=== ทำไมคนรุ่นใหม่แอนตี้แนวคิดการออมเงิน? ===
.
1) เมื่อสัปดาห์ก่อนได้ข่าวว่าทวิตเตอร์ (ตอนนี้ต้องเรียกเป็น X แล้วใช่ไหม เหมือนเว็บโป๊เลย) ของคุณอิกโดนรีพอร์ตจนปลิวไป ว่ากันว่าเป็นเพราะทวีตอันหนึ่งที่พูดถึงเรื่องการออมเงิน จนโดนชาวทวิตเตี้ยนไปถล่มรัวๆ
.
2) เคสนั้นน่าจะโดนถล่มสุดโต่งพอสมควร เพราะทวิตเตอร์ของคุณอิกถือว่าไม่ได้พูดสุดโต่งมากเมื่อเทียบกับช่องสื่ออื่นๆ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความเกรี้ยวกราดของชาวทวิตเตี้ยนได้เป็นอย่างดี อันที่จริงไม่ใช่แค่ในทวิต ช่วงปีที่ผ่านมาเราจะเห็นโพสต์ไหนก็ตามที่พูดเรื่องการออมเงิน มักจะมีคนรุ่นใหม่แสดงความไม่เห็นด้วยบ่อยขึ้น หนักกว่านั้นก็ด่าเลย เกิดอะไรขึ้น คนเกลียดการออมแล้วเหรอ?
.
3) ถ้าเอาตามจริง การออมไม่ใช่เรื่องไม่ดีเลย มันคือจุดเริ่มต้นของการวางแผนการเงิน และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของใครหลายคนด้วย เผลอๆ คนที่รีพอร์ตทวิตเตอร์คุณอิกก็อาจจะเก็บออมด้วยเหมือนกัน แต่สิ่งที่คนไม่ชอบน่าจะเป็นเรื่อง "ความสุดโต่ง" บางอย่างมากกว่า
.
4) ความสุดโต่งในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงแนวไลฟ์โค้ชอย่างเดียวที่บอกประมาณว่าคุณไม่รวยเพราะคุณอ่อนหัด อันนั้นใครก็เกลียด แต่มันจะมีแนวคิดบางอย่างที่สุดโต่งคลุมเครือกว่านั้น เช่น เงินน่ะอย่าเพิ่งใช้, รวยล้นฟ้าก่อนแล้วค่อยซื้อบ้านรถ, ค่ากาแฟตอนนี้คิดเป็นเงินหลายล้านในอนาคต, หัดเก็บเงินซะบ้างขนาดคนได้ค่าแรงขั้นต่ำบางคนยังมีเงินล้านได้เลย, ตอนเด็กผมก็ลำบากทำไมยังเก็บได้, คนเดี๋ยวนี้ฟุ้งเฟ้อซื้ออะไรไม่คิด ฯลฯ
.
5) ที่ใช้คำว่าคลุมเครือ เพราะหากดูแนวคิดเหล่านี้มันก็มีส่วนดีของมันอยู่บ้าง การประหยัดค่ากาแฟจากการกินคาเฟ่ชิกๆ มากินสตาร์บั๊กธรรมดาก็ไม่ได้แย่ (เดี๋ยวนี้คนรวยจริงกินกาแฟคาเฟ่นะครับ คนทั่วไปกินสตาร์บั๊ก 55+) หรือกินกาแฟให้น้อยลงหน่อยแล้วเอาเงินมาลงทุน, เห็นพนักงานค่าแรงขั้นต่ำเก็บเงินได้ เอาวะ เราก็ต้องฮึดเก็บให้ได้มั่ง นี่ก็คือ fact ที่เป็นแรงผลักดันในแง่บวกได้
.
6) แต่ในอีกแง่หนึ่ง สิ่งที่ทำให้คนมอง fact เหล่านี้ไปในทางลบได้ ก็เพราะบางครั้งผู้พูด (หรือผู้ที่นำสารนั้นมาสื่อต่อ) ไม่ได้พิจารณาบริบทต่างๆ มากพอ ข้อความที่คนถกเถียงกันเยอะหน่อยก็อย่างเช่นที่บอกว่า มีเงินก่อนแล้วค่อยซื้อบ้านซื้อรถ ในมุมหนึ่งก็จริงเพราะทั้งสองอย่างคือหนี้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง การมีบ้านและรถที่สมกับบริบทชีวิตคนๆ นั้น ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรนี่ บางคนพ่อแม่ไม่ได้รวย ก็จำเป็นต้องเลือกความสบายของครอบครัวในตอนนี้ ก่อนที่จะมองถึงความร่ำรวยแบบบัฟเฟตต์ในอีก 50 ปีให้หลัง
.
