คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ปัญหาเรื่อง
"การสูบ ABC ว่ามันอันตรายหรือไม่ และอันตรายแค่ไหน"
หรือ
"การสูบ A หรือ B อะไรอันตรายกว่ากัน"
เราจะเข้าใจเรื่องนี้ได้
เราต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของตัวต้นตระกูลก่อน
เรามาย้อนรอยกันดู ว่า
ยาสูบ/บุหรี่ มนุษย์เริ่มใช้กันแพร่หลายตั้งแต่ตอนไหน
และ
มันใช้เวลานานแค่ไหน
กว่าจะมานั่งหาหลักฐาน ทดลอง
เพื่อพิสูจน์ว่า
มันมีความสัมพันธ์แบบ
cause - effect
หรือ
correlation
ที่นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า
"ยาสูบ/บุหรี่ เป็น อันตราย กับสุขภาพ"
เราจะตัดยุค pre Columbian era ทิ้งไป
เราจะเริ่มตั้งแต่ที่โคลัมบัสเริ่มออกเดินเรือสำรวจ
นักสำรวจชุดแรกที่ไปถึงอเมริกา คือ ทีมโคลัมบัส
Bartolomé de las Casas เขียนไว้ว่า
ทีมสอดแนม ของโคลัมบัส (ราว ๆ ค.ศ.1492 แถว ๆ นั้น) ไปเจอ คนพื้นเมือง สูบยาสูบ
ต่อมา ค.ศ.1528 พวกนักแสวงโชคชาวสเปน ได้เริ่มนำยาสูบจากอเมริกา
ขนกลับมาที่ยุโรป
แล้วการสูบยาสูบ ก็เริ่มแพร่หลายไปทั่ว
มนุษย์หลังยุค post Columbian era
ก็เคี้ยวยาสูบบ้าง, ดูดควันบ้าง ไปเรื่อย ๆ ตลอด
ศตวรรษที่ 16 (ค.ศ.1501-1600)
ศตวรรษที่ 17 (ค.ศ.1601-1700)
ศตวรรษที่ 18 (ค.ศ.1701-1800)
ศตวรรษที่ 19 (ค.ศ.1801-1900)
เกือบจะตลอด 400 ปีนี้
ไม่เคยมีใครสงสัย ว่า เจ้ายาสูบที่ว่านี้
จะเป็นต้นตอของปัญหาสุขภาพตัวฉกาจ
สมญา
"ฆาตกรไร้เงา/ฆาตกรเงียบ (silent killer)"
ที่ได้ชื่อว่า ฆาตกรไร้เงา เพราะอะไร?
เพราะ
*ระยะสั้น ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย สูบมาสิบปีแล้ว ก็ยังแข็งแรงดีอยู่ บลา ๆ ประสาทหรือเปล่า มโนไปเอง ควันนี่ออกจะปกติ พ่นออกไป ก็หายไปในอากาศแล้ว บลา ๆ
*แต่ ระยะยาว ปอดเสียหายถาวร ต้องล่ามสายออกซิเจนตลอดเวลา bedbound กันเยอะ ก็ค่อยมาเสียใจกันในภายหลัง
มันก็แนว ๆ เดียวกับเรื่อง ฝุ่น PM2.5
ที่ทำให้คนไม่รู้สึกเดือดร้อน หรือ ต้องพยายามแก้ไขอะไรกัน ณ ตอนนั้น
แต่ในระยะยาว เหมือนเป็นการวางยาพิษไปเรื่อย ๆ
จนระบบต่าง ๆ ของร่างกายมันไม่ไหว
แล้วอาการหนัก ๆ ก็ค่อยโผล่ออกมา
ยาสูบมันเลยสังหารคนไปเยอะกว่า
*ยอดทหารเสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 รวมกันอีก
https://www.theguardian.com/news/reality-check/2013/dec/18/cigarettes-or-war-which-is-the-biggest-killer
*ยอดคนตายรวม ๆ จากโควิด-19
https://blogs.worldbank.org/health/ominous-fact-world-no-tobacco-day-2021-smoking-kills-more-people-covid-19
*ฯลฯ
ทีนี้ เรามาย้อนกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ยาสูบ/บุหรี่ทั่วไปกัน
ว่า เริ่มมีคนเอะใจ
ว่าฆาตกรต่อเนื่องผู้ไร้เสียงไร้เงา
ที่จริงมันคือ ยาสูบ, บุหรี่ ใช่ไหม?
