สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
การยิงปืนในอวกาศ
หากเรายิงในอวกาศใกล้ ๆ โลก เช่น
ยิงจากสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
ลูกปืนจะพุ่งออกสู่อวกาศในระยะเวลาหนึ่ง
และ วกกลับมาหาโลก และตกลงสู่โลกครับ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีความโน้มถ่วง
วัตถุใด ๆ ที่มีความเร็วต่ำกว่า Escape velocity
ของโลก (11.2 km/s) จะวกกลับมาตกที่โลกเสมอ
ปืนที่มีความเร็วต้นสูงสุดก็ยังมีความเร็วกระสุนแค่ 1.4 km/s
(ยิงในอวกาศจะมีความเร็วต้นมากกว่านี้เล็กน้อย)
ดังนั้นเมื่อยิงออกไป กระสุนจะวิ่งโค้งแบบยาว ๆ
และก็โค้งวนรอบโลก และก็ตกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกครับ
หากยิงปืนไกลกว่านั้น
ลูกปืนก็ยังถูกความโน้มถ่วงดวงอาทิตย์กระทำ
ลูกปืนก็ยังจะโค้งเข้าไปหาดวงอาทิตย์อยู่ดี
หากจะหาว่าต้องยิงปืนที่ระยะใด
ลูกปืนจึงจะพุ่งออกไปสู่อวกาศ
โดยไม่กลับเข้าระบบสุริยะอีก
ก็ต้องคำนวณ escape velocity
ให้มีค่าประมาณความเร็วต้นลูกปืน
โดยใช้มวลดวงอาทิตย์ ได้ระยะมากถึง
150,000 ล้านกิโลเมตร หรือ 1,000 AU
https://www.omnicalculator.com/physics/escape-velocity
ระยะ 1,000 AU คือขอบเขตของ Oort cloud
หากเรายิงในอวกาศใกล้ ๆ โลก เช่น
ยิงจากสถานีอวกาศนานาชาติ ISS
ลูกปืนจะพุ่งออกสู่อวกาศในระยะเวลาหนึ่ง
และ วกกลับมาหาโลก และตกลงสู่โลกครับ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีความโน้มถ่วง
วัตถุใด ๆ ที่มีความเร็วต่ำกว่า Escape velocity
ของโลก (11.2 km/s) จะวกกลับมาตกที่โลกเสมอ
ปืนที่มีความเร็วต้นสูงสุดก็ยังมีความเร็วกระสุนแค่ 1.4 km/s
(ยิงในอวกาศจะมีความเร็วต้นมากกว่านี้เล็กน้อย)
ดังนั้นเมื่อยิงออกไป กระสุนจะวิ่งโค้งแบบยาว ๆ
และก็โค้งวนรอบโลก และก็ตกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกครับ
หากยิงปืนไกลกว่านั้น
ลูกปืนก็ยังถูกความโน้มถ่วงดวงอาทิตย์กระทำ
ลูกปืนก็ยังจะโค้งเข้าไปหาดวงอาทิตย์อยู่ดี
หากจะหาว่าต้องยิงปืนที่ระยะใด
ลูกปืนจึงจะพุ่งออกไปสู่อวกาศ
โดยไม่กลับเข้าระบบสุริยะอีก
ก็ต้องคำนวณ escape velocity
ให้มีค่าประมาณความเร็วต้นลูกปืน
โดยใช้มวลดวงอาทิตย์ ได้ระยะมากถึง
150,000 ล้านกิโลเมตร หรือ 1,000 AU
https://www.omnicalculator.com/physics/escape-velocity
ระยะ 1,000 AU คือขอบเขตของ Oort cloud
แสดงความคิดเห็น
ยิงปืนในอวกาศ