มือใหม่สอบถามครับโทรศัพท์ที่ใช้ในงานภาพ คลิปละเอียดสูงเช่นงานกราฟฟิกส่ง instock

สมัยก่อนเห็นว่าต้องเป็นกล้องสตูดิโอ กล้อง mirrorlessที่ราคาแพงภาพสวยๆ อยากทราบว่าปัจจุบันโทรศัพท์รุ่น สเป๊ก เลน ตัวกล้องในโทรศัพแบบไหนบ้างที่ภาพสเปคสวยๆส่งภาพ instock ได้ครับ เห็นในวงการคนทั้งหมั่นขยันบางคนทั้งเลิกทำ  ต้องมีเลนส์กล้องเลนส์นูนเลนนี้เลนส์วายส์เลนส์ซูมอะไรอีกเยอะแยะไหมครับ (ผมก็พูดรวมๆนะครับเพราะผมไม่รู้)  เลยมากระทู้ขอความรู้จากผู้มีประสบการณ์  
  หรือปัจจุบันนี้โทรศัพท์ตัวท็อปเหลือธงใช้ได้หมดแล้วไหมครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ปัจจัยที่ทำให้ภาพขายได้ หรือผ่านการอนุมัติ
1. คอนเทนท์ที่จะนำเสนอ ซึ่งต้องสอดคล้องกับ คำอธิบาย และคอนเทน์ต้องชัดเจนว่าเรากำลังจะขายอะไรจากภาพนี้ ( คำอธิบายประกอบ ) ซึ่งหลักๆก็ต้องเป็นคอนเทนท์ที่ตลาดต้องการ ( เรามีหัวครีเอทคอนเทนท์ได้ก็สบายๆ )  ...... กล้องอะไรถ้าตรงนี้ผ่าน แค่ทำภาพออกมาไม่เล็กเกินไปก็ขายได้หมด ( หรือผ่านหมด ... ขอแค่คอนเทนท์อย่าซ้ำกับภาพอื่นที่เสนอพร้อมกัน )

2. จุดสนใจ จุดโฟกัส ของคอนเทนท์ ( แต่ยกเว้นคอนเทนท์ที่จะขายความเบลอ ความไม่ชัดนะ ) ปรกติจุดสนใจของคอนเทนท์ เราจะต้องโฟกัสเข้าและคมชัดระดับหนึ่ง ดังนั้นกล้องที่เลนส์ไม่คมซักเท่าไหร่ หรือ สภาพแสงที่ต้องผ่านการลบแต่งเติมหนักๆ มักจะมีปัญหาพื้นที่สำคัญเหล่านี้แลดูไม่ชัดเจน เห็นไม่ชัด ซึ่งอินสเปคเตอร์ก็จะตีตกไปว่าเป็นภาพที่ โฟกัสไม่เข้า หรือ มีสิ่งรบกวน หรือ ไม่ชัดเจน

คืองี้ ภาพจากมือถือถ้าสภาพแสงแย่ๆ มันจะโปรเซสหนักมาก มีการลบบางอย่างออกแล้วใส่สีบางอย่างเข้าไปแทนที่ ซึ่งหากเราดูผ่านจอเล็กหรือจอที่ความละเอียดไม่มากพอก็จะมองไม่รู้ว่ามีปัญหานี้ ( แต่เราจะเห็นได้ด้วยการซูมภาพดู ) แต่อินสเปคเตอร์จอเขาใหญ่มาก-ละเอียดมาก เขาเห็นหมดว่าภาพของเราเละแค่ไหน ซึ่งถ้าดูผ่านจอละเอียดสูงๆนี้จะเห็นเหมือนกับว่า ภาพโฟกัสไม่เข้า ( ความจริงมันเข้าแหละ แค่ภาพมันเละไปหน่อย ) ..... มือถือแพงๆ เซนเซอร์ใหญ่ๆ ปัญหานี้จะน้อยกว่ามือถือถูกๆก็จริง แต่ราคามันแพงไปเมื่อเทียบกับคุณภาพที่ได้