(ระหว่างนี้ ความคิดกระแสหลักของสังคมคือ
มันไม่ได้เป็นอะไรนิ คิดไปเองหรือเปล่า
มันก็แค่เป็นกลิ่นรบกวนเหมือนกลิ่นกับข้าว เหตุรำคาญ บลา ๆ
อย่ามาเยอะ)
เรามาดูกันว่า มนุษย์ใช้เวลาไล่จับกันนานขนาดไหน (และระหว่างนี้ คนตายไปเท่าไร)
https://tobaccocontrol.bmj.com/content/21/2/87
https://lawexplores.com/tobacco-and-health-towards-a-contemporary-perspective/
ค.ศ.1881 James Albert Bonsack ประดิษฐ์เครื่องมวนบุหรี่อัตโนมัติขึ้นมา
เครื่องจักรที่ว่านี้ ผลิตบุหรี่ได้ 200 มวนต่อนาที
ในขณะที่วิธีการผลิตแบบดั้งเดิม ที่ใช้คนงานมวนบุหรี่ ผลิตได้ 4 มวนต่อนาที
ผลิตภาพ (productivity) เพิ่มขึ้น 50 เท่า!!!
นี่คือการปฏิวัติอุตสาหกรรมของวงการผลิตบุหรี่ชัด ๆ!!!
ค.ศ.1885 James Buchanan Duke ได้ใบอนุญาตในการใช้เครื่องจักรที่ว่ามา แล้วเปิดโรงงานผลิตบุหรี่ บลา ๆ.
ต้นทุนในการผลิตต่ำลงมาก ไม่ต้องใช้คนมานั่งมวนอีกต่อไปแล้ว.
แค่ราว ๆ 5 ปี บริษัทก็กินส่วนแบ่งตลาดบุหรี่ไป 40%. (เยอะมาก!)
#หลังยุคนำเครื่องจักรเข้ามาผลิต ราคาบุหรี่เริ่มลดลงแล้ว
ค.ศ.1898 Hermann Rottmann หมอชาวเยอรมัน สังเกตว่า ผู้หญิงที่ทำงานในโรงงานยาสูบ เป็นมะเร็งปอดกันเยอะ. น่าจะเพราะ ฝุ่นจากใบยาสูบ. (แต่จริง ๆ คือ สรุปผิด จริง ๆ มันเป็นเพราะ ผู้หญิงเหล่านี้ เป็นนักอัดควันตัวยงต่างหาก. อย่างไรก็ตาม หมอคนนี้ ถือว่า เซนส์ดี.)
