คันเบ็ดเป็นอุปกรณ์ที่ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรกๆ สำหรับการตกปลาทุกรูปแบบ โดยความพิเศษของคันตีเหยื่อปลอมคือ มีขนาดที่เล็ก และน้ำหนักที่เบา โดยหลักๆ คันเบ็ดจะแยกออกเป็น “เบทคาสติ้ง (Casting Rod)” กับอีกประเภทคือ “สปินนิ่ง (Spinning Rod) และคันเบ็ดยังแยกเป็นคันสเปคอเมริกา กับ ญีปุ่นด้วย ทั้งที่จริงๆ แล้วผลิตประเทศอื่นก็มีเยอะเต็มไปหมด
คันประเภทไหนได้รับความนิยมมากกว่า..?
หากถามว่าระหว่างคันเบทกับคันสปิน แบบไหนได้รับความนิยมมากกว่าในการตีเหยื่อปลอม..? บอกได้เลยว่าในช่วง 4 – 5 ปีก่อน เบทคาสติ้งมาแรงมาก คงเพราะยุคนั้นเหยื่อขนาดเล็กกว่า 3 กรัมไม่ค่อยจะเจอในไทย แต่ในปัจจุบันเหยื่อขนาดจิ้วๆ น้ำหนักต่ำกว่า 3 กรัม ได้รับความนิยมมากขึ้น เลยทำสปินนิ่ง ดูจะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จนดูจะมีคนใช้มากพอๆ กับเบทคาสติ้งแล้ว
xh001 คนไทยเรียก Spinning Rod ว่า “คันสปิน” ส่วน Casting Rod เรียกว่า “คันเบท”
ความยาวของคัน
หน่วยฟุตจะเป็นหน่วยที่ได้รับความนิยมในการบอกความยาวของคันเบ็ด จะว่าไปเป็นหน่วยสากลเลยก็ได้ และคันเบทกับ คันสปิน จะนิยมใช้ความยาวที่ต่างกันด้วยนะ
Casting Rod : จะนิยมใช้ที่ 6 – 6.8 ฟุต แบบ 1 ท่อน หากยาวกว่านี้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมกัน ไม่ว่าจะตีหมายแบบไหนก็จะใช้ยาวประมาณนี้ และจากความเห็นส่วนตัวถ้าคันเบสยาวเกิน 7.6 ฟุตจะตียาก มีโอกาสตีแล้วสายฟูสูงมาก
Spinning Rod : จะชอบใช้ยาว 7 – 8 ฟุต แบบ 1 – 2 ท่อน สำหรับหมายขนาดกลางจนถึงใหญ่มาก และไม่เกิน 6 ฟุต คันเรียวๆ เล็กๆ หรือที่เรียก Ultra Light ..ส่วนใครชอบตีไกลเอาโล่ จัด 8 ฟุตขึ้นไปเลยไม่ผิดหวังแน่
xh002xh003
Line Weight
ต่อจากความยาวคัน สิ่งที่นักตกปลามือใหม่มักจะถามกันคือ Weight แต่จริงๆ แล้ว ตามตารางข้อมูลของคันเบ็ด จะมีคำว่า Weight (น้ำหนัก) ที่บอกคุณสมบัติเอาไว้อย่างน้อยๆ ก็ 3 อย่างคือ Line Weight, Lure Weight และ Rod Weight แต่ไม่เป็นไรรู้จักแค่ Line Weight ไปก่อน และหน่อยวัดที่เป็นสากลคือปอนด์ (LB.) ต่อไปเป็นตัวอย่างของ Line Weight แต่บอกไว้ก่อนว่าแต่ละค่ายผลิตจะมีตัวเลขที่ต่างกันนิดหน่อยอันนี้เป็นแค่ตัวอย่าง
Line Weight 2 – 6 : ไม่ค่อยมีกับ Casting Rod ส่วนใหญ่เป็นคันสปินและมี Power แบบ UL (Ultra Light)
เพิ่งจะได้รับความนิยมได้ไม่นานสำหรับนักตกปลาชาวไทย ส่วนสายก็ PE 0.5 – PE1 (ผมเล่นไม่ได้ มือหนัก)
Line Weight 6 – 12 : สำหรับคันสปินตกปลาน้ำจืด ถือว่าแข็งแล้วนะ เป็นเวทที่ตกได้ทั่วไปเลย แต่ถ้าเวทประมาณนี้และเป็นคันเบท ถือว่าคันอ่อนมาก ถือเป็น UL ของคันเบทเลย ใช้สายประมาณ PE 1 – PE 2 (คันสปิน) ใหญ่กว่านี้ตีไม่ค่อยออก ส่วนคันเบทก็ PE 2 ก็ยังตีได้สบาย
Line Weight 10 – 17 : มาถึงเวทระดับนี้ ไม่ค่อยเจอในคันตีเหยื่อปลอมสปิน แต่ถ้าเป็นคันเบทถือว่าเป็นเวทครอบจักรวาล น้ำจืด น้ำกร่อย ตกได้ทุกที่ ปลาขังยันเขื่อน สายที่ใช้ก็ PE1.5 – PE3 (คันเบท) ส่วนคันสปินไม่ข้อพูดถึงนะครับ เวทระดับนึ้คงไม่ค่อยนิยมกัน
