เพราะว่าไม่ใช่ว่าทุกชาติจะได้ฟัง ถ้าเกิดเป็นสัตว์ แมว นก หนู พวกนี้ก็ไม่มีโอกาสเลย ถ้าเกิดในประเทศที่ไม่มีคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่มีโอกาสอีก ถ้าไม่มีบุญที่สะสมไว้ในอดีต ก็ไม่มีโอกาสได้ฟังแน่นอน เพราะเสียงก็มีตั้งหลายเสียงแต่เสียงที่จะให้เข้าใจพระธรรม ต้องเป็นเสียงซึ่งบุญที่ได้กระทำมาแล้วเป็นปัจจัยทำให้ได้ยิน
https://www.dhammahome.com/cd/topic/14/11
ถ. แล้วถ้าอยากเรียนถามต่อไป คือทำยังไงถึงจะทำให้เกิดปัญญา
ส. มีทางเดียว ฟังพระธรรม เพราะว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่อใคร เพื่อสาวกคือผู้ฟัง แม้ท่านพระสารีบุตรก็ต้องฟังพระธรรม ผู้ที่บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์แล้วยังฟังพระธรรม เพราะฉะนั้น ก็เห็นประโยชน์ ผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรมแล้วยอมรับว่า ไม่มีสมบัติอื่นใดที่จะเท่าพระธรรม เพราะเหตุว่า เงินทองลาภยศทั้งหมด ก็ยังมีเวลาเสื่อมสูญได้ แต่ความเข้าใจที่ถูกต้องในธรรม ไม่สูญหาย และไม่ว่าคนนั้นจะประสบกับโลกธรรม เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เจ็บไข้ได้ป่วย มีความทุกข์ด้วยประการใด ก็ยังเบาบางได้ เพราะรู้ว่าเป็นความจริงของธรรม ซึ่งไม่ใช่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุปัจจัย ทำไมจึงต้องเกิด ซึ่งส่วนใหญ่ก่อนที่จะศึกษาธรรม ก็มักจะถามกันสมัยหนึ่งว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา แต่ถ้าศึกษาธรรมแล้ว คำตอบก็คือว่าเพราะต้องเป็นเรา เป็นคนอื่นไม่ได้ เพราะทำกรรมอย่างไรมา ก็ต้องเป็นผลของกรรมที่คนนั้นจะต้องได้รับ ไม่มีคำถามอีกเลยว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา นอกจากอะไรจะเกิดขึ้นก็คือว่าเพราะต้องเป็นเราที่ได้กระทำสิ่งนั้นแล้ว เพราะฉะนั้น ผลก็คือต้องรับกรรมทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
ถ. อยากเรียนต่อไปอีก เรื่องการฟังธรรม ก็ยอมรับการฟังธรรมเพื่อให้รู้ให้เข้าใจ เพื่อจะได้เกิดปัญญาใช่ไหม ทีนี้ความหมายของอาจารย์ที่ว่า ฟัง คงไม่มีความหมายตรงตัว คงจะหมายถึงการศึกษาธรรม เช่น การอ่านจากตำรับตำราต่างๆ หรือการได้ฟังจากผู้รู้แจ้งเห็นจริงนั้น ก็ยิ่งจะมีประโยชน์ แต่ถ้าโอกาสไม่มีแล้วอาจจะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมโดยการอ่าน ก็อยากจะขยายความคำว่า ฟังธรรมจากท่านอาจารย์