ค.ศ.1912 Isaac Adler ถึงเริ่มจับความสัมพันธ์เกี่ยวกับ บุหรี่ นำไปสู่มะเร็งปอด (โรคหายากในยุคนั้น)
ค.ศ.1914 - 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 มีการแจก C-ration ข้างในมีบุหรี่แจกด้วย #ทีนี้ คนเริ่มสูบกันเยอะละ ติดบุหรี่กันในวงกว้าง #ช่วงนี้ มีไข้หวัดใหญ่สเปน ระบาดระดับโลกอีก ทำให้แยกยาก ว่า อาการป่วย มันมาจากบุหรี่ หรือ โรคระบาด หรือ สงคราม หรือ ฯลฯ
ค.ศ.1939 Franz Hermann Müller เอากลุ่มประชากรมาเทียบกับ กลุ่มคนที่สูบบุหรี่ กับ กลุ่มคนที่ไม่สูบ ว่ากลุ่มไหนเป็นมะเร็งปอดมากกว่ากัน
ค.ศ.1939 - 1945 สงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแจก C-ration ข้างในมีบุหรี่แจกด้วย
ฯลฯ บลา ๆๆๆ ยาว ไปดูในลิ้งค์ข้างบนได้
ต้องรอถึงยุค 1960s กว่าจะเริ่มมีการตระหนัก ตื่นรู้กัน
ค.ศ.1964 สาธารณสุขสหรัฐ (U.S. Surgeon General) ออกรายงานข้อสรุปว่า บุหรี่ มีผลไม่ดีต่อสุขภาพ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จะเห็นได้ว่า
คนเริ่มเคี้ยวยาสูบ, สูบยาสูบกัน ค.ศ.1528 ยุคนักแสวงโชคชาวสเปน นำยาสูบกลับยุโรป
ลากยาวไปถึงค.ศ.1881
ยืนงง ในดงควันไป 353 ปี
(แต่ยุคนี้ ยาสูบ ยังไม่ได้ราคาถูกมาก เลยยังไม่แพร่หลายในสเกลใหญ่)
เข้าสู่ยุคแพร่หลาย
James Albert Bonsack ประดิษฐ์เครื่องจักรมวนบุหรี่ ณ ปี ค.ศ.1881 #เหมือนเข้ายุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของบุหรี่ ผลิตภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 50 เท่า!
เริ่มมีคนเซนส์ดี (หมอ Hermann Rottmann) ที่สังเกตเห็นว่า มันมีอะไรสักอย่างที่ไม่ถูกต้อง เกิดขึ้นกับสาวโรงงานยาสูบ ณ ปี ค.ศ.1898
กว่าจะมีการสังเกต ทดลอง รวบรวมข้อมูลประชากร บลา ๆๆๆๆ
เพื่อดูว่า มันมีความสัมพันธ์แบบ cause - effect (เหตุ ไป ผล) ไหม
ออกมาเป็นรายงานข้อสรุป ณ ปี ค.ศ.1964
จะเห็นได้ว่า กว่าเราจะตื่นรู้ ใช้เวลาอยู่ 83 ปี
หนูทดลองระหว่างทาง
ก็คือ สิงห์อมควันจำนวนมหาศาล
ผู้ซึ่งชอบทดลองกับตัวเองนี่แหละ
สิ่งที่อยากจะสื่อคือ
เวลาท่าน เห็นวัตถุ หรือ อะไรที่มันออกแนว ๆ พรมแดนด่านสุดท้าย (final frontier)
หลายครั้ง มันใช้เวลานานระดับนึงเลย
กว่าจะจับความสัมพันธ์ ได้ชัด ๆ
ว่า
มันเป็นแบบ
cause - effect
หรือ
correlation
บุหรี่ไฟฟ้ายุคใหม่ที่เราเห็นกัน
ถูกสร้างขึ้น ณ ปีค.ศ.2003 โดยเภสัชกรชาวจีน ประดิษฐ์บุหรี่ไฟฟ้าขึ้นมา มีน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามีรสชาติ (สารเคมีนะ ไม่ใช่น้ำเปล่า) เพื่อหวังว่าจะช่วยในการเลิกบุหรี่
เริ่มวางขายในจีน ค.ศ.2004
เริ่มกระจายไปทั่วโลก ค.ศ.2006-2007
แล้วถูกก๊อปปี้ เกิดบุหรี่ไฟฟ้าตัวโคลนนิ่ง มี variant เต็มไปหมด. มีน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าโคลนนิ่ง หลายรสชาติผุดขึ้นมาเต็มไปหมด. (@ค.ศ.2023 ตอนนี้ปาเข้าไป 7,000 - 20,000 รสเข้าไปแล้ว ไม่รู้ใส่อะไรเข้าไปบ้าง) #กลายเป็นใช้เพื่อ "การสันทนาการ" ไปเรียบร้อยแล้ว
ปีค.ศ.2012-2014 บริษัทยักษ์ใหญ่ เริ่มกระโดดเข้ามาเล่นในตลาดนี้กัน
ณ ตอนนี้ คือ ปีค.ศ.2023
มันเพิ่งผ่านมาราว ๆ 9 ถึง 20 ปี เอง!