Line Weight 12 – 20 : เริ่มเป็นงานเฉพาะทางแล้ว โดยเวท 12 – 20 ถือว่าแข็งสำหรับงานน้ำจืด แต่ก็นิยมใช้ตกหมายที่คิดว่าต้องเจอกับปลาใหญ่ หรือหมายที่มีอุปสรรคใต้น้ำเยอะหน่อย เช่นเขือน หรือบ่อบัว เป็นต้น แต่ก็มีน้าๆ บางท่านชอบใช้คันแข็งๆ ก็เอามันไปตกได้ทุกที่เหมือนกัน สายที่ใช้ก็ PE2 – 4 (คันเบท)
สำหรับเวทใหญ่ๆ ที่พบก็ 12 – 25 แข็งมากๆ แล้วสำหรับงานน้ำจืด หากเวทมากกว่านี้ไม่แนะนำ เพราะเอามาตกน้ำจืดรับประกันได้เลยว่าไม่สนุก เพราะวัดทีปลาแทบจะลอยขึ้นบก
ต่อไปเป็นตัวอย่างข้อมูลของคันเบ็ดนะครับ
SPINNING RODS
Model Length Power Action PCS Line Weight Lure Weight Rod Weight Handle
LES60ULF2 6′ UL Fast 2 2 – 6 1/32 – 3/16 2.6 1
LES60MLF 6′ ML Fast 1 4 – 10 1/8 – 3/8 2.8 1
LES63MXF 6’3″ M X-Fast 1 6 – 10 1/8 – 1/2 3.2 1
LES66LF 6’6″ L Fast 1 4 – 8 1/16 – 1/4 2.8 1
LES66MHF 6’6″ MH Fast 1 8 14 3/8 – 3/4 3.8 4
LES68MXF 6’8″ M X-Fast 1 6 – 12 3/16 – 5/8 3.7 4
LES70LF 7′ L Fast 1 4 – 8 1/16 – 1/4 3.0 2
LES70MLF2 7′ ML Fast 2 4 – 10 1/8 – 3/8 3.4 3
LES70MF 7′ M Fast 1 6 – 12 3/16 – 5/8 3.6 5
LES76MLXF 7’6″ ML X-Fast 1 4 – 10 1/8 – 3/8 3.8 5
LES76MF 7’6″ M Fast 1 6 -12 3/16 – 5/8 3.9 5
CASTING RODS
Model Length Power Action PCS Line Weight Lure Weight Rod Weight Handle
LEC60MF 6′ M Fast 1 10 – 17 1/4 – 5/8 3.4 7
LEC66MF 6’6″ M Fast 1 10 – 17 1/4 – 5/8 3.7 8
LEC70HF 7′ H Fast 1 14 – 25 3/8 – 11/2 4.6 8
จากตารางตัวอย่างที่ดูกันจะเห็นว่าคันเบ็ดมีรายละเอียดประกอบอยู่หลายส่วน นอกจาก Line Weight ของคันแล้ว จะมี “Power” อยู่ด้วย โดยทั่วไปจะมีประมาณ 9 ระดับนะครับ แต่สำหรับคันตีเหยื่อปลอม ที่นิยมใช่กันจะมีอยู่ประมาณ 6 ระดับ
ความหมาย Power เอาไว้เป็นประโยชน์ในการเลือกคันมาใช้
UL = Ultra Light
ExL = Extra Light
L = Light
ML = Medium Light
M = Medium
MH = Medium Heavy
H = Heavy
ExH = Extra Heavy
UH = Ultra Heavy
xh004
จากภาพจะเห็นว่าที่โคนคันจะมีการบอก Line Weight , Lure Weight และความยาวคัน รวมทั้ง Action, Power เอาไว้ด้วย โดยทุกอย่างถูกรวมเป็นรหัสไว้ “LEC66MF” ซึ่งก็คือ
LEC = รุ่นคันเบ็ด LEGEND ELITE Casting Rod ในทางกลับกันถ้าเป็น LES ก็จะเป็น Spinning Rod
66 = คันยาว 6.6 ฟุต แต่บางยี้ห้อจะบอกเลยว่า 6’6″
MF = คือคัน Power “M” และ Action “F” บางยี้ห้อก็บอกคำเต็มนะครับ บางทีก็ใส่ทั้งรหัส และเต็มก็มี
สุดท้ายสิ่งที่ไม่เคยถูกเขียนลงบนคันเบ็ดคือ Rod Weight ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน ทั้งที่มันสำคัญสำหรับคันตีเหยื่อปลอม ^ ^ สิ่งเหล่านี้นักตกปลาต้องหาข้อมูลเอาเองเมื่อจะเสียเงินซื้อคันดีๆ มาใช้และอย่างที่กล่าวไว้ตอนแรกๆ เกี่ยวกับคันอเมริกา กับญีปุ่น บอกตรงๆ ว่าผมเป็นคนใช้แบรนด์อเมริกา โดยที่ดังๆ ก็มีคันจีกับคันเซนต์ ส่วนทางฝั่งญีปุ่นมีเพียบ ถามว่าต่างกันยังไง..?
