จากที่เห็นมีผู้ตั้งกระทู้ปรึกษาสอบถามเรื่องการแก้ไข หรือหาทางออก เนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัวจนไม่สามารถที่จะชำระได้(สังเกตุดูให้ดีว่ามีกระทู้แบบนี้ทุกวัน)ซึ่งแหล่งเงินส่วนมากที่อ่านเจอก็จะมาจากสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันบ้าง, บัตรกดเงินสดบ้าง, บัตรเครดิตบ้าง...ประเด็นคือไม่เข้าใจเลยว่าสถาบันการเงินทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น bank & non bank คุณอนุมัติปล่อยสินเชื่อในวงเงินที่สูงกว่าศักยภาพที่เค้าจะชำระหนี้ได้มากมายขนาดนั้นได้อย่างไร?? พวกคุณเอาอะไรคิด??? ใช้เกณฑ์อะไรในการพิจารณาตรวจสอบ และอนุมัติสินเชื่อ??? ทั้งที่ ธปท ก็ได้ออกมาวางเกณฑ์ และกฎระเบียบในเรื่องนี้เพื่อควบคุมแล้ว แต่ก็ยังเห็นมีปัญหาเรื่องนี้ทุกวัน เห็นคนตั้งกระทู้เรื่องนี้ทุกวัน...รายได้ประจำหลักหมื่น..แต่มีวงเงินและก่อหนี้รวมได้หลักแสนหรือหลายแสนมันเป็นปัญหาใหญ่นะครับ....พวกคุณกลุ่มผู้ปล่อยสินเชื่อจะไม่คิดทำอะไร หรือมีมาตรการอะไรหน่อยรึ...เข้าใจแหละ..ว่าลูกค้ากลุ่มนี้สร้างรายได้ให้คุณมหาศาล เพราะเค้าอาจจะขาดวินัยทางการเงินที่ดี, ใข้จ่ายฟุ้งเฟ้อเกินความจำเป็น ลงท้ายก็จ่ายขั้นต่ำ ตามมาด้วยเปิดหนี้ก้อนใหม่ไปจ่ายหนี้ก้อนเก่าวนไป สุดท้ายก็ทางตันไปต่อไม่ได้ เป็นNPL และถูกฟ้องร้องในที่สุด....ในส่วนนี้ผู้ใช้สินเชื่อก็ผิด แต่ผู้อนุมัติสินเชื่อแหล่งต้นน้ำจะไม่ทำอะไรหน่อยรึ????....ร่วมกันพูดคุยแสดงความคิดเห็นนะครับ
รายได้หลักหมื่น เป็นหนี้หลักแสน ผู้อนุมัติสินเชื่อควรมีมาตรการการควบคุมดูแล และรับผิดชอบมากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันมั้ย??