ส. ทุกอย่าง จะเป็นการสนทนา หรือว่าการอ่าน หรือการไตร่ตรองก็ได้ แต่ให้ทราบว่า คำมาจากเสียง ถ้าไม่มีเสียง คำจะไม่มีเลย ใช่ไหม นั่งเงียบๆ อย่างนี้ เพียงแต่มองเห็นสีต่างๆ แต่ไม่มีคำ เพราะไม่มีเสียง แต่เวลาที่นึกถึงคำหนึ่งคำใดก็ตาม เป็นการจำเสียงที่มีความหมาย อย่างคำว่าพรุ่งนี้วันศุกร์ มีเสียงไหม ที่เราจำได้ว่าพรุ่งนี้วันศุกร์ ต้องมีเสียง เพราะฉะนั้นการฟัง หรือการอ่าน ก็ไม่พ้นจากการที่จะจำเสียงซึ่งแสดงความหมายของสิ่งนั้นให้เข้าใจถูกต้อง ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงพระธรรม นั่งเฉยๆ ไม่มีเสียงเลยจากพระโอษฐ์ ไม่มีคำใดๆ เลยทั้งสิ้น ไม่มีใครสามารถที่จะเข้าใจธรรมได้เลย แต่เมื่อได้ฟังแล้ว จำ แล้วก็เขียนจารึกไว้ ก็ยังคงเป็นคำ จากเสียงที่ได้จำไว้และก็เข้าใจความหมายนั่นเอง เพราะฉะนั้น จะใช้คำว่าฟัง หรือว่าอ่าน หรือว่าสนทนาอะไรก็ได้ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจถูก ความเข้าใจถูกซึ่งเป็นปัญญานั้นคือเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา เป็นตัวตน ให้ประจักษ์แจ้งจริงว่าแท้ที่จริงแล้วเหมือนกำมือที่ว่างเปล่า คือพิจารณาแล้วไม่มีอะไร ที่เป็นเรา เป็นของเราจริงๆ ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า มีอากาศธาตุ ช่องว่างแทรกคั่นอยู่โดยละเอียดยิบ พร้อมที่จะแตกทลายกระจัดกระจายเป็นผงธุลี เมื่อไรก็ได้ ขณะไหนก็ได้ นี่คือส่วนซึ่งเราเคยยึดถือว่าเป็นคิ้ว เป็นตา เป็นแขน เป็นขา ของเรา แต่ความจริงแล้วก็เหมือนกับกองดิน ซึ่งมีอากาศธาตุแทรกคั่นอยู่ รูป ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกไม่ต่างกันเลย แข็งที่นี่กับแข็งที่ตัวหรือแข็งที่ไหนๆ ก็คือลักษณะที่แข็ง เป็นธาตุแข็ง เย็นหรือร้อน ที่ไหนก็ตามก็คือลักษณะที่เย็นหรือร้อน แต่พอมาอยู่ตรงส่วนซึ่งมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น เราก็เลยยึดถือว่า นี่เป็นกาย หรือ ว่าเป็นของเรา แต่ความจริงตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าก็มีสมุฎฐานให้เกิด ว่ารูปกลุ่มใด ประเภทใด เกิดเพราะกรรม รูปกลุ่มใดประเภทใดเกิดเพราะจิต รูปกลุ่มใด ประเภทใด เกิดเพราะอาหาร รูปกลุ่มใด ประเภทใด เกิดเพราะอุตุ คือความเย็นความร้อน เพราะฉะนั้นก็มีสมุฎฐานทุกอย่าง สำหรับทุกสิ่งที่เกิด ไม่มีใครไปบันดาลและก็ไม่เป็นของใครด้วย เสียงที่ดับไปแล้วเป็นของใคร ได้ยินที่ดับไปแล้วเป็นของใครก็เป็นเพียงชั่วขณะจิตที่เกิดแล้วดับ เกิดแล้วก็ดับ ตามเหตุตามปัจจัยที่สะสมมา ทำให้มีบุคลิกหรือว่าเป็นแต่ละบุคคลตามการสะสม แต่ก็คือจิตแต่ละขณะ ซึ่งเกิดดับสืบต่อมานั่นเอง
ถ. อยากจะเรียนถามอาจารย์ต่อไปอีก เรื่องการทำความดี มีบางท่านที่กล่าวว่า การทำความดี ถ้าทำความดีเพื่อตนเอง ไม่ไช่ความดีแท้ แต่ถ้าการกระทำความดีนั้น เพื่อผู้อื่น นั้นคือความดีที่แท้ อาจารย์มีความเข้าใจว่าอย่างไร
