นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวต่อตำแหน่งเท่านั้น
เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจสอบข้าราชการศาลยุติธรรม
ไม่ผูกมัด ไม่ถือว่าถูกต้องเป๊ะ
3 ตำแหน่งนี้ #เรื่องค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานคดี กับ เจ้าพนักงานตำรวจศาล จะมีค่าตอบแทนพิเศษสูงกว่านิติกรศาลประมาณ 3,000 บาท
3 ตำแหน่งนี้ #เรื่องการเติบโตในตำแหน่ง
เจ้าพนักงานคดี ขึ้นชำนาญการพิเศษ โดย
ไหลตามตำแหน่ง อาจไม่ต้องสอบ เหมือนนิติกรศาล เพราะตำแหน่งว่างเยอะ ไม่ต้องแย่งกัน
เจ้าพนักงานตำรวจศาล เนื่องจาก พ.ร.บ.เพิ่งมีมาไม่กี่ปีนี้ ตำแหน่งยังใหม่
ยังไม่นิ่ง จึงให้คำตอบส่วนนี้ไม่ได้
ต้องรอดูทิศทาง งบประมาณ บทบาทหน้าที่ต่อไป ว่า กศ.จะว่าอย่างไร
นิติกรศาล จะขึ้นชำนาญการ
ทำผลงานก็พอ
แต่จะขึ้นชำนาญการพิเศษ
ต้อง "สอบ" ขึ้น เหมือนหน่วยงานรัฐอื่น ๆ
และอาจมีการย้ายไปศาลใหญ่ ๆ ที่มีชำนาญการพิเศษ หรือ เข้าส่วนกลาง
เนื่องจากตำแหน่งเดิมมันสุดแค่ชำนาญการ (K2)
แต่ของศาลค่อนข้างโปร่งใส ไม่มีเส้นสาย
มีสอบทฤษฎี + สัมภาษณ์ เหมือนสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา สอบบรรจุราชการ
ไม่มีเด็กนาย ความสามารถในการอ่านหนังสือและประสบการณ์ ล้วน ๆ
แต่เฉพาะในส่วนกลาง มีถึง ชำนาญการพิเศษ K3
หากใครอยู่ตำแหน่งที่ไปถึง K3 ได้
ถ้าตัวเองครองชำนาญการถึงเกณฑ์
เมื่อสอบได้ชำนาญการพิเศษ จะอยู่ที่เดิม
ตำแหน่งเดิมเพื่อเก็บผลงาน รอสอบ ผอ. ก็ได้
3 ตำแหน่งนี้ แม้เจ้าพนักงานคดีจะไหลยันชำนาญการพิเศษไม่ต้องสอบ
แต่ ตำแหน่ง "เจ้าพนักงานคดี" กับ "เจ้าพนักงานตำรวจศาล" ไม่มีระดับเชี่ยวชาญ
ใน 3 ตำแหน่งนี้ มีเพียงตำแหน่งนิติกรเท่านั้นที่มี "นิติกรเชี่ยวชาญ" (ระดับ 9)
ซึ่งอยู่สูงกว่าชำนาญการพิเศษ และผู้อำนวยการต้น ซึ่งจะมีอยู่เฉพาะในส่วนกลาง โดยทำหน้าที่เสมือน รองผู้อำนวยการสูง
ทั้งสามตำแหน่งนี้ มีสิทธิในการสอบ
"ผู้อำนวยการ" ได้ เสมอกัน
ไม่มีตำแหน่งไหนมีอภิสิทธิ์กว่าตำแหน่งไหน
เมื่อครอง "ชำนาญการพิเศษ" ตามระยะเวลาที่ระเบียบกำหนด
ก็สามารถสอบ "ผู้อำนวยการต้น" ได้ ทั้งนั้น
ตรงนี้จะต่างจาก ของ สำนักงานอัยการสูงสุด
ที่ผมเคยเป็นนิติกรอัยการมาก่อน คือ คนจะขึ้น
ผู้อำนวยการได้ ต้องเป็นตำแหน่ง
"นักจัดการงานทั่วไป" เท่านั้น
นิติกร สอบผู้อำนวยการไม่ได้
ซึ่งต้องรอดูแนวโน้มต่อไป ว่าสำนักงานอัยการสูงสุด
จะมีการแก้ไขให้นิติกรสามารถสอบเป็นผู้อำนวยการได้หรือไม่ ในอนาคต
3 ตำแหน่งนี้ #ปริมาณงานความรับผิดชอบความกดดัน เจ้าพนักงานคดีค่อนข้างหนักสุด เพราะเป็นตำแหน่งที่ใช้วุฒิสูงกว่านิติกรศาล หรือเจ้าพนักงานตำรวจศาล คือต้องจบ "เน" มาแล้ว
เจ้าพนักงานตำรวจศาล ไม่ใช่ตำแหน่งวุฒิกฎหมายโดยแท้ เพราะจบทางรัฐศาสตร์ก็สอบได้