ดังนั้น
การศึกษาผลของ บุหรี่ไฟฟ้า ตอนนี้
มันอยู่ในช่วงแรก ๆ
และออกแนว ๆ ยุคของ Adler ค.ศ.1912 ปน ๆ กับ สงครามโลกครั้งที่ 1 อยู่
(มีไวรัสทางเดินหายใจชนิดใหม่ระบาดอยู่ในวงกว้าง, เริ่มมีการแพร่กระจายของการสูบอะไรสักอย่างในวงกว้างกว่าเดิมมาก, เริ่มมีปรากฎการณ์โรคใหม่ ๆ ที่ตัวเลขดีดขึ้นมาแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน, นักวิทยาศาสตร์กำลังทำการเก็บรวบรวมข้อมูล, ทำการทดลอง, ทำการวิจัยอยู่, ฯลฯ)
ค.ศ.2019-2020 ไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ก็มี
2019–2020 vaping lung illness outbreak
โผล่พรวดขึ้นมา
^
อย่างน้อย เราก็รู้แล้วว่า วิตามินอี ที่ใส่เข้าไป ก่อปัญหาได้
ยังมีประเด็น
เรื่องของเกรดส่วนผสม, โลหะหนักในคอยล์, พิษจากโลหะหนัก, EVALI, Lipoid pneumonia #สูดไขมัน/น้ำมัน เข้าไปในปอดมาก ๆ หรือ พวกน้ำมันหอมระเหย บางคนก็แจ็คพอตปอดอักเสบได้ (ตัวน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ดูด ๆ พ่น ๆ กัน มันไม่ใช่น้ำเปล่าหรือเป็นไอน้ำทั่ว ๆ ไปนะ มันเป็นไขมัน+สารเคมี สารพัดเลย), หอบหืด, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, gateway drug, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะในหนูทดลอง, ปิกะจุ๊ไม่แข็งตัว, ผิวเหี่ยวย่นก่อนวัยแก่ไว จากนิโคติน, second hand smoker, third hand smoker, ทำลายพัฒนาการของสมองเด็ก, ฯลฯ อีกสารพัด
#แถมมีหลายเรื่อง ที่ไม่ได้ถูกควบคุมใด ๆ เลย
เรามาลองฟัง
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ
ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
สัมภาษณ์เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565 กัน
หรือ ดูของรพ.รามาฯ
รพ.รามาฯ เผย ไทยพบป่วย “อิวารี่” จากบุหรี่ไฟฟ้า เจอไขมันในปอดที่ไม่เคยเกิดขึ้นในโรคอื่น
ซึ่งในอนาคตข้างหน้า เราจะไปค้นพบอะไรกันอีก ก็รอดูผลกันอยู่
( เวลา "คน " เขาบอกว่า อะไรดี ไม่ดี
วิธีกรองง่าย ๆ คือ
ให้ไปดูคำแนะนำของ
"องค์การอนามัยโลก WHO"
WHO เขารวบรวม, อัพเดท, และสรุปเป็นพัก ๆ อยู่แล้ว
"Are e-cigarettes more or less dangerous than conventional tobacco cigarettes?
Both tobacco products and ENDS pose risks to health.
The safest approach is not to use either."
