จากกระทู้เดิมที่เคยเล่าไว้เกี่ยวกับโรคจิตเวชของคุณแม่ซึ่งเป็นหลากหลายอาการมากๆ ตามลิ้ง
https://ppantip.com/topic/41397282
กระทู้นี้ผมได้ค้นพบอีกโรงคนึงที่สงสัยว่าแม่น่าจะเป็นอย่างแน่นอนก็คือ
Eating disorder ประเภทโรคเลือกกินอาหาร ARFID (Avoidant restrictive food intake disorder)
ARFID (Avoidant Restrictive Food Intake Disorder) หรือโรคเลือกกินอาหาร คือความผิดปกติทางการกินอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเลือกกินอาหารเฉพาะบางชนิดและกินได้น้อยกว่าคนทั่วไป **โดยที่การเลือกกินไม่ได้เกิดจากการกังวลเรื่องรูปร่างและน้ำหนักตัว** แต่อาจเกิดจากโรคประจำตัว ประสบการณ์ฝังใจเกี่ยวกับการกิน และสาเหตุอื่น ๆ
อาการของ ARFID มักเกิดขึ้นตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักตัวและความสูงต่ำกว่าเกณฑ์ และเจ็บป่วยง่าย เนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่วนผู้ป่วย ARFID ที่เป็นผู้ใหญ่อาจส่งผลให้น้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ และทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานแย่ลง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา
อาการของ ARFID แตกต่างจากการเลือกกินทั่วไป โดยทั่วไป เด็กอาจมีพฤติกรรมเลือกกินอาหารหรือไม่ยอมกินอาหารที่ไม่ชอบเพียงบางชนิด เช่น ผักใบเขียวและแครอท เพราะไม่ชอบกลิ่นหรือรสชาติ การเลือกกินลักษณะนี้จะไม่รุนแรงจนส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก และเมื่อโตขึ้นอาจเปลี่ยนใจกลับมากินอาหารที่ไม่ชอบในตอนเด็กได้ ทั้งนี้ โรคเลือกกินอาหาร จะมีลักษณะที่ต่างออกไป อย่างเห็นได้ชัด
อาการด้านพฤติกรรม
ผู้ที่เป็น ARFID อาจมีพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น
รังเกียจอาหารบางอย่าง และเลือกกินอาหารเป็นบางชนิด
ไม่อยากอาหาร กินช้า กินอาหารไม่หมด รู้สึกอิ่มแม้กินอาหารน้อย
ไม่มีสมาธิ มีปัญหาด้านการนอนหลับ
หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม เช่น ที่โรงเรียน และที่ทำงาน เพราะไม่อยากกินอาหารกับคนอื่น หรือกังวลเกี่ยวกับอาหารที่จะต้องกิน
อาการด้านจิตใจ
ผู้ที่เป็น ARFID อาจอาการด้านจิตใจ เช่น
กลัวการลองกินอาหารที่ไม่เคยกิน
กลัวว่าจะปวดท้อง สำลัก หรืออาเจียนหลังกินอาหาร
กังวลว่าอาหารจะปรุงมาไม่ดี และมีบรรจุภัณฑ์เปลี่ยนไปจากเดิม
ไม่ชอบการเห็นหรือได้ยินเสียงคนอื่นกินอาหาร
รู้สึกไม่สบายใจที่จะกินอาหารในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย
มีโรคทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น
หากปล่อยให้มีอาการของโรคนี้โดยไม่ได้รักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ขาดสารอาหาร ภาวะขาดน้ำ แร่ธาตุในร่างกายไม่สมดุล โลหิตจาง โรคกระดูกพรุน ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจหยุดเต้น (Cardiac Arrest) ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
ที่มาข้อมูล
(
https://www.pobpad.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-arfid-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C)
แม่เป็น Eating disorder ประเภทโรคเลือกกินอาหาร ARFID (Avoidant restrictive food intake disorder)
https://ppantip.com/topic/41397282
กระทู้นี้ผมได้ค้นพบอีกโรงคนึงที่สงสัยว่าแม่น่าจะเป็นอย่างแน่นอนก็คือ
Eating disorder ประเภทโรคเลือกกินอาหาร ARFID (Avoidant restrictive food intake disorder)
ARFID (Avoidant Restrictive Food Intake Disorder) หรือโรคเลือกกินอาหาร คือความผิดปกติทางการกินอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเลือกกินอาหารเฉพาะบางชนิดและกินได้น้อยกว่าคนทั่วไป **โดยที่การเลือกกินไม่ได้เกิดจากการกังวลเรื่องรูปร่างและน้ำหนักตัว** แต่อาจเกิดจากโรคประจำตัว ประสบการณ์ฝังใจเกี่ยวกับการกิน และสาเหตุอื่น ๆ
อาการของ ARFID มักเกิดขึ้นตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กมีน้ำหนักตัวและความสูงต่ำกว่าเกณฑ์ และเจ็บป่วยง่าย เนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่วนผู้ป่วย ARFID ที่เป็นผู้ใหญ่อาจส่งผลให้น้ำหนักตัวน้อยผิดปกติ และทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานแย่ลง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา
อาการของ ARFID แตกต่างจากการเลือกกินทั่วไป โดยทั่วไป เด็กอาจมีพฤติกรรมเลือกกินอาหารหรือไม่ยอมกินอาหารที่ไม่ชอบเพียงบางชนิด เช่น ผักใบเขียวและแครอท เพราะไม่ชอบกลิ่นหรือรสชาติ การเลือกกินลักษณะนี้จะไม่รุนแรงจนส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก และเมื่อโตขึ้นอาจเปลี่ยนใจกลับมากินอาหารที่ไม่ชอบในตอนเด็กได้ ทั้งนี้ โรคเลือกกินอาหาร จะมีลักษณะที่ต่างออกไป อย่างเห็นได้ชัด
อาการด้านพฤติกรรม
ผู้ที่เป็น ARFID อาจมีพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น
รังเกียจอาหารบางอย่าง และเลือกกินอาหารเป็นบางชนิด
ไม่อยากอาหาร กินช้า กินอาหารไม่หมด รู้สึกอิ่มแม้กินอาหารน้อย
ไม่มีสมาธิ มีปัญหาด้านการนอนหลับ
หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม เช่น ที่โรงเรียน และที่ทำงาน เพราะไม่อยากกินอาหารกับคนอื่น หรือกังวลเกี่ยวกับอาหารที่จะต้องกิน
อาการด้านจิตใจ
ผู้ที่เป็น ARFID อาจอาการด้านจิตใจ เช่น
กลัวการลองกินอาหารที่ไม่เคยกิน
กลัวว่าจะปวดท้อง สำลัก หรืออาเจียนหลังกินอาหาร
กังวลว่าอาหารจะปรุงมาไม่ดี และมีบรรจุภัณฑ์เปลี่ยนไปจากเดิม
ไม่ชอบการเห็นหรือได้ยินเสียงคนอื่นกินอาหาร
รู้สึกไม่สบายใจที่จะกินอาหารในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย
มีโรคทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น
หากปล่อยให้มีอาการของโรคนี้โดยไม่ได้รักษา อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ขาดสารอาหาร ภาวะขาดน้ำ แร่ธาตุในร่างกายไม่สมดุล โลหิตจาง โรคกระดูกพรุน ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจหยุดเต้น (Cardiac Arrest) ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
ที่มาข้อมูล
(https://www.pobpad.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-arfid-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C)