เหมือนตำรวจที่ไม่ใช่พนักงานสอบสวน
ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ซึ่งขึ้นชื่อว่า "ตำรวจ" รักษาความสงบเรียบร้อย อาจได้ทำงานที่ค่อนข้างจิปาถะ เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกความปลอดภัยให้ผู้พิพากษามาก
นิติกรศาล ในส่วนนี้จะค่อนข้างเบากว่า
หากใครอยากได้เวลาอ่านหนังสือสอบท่าน
ผมแนะนำให้สอบ "นิติกรศาล"
งานนิติกรศาล ถ้าอยู่ต่างจังหวัด
จะมีส่วนประชาสัมพันธ์ ให้บริการประชาชน มีส่วนไกล่เกลี่ย
ซึ่งความรับผิดชอบก็จะอยู่เท่านั้น
มีค่าหมาย ค่าเวร นอกเหนือค่าเงินเดือน
ค่าตอบแทนพิเศษ (2 ตำแหน่งข้างต้นก็ได้)
แต่ถ้าอยู่ส่วนกลาง สำนักงานศาลยุติธรรม
นิติกรศาล จะค่อนข้างไปทางวิชาการ
เป็นผู้ช่วยของผู้พิพากษาโดยแท้ กว่า
เพราะผู้พิพากษาในส่วนกลางจะไม่มีงานพิจารณาพิพากษาคดี แต่จะเป็นงานวิชาการล้วน ๆ
จะมีสังคมวิชาการสูง ไม่กระทบเวลาส่วนตัวเลิกงานอ่านหนังสือมาก เสาร์ - อาทิตย์ ไม่ค่อยมีเวร
แต่ค่าหมาย ค่าเวร ก็จะไม่มีเหมือนคนที่อยู่ต่างจังหวัด หรือศาลใหญ่ใน กทม.
ส่วนตัวผม ที่เลือกส่วนกลาง เพราะผมไม่มีปัญหาเรื่องเงิน ผมมีอาชีพนอกเวลาราชการค่อนข้างเยอะ
ทั้งการลงทุน ติวเตอร์ฟิสิกส์ คณิต เล่นดนตรี
ผมจึงเน้น "เวลา" เป็นสำคัญ เพื่อเอาไปอ่านหนังสือ
ซึ่งมีน้องคนนึงที่สอบได้ที่ 1 นิติกรศาลรุ่นผม
ก็อยู่ด้วยกันที่นี่ ด้วยเหตุผลนี้ คือ ไม่กระทบเวลาอ่านหนังสือหลัง 16.30 และ เสาร์อาทิตย์
ไม่ได้สนใจเรื่องเงิน
ซึ่งก็อยู่ที่แต่ละคนว่า โจทย์ คืออะไร ?
ถ้าเน้นเงิน ไม่มีรายได้จากที่ไหน
มีแต่ราชการ ก็สอบได้แล้วเลือกอยู่ต่างจังหวัดไปเลย ได้ค่าหมายค่าเวร บางศาลคดีมาก
เงินเดือนทั้งเดือนแทบไม่ได้ใช้ ใช้แต่ค่าหมายค่าเวร
ถ้าไม่เน้นเงิน อยากมีเวลาว่างเพื่อเรียนต่อโท ต่อเอก
เรียนต่อต่างประเทศ หรือ อ่านหนังสือสอบท่าน
ก็เลือกส่วนกลางไปเลย
การเป็นข้าราชการศาลยุติธรรม มีรายได้ สวัสดิการสูงพอสมควรหากเทียบกับหน่วยงานอื่น ๆ
แต่ก็มีระบบ ระเบียบ การบังคับให้พัฒนาศักยภาพเพื่อให้สมกับรายได้ที่ได้รับไปตลอด
ถ้าชอบพัฒนาตัวเองอยู่แล้ว ก็ถือเป็นข้อดี
มีชีวิตไม่ลำบากอะไร ถ้าไม่กู้หนี้ยืมสิน
หมกมุ่นในการกู้สหกรณ์
ส่วนตัวผม อยากเป็นผู้พิพากษา เพราะ
"อยากเป็นผู้พิพากษา" อยากทำหน้าที่
เงินเดือนจากการเป็นผู้พิพากษา
จึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ
หวังว่าเป็นประโยชน์
ใครจะสอบ เพื่อนใครจะสอบ
ก็แชร์ไปให้เพื่อนอ่านได้นะครับ
สามารถสอบถามเพิ่มเติม และติดตามบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับนิติศาสตร์ได้ ทาง Facebook : Tle Patinya
ระหว่าง #นิติกรศาล #เจ้าพนักงานคดี #เจ้าพนักงานตำรวจศาล อะไรดีกว่ากัน ?
เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจสอบข้าราชการศาลยุติธรรม
ไม่ผูกมัด ไม่ถือว่าถูกต้องเป๊ะ
3 ตำแหน่งนี้ #เรื่องค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานคดี กับ เจ้าพนักงานตำรวจศาล จะมีค่าตอบแทนพิเศษสูงกว่านิติกรศาลประมาณ 3,000 บาท
3 ตำแหน่งนี้ #เรื่องการเติบโตในตำแหน่ง
เจ้าพนักงานคดี ขึ้นชำนาญการพิเศษ โดย
ไหลตามตำแหน่ง อาจไม่ต้องสอบ เหมือนนิติกรศาล เพราะตำแหน่งว่างเยอะ ไม่ต้องแย่งกัน
เจ้าพนักงานตำรวจศาล เนื่องจาก พ.ร.บ.เพิ่งมีมาไม่กี่ปีนี้ ตำแหน่งยังใหม่
ยังไม่นิ่ง จึงให้คำตอบส่วนนี้ไม่ได้
ต้องรอดูทิศทาง งบประมาณ บทบาทหน้าที่ต่อไป ว่า กศ.จะว่าอย่างไร
นิติกรศาล จะขึ้นชำนาญการ
ทำผลงานก็พอ
แต่จะขึ้นชำนาญการพิเศษ
ต้อง "สอบ" ขึ้น เหมือนหน่วยงานรัฐอื่น ๆ
และอาจมีการย้ายไปศาลใหญ่ ๆ ที่มีชำนาญการพิเศษ หรือ เข้าส่วนกลาง
เนื่องจากตำแหน่งเดิมมันสุดแค่ชำนาญการ (K2)
แต่ของศาลค่อนข้างโปร่งใส ไม่มีเส้นสาย
มีสอบทฤษฎี + สัมภาษณ์ เหมือนสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา สอบบรรจุราชการ
ไม่มีเด็กนาย ความสามารถในการอ่านหนังสือและประสบการณ์ ล้วน ๆ
แต่เฉพาะในส่วนกลาง มีถึง ชำนาญการพิเศษ K3
หากใครอยู่ตำแหน่งที่ไปถึง K3 ได้
ถ้าตัวเองครองชำนาญการถึงเกณฑ์
เมื่อสอบได้ชำนาญการพิเศษ จะอยู่ที่เดิม
ตำแหน่งเดิมเพื่อเก็บผลงาน รอสอบ ผอ. ก็ได้
3 ตำแหน่งนี้ แม้เจ้าพนักงานคดีจะไหลยันชำนาญการพิเศษไม่ต้องสอบ
แต่ ตำแหน่ง "เจ้าพนักงานคดี" กับ "เจ้าพนักงานตำรวจศาล" ไม่มีระดับเชี่ยวชาญ
ใน 3 ตำแหน่งนี้ มีเพียงตำแหน่งนิติกรเท่านั้นที่มี "นิติกรเชี่ยวชาญ" (ระดับ 9)
ซึ่งอยู่สูงกว่าชำนาญการพิเศษ และผู้อำนวยการต้น ซึ่งจะมีอยู่เฉพาะในส่วนกลาง โดยทำหน้าที่เสมือน รองผู้อำนวยการสูง
ทั้งสามตำแหน่งนี้ มีสิทธิในการสอบ
"ผู้อำนวยการ" ได้ เสมอกัน
ไม่มีตำแหน่งไหนมีอภิสิทธิ์กว่าตำแหน่งไหน
เมื่อครอง "ชำนาญการพิเศษ" ตามระยะเวลาที่ระเบียบกำหนด
ก็สามารถสอบ "ผู้อำนวยการต้น" ได้ ทั้งนั้น
ตรงนี้จะต่างจาก ของ สำนักงานอัยการสูงสุด
ที่ผมเคยเป็นนิติกรอัยการมาก่อน คือ คนจะขึ้น
ผู้อำนวยการได้ ต้องเป็นตำแหน่ง
"นักจัดการงานทั่วไป" เท่านั้น
นิติกร สอบผู้อำนวยการไม่ได้
ซึ่งต้องรอดูแนวโน้มต่อไป ว่าสำนักงานอัยการสูงสุด
จะมีการแก้ไขให้นิติกรสามารถสอบเป็นผู้อำนวยการได้หรือไม่ ในอนาคต
3 ตำแหน่งนี้ #ปริมาณงานความรับผิดชอบความกดดัน เจ้าพนักงานคดีค่อนข้างหนักสุด เพราะเป็นตำแหน่งที่ใช้วุฒิสูงกว่านิติกรศาล หรือเจ้าพนักงานตำรวจศาล คือต้องจบ "เน" มาแล้ว