https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/tobacco-e-cigarettes )
เลิกบุหรี่ โทรฟรี 1600 ทุกเครือข่าย
;
"การสูบ ABC ว่ามันอันตรายหรือไม่ และอันตรายแค่ไหน"
หรือ
"การสูบ A หรือ B อะไรอันตรายกว่ากัน"
เราจะเข้าใจเรื่องนี้ได้
เราต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ของตัวต้นตระกูลก่อน
เรามาย้อนรอยกันดู ว่า
ยาสูบ/บุหรี่ มนุษย์เริ่มใช้กันแพร่หลายตั้งแต่ตอนไหน
และ
มันใช้เวลานานแค่ไหน
กว่าจะมานั่งหาหลักฐาน ทดลอง
เพื่อพิสูจน์ว่า
มันมีความสัมพันธ์แบบ
cause - effect
หรือ
correlation
ที่นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า
"ยาสูบ/บุหรี่ เป็น อันตราย กับสุขภาพ"
เราจะตัดยุค pre Columbian era ทิ้งไป
เราจะเริ่มตั้งแต่ที่โคลัมบัสเริ่มออกเดินเรือสำรวจ
นักสำรวจชุดแรกที่ไปถึงอเมริกา คือ ทีมโคลัมบัส
Bartolomé de las Casas เขียนไว้ว่า
ทีมสอดแนม ของโคลัมบัส (ราว ๆ ค.ศ.1492 แถว ๆ นั้น) ไปเจอ คนพื้นเมือง สูบยาสูบ
ต่อมา ค.ศ.1528 พวกนักแสวงโชคชาวสเปน ได้เริ่มนำยาสูบจากอเมริกา
ขนกลับมาที่ยุโรป
แล้วการสูบยาสูบ ก็เริ่มแพร่หลายไปทั่ว
มนุษย์หลังยุค post Columbian era
ก็เคี้ยวยาสูบบ้าง, ดูดควันบ้าง ไปเรื่อย ๆ ตลอด
ศตวรรษที่ 16 (ค.ศ.1501-1600)
ศตวรรษที่ 17 (ค.ศ.1601-1700)
ศตวรรษที่ 18 (ค.ศ.1701-1800)
ศตวรรษที่ 19 (ค.ศ.1801-1900)
เกือบจะตลอด 400 ปีนี้
ไม่เคยมีใครสงสัย ว่า เจ้ายาสูบที่ว่านี้
จะเป็นต้นตอของปัญหาสุขภาพตัวฉกาจ
สมญา
"ฆาตกรไร้เงา/ฆาตกรเงียบ (silent killer)"
ที่ได้ชื่อว่า ฆาตกรไร้เงา เพราะอะไร?
เพราะ
*ระยะสั้น ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย สูบมาสิบปีแล้ว ก็ยังแข็งแรงดีอยู่ บลา ๆ ประสาทหรือเปล่า มโนไปเอง ควันนี่ออกจะปกติ พ่นออกไป ก็หายไปในอากาศแล้ว บลา ๆ
*แต่ ระยะยาว ปอดเสียหายถาวร ต้องล่ามสายออกซิเจนตลอดเวลา bedbound กันเยอะ ก็ค่อยมาเสียใจกันในภายหลัง
มันก็แนว ๆ เดียวกับเรื่อง ฝุ่น PM2.5
ที่ทำให้คนไม่รู้สึกเดือดร้อน หรือ ต้องพยายามแก้ไขอะไรกัน ณ ตอนนั้น
แต่ในระยะยาว เหมือนเป็นการวางยาพิษไปเรื่อย ๆ
จนระบบต่าง ๆ ของร่างกายมันไม่ไหว
แล้วอาการหนัก ๆ ก็ค่อยโผล่ออกมา
ยาสูบมันเลยสังหารคนไปเยอะกว่า
*ยอดทหารเสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 รวมกันอีก
https://www.theguardian.com/news/reality-check/2013/dec/18/cigarettes-or-war-which-is-the-biggest-killer
*ยอดคนตายรวม ๆ จากโควิด-19
https://blogs.worldbank.org/health/ominous-fact-world-no-tobacco-day-2021-smoking-kills-more-people-covid-19
*ฯลฯ
ทีนี้ เรามาย้อนกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ยาสูบ/บุหรี่ทั่วไปกัน
ว่า เริ่มมีคนเอะใจ
ว่าฆาตกรต่อเนื่องผู้ไร้เสียงไร้เงา
ที่จริงมันคือ ยาสูบ, บุหรี่ ใช่ไหม?