ส. ถ้าเป็นความดีทั้งตนเองและผู้อื่นมิยิ่งดีเลย ไม่ใช่แต่เฉพาะตนเองและก็ไม่ใช่แต่เฉพาะผู้อื่น ทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย มีใครคิดว่า จะฟังธรรมเท่าไรจะพออีกรึเปล่า ถ้าอย่างนั้นก็แสดงว่าเห็นประโยชน์ของธรรมน้อยมาก ยังไม่เห็นว่าจะต้องฟังไปตลอดชีวิตและก็ไม่ใช่ชาติเดียวด้วย ชาติไหนที่มีโอกาสได้ยินได้ฟัง ชาตินั้นประเสริฐสุด เพราะว่าไม่ใช่ว่าทุกชาติจะได้ฟัง ถ้าเกิดเป็นสัตว์ แมว นก หนู พวกนี้ก็ไม่มีโอกาสเลย ถ้าเกิดในประเทศที่ไม่มีคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่มีโอกาสอีก ถ้าไม่มีบุญที่สะสมไว้ในอดีต ก็ไม่มีโอกาสได้ฟังแน่นอน เพราะเสียงก็มีตั้งหลายเสียงแต่เสียงที่จะให้เข้าใจพระธรรม ต้องเป็นเสียงซึ่งบุญที่ได้กระทำมาแล้วเป็นปัจจัยทำให้ได้ยิน
ถ. ขอกราบเรียนถามท่านอาจารย์ คำว่าทำความดีในหลักของพุทธศาสนา คือทำอย่างไร กุศลกรรมบถ ๑๐ ทาน ศีล ภาวนา หมายความว่า เริ่มตั้งแต่มีการบริจาค คือการให้ทาน แล้วก็อุทิศส่วนกุศลที่ได้กระทำแล้วให้กับบุคคลที่เป็นที่เคารพรัก แล้วก็เวลาที่เห็นผู้อื่นกระทำความดีหรือทำกุศลก็ขอให้มีจิตยินดีและอนุโมทนาไปด้วยกันใช่ไหม โดยความเป็นจริงแล้ว เรื่องการที่จะไปอนุโมทนาในความดีของผู้อื่นนั้น ก็ยังมีข้อยกเว้น ถ้าเป็นคนที่เราชอบ หรือเป็นคนที่เรารัก เราพอใจ รู้สึกว่าการยินดีหรืออนุโมทนาไม่ยาก แต่ถ้าเป็นคนที่เราไม่ชอบ หรือว่าเป็นคนที่เราเกลียด หมั่นใส้ ถึงแม้จะมีใครมาบอกว่า คนนั้นเขาเสียสละ เขาได้บริจาคทำประโยชน์แล้ว โดยส่วนลึกหรือใจจริงไม่ยินดีด้วยเลย
ส. ก็แปลว่าขณะนั้นไม่เป็นกุศล ขณะที่ไม่ยินดีด้วย ขณะนั้นไม่ใช่กุศล
ถ. จะมีคำแนะนำยังไงบ้างที่พอจะช่วยให้เกิดประโยชน์ได้
ส. ก็ต้องมีปัญญารู้ว่าเป็นอกุศล
ถ. แต่ว่ามันเกิดไปแล้ว
ส. เกิดไปแล้วก็แล้วไป สิ่งที่เกิดไปแล้ว ก็ไม่ต้องคำนึงถึง
ถ. เพราะปกติแล้ว มันก็เป็นสิ่งที่เรามักจะเลือก เช่นเราจะช่วยเหลือสงเคราะห์ ก็มักจะช่วยคนที่เราชอบ เราพอใจ เรารัก เราถึงจะทำ ถ้าเราไม่ชอบ ไม่รักนี้ เราอาจจะมองผ่านไป จริงๆ แล้ว การช่วยเหลือสงเคราะห์นี้ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ว่าไม่ควรจะ เลือกทำเฉพาะคนที่เราชอบ แม้คนไม่ชอบก็ควรจะทำด้วย อย่างงั้นจะถือว่าเป็นการทำความดีได้ไหม
ส. อันนี้ ปัญญาก็เริ่มเกิดที่จะเห็นว่าควรอย่างไร เพราะฉะนั้น ถ้าปัญญามั่นคงขึ้นก็จะทำตามนั้นได้มากขึ้น เพราะว่าก่อนอื่นก็จะต้องเห็นว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดควร แล้วก็ค่อยๆ กระทำไป สะสมไปในสิ่งที่ถูกที่ควร
ถ. แต่ว่าเป็นสิ่งที่ยากมาก
ส. คนที่จะเป็นพระอริยบุคคล ก่อนเป็นพระอริยบุคคลก็มีกิเลสกันทั้งนั้น แต่ท่านอบรม ท่านสะสมเจริญได้
