นางสาววรวรรณ พลิคามิน รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวในงานเสวนา “ข้ามรุ่น อนาคตประเทศไทย” จัดโดย สศช.ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งประเทศไทย ว่า โครงสร้างประชากรไทยถือเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ และมีแนวโน้มที่จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
โดยปี 66 มีผู้สูงอายุ 13.5 ล้านคน คิดเป็น 20% ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนอีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 76 จะเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสุดยอด มีผู้สูงอายุ 18.38 ล้านคน หรือ 28% ของประชากรทั้งหมด จากนั้นปี 83 ผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 20.51 ล้านคน หรือ 31.37% ของประชากรทั้งหมด เท่ากับว่าประชากรสูงอายุจะคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ
โดยรูปแบบที่มีการเสนอผ่านคณะกรรมการปฏิรูปสังคมและ สศช.เห็นว่าเป็นแนวทางที่ดี คือการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จาก 7% เป็น 10% โดยส่วนที่ปรับขึ้น 3% รัฐอาจออกกฎหมายเฉพาะให้ส่วนนี้มาเป็นเงินออมของประชาชนเพื่อใช้วัยเกษียณ และทำความเข้าใจให้ประชาชนยอมรับการขึ้นภาษีนี้ได้ เพราะทำให้มีหลักประกันวัยเกษียณ และรัฐก็มีแหล่งรายได้ที่ชัดเจน นำมาจัดสวัสดิการให้ประชาชนสูงวัยในอนาคต”
ข่าว : ไทยรัฐ
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2720192
ด่วน! สศช. เสนอขึ้น VAT จาก 7% ขึ้นเป็น 10% ให้รัฐมีรายได้เพิ่มนำมาเป็นสวัสดิการให้ "ปชช.สูงวัย"
โดยปี 66 มีผู้สูงอายุ 13.5 ล้านคน คิดเป็น 20% ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนอีก 10 ปีข้างหน้า หรือปี 76 จะเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบสุดยอด มีผู้สูงอายุ 18.38 ล้านคน หรือ 28% ของประชากรทั้งหมด จากนั้นปี 83 ผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 20.51 ล้านคน หรือ 31.37% ของประชากรทั้งหมด เท่ากับว่าประชากรสูงอายุจะคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ
โดยรูปแบบที่มีการเสนอผ่านคณะกรรมการปฏิรูปสังคมและ สศช.เห็นว่าเป็นแนวทางที่ดี คือการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จาก 7% เป็น 10% โดยส่วนที่ปรับขึ้น 3% รัฐอาจออกกฎหมายเฉพาะให้ส่วนนี้มาเป็นเงินออมของประชาชนเพื่อใช้วัยเกษียณ และทำความเข้าใจให้ประชาชนยอมรับการขึ้นภาษีนี้ได้ เพราะทำให้มีหลักประกันวัยเกษียณ และรัฐก็มีแหล่งรายได้ที่ชัดเจน นำมาจัดสวัสดิการให้ประชาชนสูงวัยในอนาคต”
ข่าว : ไทยรัฐ https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2720192