7) เมื่อคนพูดหรือคนที่นำสารเหล่านี้มาสื่อต่อ (โดยเฉพาะสื่อเสี้ยมทั้งหลาย) มันจึงเป็นการเพิ่มความสุดโต่งมากเข้าไปอีก คนรุ่นใหม่ก็โกรธสิ เพราะบริบทชีวิตแต่ละคนไม่เหมือนกัน จะเอาข้อความของคนบางคนที่เรา "เชื่อว่ามันดีและเป็นความจริงแท้แน่นอน" มายึดเป็นสรณะไม่ได้
.
8 ) บางที กระทั่งผู้พูดเองก็อาจไม่ได้หมายความสุดโต่งแบบนั้น แต่เพราะถูกสื่อเสี้ยมตัดข้อความบางส่วนแล้วเอามาเสี้ยมต่อจนทำให้คนเข้าใจผิด (บัฟเฟตต์โดนประจำ) ก็พาลทำให้คนเกลียดแนวคิดเหล่านี้เข้าไปอีก ทั้งทีโดยเนื้อแท้มันคือไอเดียที่ดีนะ ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าการออมและการลงทุนคือเรื่องสำคัญในชีวิต
.
9) มันมีปัญหาอีก 2 อย่างที่ทำให้เรื่องนี้ทวีความรุนแรงมากไปอีกก็คือ 1. ผมใช้คำว่าคนรุ่นใหม่ เพราะ "ข้อเท็จจริง" ก็คือการสร้างตัวในยุคนี้ไม่ง่ายเหมือนในยุคเก่า เมื่อก่อนใช้ความรู้ 4 จาก 10 ก็พอหาเงินเลี้ยงตัวเองได้ ค่าครองชีพไม่สูง ยุคนี้โอกาสมากขึ้นก็จริง แต่มันคือยุคของผู้ชนะกินรวบ ใช้ความรู้ 20 จาก 10 ก็ยังไม่พอยาไส้ เห็นได้จากที่คนไทยบางส่วนไม่ได้มีอาชีพเดียว ในขณะที่คนพูดคำแนะนำการเงินเหล่านี้ อาจพูดถึงบริบทในยุคเมื่อหลายปีก่อนซึ่งสังคมยังมีที่ว่างให้กับคนค่าเฉลี่ย
.
10) ปัญหาข้อ 2. คือ บางครั้งตัวคนพูดเองก็ไม่ได้ตระหนักว่าตนเองโชคดีเพียงใด บางคนอาจบอกว่า นี่ เมื่อก่อนผมลำบากนะ ผมต้องเก็บเงินเองเหมือนกันกว่าจะเรียนต่อได้ ต้องทำธุรกิจเอง เจ๊งเอง แต่ไม่ได้ตระหนักถึงความโชคดีบางอย่างที่จับต้องไม่ได้ เช่น พ่อแม่อาจไม่รวย แต่พ่อแม่มีทัศนคติในการเลี้ยงลูกที่ดีเพราะมีฐานะปานกลาง ก็ทำให้ลูกมีแต้มต่อเหนือกว่าคนที่มาจากครอบครัวแย่ๆ แล้ว นี่ยังไม่นับคนที่คอนเนคชั่นหรือเงินทองเพียบพร้อมกว่านี้ แต่ไม่ได้มองเลยว่าตนเองโชคดีเพียงใด และเมื่อมาพูดให้คำแนะนำเรื่องการเงินหรือการลงทุน ก็ไม่แปลกที่คนซึ่งรู้เบื้องหลังของผู้พูดจะพาลไม่ชอบใจได้
.
11) ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องทำความเข้าใจคนรุ่นใหม่ หรือต้องมีรัฐสวัสดิการดีเวอร์จนพาประเทศล่มสลาย เพราะคนรุ่นใหม่ (หรือคนรุ่นเก่า) ที่มีแต่ข้ออ้างก็มี หาเงินได้แล้วไม่เก็บเองแล้วพาตัวเองลำบากก็มี แต่ในอีกมุม มันก็มีคนรุ่นใหม่ (หรือคนรุ่นเก่า) ไม่น้อยเหมือนกันที่ไม่อาจทำตามคำแนะนำการเงินอันสวยหรูได้ เมื่อชีวิตยังต้องยุ่งอยู่กับการไล่ชำระหนี้เก่าที่ผูกกับตัวเองมาตั้งแต่เกิด หรือชำระหนี้ทางสังคมที่เกิดขึ้นจากความลำบากของการอยู่ในโลกแห่งผู้ชนะกินรวบ
.
