ปวดท้องเป็นอะไรไม่หายสักทีสงสัย...ลำไส้แปรปรวน

exclaimลำไส้แปรปรวน  ภาวะที่เป็นปัญหาต่อระบบขับถ่าย ที่กลายเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตมีอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล
บางรายท้องผูก บางรายท้องเสีย โดยจะมีอาการปวดท้องเป็นอาการเด่นของโรค
จึงถือเป็นโรคที่ควรทำความรู้จักและทำความเข้าใจ เพื่อสังเกตตนเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ป้องกันการเกิดโรค

วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ idea ปวดท้องเป็นอะไรไม่หายสักทีสงสัย...ลำไส้แปรปรวนidea

โรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome: IBS) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของลำไส้ส่วนปลาย 
ได้แก่ ปลายลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีการบีบตัวมากเกินไปและมีอาการไวต่อสิ่งกระตุ้น 
เช่น อาหารที่มีรสเผ็ด ชากาแฟ หรือไวต่อความเครียด ทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีอาการปวดเกร็งหรือแน่นอึดอัดท้อง 
ร่วมกับการขับถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย โดยจะมีอาการเป็นๆ หายๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

ideaโรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง และไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรง
ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถบอกสาเหตุของโรคนี้ได้อย่างแน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าเกิดจากสาเหตุ

1.การบีบตัวผิดปกติของลำไส้ใหญ่ หรืออาจเรียกว่าตะคริว ทำให้ลำไส้เกร็งตัวผิดปกติ (spastic colon) 
เกิดการบีบตัวอย่างรุนแรงจึงทำให้เกิดการปวดเกร็งลำไส้
2.ภาวะไวต่ออาหาร หรือภาวะย่อยอาหารบางอย่างได้ไม่ดี เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย
อาจเกิดจากแพ้อาหาร หรือไวต่ออาหาร การจดบันทึกอาหารที่รับประทานอาจจะช่วยบอกถึงอาหารที่แพ้ได้
3.ลำไส้ไวความต่อความรู้สึกมากเกินไป เป็นความผิดปกติที่ไม่ได้มีโรค หรือการบีบตัวผิดปกติใด ๆ แต่ลำไส้ไวต่อความรู้สึกมากเกินไป
4.ความเครียดหรือภาวะทางจิตเวช เพราะภาวะเครียด กังวลใจ ทำให้ลำไส้รับความรู้สึกไวขึ้น เกิดการปวดขึ้นได้
5.เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินอาหารและการติดเชื้ออื่น ๆ โดยมักพบอาการภายหลังจากมีการติดเชื้อ
เช่น เชื้อไข้รากสาด หรือ เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ แต่กลไกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด
6.เกิดจากการใช้ยาบางชนิด



ideaอาการของโรคลำไส้แปรปรวนมักพบตั้งแต่อายุน้อย โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 
-ปวดท้อง: ปวดท้องอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วง 3 เดือน มักเป็นลักษณะบีบเกร็ง 
หรืออาจเป็นแบบอื่น เช่น ตื้อ ๆ หนัก ๆ อึดอัด มักปวดบริเวณท้องด้านล่างซ้าย หรืออาจเกิดได้ในตำแหน่งอื่น ๆ 
โดยความรุนแรง และตำแหน่งของการปวดจะแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนเป็นรุนแรงขึ้น 
เมื่อเครียดหรือรับประทานอาหารบางอย่าง บางคนปวดมากขึ้นระหว่างมีรอบเดือน บางคนอาการดีขึ้นเมื่อได้ขับถ่าย
-มีลักษณะการขับถ่ายผิดปกติไปจากเดิม: ถือเป็นลักษณะพิเศษที่อาจช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้
เช่น มีท้องเสีย ท้องผูก หรือ มีสลับท้องเสียและท้องผูกก็ได้
โรคนี้อาจมีอาการที่แบ่งเป็นท้องเสียเด่น (diarrhea predominant IBS) หรือท้องผูกเด่น (constipation dominant IBS)
-ท้องเสีย: มักมีอาการช่วงกลางวันหรือช่วงเวลาทำงาน และมักเป็นในช่วงเช้าหรือหลังทานอาหาร
อาการท้องเสียในภาวะนี้มักมีอาการร่วมคือ รีบอยากเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่าย มักรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด
และประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมีมูกเวลาขับถ่าย
-ท้องผูก: อาจมีอาการเป็นวัน หรือเป็นเดือน อุจจาระมีลักษณะแข็งคล้ายลูกกระสุน
บางคนอาจมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมดร่วมด้วย ทำให้ต้องเบ่งถ่าย หรือนั่งถ่ายอุจจาระอยู่นานไม่ออก
ทำให้บางคนต้องใช้ยาระบาย หรือ สวนถ่ายบ่อย ๆ
-อาการของทางเดินอาหารอื่น ๆ: เช่น ท้องเสียสลับท้องผูก อืดเฟ้อ ลมมาก เรอ แน่นแสบอก กลืนลำบาก อิ่มเร็ว หรือคลื่นไส้
-อาการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาการกลุ่มของทางเดินอาหาร: เช่น อยากปัสสาวะบ่อย ปวดประจำเดือน หรือมีปัญหาทางเพศ