อีกอย่างนึง ภาพจากกล้องที่เลนส์ไม่คม ก็จะมีผลเหมือนกัน แต่หายากมากที่เลนส์จากกล้องจริงๆ จะไม่คมได้ขนาดนั้น ( อาจจะมีเลนส์ราคาถูกมากๆ บางตัวก็ได้นะ ผมก็ยังไม่เคยเจอปัญหานี้ ) ..... แต่เลนส์กล้องโทรศัพท์มีปัญหานี้อยู่ไม่น้อย ซึ่งรุ่นแพงๆก็จะมีปัญหาน้อยหน่อย แต่รุ่นถูกๆ ก็อาจจะเจอหนักขึ้น ( ร่วมกับ การไปหาแผ่นปิดหน้ากล้องมาใส่ซับไปอีกชั้นเพื่อป้องกันรอยขีดข่วน ยิ่งเพิ่มปัญหานี้เข้าไปใหญ่ )  ยิ่งมีปัญหาตัวภาพจากกล้องไม่คมด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว พอมาบวกเข้ากับการโปรเซสภาพซึ่งทำให้ภาพเละและไม่คมหนักเข้าไปอีก

3. ความคมชัดของภาพหากคอนเทนท์ที่ไม่ได้เสนอส่วนที่ไม่ชัด ( คือ บางคอนเทนท์ต้องการขายความัว ความเบลอ ความไม่ชัด .... ตัดตรงนี้ออกไป ) ปรกติภาพเราต้องมีความคมชัดระดับหนึ่ง ..... ย้อนกลับไปอ่านข้อ 2. ได้เลยคับ เกิดจากปัญหาเดียวกัน

ภาพจากโทรศัพท์ มีปัญหาเรื่อง ความคมชัดของเลนส์ และการโปรเซสข้อมูลที่ทำให้ภาพไม่ชัดหนักเข้าไปอีก ...... แม้ว่ารุ่นแพงๆ จะใช้เซนเซอร์ใหญ่ และใช้เลนส์ของ ไลก้า แต่มันก็แค่ทำให้ปัญหานี้ลดลงไปเท่านั้น ซึ่งมูลค่ารุ่นระดับนั้นเมื่อเอามาเทียบกับกล้องที่ราคาต่างกันอย่างน้อยครึ่งนึง ก็ยังสู้กล้องไม่ได้ด้วยซ้ำ

4. เป็นเฉพาะงานวิดีโอ ..... กล้องออกแบบมาให้ประมวลผลภาพโดยเฉพาะ การเข้ารหัสการลงรหัสจะใช้ทรัพยากรที่ต่างจากมือถือ แม้ว่ามือถือจะใช้ซีพียูที่ประสิทธิภาพสูงมาก แต่เป็นซีพียูที่ออกแบบมาให้ใช้กับงานอื่นๆเป็นหลัก ( ส่วนเรื่องภาพรองลงมา ) อีกทั้งการทำภาพต้องมีการเอามาโปรเซสก่อนจึงจะเอามารวมกันเป็นวิดีโอได้ ( หรือถ้าเอาภาพที่ไม่ได้โปรเซสมารวมกันเลยภาพดิบๆก็มักจะดูไม่ดี )

งานวิดีโอที่ได้จากกล้องมือถือมักจะมีคุณภาพค่อนไปทางแย่เสียเกือบทั้งหมด การเอามือถือมาถ่ายวิดีโอขายเป็นทางเลือกที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง

...............................

ประเด็นเรื่อง เลนส์ .....
1. เลนส์ที่สามารถให้ภาพขายได้ดีๆ ซึ่งดีกว่าภาพจากมือถือมากมายนัก บางทีก้เป็นแค่เลนส์คิทที่แถมมากับกล้องนี่แหละ .... คือ แค่เลนส์คิทที่แถมมากับกล้องแค่นี้ก็ได้ภาพดีกว่ามือถือตัวแพงที่ใช้เซนเซอร์ใหญ่และเลนส์ไลก้าไปแล้ว