เอาหลักๆ เลย ในเรื่องความสวยงาม คันญีปุ่นกินขาด ราคาก็เช่นกันแพงกว่า เพราะทุกอย่างที่เขาทำออกมาถือเป็นศิลปะ ความใส่ใจในงานสูง ถ้าจะหาคันญีปุ่นราคาทะลุสองหมื่นบาทมีอยู่หลายคันเต็มตลาด แต่ถ้าเป็นคันอเมริกาหมื่นห้าก็ถือว่าโหดแล้ว ส่วนคันตีเหยื่อปลอมราคาเบาราคาไม่ถึงพันก็มีเยอะ หาซื้อง่ายตามร้านอุปกรณ์ตกปลาทั่วไป
จุดแข็งของคันอเมริการคือมักจะมีประกันคันหักติดมาด้วย แต่เรื่องความสวยยังเป็นรองคันญีปุ่นอยู่มาก ส่วนคันญีปุ่นเกือบทั้งหมดไม่มีประกัน ฉะนั้นใช้ต้องทำใจถ้าหัก แต่ไม่ต้องกลัวถ้าใช้ถูกวิธีคันไม่หักง่ายๆ แน่ ถึงราคาจะไม่แพงก็ตาม (มีบางยีห้อรับประกันให้เป็นพิเศษ ต้องสอบถามร้านที่จัดจำหน่ายด้วย)
***ความรู้คันเบ็ดอ่านไว้ได้ประโยชน์***
คันประเภทไหนได้รับความนิยมมากกว่า..?
หากถามว่าระหว่างคันเบทกับคันสปิน แบบไหนได้รับความนิยมมากกว่าในการตีเหยื่อปลอม..? บอกได้เลยว่าในช่วง 4 – 5 ปีก่อน เบทคาสติ้งมาแรงมาก คงเพราะยุคนั้นเหยื่อขนาดเล็กกว่า 3 กรัมไม่ค่อยจะเจอในไทย แต่ในปัจจุบันเหยื่อขนาดจิ้วๆ น้ำหนักต่ำกว่า 3 กรัม ได้รับความนิยมมากขึ้น เลยทำสปินนิ่ง ดูจะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จนดูจะมีคนใช้มากพอๆ กับเบทคาสติ้งแล้ว
xh001 คนไทยเรียก Spinning Rod ว่า “คันสปิน” ส่วน Casting Rod เรียกว่า “คันเบท”
ความยาวของคัน
หน่วยฟุตจะเป็นหน่วยที่ได้รับความนิยมในการบอกความยาวของคันเบ็ด จะว่าไปเป็นหน่วยสากลเลยก็ได้ และคันเบทกับ คันสปิน จะนิยมใช้ความยาวที่ต่างกันด้วยนะ
Casting Rod : จะนิยมใช้ที่ 6 – 6.8 ฟุต แบบ 1 ท่อน หากยาวกว่านี้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมกัน ไม่ว่าจะตีหมายแบบไหนก็จะใช้ยาวประมาณนี้ และจากความเห็นส่วนตัวถ้าคันเบสยาวเกิน 7.6 ฟุตจะตียาก มีโอกาสตีแล้วสายฟูสูงมาก
Spinning Rod : จะชอบใช้ยาว 7 – 8 ฟุต แบบ 1 – 2 ท่อน สำหรับหมายขนาดกลางจนถึงใหญ่มาก และไม่เกิน 6 ฟุต คันเรียวๆ เล็กๆ หรือที่เรียก Ultra Light ..ส่วนใครชอบตีไกลเอาโล่ จัด 8 ฟุตขึ้นไปเลยไม่ผิดหวังแน่
xh002xh003
Line Weight
ต่อจากความยาวคัน สิ่งที่นักตกปลามือใหม่มักจะถามกันคือ Weight แต่จริงๆ แล้ว ตามตารางข้อมูลของคันเบ็ด จะมีคำว่า Weight (น้ำหนัก) ที่บอกคุณสมบัติเอาไว้อย่างน้อยๆ ก็ 3 อย่างคือ Line Weight, Lure Weight และ Rod Weight แต่ไม่เป็นไรรู้จักแค่ Line Weight ไปก่อน และหน่อยวัดที่เป็นสากลคือปอนด์ (LB.) ต่อไปเป็นตัวอย่างของ Line Weight แต่บอกไว้ก่อนว่าแต่ละค่ายผลิตจะมีตัวเลขที่ต่างกันนิดหน่อยอันนี้เป็นแค่ตัวอย่าง