(ระหว่างนี้ ความคิดกระแสหลักของสังคมคือ
มันไม่ได้เป็นอะไรนิ คิดไปเองหรือเปล่า
มันก็แค่เป็นกลิ่นรบกวนเหมือนกลิ่นกับข้าว เหตุรำคาญ บลา ๆ
อย่ามาเยอะ)
เรามาดูกันว่า มนุษย์ใช้เวลาไล่จับกันนานขนาดไหน (และระหว่างนี้ คนตายไปเท่าไร)
https://tobaccocontrol.bmj.com/content/21/2/87
https://lawexplores.com/tobacco-and-health-towards-a-contemporary-perspective/
ค.ศ.1881 James Albert Bonsack ประดิษฐ์เครื่องมวนบุหรี่อัตโนมัติขึ้นมา
เครื่องจักรที่ว่านี้ ผลิตบุหรี่ได้ 200 มวนต่อนาที
ในขณะที่วิธีการผลิตแบบดั้งเดิม ที่ใช้คนงานมวนบุหรี่ ผลิตได้ 4 มวนต่อนาที
ผลิตภาพ (productivity) เพิ่มขึ้น 50 เท่า!!!
นี่คือการปฏิวัติอุตสาหกรรมของวงการผลิตบุหรี่ชัด ๆ!!!
ค.ศ.1885 James Buchanan Duke ได้ใบอนุญาตในการใช้เครื่องจักรที่ว่ามา แล้วเปิดโรงงานผลิตบุหรี่ บลา ๆ.
ต้นทุนในการผลิตต่ำลงมาก ไม่ต้องใช้คนมานั่งมวนอีกต่อไปแล้ว.
แค่ราว ๆ 5 ปี บริษัทก็กินส่วนแบ่งตลาดบุหรี่ไป 40%. (เยอะมาก!)
#หลังยุคนำเครื่องจักรเข้ามาผลิต ราคาบุหรี่เริ่มลดลงแล้ว
ค.ศ.1898 Hermann Rottmann หมอชาวเยอรมัน สังเกตว่า ผู้หญิงที่ทำงานในโรงงานยาสูบ เป็นมะเร็งปอดกันเยอะ. น่าจะเพราะ ฝุ่นจากใบยาสูบ. (แต่จริง ๆ คือ สรุปผิด จริง ๆ มันเป็นเพราะ ผู้หญิงเหล่านี้ เป็นนักอัดควันตัวยงต่างหาก. อย่างไรก็ตาม หมอคนนี้ ถือว่า เซนส์ดี.)
ค.ศ.1912 Isaac Adler ถึงเริ่มจับความสัมพันธ์เกี่ยวกับ บุหรี่ นำไปสู่มะเร็งปอด (โรคหายากในยุคนั้น)
ค.ศ.1914 - 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 มีการแจก C-ration ข้างในมีบุหรี่แจกด้วย #ทีนี้ คนเริ่มสูบกันเยอะละ ติดบุหรี่กันในวงกว้าง #ช่วงนี้ มีไข้หวัดใหญ่สเปน ระบาดระดับโลกอีก ทำให้แยกยาก ว่า อาการป่วย มันมาจากบุหรี่ หรือ โรคระบาด หรือ สงคราม หรือ ฯลฯ
ค.ศ.1939 Franz Hermann Müller เอากลุ่มประชากรมาเทียบกับ กลุ่มคนที่สูบบุหรี่ กับ กลุ่มคนที่ไม่สูบ ว่ากลุ่มไหนเป็นมะเร็งปอดมากกว่ากัน
ค.ศ.1939 - 1945 สงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแจก C-ration ข้างในมีบุหรี่แจกด้วย
ฯลฯ บลา ๆๆๆ ยาว ไปดูในลิ้งค์ข้างบนได้
ต้องรอถึงยุค 1960s กว่าจะเริ่มมีการตระหนัก ตื่นรู้กัน
ค.ศ.1964 สาธารณสุขสหรัฐ (U.S. Surgeon General) ออกรายงานข้อสรุปว่า บุหรี่ มีผลไม่ดีต่อสุขภาพ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จะเห็นได้ว่า
คนเริ่มเคี้ยวยาสูบ, สูบยาสูบกัน ค.ศ.1528 ยุคนักแสวงโชคชาวสเปน นำยาสูบกลับยุโรป
ลากยาวไปถึงค.ศ.1881
ยืนงง ในดงควันไป 353 ปี
(แต่ยุคนี้ ยาสูบ ยังไม่ได้ราคาถูกมาก เลยยังไม่แพร่หลายในสเกลใหญ่)
เข้าสู่ยุคแพร่หลาย
James Albert Bonsack ประดิษฐ์เครื่องจักรมวนบุหรี่ ณ ปี ค.ศ.1881 #เหมือนเข้ายุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของบุหรี่ ผลิตภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 50 เท่า!