ideaรักษาโรคลำไส้แปรปรวน อาการปวดในเบื้องต้น
ลำไส้แปรปรวนวิธีรักษาที่ง่ายที่สุดคืออย่ากลั้นอุจจาระ เมื่อรู้สึกปวดให้รีบเข้าห้องน้ำทันที
จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเกร็งได้บ้างในเบื้องต้น จากนั้นปรับพฤติกรรมบางอย่าง 
ดื่มน้ำในเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หรืออาหารที่ย่อยยาก เช่น กลุ่มของเนื้อ อาหารทอด ผักบางชนิด เป็นต้น
นอนหลับพักผ่อนให้ครบ 8 ชั่วโมง
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้การทำงานของระบบลำไส้ทำงานได้ดีมากขึ้น
การรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ ซึ่งลำไส้แปรปรวน อาการในแต่ละคนไม่เหมือนกัน รวมถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น 



ideaวิธีการป้องกันโรคลำไส้แปรปรวน อาการปวดที่หลีกเลี่ยงได้
หลีกเลี่ยงความเครียด เนื่องจากความเครียดส่งผลโดยตรงต่อระบบย่อยอาหาร
หากมีความเครียดในระดับสูงอาจส่งผลให้อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารบีบเกร็ง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยท้องตามมา
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นไปที่ผักหรือผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
นอนให้ครบ 8 ชั่วโมง ทานอาหารให้เป็นเวลา และไม่ควรอดอาหาร
ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การวิ่ง โยคะ การเต้น ปั่นจักรยาน กระโดดเชือก เป็นต้น
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ลดการทานชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล

ideaโรคไอบีเอสจะได้รับการวินิจฉัยก็ต่อเมื่อแพทย์ได้วินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆ 
หรือหาโรคอื่นที่อธิบายว่าเป็นสาเหตุของโรคไม่ได้ โดยแพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด 
ตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ ตรวจ X – RAY ลำไส้ใหญ่ หรือส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ 
ซึ่งเป็นผลการตรวจร่างกายและการสืบค้นต่าง ๆ อยู่เกณฑ์ปกติ 
โรคลำไส้ทำงานแปรปรวนเป็นโรคของลำไส้ที่ทำงานผิดปกติไป 
ทั้งลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดอาการปวดท้อง ร่วมกับมีอาการท้องเสีย หรือ ท้องผูก 
โดยที่ตรวจไม่พบพยาธิสภาพที่ลำไส้ เช่น ส่องกล้องตรวจลำไส้จะไม่พบลักษณะของการอักเสบ 
ไม่มีแผลที่เยื่อบุลำไส้ และไม่พบก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง เป็นต้น

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคไอบีเอส จึงยังไม่มียาที่รักษาได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ 
แพทย์มักจะให้การรักษาไปตามอาการ เช่น ให้ยาระบายในผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่น 
หรือให้ยาแก้ท้องเสียถ้ามีอาการท้องเสียเป็นอาการเด่น ให้ยาต้านการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้เพื่อช่วยลดอาการปวดท้อง
ผู้ป่วยอาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ได้

ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=-_Ta_pBm5e8
lovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่