ถ. มีคำถามอีกเรื่อง ทุกคนบอกว่ามีกรรมเป็นของของตน แล้วตั้งแต่เกิดมา ถ้าบางคนอายุมาก ได้มีการกระทำทั้งที่เป็นบุญและบาปมาก แต่เวลาตายไปแล้ว คงไม่ได้เอากรรมที่เราได้กระทำไปชาติในชาติหนึ่งๆ เอาติดตัวไปเพื่อจะได้ไปรับผลต่อไปข้างหน้าและส่วนที่เหลือตกค้างคนนั้น จะมีโอกาสให้ผลได้ไหม
ส. ตกค้างอยู่ที่ไหน
ถ. หมายความว่ามันให้ผลไม่หมด มันตกค้างอยู่อย่างนี้
ส. ตกค้างอยู่ที่ไหน
ถ. ตกค้างอยู่ในจิต
ส. เพราะฉะนั้นจิตอยู่ที่ไหน กรรมที่ได้ทำแล้วก็สะสมอยู่ที่นั่น ไม่หลุดหายไป
ถ. เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่โอกาสของกรรมที่ได้กระทำ ใช่ไหม
ส. ถูกต้อง
ถ. เรียนถามถึงหัวใจของพุทธศาสนาที่ว่า การละเว้นการกระทำความชั่ว อันนี้โดยวิจารณญาณแล้ว ก็คงจะเป็นที่พอเข้าใจกัน หรือว่าการกระทำความดี ทำยังไงบ้าง ก็คงจะพอเป็นที่เข้าใจพอสมควร แต่การทำใจให้บริสุทธิ์ มันคือมีความหมายแค่ไหน อย่างไรบ้าง อยากจะเรียนถามอาจารย์ว่าการทำใจให้บริสุทธิ์จะต้องทำประพฤติปฏิบัติอย่างไรบ้าง
ส. ทานก็คือการให้ โดยที่ไม่ต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ได้ อย่างที่ให้กันอยู่ แล้วก็ศีล ความประพฤติดีทางกายทางวาจาก็ทำกันอยู่โดยไม่ต้องมีปัญญาก็ได้ แต่ถ้าจะเป็นการชำระจิตให้บริสุทธิ์แล้วถ้าไม่มีปัญญาแล้ว ทำไม่ได้เลย ปัญญาต้องเริ่มตั้งแต่ปัญญาคืออะไร ปัญญารู้อะไร อย่างถูกต้องจริงๆ ไม่อย่างนั้น จิตก็บริสุทธิ์ไม่ได้ เพราะว่ายังมีอวิชชา บริสุทธิ์คือต้องดับกิเลสได้
ชาติไหนที่มีโอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาตินั้นประเสริฐสุด
https://www.dhammahome.com/cd/topic/14/11
ถ. แล้วถ้าอยากเรียนถามต่อไป คือทำยังไงถึงจะทำให้เกิดปัญญา
ส. มีทางเดียว ฟังพระธรรม เพราะว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเพื่อใคร เพื่อสาวกคือผู้ฟัง แม้ท่านพระสารีบุตรก็ต้องฟังพระธรรม ผู้ที่บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์แล้วยังฟังพระธรรม เพราะฉะนั้น ก็เห็นประโยชน์ ผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรมแล้วยอมรับว่า ไม่มีสมบัติอื่นใดที่จะเท่าพระธรรม เพราะเหตุว่า เงินทองลาภยศทั้งหมด ก็ยังมีเวลาเสื่อมสูญได้ แต่ความเข้าใจที่ถูกต้องในธรรม ไม่สูญหาย และไม่ว่าคนนั้นจะประสบกับโลกธรรม เสื่อมลาภ เสื่อมยศ เจ็บไข้ได้ป่วย มีความทุกข์ด้วยประการใด ก็ยังเบาบางได้ เพราะรู้ว่าเป็นความจริงของธรรม ซึ่งไม่ใช่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุปัจจัย ทำไมจึงต้องเกิด ซึ่งส่วนใหญ่ก่อนที่จะศึกษาธรรม ก็มักจะถามกันสมัยหนึ่งว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา แต่ถ้าศึกษาธรรมแล้ว คำตอบก็คือว่าเพราะต้องเป็นเรา เป็นคนอื่นไม่ได้ เพราะทำกรรมอย่างไรมา ก็ต้องเป็นผลของกรรมที่คนนั้นจะต้องได้รับ ไม่มีคำถามอีกเลยว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา นอกจากอะไรจะเกิดขึ้นก็คือว่าเพราะต้องเป็นเราที่ได้กระทำสิ่งนั้นแล้ว เพราะฉะนั้น ผลก็คือต้องรับกรรมทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
ถ. อยากเรียนต่อไปอีก เรื่องการฟังธรรม ก็ยอมรับการฟังธรรมเพื่อให้รู้ให้เข้าใจ เพื่อจะได้เกิดปัญญาใช่ไหม ทีนี้ความหมายของอาจารย์ที่ว่า ฟัง คงไม่มีความหมายตรงตัว คงจะหมายถึงการศึกษาธรรม เช่น การอ่านจากตำรับตำราต่างๆ หรือการได้ฟังจากผู้รู้แจ้งเห็นจริงนั้น ก็ยิ่งจะมีประโยชน์ แต่ถ้าโอกาสไม่มีแล้วอาจจะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมโดยการอ่าน ก็อยากจะขยายความคำว่า ฟังธรรมจากท่านอาจารย์
ส. ทุกอย่าง จะเป็นการสนทนา หรือว่าการอ่าน หรือการไตร่ตรองก็ได้ แต่ให้ทราบว่า คำมาจากเสียง ถ้าไม่มีเสียง คำจะไม่มีเลย ใช่ไหม นั่งเงียบๆ อย่างนี้ เพียงแต่มองเห็นสีต่างๆ แต่ไม่มีคำ เพราะไม่มีเสียง แต่เวลาที่นึกถึงคำหนึ่งคำใดก็ตาม เป็นการจำเสียงที่มีความหมาย อย่างคำว่าพรุ่งนี้วันศุกร์ มีเสียงไหม ที่เราจำได้ว่าพรุ่งนี้วันศุกร์ ต้องมีเสียง เพราะฉะนั้นการฟัง หรือการอ่าน ก็ไม่พ้นจากการที่จะจำเสียงซึ่งแสดงความหมายของสิ่งนั้นให้เข้าใจถูกต้อง ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงพระธรรม นั่งเฉยๆ ไม่มีเสียงเลยจากพระโอษฐ์ ไม่มีคำใดๆ เลยทั้งสิ้น ไม่มีใครสามารถที่จะเข้าใจธรรมได้เลย แต่เมื่อได้ฟังแล้ว จำ แล้วก็เขียนจารึกไว้ ก็ยังคงเป็นคำ จากเสียงที่ได้จำไว้และก็เข้าใจความหมายนั่นเอง เพราะฉะนั้น จะใช้คำว่าฟัง หรือว่าอ่าน หรือว่าสนทนาอะไรก็ได้ ที่ทำให้เกิดความเข้าใจถูก ความเข้าใจถูกซึ่งเป็นปัญญานั้นคือเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา เป็นตัวตน ให้ประจักษ์แจ้งจริงว่าแท้ที่จริงแล้วเหมือนกำมือที่ว่างเปล่า คือพิจารณาแล้วไม่มีอะไร ที่เป็นเรา เป็นของเราจริงๆ ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า มีอากาศธาตุ ช่องว่างแทรกคั่นอยู่โดยละเอียดยิบ พร้อมที่จะแตกทลายกระจัดกระจายเป็นผงธุลี เมื่อไรก็ได้ ขณะไหนก็ได้ นี่คือส่วนซึ่งเราเคยยึดถือว่าเป็นคิ้ว เป็นตา เป็นแขน เป็นขา ของเรา แต่ความจริงแล้วก็เหมือนกับกองดิน ซึ่งมีอากาศธาตุแทรกคั่นอยู่ รูป ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกไม่ต่างกันเลย แข็งที่นี่กับแข็งที่ตัวหรือแข็งที่ไหนๆ ก็คือลักษณะที่แข็ง เป็นธาตุแข็ง เย็นหรือร้อน