เริ่มมีคนเซนส์ดี (หมอ Hermann Rottmann) ที่สังเกตเห็นว่า มันมีอะไรสักอย่างที่ไม่ถูกต้อง เกิดขึ้นกับสาวโรงงานยาสูบ ณ ปี ค.ศ.1898
กว่าจะมีการสังเกต ทดลอง รวบรวมข้อมูลประชากร บลา ๆๆๆๆ
เพื่อดูว่า มันมีความสัมพันธ์แบบ cause - effect (เหตุ ไป ผล) ไหม
ออกมาเป็นรายงานข้อสรุป ณ ปี ค.ศ.1964
จะเห็นได้ว่า กว่าเราจะตื่นรู้ ใช้เวลาอยู่ 83 ปี
หนูทดลองระหว่างทาง
ก็คือ สิงห์อมควันจำนวนมหาศาล
ผู้ซึ่งชอบทดลองกับตัวเองนี่แหละ
สิ่งที่อยากจะสื่อคือ
เวลาท่าน เห็นวัตถุ หรือ อะไรที่มันออกแนว ๆ พรมแดนด่านสุดท้าย (final frontier)
หลายครั้ง มันใช้เวลานานระดับนึงเลย
กว่าจะจับความสัมพันธ์ ได้ชัด ๆ
ว่า
มันเป็นแบบ
cause - effect
หรือ
correlation
บุหรี่ไฟฟ้ายุคใหม่ที่เราเห็นกัน
ถูกสร้างขึ้น ณ ปีค.ศ.2003 โดยเภสัชกรชาวจีน ประดิษฐ์บุหรี่ไฟฟ้าขึ้นมา มีน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามีรสชาติ (สารเคมีนะ ไม่ใช่น้ำเปล่า) เพื่อหวังว่าจะช่วยในการเลิกบุหรี่
เริ่มวางขายในจีน ค.ศ.2004
เริ่มกระจายไปทั่วโลก ค.ศ.2006-2007
แล้วถูกก๊อปปี้ เกิดบุหรี่ไฟฟ้าตัวโคลนนิ่ง มี variant เต็มไปหมด. มีน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าโคลนนิ่ง หลายรสชาติผุดขึ้นมาเต็มไปหมด. (@ค.ศ.2023 ตอนนี้ปาเข้าไป 7,000 - 20,000 รสเข้าไปแล้ว ไม่รู้ใส่อะไรเข้าไปบ้าง) #กลายเป็นใช้เพื่อ "การสันทนาการ" ไปเรียบร้อยแล้ว
ปีค.ศ.2012-2014 บริษัทยักษ์ใหญ่ เริ่มกระโดดเข้ามาเล่นในตลาดนี้กัน
ณ ตอนนี้ คือ ปีค.ศ.2023
มันเพิ่งผ่านมาราว ๆ 9 ถึง 20 ปี เอง!