12) อาจมีบางคนที่มีชีวิตยากลำบากจริงๆ เกิดมาในสภาวะครอบครัวที่ไม่พร้อมนัก แต่ก็สามารถทำงาน เก็บเงิน ลงทุน จนสร้างตัวได้ มันมีและตามจริงหลายๆ คนก็มีศักยภาพเพียงพอที่จะทำได้ แต่ถ้าใครไม่ทำ มันก็ไม่ใช่กงการอะไรที่เราจะไปบอกคนอื่นว่าคนนั้นไม่ได้เรื่อง บางทีเขาอาจมีปมในชีวิตอื่นอีกที่ต้องไล่แก้ก็ได้ ความรวยไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย มันต้องอาศัยแรงฮึดมากกว่าปกติ ถ้าใครทำได้ถือว่าคุณเก่งและโชคดี แต่ถ้าใครยังไม่ได้ทำ อย่างน้อยเขาก็มีความสุขกับอัตภาพตอนนี้ อย่างน้อยการไม่รวยในอีก 60 ปีข้างหน้า แต่ตอนนี้มีบ้านให้พ่อแม่อยู่แบบสมฐานะก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร
.
13) ไม่ว่าจะเลือกออมเงิน ลงทุน เพื่อไขว่คว้าเป้าหมายทางการเงิน หรือจะเลือกใช้ชีวิตแบบบาลานซ์ระหว่างความสุขและเงินทอง มันก็มีผลลัพธ์ตามมาเสมอ อยู่ที่ว่าเรายอมรับสิ่งที่ตามมาได้ไหม แต่ที่แน่นอนก็คือ 1. มีความทุกข์แต่พอมีเงินบ้างนั้นทุกข์น้อยกว่ามีการไม่มีเงิน 2. การสุดโต่งด้านใดด้านหนึ่งไม่ใช่เรื่องดี
Ref Facebook คุณ Kornsuppa
$€£¥ ถึงน้องๆคนรุ่นใหม่ การออม การประหยัดคือพื้นฐานของความมั่นคงนะครับ
.
1) เมื่อสัปดาห์ก่อนได้ข่าวว่าทวิตเตอร์ (ตอนนี้ต้องเรียกเป็น X แล้วใช่ไหม เหมือนเว็บโป๊เลย) ของคุณอิกโดนรีพอร์ตจนปลิวไป ว่ากันว่าเป็นเพราะทวีตอันหนึ่งที่พูดถึงเรื่องการออมเงิน จนโดนชาวทวิตเตี้ยนไปถล่มรัวๆ
.
2) เคสนั้นน่าจะโดนถล่มสุดโต่งพอสมควร เพราะทวิตเตอร์ของคุณอิกถือว่าไม่ได้พูดสุดโต่งมากเมื่อเทียบกับช่องสื่ออื่นๆ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความเกรี้ยวกราดของชาวทวิตเตี้ยนได้เป็นอย่างดี อันที่จริงไม่ใช่แค่ในทวิต ช่วงปีที่ผ่านมาเราจะเห็นโพสต์ไหนก็ตามที่พูดเรื่องการออมเงิน มักจะมีคนรุ่นใหม่แสดงความไม่เห็นด้วยบ่อยขึ้น หนักกว่านั้นก็ด่าเลย เกิดอะไรขึ้น คนเกลียดการออมแล้วเหรอ?
.
3) ถ้าเอาตามจริง การออมไม่ใช่เรื่องไม่ดีเลย มันคือจุดเริ่มต้นของการวางแผนการเงิน และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของใครหลายคนด้วย เผลอๆ คนที่รีพอร์ตทวิตเตอร์คุณอิกก็อาจจะเก็บออมด้วยเหมือนกัน แต่สิ่งที่คนไม่ชอบน่าจะเป็นเรื่อง "ความสุดโต่ง" บางอย่างมากกว่า
.