Line Weight 2 – 6 : ไม่ค่อยมีกับ Casting Rod ส่วนใหญ่เป็นคันสปินและมี Power แบบ UL (Ultra Light)
เพิ่งจะได้รับความนิยมได้ไม่นานสำหรับนักตกปลาชาวไทย ส่วนสายก็ PE 0.5 – PE1 (ผมเล่นไม่ได้ มือหนัก)
Line Weight 6 – 12 : สำหรับคันสปินตกปลาน้ำจืด ถือว่าแข็งแล้วนะ เป็นเวทที่ตกได้ทั่วไปเลย แต่ถ้าเวทประมาณนี้และเป็นคันเบท ถือว่าคันอ่อนมาก ถือเป็น UL ของคันเบทเลย ใช้สายประมาณ PE 1 – PE 2 (คันสปิน) ใหญ่กว่านี้ตีไม่ค่อยออก ส่วนคันเบทก็ PE 2 ก็ยังตีได้สบาย
Line Weight 10 – 17 : มาถึงเวทระดับนี้ ไม่ค่อยเจอในคันตีเหยื่อปลอมสปิน แต่ถ้าเป็นคันเบทถือว่าเป็นเวทครอบจักรวาล น้ำจืด น้ำกร่อย ตกได้ทุกที่ ปลาขังยันเขื่อน สายที่ใช้ก็ PE1.5 – PE3 (คันเบท) ส่วนคันสปินไม่ข้อพูดถึงนะครับ เวทระดับนึ้คงไม่ค่อยนิยมกัน
Line Weight 12 – 20 : เริ่มเป็นงานเฉพาะทางแล้ว โดยเวท 12 – 20 ถือว่าแข็งสำหรับงานน้ำจืด แต่ก็นิยมใช้ตกหมายที่คิดว่าต้องเจอกับปลาใหญ่ หรือหมายที่มีอุปสรรคใต้น้ำเยอะหน่อย เช่นเขือน หรือบ่อบัว เป็นต้น แต่ก็มีน้าๆ บางท่านชอบใช้คันแข็งๆ ก็เอามันไปตกได้ทุกที่เหมือนกัน สายที่ใช้ก็ PE2 – 4 (คันเบท)
สำหรับเวทใหญ่ๆ ที่พบก็ 12 – 25 แข็งมากๆ แล้วสำหรับงานน้ำจืด หากเวทมากกว่านี้ไม่แนะนำ เพราะเอามาตกน้ำจืดรับประกันได้เลยว่าไม่สนุก เพราะวัดทีปลาแทบจะลอยขึ้นบก
ต่อไปเป็นตัวอย่างข้อมูลของคันเบ็ดนะครับ
SPINNING RODS
Model Length Power Action PCS Line Weight Lure Weight Rod Weight Handle
LES60ULF2 6′ UL Fast 2 2 – 6 1/32 – 3/16 2.6 1
LES60MLF 6′ ML Fast 1 4 – 10 1/8 – 3/8 2.8 1
LES63MXF 6’3″ M X-Fast 1 6 – 10 1/8 – 1/2 3.2 1
LES66LF 6’6″ L Fast 1 4 – 8 1/16 – 1/4 2.8 1
LES66MHF 6’6″ MH Fast 1 8 14 3/8 – 3/4 3.8 4
LES68MXF 6’8″ M X-Fast 1 6 – 12 3/16 – 5/8 3.7 4
LES70LF 7′ L Fast 1 4 – 8 1/16 – 1/4 3.0 2
LES70MLF2 7′ ML Fast 2 4 – 10 1/8 – 3/8 3.4 3
LES70MF 7′ M Fast 1 6 – 12 3/16 – 5/8 3.6 5
LES76MLXF 7’6″ ML X-Fast 1 4 – 10 1/8 – 3/8 3.8 5
LES76MF 7’6″ M Fast 1 6 -12 3/16 – 5/8 3.9 5
CASTING RODS