ดังนั้น
การศึกษาผลของ บุหรี่ไฟฟ้า ตอนนี้
มันอยู่ในช่วงแรก ๆ
และออกแนว ๆ ยุคของ Adler ค.ศ.1912 ปน ๆ กับ สงครามโลกครั้งที่ 1 อยู่
(มีไวรัสทางเดินหายใจชนิดใหม่ระบาดอยู่ในวงกว้าง, เริ่มมีการแพร่กระจายของการสูบอะไรสักอย่างในวงกว้างกว่าเดิมมาก, เริ่มมีปรากฎการณ์โรคใหม่ ๆ ที่ตัวเลขดีดขึ้นมาแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน, นักวิทยาศาสตร์กำลังทำการเก็บรวบรวมข้อมูล, ทำการทดลอง, ทำการวิจัยอยู่, ฯลฯ)
ค.ศ.2019-2020 ไม่กี่ปีที่ผ่านมา
ก็มี
2019–2020 vaping lung illness outbreak
โผล่พรวดขึ้นมา
^
อย่างน้อย เราก็รู้แล้วว่า วิตามินอี ที่ใส่เข้าไป ก่อปัญหาได้
ยังมีประเด็น
เรื่องของเกรดส่วนผสม, โลหะหนักในคอยล์, พิษจากโลหะหนัก, EVALI, Lipoid pneumonia #สูดไขมัน/น้ำมัน เข้าไปในปอดมาก ๆ หรือ พวกน้ำมันหอมระเหย บางคนก็แจ็คพอตปอดอักเสบได้ (ตัวน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่ดูด ๆ พ่น ๆ กัน มันไม่ใช่น้ำเปล่าหรือเป็นไอน้ำทั่ว ๆ ไปนะ มันเป็นไขมัน+สารเคมี สารพัดเลย), หอบหืด, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, gateway drug, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะในหนูทดลอง, ปิกะจุ๊ไม่แข็งตัว, ผิวเหี่ยวย่นก่อนวัยแก่ไว จากนิโคติน, second hand smoker, third hand smoker, ทำลายพัฒนาการของสมองเด็ก, ฯลฯ อีกสารพัด
#แถมมีหลายเรื่อง ที่ไม่ได้ถูกควบคุมใด ๆ เลย
เรามาลองฟัง
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ
ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
สัมภาษณ์เมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565 กัน
หรือ ดูของรพ.รามาฯ
รพ.รามาฯ เผย ไทยพบป่วย “อิวารี่” จากบุหรี่ไฟฟ้า เจอไขมันในปอดที่ไม่เคยเกิดขึ้นในโรคอื่น
ซึ่งในอนาคตข้างหน้า เราจะไปค้นพบอะไรกันอีก ก็รอดูผลกันอยู่
( เวลา "คน " เขาบอกว่า อะไรดี ไม่ดี
วิธีกรองง่าย ๆ คือ
ให้ไปดูคำแนะนำของ
"องค์การอนามัยโลก WHO"
WHO เขารวบรวม, อัพเดท, และสรุปเป็นพัก ๆ อยู่แล้ว
"Are e-cigarettes more or less dangerous than conventional tobacco cigarettes?
Both tobacco products and ENDS pose risks to health.
The safest approach is not to use either."
https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/tobacco-e-cigarettes )
เลิกบุหรี่ โทรฟรี 1600 ทุกเครือข่าย
;
แสดงความคิดเห็น
ในทางวิทยาศาสตร์ (การวิจัย,การแพทย์) บุหรี่ธรรมดา กับ บุหรี่ไฟฟ้า อะไรส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพร่างกาย มากกว่ากัน?
...แต่พอช่วงปีหลัง ๆ มานี้ รวมถึงปัจจุบัน เคยอ่านผ่าน ๆ ว่า วงการแพทย์รณรงค์ต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้า (อันที่จริง วงการแพทย์ก็ต่อต้านเหล้า บุหรี่...เป็นปกตินิสัยประจำวิชาชีพอยู่แล้ว)...จนทำให้ในทางกฎหมายของไทย ไม่อนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า
** เอาตรงๆ...ถ้าตัดประเด็นเรื่อง บริษัทบุหรี่ธรรมดาน่าจะเสียผลประโยชน์, รัฐไทยน่าเสียผลประโยชน์, ตัดประเด็นรายได้หรือมูลค่าภาษี ออกไป...ในทางวิทยาศาสตร์, ทางการวิจัย, ทางการทดลอง--บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายมากกว่าหรือน้อยกว่า บุหรี่ธรรมดา