปรแตสแตนต์ ถนนสาทรเหนือ ก็คุ้นเคย กับ ชื่อ ของโรงเรียนคริสตังหลายโรง ตลอดทั้งโบสถ์ของคริสตังหลายโบสถ์ด้วยกัน
พบปะเจอะเจอ ซิสเตอร์ หรือที่คนไทยเรียกสั้นๆว่า “ชี” ดิฉันเองชอบเรียกซิสเตอร์ หรือภคินีมากกว่าบรรดาคณะซิสเตอร์หลายๆคณะ ดิฉันสนใจอยากรู้จัก คือ “ซิสเตอร์ หรือมาเซอร์
(ภาษาฝรั่งเศส🇫🇷) อารามนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู ของคณะคาร์แมล” เราเรียกเล่นๆว่า “อารามกาแมว” ไม่ได้ดูถูกแต่คิดว่าเพื่อให้เรียกง่ายๆมากกว่า
คริสตจักรของนิกายโปรแตสแตนต์หลายแห่ง ใช้แผ่นปังที่ผลิตจากอารามนี้ ในพิธีมหาสนิท ดิฉันชอบคิดว่า มาเซอร์ที่นี่ทำแผ่นปังสวยมาก แต่ไม่อร่อย (ฮา)
เพราะเมื่อตอนเรียนทำศาสนพิธีก็ได้เรียนทำขนมปังไร้เชื้อเผื่อใช้ในพิธีมหาสนิท รู้สึกว่า ทำเองอร่อยดีคงเพราะมีเกลือจากมือเจือปนแน่นอน
และเมื่อเราทำพิธีมหาสนิท ตอนหักปัง ชูขึ้นให้ฆราวาสดู แผ่นใหญ่ๆ กล่าวว่า พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “นี่คือกายของเรา” แล้วหักเสียงดังดี แต่ขนาดของแต่ละชิ้นไม่เท่ากัน
แผ่นปังจากอารามคาร์แมลสีขาวสะอาดขนาดเท่าๆกัน ง่ายแก่การแจก ปัจจุบันบางโบสถ์ที่ดิฉันร่วมนมัสการ เราก็ใช้แผ่นปังจากอารามคาร์แมลคะ ขอบคุณพระเจ้า
ใน ห้องสมุดบอร์ดพันธุ์ทิพย์ กระตุ้นให้ดิฉันเรียบเรียงเรื่องนี้ ประกอบกับมีข้อมูลในมืออยู่แล้ว และได้โทรศัพท์ไปสอบถามเพิ่มเติมจากผู้รู้บางท่าน
และหาเพื่อนร่วมพันธกิจในการโพสต์ ที่ ห้องสมุด เว็บบอร์ด ของพันธุ์ทิพย์ เพื่อให้ผู้สนใจได้รับประโยชน์และจะลิงก์ไปที่เว็บคริสเตียนบางเว็บ
ถ้า พี่น้องคริสตังท่านใด เช่น คุณพ่อ , คุณแม่อธิการิณี , ซิสเตอร์ , บราเดอร์ และผู้รู้ทั้งหลาย อยากเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่าน และ ดิฉันโปรดปราน ผู้เรียบเรียง
ขอความกรุณาเพิ่มเติมได้คะ
ขอพระเจ้าอวยพรทุกๆท่าน
โปรดปราน ผู้เรียบเรียง
X-Cross ภาพ
+++
หมายเหตุ : ซิสเตอร์ หรือมาเซอร์ ศัพท์ภาษาไทยคือ ภคินี หรือบางที ”ชี” ดิฉันจะใช้ชื่อเหล่านี้ตามความเหมาะสม
📄 ตอนที่ 1 📄
@@…ชีลับ ผู้สละโลก เจ้าสาวของพระเจ้า …@@
“ชีลับ” หรือ”ชีมืด” เป็นนักบวชหญิงของคริสต์นิกายคาทอลิก (Catholic) ที่ใช้ชีวิตอย่างผู้เสียสละความยินดีทางโลก ตัดขาดจากญาติมิตรและสังคมภายนอก
ซ่อนเร้นตนอยู่ในอารามเฉพาะเขตพรต มีชีวิตอยู่กับการรำพึงภาวนาอย่างเคร่งครัด โดยไม่ย่างเหยียบออกมาสู่โลกภายนอกตลอดชั่วชีวิต
ถือกันว่าเธอได้ตายไปแล้วจากโลกเดิม เพื่อดำเนินชีวิตใหม่ เป็น "นักโทษสมัครใจ" ของพระเจ้า