2. เลนส์แพงๆ ไม่ได้ทำให้ภาพขายได้ดีไปกว่าเลนส์ถูกๆ ซึ่งจะต่างจาก ช่างภาพรับงาน ( หรือ คนเล่นกล้อง ) ที่จำเป็นต้องใช้เลนส์แพงๆเพื่อให้ได้ภาพออกมาสวย ..... ช่างภาพสต๊อค เกือบส่วนใหญ่เขาไม่ใช้เลนส์แพงกันซักเท่าไหร่ ยกเว้นว่าจะเอาเลนส์ตัวนั้นไปใช้งานอย่างอื่นด้วยจึงเอาเลนส์ตัวนั้นมาให้ถ่ายภาพขายไปด้วยแค่นั้น แต่จะให้ตัดใจซื้อเลนส์แพงๆมาถ่ายภาพขายโดยเฉพาะ บ่อยครั้งจะเป็นการลงทุนที่ไม่จำเป็นเสียมากว่า

ยกเว้นว่าเป็นเลนส์เฉพาะทางสำหรับคอนเทนท์หลักของเราที่จำ้ป็นต้องใช้เลนส์ตัวนั้น อย่างเช่น ..... สายแลนด์แบบไฮเรส ที่จำเป็นต้องใช้เลนส์ไวด์กำลังแยกขยายสูงๆ ..... สายมาโครจัดๆที่จำเป็นต้องใช้เลนส์มาโครตัวท๊อปๆ ..... สายภาพบุคคล ( แล้วเอาภาพมาไดคัท ) ที่จะต้องใช้เลนส์ 85mm ตัวกำลังแยกขยายสูงๆ ...... สายไวด์ไลฟ์ ที่ต้องใช้เลนส์เทเลราคาแพงๆ

3. ต้องมีเลนส์มากมายเต็มไปหมด ...... ไม่จริงสำหรับช่างภาพสต๊อค แต่จริงสำหรับคนเล่นกล้อง
การส่งภาพเข้าพอร์ท เราจะไม่ส่งภาพหลากหลายรูปแบบเข้าไป แต่จะใช้วิธีทำภาพแนวไหนก็ยัดแนวนั้นลงไปให้หนักๆ เพื่อว่าลูกค้าเข้ามาดูแล้วเขาจะได้เลือกภาพเราได้

..... บับว่า เราเข้าไปซื้อต้นไม้ซักต้นนึง แต่พอเข้าร้านนึงที่มีทุกอย่างให้เลือกแค่อย่างละไม่กี่ชิ้น  มีทุกอย่างคละมั่วไปหมด ทั้งขนม ทั้งเสื้อผ้า ความรู้สึกเราก็เหมือนว่าร้านนี้ไม่มีต้นไม้ให้เราเลือกซื้อซักเท่าไหร่  มองเข้ามาในร้าน ( ภาพเขาจะแสดงทีละหน้า หน้าแรกก็เหมือนหน้าร้าน ) มองไม่เห็นต้นไม้วางอยู่เลย แล้วคิดว่าเขาจะเข้าไปไล่เปิดหาภาพที่เขาต้องการจากหน้าอื่นหรือ ..... อีกร้านนึง ขายมันแต่ต้นไม้ มีสารพัดต้นไม้ให้เลือกซื้อ แถมต้นไม้ชนิดเดียวกันก็มีสารพัดแบบ สารพัดทรงพุ่ม สารพัดขนาดต้น สารพัดที่จะใส่กระถางดูแล เขาต้องการซื้อต้นไม้ เห็นหน้าแรกก็รู้ทันทีว่าเข้ามาร้านนี้น่าจะต้องมีต้นไม้บางอย่างที่เขาอยากได้อยู่บ้างแหละน่า  เปิดไปเปิดมา เจอต้นไม้อื่นที่ไม่ได้อยู่ในลิสท์ที่ตามหาก็อาจจะซื้อติดมือไปบ้าง

เลนส์แต่ละตัว ก็ให้แนวภาพที่ต่างกัน เราจะทำคอนเทนท์อะไร  ขายภาพแบบไหน ก็มักจะใช้เลนส์ไม่กี่ตัวสร้างงานนั้นๆ

..................

ปล. อยากทำอาชีพนี้ ไปหากล้องตัวคูณมือสองราคาซัก 5-7 พันบาทมาใช้ถ่ายไปก่อนก็ได้ ( ผมก็เริ่มจากกล้องราคา 6500 บาท ) ใช้เลนส์คิทนั่นแหละถ่าย ..... แต่ประเด็นสำคัญคือ เราต้องมีคอนเทนท์ในหัวว่าจะถ่ายอะไรขาย และสิ่งที่เราจะขายนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดแค่ไหน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่