Model Length Power Action PCS Line Weight Lure Weight Rod Weight Handle
LEC60MF 6′ M Fast 1 10 – 17 1/4 – 5/8 3.4 7
LEC66MF 6’6″ M Fast 1 10 – 17 1/4 – 5/8 3.7 8
LEC70HF 7′ H Fast 1 14 – 25 3/8 – 11/2 4.6 8
จากตารางตัวอย่างที่ดูกันจะเห็นว่าคันเบ็ดมีรายละเอียดประกอบอยู่หลายส่วน นอกจาก Line Weight ของคันแล้ว จะมี “Power” อยู่ด้วย โดยทั่วไปจะมีประมาณ 9 ระดับนะครับ แต่สำหรับคันตีเหยื่อปลอม ที่นิยมใช่กันจะมีอยู่ประมาณ 6 ระดับ
ความหมาย Power เอาไว้เป็นประโยชน์ในการเลือกคันมาใช้
UL = Ultra Light
ExL = Extra Light
L = Light
ML = Medium Light
M = Medium
MH = Medium Heavy
H = Heavy
ExH = Extra Heavy
UH = Ultra Heavy
xh004
จากภาพจะเห็นว่าที่โคนคันจะมีการบอก Line Weight , Lure Weight และความยาวคัน รวมทั้ง Action, Power เอาไว้ด้วย โดยทุกอย่างถูกรวมเป็นรหัสไว้ “LEC66MF” ซึ่งก็คือ
LEC = รุ่นคันเบ็ด LEGEND ELITE Casting Rod ในทางกลับกันถ้าเป็น LES ก็จะเป็น Spinning Rod
66 = คันยาว 6.6 ฟุต แต่บางยี้ห้อจะบอกเลยว่า 6’6″
MF = คือคัน Power “M” และ Action “F” บางยี้ห้อก็บอกคำเต็มนะครับ บางทีก็ใส่ทั้งรหัส และเต็มก็มี
สุดท้ายสิ่งที่ไม่เคยถูกเขียนลงบนคันเบ็ดคือ Rod Weight ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน ทั้งที่มันสำคัญสำหรับคันตีเหยื่อปลอม ^ ^ สิ่งเหล่านี้นักตกปลาต้องหาข้อมูลเอาเองเมื่อจะเสียเงินซื้อคันดีๆ มาใช้และอย่างที่กล่าวไว้ตอนแรกๆ เกี่ยวกับคันอเมริกา กับญีปุ่น บอกตรงๆ ว่าผมเป็นคนใช้แบรนด์อเมริกา โดยที่ดังๆ ก็มีคันจีกับคันเซนต์ ส่วนทางฝั่งญีปุ่นมีเพียบ ถามว่าต่างกันยังไง..?
เอาหลักๆ เลย ในเรื่องความสวยงาม คันญีปุ่นกินขาด ราคาก็เช่นกันแพงกว่า เพราะทุกอย่างที่เขาทำออกมาถือเป็นศิลปะ ความใส่ใจในงานสูง ถ้าจะหาคันญีปุ่นราคาทะลุสองหมื่นบาทมีอยู่หลายคันเต็มตลาด แต่ถ้าเป็นคันอเมริกาหมื่นห้าก็ถือว่าโหดแล้ว ส่วนคันตีเหยื่อปลอมราคาเบาราคาไม่ถึงพันก็มีเยอะ หาซื้อง่ายตามร้านอุปกรณ์ตกปลาทั่วไป
จุดแข็งของคันอเมริการคือมักจะมีประกันคันหักติดมาด้วย แต่เรื่องความสวยยังเป็นรองคันญีปุ่นอยู่มาก ส่วนคันญีปุ่นเกือบทั้งหมดไม่มีประกัน ฉะนั้นใช้ต้องทำใจถ้าหัก แต่ไม่ต้องกลัวถ้าใช้ถูกวิธีคันไม่หักง่ายๆ แน่ ถึงราคาจะไม่แพงก็ตาม (มีบางยีห้อรับประกันให้เป็นพิเศษ ต้องสอบถามร้านที่จัดจำหน่ายด้วย)