เหตุใด จะสวดก็ดี จะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใดๆ ก็ดี จึงต้องตั้ง นโม ก่อน จะทิ้ง นโม ไม่ได้เลย

เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ 

จึงยกขึ้นพิจารณา ได้ความว่า
 น คือธาตุน้ำ
 โม คือ ธาตุดิน 
พร้อมกับบาทพระคาถา
 ปรากฏขึ้นมาว่า มาตาเปติกสมุภโว 
โอทนกุมฺมาสปจฺจโย สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกัน 
จึงเป็นตัวตนขึ้นมาได้ น เป็นธาตุของ มารดา

 โม เป็นธาตุของ บิดา 
ฉะนั้นเมื่อธาตุทั้ง ๒ ผสมกันเข้าไป 

ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า 
กลละ คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ 
จิตจึงได้ถือปฏิสนธิในธาตุ นโม นั้น
 เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว
 กลละ ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น อัมพุชะ 
คือเป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น ฆนะ
 คือเป็นแท่ง และ เปสี คือชิ้นเนื้อ 
แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน
 จึงเป็นปัญจสาขา คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑ ส่วนธาตุ พคือลม 
ธ คือไฟ นั้นเป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลังเพราะจิตไม่ถือ
 เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว 
กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า
 ลมและไฟก็ไม่มี 
คนตาย ลมและไฟก็ดับหายสาปสูญไป
 จึงว่าเป็นธาตุอาศัย 

ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือ นโม เป็นเดิม 

ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย น มารดา โม บิดา 
เป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมาด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาส เป็นต้น

 ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่า บุพพาจารย์ เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น 

มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้

 มรดกที่ทำให้กล่าวคือรูปกายนี้แล 
เป็นมรดกดั้งเดิมทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง

 ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ 
ชื่อว่าไม่มีอะไรเลยเพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น "มูลมรดก" ของมารดาบิดาทั้งสิ้น

 จึงว่าคุณท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย 
ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่

 เราต้องเอาตัวเราคือ นโม 

ตั้งขึ้นก่อนแล้วจึงทำกิริยาน้อมไหว้ลงภายหลัง นโม 
ท่านแปลว่านอบน้อมนั้นเป็นการแปลเพียงกิริยา หาได้แปลต้นกิริยาไม่ 

มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุน
 ทำการฝึกหัดปฏิบัติตนไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ

เคยมีกระทู้ถามตอบแล้ว โทษทีกระทู้ซ้ำ🙏

https://m.ppantip.com/topic/33449223
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  พระไตรปิฎก ศาสนาพุทธ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่