แม้พวกเธอได้ชื่อว่าเป็นผู้สละโลก แต่ไม่ได้ทอดทิ้งโลก ชีลับยังคงรับใช้ชาวโลกร่วมสัมผัสความทุกข์ยากของโลก และรำพึงภาวนาเพื่อผู้ที่เดือดร้อนลำบาก
นอกจากพวกเธอจะรำพึงภาวนาเผื่อพระศาสนจักร และคณะนักบวชแล้ว ตลอดชีวิตพวกเธอได้อุทิศตนอยู่กับการภาวนาและการทรมานตนเพื่อใช้โทษบาปเพื่อ เพื่อนมนุษย์
ดุจเดียวกับพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า และด้วยการอุทิศตนเพื่อรับใช้พระเจ้า ดังนั้นชีลับจึงได้ชื่อว่า ผู้สละโลกและเจ้าสาวของพระเจ้า
(สารคดี ฉบับที่ 116 ปีที่ 10 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 หน้า 10)
📄 ตอนที่ 2 📄
@@..ประวัติของคณะคาร์แมล..@@
ผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่ในอารามคาร์แมลแห่งนี้ คือ มาเซอร์คณะภคินีแห่งแม่พระคาร์แมล ซึ่งเป็นคณะที่เก่าแก่ ถือกำเนิดขึ้น ราวกลางศตวรรษที่ 12 ในสมัยสงครามครูเสด (Crusades)
การก่อตั้งคณะเกิดขึ้นอย่างเรียบง่ายบนพื้นที่ซึ่งเป็นหินบนภูเขาคาร์แมล โดยดำเนินชีวิตเลียนแบบประกาศกเอลียาห์ (Prophet Elijah)
ในเรื่องของความขยัน ความศรัทธาร้อนรน และการสละทิ้งซึ่งชื่อเสียงเกียรติยศ ตลอดจนทรัพย์สมบัติฝ่ายโลก
ในสมัยกลางคนทั่วไปรู้จักบรรดาฤาษีคาร์แมล ในชื่อเป็นทางการว่า “ภราดาคณะแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล (Order of the Brothers of the Blessed Virgin Mary of Mount Carmel)”
เพราะพวกเขามีแม่พระเป็นทั้งมารดา เป็นทั้งพี่สาวและคนกลางผู้เสนอวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า พระนางยังทรงเป็นเช่นนี้เสมอมาสำหรับนักบวชคณะคาร์แมล ซึ่งสืบทอดต่อกันเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 21
ก็ไม่พ้นเรื่องของความทุกข์ร้อนของผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์ความลำบากที่สังคมโลกภายนอกเป็นผู้สร้างขึ้น นี่แหละคือ ชีวิตแห่งการรับใช้ของมาเซอร์คณะภคินีแห่งแม่พระคาร์แมล
@@..จุดเริ่มต้นภคินีคาร์แมล..@@
ตั้งแต่เริ่มต้น พระศาสนจักรได้มีขนบธรรมเนียบต่อกันมาว่า บรรดาสตรีผู้อุทิศชีวิตรับใช้พระเป็นเจ้าจะต้องรับภารกิจผู้มัดตัวเองตลอดชีวิต
และในระหว่างศตวรรษที่ 13 และ 14 มีสตรีใจศรัทธาจำนวนหนึ่งอาศัยคำแนะนำของภราดาคาร์แมลสตรีเหล่านั้นจึงได้เริ่มต้นถือ พระวินัยของคณะคาร์แมล แต่ละคนหรือรวมกันเป็นกลุ่มๆ พวกเขาขังตัวเองอยู่คนเดียวตามลำพังเด็ดขาด และสวดภาวนาไม่หยุดหย่อน อีกหลายคนอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะมีชีวิตผูกผันกันอย่างหลวมๆ โดยไม่มีการถวายปฏิญาณ ในปี ค.ศ.1452 สมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 (Pope Nicholas V) ได้ให้คำรับรองแก่บุญราศียอห์น โซแร็ธ (Blessed John Soreth) อธิการใหญ่เจ้าคณะคาร์แมลที่จะจัดรวมสตรีใจศรัทธาเหล่านี้เข้าเป็นคณะนักบวชคาร์แมลชั้น 2