4) ความสุดโต่งในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงแนวไลฟ์โค้ชอย่างเดียวที่บอกประมาณว่าคุณไม่รวยเพราะคุณอ่อนหัด อันนั้นใครก็เกลียด แต่มันจะมีแนวคิดบางอย่างที่สุดโต่งคลุมเครือกว่านั้น เช่น เงินน่ะอย่าเพิ่งใช้, รวยล้นฟ้าก่อนแล้วค่อยซื้อบ้านรถ, ค่ากาแฟตอนนี้คิดเป็นเงินหลายล้านในอนาคต, หัดเก็บเงินซะบ้างขนาดคนได้ค่าแรงขั้นต่ำบางคนยังมีเงินล้านได้เลย, ตอนเด็กผมก็ลำบากทำไมยังเก็บได้, คนเดี๋ยวนี้ฟุ้งเฟ้อซื้ออะไรไม่คิด ฯลฯ
.
5) ที่ใช้คำว่าคลุมเครือ เพราะหากดูแนวคิดเหล่านี้มันก็มีส่วนดีของมันอยู่บ้าง การประหยัดค่ากาแฟจากการกินคาเฟ่ชิกๆ มากินสตาร์บั๊กธรรมดาก็ไม่ได้แย่ (เดี๋ยวนี้คนรวยจริงกินกาแฟคาเฟ่นะครับ คนทั่วไปกินสตาร์บั๊ก 55+) หรือกินกาแฟให้น้อยลงหน่อยแล้วเอาเงินมาลงทุน, เห็นพนักงานค่าแรงขั้นต่ำเก็บเงินได้ เอาวะ เราก็ต้องฮึดเก็บให้ได้มั่ง นี่ก็คือ fact ที่เป็นแรงผลักดันในแง่บวกได้
.
6) แต่ในอีกแง่หนึ่ง สิ่งที่ทำให้คนมอง fact เหล่านี้ไปในทางลบได้ ก็เพราะบางครั้งผู้พูด (หรือผู้ที่นำสารนั้นมาสื่อต่อ) ไม่ได้พิจารณาบริบทต่างๆ มากพอ ข้อความที่คนถกเถียงกันเยอะหน่อยก็อย่างเช่นที่บอกว่า มีเงินก่อนแล้วค่อยซื้อบ้านซื้อรถ ในมุมหนึ่งก็จริงเพราะทั้งสองอย่างคือหนี้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง การมีบ้านและรถที่สมกับบริบทชีวิตคนๆ นั้น ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรนี่ บางคนพ่อแม่ไม่ได้รวย ก็จำเป็นต้องเลือกความสบายของครอบครัวในตอนนี้ ก่อนที่จะมองถึงความร่ำรวยแบบบัฟเฟตต์ในอีก 50 ปีให้หลัง
.
7) เมื่อคนพูดหรือคนที่นำสารเหล่านี้มาสื่อต่อ (โดยเฉพาะสื่อเสี้ยมทั้งหลาย) มันจึงเป็นการเพิ่มความสุดโต่งมากเข้าไปอีก คนรุ่นใหม่ก็โกรธสิ เพราะบริบทชีวิตแต่ละคนไม่เหมือนกัน จะเอาข้อความของคนบางคนที่เรา "เชื่อว่ามันดีและเป็นความจริงแท้แน่นอน" มายึดเป็นสรณะไม่ได้
.
8 ) บางที กระทั่งผู้พูดเองก็อาจไม่ได้หมายความสุดโต่งแบบนั้น แต่เพราะถูกสื่อเสี้ยมตัดข้อความบางส่วนแล้วเอามาเสี้ยมต่อจนทำให้คนเข้าใจผิด (บัฟเฟตต์โดนประจำ) ก็พาลทำให้คนเกลียดแนวคิดเหล่านี้เข้าไปอีก ทั้งทีโดยเนื้อแท้มันคือไอเดียที่ดีนะ ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าการออมและการลงทุนคือเรื่องสำคัญในชีวิต
.
9) มันมีปัญหาอีก 2 อย่างที่ทำให้เรื่องนี้ทวีความรุนแรงมากไปอีกก็คือ 1. ผมใช้คำว่าคนรุ่นใหม่ เพราะ "ข้อเท็จจริง" ก็คือการสร้างตัวในยุคนี้ไม่ง่ายเหมือนในยุคเก่า เมื่อก่อนใช้ความรู้ 4 จาก 10 ก็พอหาเงินเลี้ยงตัวเองได้ ค่าครองชีพไม่สูง ยุคนี้โอกาสมากขึ้นก็จริง แต่มันคือยุคของผู้ชนะกินรวบ ใช้ความรู้ 20 จาก 10 ก็ยังไม่พอยาไส้ เห็นได้จากที่คนไทยบางส่วนไม่ได้มีอาชีพเดียว ในขณะที่คนพูดคำแนะนำการเงินเหล่านี้ อาจพูดถึงบริบทในยุคเมื่อหลายปีก่อนซึ่งสังคมยังมีที่ว่างให้กับคนค่าเฉลี่ย
.