ที่ไหนก็ตามก็คือลักษณะที่เย็นหรือร้อน แต่พอมาอยู่ตรงส่วนซึ่งมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น เราก็เลยยึดถือว่า นี่เป็นกาย หรือ ว่าเป็นของเรา แต่ความจริงตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าก็มีสมุฎฐานให้เกิด ว่ารูปกลุ่มใด ประเภทใด เกิดเพราะกรรม รูปกลุ่มใดประเภทใดเกิดเพราะจิต รูปกลุ่มใด ประเภทใด เกิดเพราะอาหาร รูปกลุ่มใด ประเภทใด เกิดเพราะอุตุ คือความเย็นความร้อน เพราะฉะนั้นก็มีสมุฎฐานทุกอย่าง สำหรับทุกสิ่งที่เกิด ไม่มีใครไปบันดาลและก็ไม่เป็นของใครด้วย เสียงที่ดับไปแล้วเป็นของใคร ได้ยินที่ดับไปแล้วเป็นของใครก็เป็นเพียงชั่วขณะจิตที่เกิดแล้วดับ เกิดแล้วก็ดับ ตามเหตุตามปัจจัยที่สะสมมา ทำให้มีบุคลิกหรือว่าเป็นแต่ละบุคคลตามการสะสม แต่ก็คือจิตแต่ละขณะ ซึ่งเกิดดับสืบต่อมานั่นเอง
ถ. อยากจะเรียนถามอาจารย์ต่อไปอีก เรื่องการทำความดี มีบางท่านที่กล่าวว่า การทำความดี ถ้าทำความดีเพื่อตนเอง ไม่ไช่ความดีแท้ แต่ถ้าการกระทำความดีนั้น เพื่อผู้อื่น นั้นคือความดีที่แท้ อาจารย์มีความเข้าใจว่าอย่างไร
ส. ถ้าเป็นความดีทั้งตนเองและผู้อื่นมิยิ่งดีเลย ไม่ใช่แต่เฉพาะตนเองและก็ไม่ใช่แต่เฉพาะผู้อื่น ทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย มีใครคิดว่า จะฟังธรรมเท่าไรจะพออีกรึเปล่า ถ้าอย่างนั้นก็แสดงว่าเห็นประโยชน์ของธรรมน้อยมาก ยังไม่เห็นว่าจะต้องฟังไปตลอดชีวิตและก็ไม่ใช่ชาติเดียวด้วย ชาติไหนที่มีโอกาสได้ยินได้ฟัง ชาตินั้นประเสริฐสุด เพราะว่าไม่ใช่ว่าทุกชาติจะได้ฟัง ถ้าเกิดเป็นสัตว์ แมว นก หนู พวกนี้ก็ไม่มีโอกาสเลย ถ้าเกิดในประเทศที่ไม่มีคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่มีโอกาสอีก ถ้าไม่มีบุญที่สะสมไว้ในอดีต ก็ไม่มีโอกาสได้ฟังแน่นอน เพราะเสียงก็มีตั้งหลายเสียงแต่เสียงที่จะให้เข้าใจพระธรรม ต้องเป็นเสียงซึ่งบุญที่ได้กระทำมาแล้วเป็นปัจจัยทำให้ได้ยิน
ถ. ขอกราบเรียนถามท่านอาจารย์ คำว่าทำความดีในหลักของพุทธศาสนา คือทำอย่างไร กุศลกรรมบถ ๑๐ ทาน ศีล ภาวนา หมายความว่า เริ่มตั้งแต่มีการบริจาค คือการให้ทาน แล้วก็อุทิศส่วนกุศลที่ได้กระทำแล้วให้กับบุคคลที่เป็นที่เคารพรัก แล้วก็เวลาที่เห็นผู้อื่นกระทำความดีหรือทำกุศลก็ขอให้มีจิตยินดีและอนุโมทนาไปด้วยกันใช่ไหม โดยความเป็นจริงแล้ว เรื่องการที่จะไปอนุโมทนาในความดีของผู้อื่นนั้น ก็ยังมีข้อยกเว้น ถ้าเป็นคนที่เราชอบ หรือเป็นคนที่เรารัก เราพอใจ รู้สึกว่าการยินดีหรืออนุโมทนาไม่ยาก แต่ถ้าเป็นคนที่เราไม่ชอบ หรือว่าเป็นคนที่เราเกลียด หมั่นใส้ ถึงแม้จะมีใครมาบอกว่า คนนั้นเขาเสียสละ เขาได้บริจาคทำประโยชน์แล้ว โดยส่วนลึกหรือใจจริงไม่ยินดีด้วยเลย