ดังนั้นเท่ากับทำให้พวกเขาได้รับฐานะทางกฎหมายของพระศาสนจักร บุญราศีฟรังซิสแห่งนักบุญอัมโบรซิโอ (Blessed Frances d'Amboise) ดัชเชสแห่งแคว้นบริตานี ได้เป็นภคินีในพวกแรกๆ ที่เข้าอารามแห่งหนึ่ง ซึ่งท่านดัชเชสได้บริจาคทรัพย์ก่อตั้งขึ้นมา นี่คือการเริ่มต้นที่ซื่อๆ และสงบเสงี่ยบของคณะภคินี คาร์แมลชุดแรกๆ ซึ่งได้ค่อยๆ เจริญทวีจำนวนจนถึงเกือบ 13,000 รูป อยู่ในอารามที่ตั้งกระจายตามจุดต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบันนี้
📄 ตอนที่ 3 📄
~@0@~..อารามคาร์แมลแห่งแรกในประเทศไทย...~@0@~
มาเซอร์คณะคาร์เมไลท์รุ่นแรกที่ถือกำเนิดในประเทศไทย🇹🇭 เมื่อปี พ.ศ.2468 (ค.ศ.1925) หลังจากที่มงซินญอร์มารี โยเซฟ เรอเน แปร์รอส (Monsignor Rene Marie Joseph Perros) หรือเรียกว่า พระคุณเจ้าแปร์รอส ประมุขของมิสซังกรุงเทพฯ ในขณะนั้น
ได้เดินทางไปเยี่ยมอารามแม่พระแห่งความไว้วางใจ ที่พึ่งก่อตั้งขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา🇰🇭 โดยพระคุณเจ้าได้แสดงความปรารถนาที่จะก่อตั้งอารามคาร์แมลในมิสซังของท่านต่อคุณแม่แอนน์แห่งพระเยซู – มาเรีย คุณแม่อธิการิณี ผู้ก่อตั้งอาราม ให้มาดำเนินงานในประเทศในประเทศไทย🇹🇭ตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 (ค.ศ.1913)
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2468 (ค.ศ.1925) อาศัยการนำของพระญาณสอดส่อง คุณแม่แอนน์ แห่งพระเยซู – มาเรียได้นำภคินีอีก 12 ท่านเดินทางมายังประเทศไทย🇹🇭
ถึงแม้การเดินทางในขณะนั้นจะยากลำบาก ภคินีทั้งหมดต้องเดินทางโดยรถยนต์ ต่อด้วยเรือ ซึ่งเรือที่นำภคินีคณะคาร์เมไลท์มาสู่ประเทศไทย คือ “เรือนิภา” ของบริษัทอิสเซีสติก
และในเช้าวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2468 (ค.ศ.1925) ภคินีทั้งหมดได้เดินทางมาถึงประเทศไทย🇹🇭และได้ตั้งอารามแห่งแรกขึ้นที่ ถนนคอนแวนต์ จังหวัดกรุงเทพฯ แต่ในช่วงแรกที่กำลังก่อสร้างอารามอยู่นั้น ภคินีทั้งหมดได้ไปพักอยู่กับมาเซอร์คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร (Sisters of St. Paul of Chartres) ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ (Saint Joseph Convent School) เป็นการชั่วคราว ระหว่างนั้น ทุกๆเช้าพระคุณเจ้าแปร์รอสจะมาเยี่ยมเยียน คุณแม่อธิการิณี และพูดคุยตระเตรียมสิ่งที่จำเป็นสำหรับการถวายมิสซาในวัดน้อยเป็นครั้งแรกตามวันที่ 30 กันยายน อีกทั้งพระคุณเจ้าได้เร่งให้ คนงานก่อสร้างวัดน้อยให้เสร็จทันวันที่กำหนดไว้ด้วย
ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2468 (ค.ศ.1925) คณะภคินีคาร์เมไลท์สวมเสื้อคลุมขาวและสวมผ้าคลุมอยู่ในวัด ใครๆคงเชื่อว่า คล้ายกับการก่อตั้งอารามเป็นปฐมฤกษ์ในสมัยของนักบุญเทเราซา มารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ ที่จริงแล้วพระพรเดียวกันจากสวรรค์ลงมายังอารามคาร์แมลนี้
แม้จะห่างกันทั้งในระยะทางและระยะเวลา (3 ศตวรรษระหว่างอาณาจักรสเปน🇪🇸และอาณาจักรไทย🇹🇭) แต่ก็เป็นนักบุญเทเรซาผู้ก่อตั้งคณะคนเดียวกันที่ทำงาน และคุณแม่แอนน์ แห่งพระเยซู – มาเรีย พร้อมกับธิดาของท่านที่อุทิศตนให้แก่ท่าน
เดือนพฤศจิกายนมาถึงอย่างรวดเร็ว มีการจัดเตรียมประดับวัดน้อยของอาราม คุณแม่อธิการิณีได้ไปที่อารามทุกๆเย็น เพื่อดูแลให้คนงานทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่คณะคาร์แมลต้องใช้สอย คือ ใส่ตารางลูกกรง ทำตู้หมุน…
สุดท้ายวันแห่งความชื่นชมยินดีก็มาถึง วันที่ 29 พฤศจิกายน เป็นวันที่ภคินีคาร์แมลเข้าในอารามของตน ประตูอารามเปิดกว้างให้เห็น สวนของอาราม คุณแม่อธิการิณีก็เข้าสู่ภายในอารามเป็นคนแรก ภคินีคนอื่นๆ ก็ไปคุกเข่ารับพรและจูบแหวนของบิชอป และเดินตามคุณแม่ อธิการิณีเข้าไปในเขตหวงห้ามตามลำดับ เมื่อภคินีทุกคนเข้าไปในเขตหวงห้ามแล้ว
ประตูอารามชั้นในก็ปิดด้วยลูกกุญแจ 2 ชั้น ตามกฎอย่างเคร่งครัด บรรดาผู้ถูกขังซึ่งมีบุญจึงได้เข้าไปที่สวดทำวัตรในวัดน้อย
การเข้าครอบครองอารามใหม่ของคณะคาร์แมลก็สำเร็จสมบูรณ์ลงตามกฎหมายของพระศาสนจักรทุกประการ
🟫 ปัจจุบันอารามของคณะคาร์เมไลท์ ในประเทศไทย มี…
1. อารามคาร์แมล กรุงเทพฯ
🏠 ที่อยู่
14 ถนนคอนแวนต์ แขวงสีลม เขตบางรัก จังหวัดกรุงเทพฯ 10500
📍 Google Maps
https://maps.app.goo.gl/tzkNZ8TYrw7cdj7PA?g_st=ic
📞 เบอร์โทร
02-233-6056
👍 เพจ
https://www.facebook.com/carmel.silom.5
2. อารามคาร์แมล สามพราน
🏠 ที่อยู่
12/17 หมู่ 4 ซอยเปโตร 5 ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73110
📍 Google Maps
https://maps.app.goo.gl/pbGQ3eNjqNvwSnhJA?g_st=ic
3. อารามคาร์แมล จันทบุรี
🏠 ที่อยู่
140/10 ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 22000
📍 Google Maps
https://maps.app.goo.gl/obDqiv4G4DZhLeDk9?g_st=ic
📞 เบอร์โทร
039-311-580
4. อารามคาร์แมล นครสวรรค์
🏠 ที่อยู่
200/5 ถนนพิทักษ์สันติราษฎร์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000
📍 Google Maps
https://maps.app.goo.gl/yy6YUFB9mgAA6E3B8?g_st=ic