10) ปัญหาข้อ 2. คือ บางครั้งตัวคนพูดเองก็ไม่ได้ตระหนักว่าตนเองโชคดีเพียงใด บางคนอาจบอกว่า นี่ เมื่อก่อนผมลำบากนะ ผมต้องเก็บเงินเองเหมือนกันกว่าจะเรียนต่อได้ ต้องทำธุรกิจเอง เจ๊งเอง แต่ไม่ได้ตระหนักถึงความโชคดีบางอย่างที่จับต้องไม่ได้ เช่น พ่อแม่อาจไม่รวย แต่พ่อแม่มีทัศนคติในการเลี้ยงลูกที่ดีเพราะมีฐานะปานกลาง ก็ทำให้ลูกมีแต้มต่อเหนือกว่าคนที่มาจากครอบครัวแย่ๆ แล้ว นี่ยังไม่นับคนที่คอนเนคชั่นหรือเงินทองเพียบพร้อมกว่านี้ แต่ไม่ได้มองเลยว่าตนเองโชคดีเพียงใด และเมื่อมาพูดให้คำแนะนำเรื่องการเงินหรือการลงทุน ก็ไม่แปลกที่คนซึ่งรู้เบื้องหลังของผู้พูดจะพาลไม่ชอบใจได้
.
11) ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องทำความเข้าใจคนรุ่นใหม่ หรือต้องมีรัฐสวัสดิการดีเวอร์จนพาประเทศล่มสลาย เพราะคนรุ่นใหม่ (หรือคนรุ่นเก่า) ที่มีแต่ข้ออ้างก็มี หาเงินได้แล้วไม่เก็บเองแล้วพาตัวเองลำบากก็มี แต่ในอีกมุม มันก็มีคนรุ่นใหม่ (หรือคนรุ่นเก่า) ไม่น้อยเหมือนกันที่ไม่อาจทำตามคำแนะนำการเงินอันสวยหรูได้ เมื่อชีวิตยังต้องยุ่งอยู่กับการไล่ชำระหนี้เก่าที่ผูกกับตัวเองมาตั้งแต่เกิด หรือชำระหนี้ทางสังคมที่เกิดขึ้นจากความลำบากของการอยู่ในโลกแห่งผู้ชนะกินรวบ
.
12) อาจมีบางคนที่มีชีวิตยากลำบากจริงๆ เกิดมาในสภาวะครอบครัวที่ไม่พร้อมนัก แต่ก็สามารถทำงาน เก็บเงิน ลงทุน จนสร้างตัวได้ มันมีและตามจริงหลายๆ คนก็มีศักยภาพเพียงพอที่จะทำได้ แต่ถ้าใครไม่ทำ มันก็ไม่ใช่กงการอะไรที่เราจะไปบอกคนอื่นว่าคนนั้นไม่ได้เรื่อง บางทีเขาอาจมีปมในชีวิตอื่นอีกที่ต้องไล่แก้ก็ได้ ความรวยไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย มันต้องอาศัยแรงฮึดมากกว่าปกติ ถ้าใครทำได้ถือว่าคุณเก่งและโชคดี แต่ถ้าใครยังไม่ได้ทำ อย่างน้อยเขาก็มีความสุขกับอัตภาพตอนนี้ อย่างน้อยการไม่รวยในอีก 60 ปีข้างหน้า แต่ตอนนี้มีบ้านให้พ่อแม่อยู่แบบสมฐานะก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร
.
13) ไม่ว่าจะเลือกออมเงิน ลงทุน เพื่อไขว่คว้าเป้าหมายทางการเงิน หรือจะเลือกใช้ชีวิตแบบบาลานซ์ระหว่างความสุขและเงินทอง มันก็มีผลลัพธ์ตามมาเสมอ อยู่ที่ว่าเรายอมรับสิ่งที่ตามมาได้ไหม แต่ที่แน่นอนก็คือ 1. มีความทุกข์แต่พอมีเงินบ้างนั้นทุกข์น้อยกว่ามีการไม่มีเงิน 2. การสุดโต่งด้านใดด้านหนึ่งไม่ใช่เรื่องดี
Ref Facebook คุณ Kornsuppa