ส. ก็แปลว่าขณะนั้นไม่เป็นกุศล ขณะที่ไม่ยินดีด้วย ขณะนั้นไม่ใช่กุศล
ถ. จะมีคำแนะนำยังไงบ้างที่พอจะช่วยให้เกิดประโยชน์ได้
ส. ก็ต้องมีปัญญารู้ว่าเป็นอกุศล
ถ. แต่ว่ามันเกิดไปแล้ว
ส. เกิดไปแล้วก็แล้วไป สิ่งที่เกิดไปแล้ว ก็ไม่ต้องคำนึงถึง
ถ. เพราะปกติแล้ว มันก็เป็นสิ่งที่เรามักจะเลือก เช่นเราจะช่วยเหลือสงเคราะห์ ก็มักจะช่วยคนที่เราชอบ เราพอใจ เรารัก เราถึงจะทำ ถ้าเราไม่ชอบ ไม่รักนี้ เราอาจจะมองผ่านไป จริงๆ แล้ว การช่วยเหลือสงเคราะห์นี้ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ว่าไม่ควรจะ เลือกทำเฉพาะคนที่เราชอบ แม้คนไม่ชอบก็ควรจะทำด้วย อย่างงั้นจะถือว่าเป็นการทำความดีได้ไหม
ส. อันนี้ ปัญญาก็เริ่มเกิดที่จะเห็นว่าควรอย่างไร เพราะฉะนั้น ถ้าปัญญามั่นคงขึ้นก็จะทำตามนั้นได้มากขึ้น เพราะว่าก่อนอื่นก็จะต้องเห็นว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดควร แล้วก็ค่อยๆ กระทำไป สะสมไปในสิ่งที่ถูกที่ควร
ถ. แต่ว่าเป็นสิ่งที่ยากมาก
ส. คนที่จะเป็นพระอริยบุคคล ก่อนเป็นพระอริยบุคคลก็มีกิเลสกันทั้งนั้น แต่ท่านอบรม ท่านสะสมเจริญได้
ถ. มีคำถามอีกเรื่อง ทุกคนบอกว่ามีกรรมเป็นของของตน แล้วตั้งแต่เกิดมา ถ้าบางคนอายุมาก ได้มีการกระทำทั้งที่เป็นบุญและบาปมาก แต่เวลาตายไปแล้ว คงไม่ได้เอากรรมที่เราได้กระทำไปชาติในชาติหนึ่งๆ เอาติดตัวไปเพื่อจะได้ไปรับผลต่อไปข้างหน้าและส่วนที่เหลือตกค้างคนนั้น จะมีโอกาสให้ผลได้ไหม
ส. ตกค้างอยู่ที่ไหน
ถ. หมายความว่ามันให้ผลไม่หมด มันตกค้างอยู่อย่างนี้
ส. ตกค้างอยู่ที่ไหน
ถ. ตกค้างอยู่ในจิต
ส. เพราะฉะนั้นจิตอยู่ที่ไหน กรรมที่ได้ทำแล้วก็สะสมอยู่ที่นั่น ไม่หลุดหายไป
ถ. เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่โอกาสของกรรมที่ได้กระทำ ใช่ไหม
ส. ถูกต้อง
ถ. เรียนถามถึงหัวใจของพุทธศาสนาที่ว่า การละเว้นการกระทำความชั่ว อันนี้โดยวิจารณญาณแล้ว ก็คงจะเป็นที่พอเข้าใจกัน หรือว่าการกระทำความดี ทำยังไงบ้าง ก็คงจะพอเป็นที่เข้าใจพอสมควร แต่การทำใจให้บริสุทธิ์ มันคือมีความหมายแค่ไหน อย่างไรบ้าง อยากจะเรียนถามอาจารย์ว่าการทำใจให้บริสุทธิ์จะต้องทำประพฤติปฏิบัติอย่างไรบ้าง
ส. ทานก็คือการให้ โดยที่ไม่ต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ได้ อย่างที่ให้กันอยู่ แล้วก็ศีล ความประพฤติดีทางกายทางวาจาก็ทำกันอยู่โดยไม่ต้องมีปัญญาก็ได้ แต่ถ้าจะเป็นการชำระจิตให้บริสุทธิ์แล้วถ้าไม่มีปัญญาแล้ว ทำไม่ได้เลย ปัญญาต้องเริ่มตั้งแต่ปัญญาคืออะไร ปัญญารู้อะไร อย่างถูกต้องจริงๆ ไม่อย่างนั้น จิตก็บริสุทธิ์ไม่ได้ เพราะว่ายังมีอวิชชา บริสุทธิ์คือต้องดับกิเลสได้