เจ้าพนักงานตำรวจศาล ไม่ใช่ตำแหน่งวุฒิกฎหมายโดยแท้ เพราะจบทางรัฐศาสตร์ก็สอบได้
เหมือนตำรวจที่ไม่ใช่พนักงานสอบสวน
ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ซึ่งขึ้นชื่อว่า "ตำรวจ" รักษาความสงบเรียบร้อย อาจได้ทำงานที่ค่อนข้างจิปาถะ เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกความปลอดภัยให้ผู้พิพากษามาก
นิติกรศาล ในส่วนนี้จะค่อนข้างเบากว่า
หากใครอยากได้เวลาอ่านหนังสือสอบท่าน
ผมแนะนำให้สอบ "นิติกรศาล"
งานนิติกรศาล ถ้าอยู่ต่างจังหวัด
จะมีส่วนประชาสัมพันธ์ ให้บริการประชาชน มีส่วนไกล่เกลี่ย
ซึ่งความรับผิดชอบก็จะอยู่เท่านั้น
มีค่าหมาย ค่าเวร นอกเหนือค่าเงินเดือน
ค่าตอบแทนพิเศษ (2 ตำแหน่งข้างต้นก็ได้)
แต่ถ้าอยู่ส่วนกลาง สำนักงานศาลยุติธรรม
นิติกรศาล จะค่อนข้างไปทางวิชาการ
เป็นผู้ช่วยของผู้พิพากษาโดยแท้ กว่า
เพราะผู้พิพากษาในส่วนกลางจะไม่มีงานพิจารณาพิพากษาคดี แต่จะเป็นงานวิชาการล้วน ๆ
จะมีสังคมวิชาการสูง ไม่กระทบเวลาส่วนตัวเลิกงานอ่านหนังสือมาก เสาร์ - อาทิตย์ ไม่ค่อยมีเวร
แต่ค่าหมาย ค่าเวร ก็จะไม่มีเหมือนคนที่อยู่ต่างจังหวัด หรือศาลใหญ่ใน กทม.
ส่วนตัวผม ที่เลือกส่วนกลาง เพราะผมไม่มีปัญหาเรื่องเงิน ผมมีอาชีพนอกเวลาราชการค่อนข้างเยอะ
ทั้งการลงทุน ติวเตอร์ฟิสิกส์ คณิต เล่นดนตรี
ผมจึงเน้น "เวลา" เป็นสำคัญ เพื่อเอาไปอ่านหนังสือ
ซึ่งมีน้องคนนึงที่สอบได้ที่ 1 นิติกรศาลรุ่นผม
ก็อยู่ด้วยกันที่นี่ ด้วยเหตุผลนี้ คือ ไม่กระทบเวลาอ่านหนังสือหลัง 16.30 และ เสาร์อาทิตย์
ไม่ได้สนใจเรื่องเงิน
ซึ่งก็อยู่ที่แต่ละคนว่า โจทย์ คืออะไร ?
ถ้าเน้นเงิน ไม่มีรายได้จากที่ไหน
มีแต่ราชการ ก็สอบได้แล้วเลือกอยู่ต่างจังหวัดไปเลย ได้ค่าหมายค่าเวร บางศาลคดีมาก
เงินเดือนทั้งเดือนแทบไม่ได้ใช้ ใช้แต่ค่าหมายค่าเวร
ถ้าไม่เน้นเงิน อยากมีเวลาว่างเพื่อเรียนต่อโท ต่อเอก
เรียนต่อต่างประเทศ หรือ อ่านหนังสือสอบท่าน
ก็เลือกส่วนกลางไปเลย
การเป็นข้าราชการศาลยุติธรรม มีรายได้ สวัสดิการสูงพอสมควรหากเทียบกับหน่วยงานอื่น ๆ
แต่ก็มีระบบ ระเบียบ การบังคับให้พัฒนาศักยภาพเพื่อให้สมกับรายได้ที่ได้รับไปตลอด
ถ้าชอบพัฒนาตัวเองอยู่แล้ว ก็ถือเป็นข้อดี
มีชีวิตไม่ลำบากอะไร ถ้าไม่กู้หนี้ยืมสิน
หมกมุ่นในการกู้สหกรณ์
ส่วนตัวผม อยากเป็นผู้พิพากษา เพราะ
"อยากเป็นผู้พิพากษา" อยากทำหน้าที่
เงินเดือนจากการเป็นผู้พิพากษา
จึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ
หวังว่าเป็นประโยชน์
ใครจะสอบ เพื่อนใครจะสอบ
ก็แชร์ไปให้เพื่อนอ่านได้นะครับ
สามารถสอบถามเพิ่มเติม และติดตามบทความต่าง ๆ เกี่ยวกับนิติศาสตร์ได้ ทาง Facebook : Tle Patinya